สมิทธ ธรรมสโรช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมิทธ ธรรมสโรช
ไฟล์:สมิทธ ธรรมสโรช.jpg
เกิด26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 (86 ปี)
กรุงเทพมหานคร
สัญชาติไทย
อาชีพข้าราชการบำนาญ
มีชื่อเสียงจากอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา
ผู้อำนวยการ
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
คู่สมรสเนาวรัชต์ ธรรมสโรช
บิดามารดารองอำมาตย์โทสอาด ธรรมสโรช
นางมะลิ ธรรมสโรช

สมิทธ ธรรมสโรช เป็นทั้งอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรี อดีตประธานกรรมการอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

ประวัติ[แก้]

สมิทธ ธรรมสโรช เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ รองอำมาตย์โท (สอาด ธรรมสโรช) และนางมะลิ ธรรมสโรช สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย, มัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ Wilbraham Academy สหรัฐอเมริกา ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา

ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับเนาวรัชต์ ธรรมสโรช (นามสกุลเดิม ธนานันท์)

มีบุตร 2 คน คือ นายสิทธิพร ธรรมสโรช และนางสาวสุปรีย์ ธรรมสโรช

ประวัติการทำงาน[แก้]

รับราชการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ในกรมอุตุนิยมวิทยามาโดยตลอด จนกระทั่งเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองปลัดกระทรวงคมนาคมเมื่อปี พ.ศ. 2541 นอกจากตำแหน่งอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาแล้ว ยังเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อปี พ.ศ. 2535 และมีตำแหน่งอื่น ๆ อีก อาทิ กรรมการการบินพลเรือน, กรรมการการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ (สนามบินสุวรรณภูมิ)[1],กรรมการบริหารบริษัท อโซน่า (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น

บทบาทด้านการเตือนภัยพิบัติ[แก้]

สมิทธ ธรรมสโรช เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางเมื่อปี พ.ศ. 2548 หลังจากเหตุการณ์สึนามิในปลายปี พ.ศ. 2547 จากการที่เป็นผู้ที่เคยเตือนภัยมาก่อนหน้านี้แล้วว่า จังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันของไทยมีสิทธิ์ที่จะได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิ แต่ทว่าในขณะนั้นยังไม่มีใครเชื่อ[2]

จนกระทั่งหลังเหตุการณ์ครั้งนั้น ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[3] ในรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร หลังจากการที่ สมิทธ ได้มีคำเตือนเกี่ยวกับเหตุการณ์คลื่นสึนามิ ถล่มภาคใต้ของประเทศไทย และต่อมาได้มีการจัดตั้งศูนยเตือนภัยพิบัติแห่งชาติขึ้น ทำให้ สมิทธ ได้รับหน้าที่เป็นประธานกรรมการอำนวยการ

ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มีการแต่งตั้งให้ สมิทธ ธรรมสโรช เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (สิทธิชัย โภไคยอุดม) ปฏิบัติหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับภารกิจการกำกับดูแลศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ [4]

ต่อมาภายหลังที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล สมิทธ จึงถูกลดบทบาทดังกล่าวลงไป แต่ก็ได้ร่วมกับนายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน จัดตั้งมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ [5] เพื่อกระตุ้นเตือนรัฐบาลในการดำเนินการเกี่ยวกับการเตือนภัยพิบัติของประเทศไทย

นอกจากนี้แล้วบทบาทและตัวตนของ สมิทธ ยังได้ถูกดัดแปลงมาเป็นตัวละครชื่อ ดร.สยาม ในภาพยนตร์เรื่อง 2022 สึนามิ วันโลกสังหาร ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยมี สุเชาว์ พงษ์วิไล มารับบทตัวละครตัวนี้[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติจากไทยรัฐ
  2. สมิทธแฉผ่านซีเอ็นเอ็น จากพันทิป
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-04. สืบค้นเมื่อ 2010-06-24.
  5. ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร
  6. "เผยโฉมผู้ร่วมชตากรรม '2022 สึนามิ วันโลกสังหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-24. สืบค้นเมื่อ 2010-11-06.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔๙, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ และเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๒ ข หน้า ๖๔, ๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๙

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]