สมจิตต์ ยอดเศรณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมจิตต์ ยอดเศรณี
เกิด10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475
นนทบุรี ประเทศไทย
เสียชีวิต17 กันยายน พ.ศ. 2555
(80 ปี 219 วัน)
อุบลราชธานี ประเทศไทย
สัญชาติไทย
แบบแผนการกล่าวถึงสัตวศาสตร์
ตำแหน่งอธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คู่สมรสระจิต ยอดเศรณี
บิดามารดา
  • ชื้น ยอดเศรณี (บิดา)
  • พยอม ยอดเศรณี (มารดา)

รองศาสตราจารย์ สมจิตต์ ยอดเศรณี (10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 247517 กันยายน พ.ศ. 2555) อดีตอธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เกิดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475 เป็นชาวสวนทุเรียน ที่ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

ประวัติการศึกษา[แก้]

รศ.สมจิตต์ ยอดเศรณี หรือ รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ ปี พ.ศ. 2499 ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขากสิกรรมและสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี พ.ศ. 2502 ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสัตวบาลสาขาพันธุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2506 และได้รับปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ จากมหาวิทยาลัยมานิโตบา โดยทุนของรัฐบาลประเทศแคนาดา ปี พ.ศ. 2515

ประวัติการทำงาน[แก้]

รศ.สมจิตต์ ยอดเศรณี เริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งนายสัตวบาลตรี ประจำสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ ท่าพระ จังหวัดขอนแก่น สังกัดกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2503 ความทุรกันดาร สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศและชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในภาคอีสาน ที่ท่านได้พบเห็นกลับเป็นแรงบันดาลใจในความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน ปี พ.ศ. 2507 ท่านได้ย้ายมาประจำสำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติ ในโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น นับได้ว่าท่านเป็นบุคคลหนึ่งที่มีส่วนในการก่อร่างสร้างฐานให้กับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแห่งนี้

ท่านได้เริ่มชีวิตการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่อยมา จนกระทั่งปี 2518 จึงได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ท่านมุมานะตามปณิธานผ่านการสอน การวิจัยเพื่อพัฒนา การถ่ายทอดส่งเสริมเพิ่มพูนรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ เป็นที่ปรึกษาชมรมสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลงานเป็นที่ประจักษ์จนได้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ เมื่อปี 2528 เป็นต้นมา

ด้านการบริหารงาน

จากประสบการณ์ความรู้ความสามารถในด้านการบริหารงาน ในปี 2529 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดอีกครั้งในชีวิตของท่าน คือการได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าโครงการจัดตั้งวิทยาลัยอุบลราชธานี ในสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น และเตรียมการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

จึงนับได้ว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนสำคัญ เป็นเสาหลักและขวัญกำลังใจให้แก่คณะบุคคล ในการฟันฝ่าอุปสรรคให้บรรลุถึงเป้าหมายของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีแห่งนี้ และเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2534 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ สมจิตต์ ยอดเศรณี ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นบุคคลแรก คุณูปการที่ท่านรองศาสตราจารย์ สมจิตต์ ยอดเศรณี ได้ทำไว้ไม่เฉพาะนักศึกษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยนี้เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจสุขภาพความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาคแห่งนี้อย่างยั่งยืนอีกด้วย ซึ่งก็คือเป้าหมายของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี แห่งนี้นี่เอง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓๔, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙


ก่อนหน้า สมจิตต์ ยอดเศรณี ถัดไป
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
(25 มกราคม พ.ศ. 2534 - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2542)
ศาสตราจารย์ (พิเศษ)
ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ