สมชาย นีละไพจิตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมชาย นีละไพจิตร
เกิด13 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 (72 ปี)
สาบสูญ12 มีนาคม พ.ศ. 2547
(ผ่านมาแล้ว​ 20 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สถานะปิดคดี
สัญชาติไทย
อาชีพนักกฎหมาย
นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน
ปีปฏิบัติงานคริสต์ทศวรรษ 1970 - 2004
คู่สมรสอังคณา นีละไพจิตร

สมชาย นีละไพจิตร (13 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 - เห็นครั้งสุดท้ายในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2547) เป็นนักกฎหมายและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนมุสลิมชาวไทยที่หายสาบสูญ ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2547 ในช่วงของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร โดยในวันนั้น มีพยานเห็นสมชายครั้งสุดท้ายที่รามคำแหงโดยมีชายสี่คนลากเขาเข้าไปในรถ[1] และไม่มีใครเห็นเขาอีกเลย[2]

เจ้าหน้าที่ห้าคนถูกบังคับให้สืบสวนคดีของสมชายและพ้นผิดไปใน พ.ศ. 2558 ปีต่อมาทางดีเอสไอปิดคดีนี้ หลังจากไม่มีผลจากการสืบสวนมา 12 ปี สาเหตุการเสียชีวิต (ที่เป็นไปได้) ของสมชาย นีละไพจิตร ยังไม่ได้รับคำอธิบาย และใน พ.ศ. 2559 ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ประกาศปิดการสืบสวนคดีนี้[3][4]

ประวัติ[แก้]

เขาเป็นทนายให้ความช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ โดยเฉพาะคดีที่ประชาชนถูกกล่าวหาว่าพัวพันกับการก่อการร้ายจนจำเลยพ้นจากข้อหาได้เกือบทุกคดี เช่น คดี โต๊ะกูเฮง หรือ กูมะนาเส กอตอนีลอ จากคดีเผาโรงเรียนเมื่อปี 2537 คดีหมอแว นายแพทย์ แวมาหะดี แวดาโอ๊ะ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าพัวพันกับกลุ่มก่อการร้ายเจไอ และยังเข้าไปเป็นทนายให้กับผู้ต้องหาที่ตำรวจจับกุมได้ในภายหลังจากเหตุการณ์ลอบวางระเบิดโรงเรียนเมื่อ 4 มกราคม 2547[5]

เขาสมรสกับ อังคณา นีละไพจิตร มีลูกสาวหนึ่งคนได้แก่ ดร.ประทับจิต นีละไพจิตร เป็นอดีตอาจารย์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

เบี้องหลัง[แก้]

ในช่วงที่เขาหายตัว สมชายส่งตัวแทนผู้ต้องสงสัย 5 คนที่ก่อเหตุในค่ายทหารที่จังหวัดนราธิวาสในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 อุบัติเหตุในวันนั้นส่งผลใหเกิดความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ สมชายที่ทำงานในด้านวิชาชีพทางกฎหมายเป็นเวลา 30 ปี ได้เรียกร้องให้ทหารยกเลิกกฏอัยการศึกในบริเวณนี้ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2547[6] ข้อมูลเมื่อ 2017 กฎอัยการศึกยังคงมีผลในจังหวัดปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส[2]

ใน พ.ศ. 2549 ศาลอาญามีคำสั่งให้ พันตำรวจตรี เงิน ทองสุข (Pol.Maj. Ngern Thongsuk) จากกองปราบปรามให้จำคุก 3 ปี เนื่องจากมีส่วนร่วมในการหายตัวของสมชาย ในขณะที่ตำรวจชายทั้งหมดที่ตั้งข้อหาขโมยและใช้กำลังในทางมิชอบได้รับการปล่อยตัว หลังจากนั้น พันตำรวจตรี เงินหายตัวไป ครอบครัวของเขาพิสูจน์ว่าเขาเสียชีวิตในเหตุการณ์ดินถล่ม ทางศาลประกาศให้เขาเป็นบุคคลสูญหาย[2]

สถานะคดี[แก้]

การสืบสวนเกี่ยวกับชะตาของสมชายเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2547 ใน พ.ศ. 2552 ภรรยาของเขาได้เผยแพร่บัญชีที่ทำโดยเธอ, ที่ปรึกษากฎหมาย และองค์การนอกภาครัฐในนามของสมชาย[7] ข้อมูลเมื่อมีนาคม 2560 เป็นช่วงครบรอบ 13 ปีที่หายตัวไป จึงคาดว่าเขาเสียชีวิตไปแล้ว

ในช่วงปลาย พ.ศ. 2556 ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวว่าแฟ้มคดีหายไป แต่อ้างในภายหลังว่าได้พบแฟ้มแล้ว[8] ข้อมูลเมื่อ 2014 สถานะของคดีและกระทรวงที่ดำเนินการก็ยังไม่ทราบที่แน่ชัด[9]

ใน พ.ศ. 2559 กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) "ประกาศปิดคดี โดยกล่าวว่าไม่พบผู้กระทำผิด"[3]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Thailand: Lawyer's Disappearance Darkens Rights Climate". Human Rights Watch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-12. สืบค้นเมื่อ 11 March 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 Rithdee, Kong (11 March 2017). "Keep Somchai from the black hole of history" (Editorial). Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 11 March 2017.
  3. 3.0 3.1 "Somchai Neelapaijit case closed, says DSI". Bangkok Post. 13 October 2016. สืบค้นเมื่อ 11 March 2017.
  4. "DSI faces an uphill battle in 'Billy' case" (Editorial). Bangkok Post. 1 July 2018. สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.
  5. จาก ทักษิณ สู่ ประยุทธ์ การสูญหายของ สมชาย นีละไพจิตร กับ ไฟใต้ ที่ยังไร้คำตอบ บีบีซีไทย สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2019
  6. "Thai districts impose martial law". BBC News. 3 November 2005. สืบค้นเมื่อ 2017-03-11.
  7. Neelapaichit, Angkhana (March 2009). Reading Between the Lines (PDF) (1st ed.). Bangkok: Working Group on Justice for Peace. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 11 March 2017.
  8. Laohong, King-oua (19 December 2013). "Wife of missing lawyer slams DSI". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 11 March 2017.
  9. "THAILAND: Ten years without justice for Somchai Neelaphaijit". Asian Human Rights Commission. Hong Kong: Asian Legal Resource Centre. 2014-02-26. สืบค้นเมื่อ 11 March 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]