การสังหารหมู่ที่ช็องเดอมาร์ส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติฝรั่งเศส
ภาพวาดร่วมสมัยโดยศิลปินนิรนาม คำบรรยายภาพเขียนว่า "ผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กล้วนถูกสังหารหมู่บนแท่นบูชาปิตุภูมิที่สวนสาธารณะแห่งสหพันธ์(Champ de la Fédération)"
วันที่17 กรกฎาคม ค.ศ. 1791
สถานที่ช็องเดอมาร์ส, ปารีส, ฝรั่งเศส
คู่ขัดแย้ง
ผู้นำ
ความเสียหาย
เสียชีวิต12–50

การสังหารหมู่ที่ช็องเดอมาร์ส เกิดขึ้นในวันที่ 17 กรกฏาคม ค.ศ. 1791 ในปารีส ณ ช็องเดอมาร์ส ต่อฝูงชนผู้ประท้วงฝ่ายสาธารณรัฐนิยมท่ามกลางการปฏิวัติฝรั่งเศส สองวันก่อน สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติได้ออกประกาศพระราชกฤษฏีกาว่า พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จะยังคงครองราชบังลังก์ภายใต้ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มตินี้ทำให้พระเจ้าหลุย์และพระราชวงศ์ได้พยายามที่จะลี้ภัยออกจากฝรั่งเศสในการเสด็จสู่วาแรนซึ่งประสบความล้มเหลวเมื่อเดือนก่อน ภายหลังจากวันนั้น ผู้นำฝ่ายสาธารณรัฐนิยมในฝรั่งเศสได้รวบรวมฝูงชนออกมาชุมนุมเพื่อต่อต้านมตินี้

ฌัก ปีแยร์ บรีโซ เป็นบรรณาธิการและนักเขียนหลักของหนังสือพิมพ์ Le Patriote français และเป็นประธานแห่งคณะกรรมการวิจัยแห่งปารีส(Comité des Recherches of Paris) และเขาได้ยื่นฏีกาเรียกร้องให้ถอดถอนพระมหากษัตริย์ ฝูงชนจำนวน 50,000 คน ได้รวมตัวกันที่ช็องเดอมาร์ส เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม เพื่อลงนามในฏีกา[1] และมีผู้ลงนามจำนวนประมาณ 6,000 คน อย่างไรก็ตาม มีผู้ต้องสงสัยสองคนถูกพบตัวในที่ซ่อนอยู่ที่ช็องเดอมาร์สเมื่อวันก่อน "มีความเป็นไปได้ว่าพวกเขามีความตั้งใจที่จะมองเห็นข้อเท้าของผู้หญิงได้ดีขึ้น" พวกเขาจึงถูกจับแขวนคอโดยผู้ที่พบเจอพวกเขา และนายกเทศมนตรีปารีส ฌ็อง ซีลแว็ง บายี ได้ใช้เหตุการณ์นี้ในการประกาศกฎอัยการศึก[2] ลาฟาแย็ตและกองกำลังป้องกันชาติภายใต้คำสั่งบัญชาการของเขาได้เข้าสลายการชุมนุมของฝูงชนเหล่านั้น

ฌอร์ฌ ด็องตง และกามีย์ เดมูแล็ง เป็นผู้นำฝูงชนกลับมารวมตัวกันในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงบ่ายวันนั้น ฝูงชนกลุ่มใหญ่มีความแน่วแน่กว่ากลุ่มแรก นายพลลาฟาแย็ตพยายามเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม พวกเขาขว้างปาก้อนหินใส่กองกำลังป้องกันชาติ ลาฟาแย็ตสั่งให้ทหารยิงปืนเตือนแต่ไม่ได้ผล ระหว่างนั้น นายกเทศมนตรีบายีขี่ม้ามาถึงสถานที่ชุมนุม และโบกธงสั่งให้ยิงใส่ฝูงชน กองกำลังป้องกันชาติจึงเปิดฉากยิงใส่ฝูงชนโดยตรง จำนวนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บไม่อาจทราบที่แน่นอน การประเมินนั้นมีตั้งแต่จำนวนสิบกว่าคนถึงห้าสิบคน[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Andress, David (2004). The French Revolution and the People. London, UK: Hambledon and London. p. 151. ISBN 978-1-85285-295-5.
  2. Rudé, George Frederick Elliot (1959). The Crowd in the French Revolution. Oxford, UK: Clarendon Press.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ AFR1512