สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชิเงรุ โยชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ลงนามในสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก

สนธิสัญญาสันติภาพกับญี่ปุ่น หรือ สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก (อังกฤษ: Treaty of San Francisco; ฝรั่งเศส: Traité de paix avec le Japon; ญี่ปุ่น: 日本国との平和条約, 日本国との平和条約, โรมะจิ Nihon-koku tono Heiwa-Jōyaku, นิฮงโกะกุโทะโนะเฮวะโจยะกุ) (8 กันยายน พ.ศ. 2494) เป็นสนธิสัญญาที่นำไปสู่การยุติสงครามระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศร่วมลงนามในสัญญาอีก 49 ประเทศ ประเทศต่างๆ เหล่านี้ได้แก่ประเทศที่ได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น ยกเว้นรัสเซีย จีนไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่และประเทศอื่นเคยอยู่ในการยึดครองของญี่ปุ่นระหว่างสงคราม ที่ประกาศตั้งเป็นรัฐใหม่หลังการประกาศยอมแพ้ของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2488

สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก เป็นสัญญาที่นำไปสู่การยุติการยึดครองประเทศญี่ปุ่นของประเทศต่าง ๆ หลังการยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข และเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการรับญี่ปุ่นเข้าร่วมกับประชาคมโลกในฐานะเท่าเทียมกันอีกครั้งหนึ่ง มีดังนี้

  1. ห้ามมีกองกำลังป้องกันประเทศและคณะปฏิวัติ เว้นแต่กองกำลังความมั่นคงภายในประเทศ
  2. ญี่ปุ่นต้องเป็นชาติแห่งประชาธิปไตยเท่านั้น ถ้าไม่พอใจผู้นำคนใด ใช้ประชาธิปไตยในการตัดสิน และมีสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นประมุข
  3. สหประชาชาติและรัฐบาลญี่ปุ่นต้องสนับสนุนญี่ปุ่นในด้านการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศของญี่ปุ่นและชาติอื่น ๆ ยูเนสโก และรัฐบาลญี่ปุ่นต้องสนับสนุน ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม เทคโนโลยีนวัตกรรมต่างๆ การสร้างสรรค์และพัฒนาเปลี่ยนในทางที่ดีให้กับญี่ปุ่นให้รวดเร็วทันต่อโลกาภิวัฒน์ และสนับสนุนอาริยะ
  4. ห้ามชนชาติหรือปุถุชนองค์กรใด ๆ มาทำการแยกประเทศหรือถือกรรมสิทธิ์ใด ๆ ในญี่ปุ่นเด็ดขาด เว้นแต่ทางธุรกิจและข้อตกลงในกฎหมายเท่านั้น
  5. ข้าราชการทุกกระทรวงในญี่ปุ่นนอกจากได้รับเงินเดือนแล้วยังได้รับ เงินพิเศษ ค่าคอมมิชชัน และทำธุรกิจอื่น ๆ ได้ ผสานด้วยกฎหมายญี่ป่น แต่ห้ามสร้างผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ การศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม เทคโนโลยีนวัตกรรมต่าง ๆ การสร้างสรรค์และพัฒนาต่อญี่ปุ่นเด็ดขาด
  6. สหประชาชาติต้องคุ้มครองการรุกรานต่าง ๆ ให้กับญี่ปุ่น
  7. ขอให้สหประชาชาติจงเป็นพยานให้กับสนธิสัญญาสันติภาพ ซานฟรานซิสโก ณ ครั้งนี้ ให้คงธำรงไว้ตลอด

ประเทศที่เข้าร่วมประชุม อาร์เจนตินา, ออสเตรเลีย, เบลเยียม, โบลิเวีย, บราซิล, กัมพูชา, แคนาดา, ชิลี, โคลอมเบีย, คอสตาริกา, คิวบา, เชโกสโลวาเกีย, ดอมินีกา, เอกวาดอร์, อียิปต์, เอลซัลวาดอร์, เอธิโอเปีย, ฝรั่งเศส, กรีซ, กัวเตมาลา, เฮติ, ฮอนดูรัส, อินโดนีเซีย, อิหร่าน, อิรัก, ลาว, เลบานอน, ไลบีเรีย, ลักเซมเบิร์ก, เม็กซิโก, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, นิการากัว, ฟิลิปปินส์, โปแลนด์, ซาอุดีอาระเบีย, สหภาพโซเวียต, ศรีลังกา, แอฟริกาใต้, ซีเรีย, ตุรกี, สหราชอาณาจักร, สหรัฐ, อุรุกวัย, เวเนซุเอลา, เวียดนาม และญี่ปุ่น

พม่า, อินเดีย และยูโกสลาเวีย ได้รับการเชิญแต่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม เกาหลีใต้ไม่ได้รับการเชิญเนื่องจากไม่ได้รับการยอมรับเป็นสัมพันธมิตรรวมทั้งประเทศไทย จีน ไต้หวัน และจีนแผ่นดินใหญ่ก็ไม่ได้รับการเชิญเนื่องจากอยู่ระหว่างสงครามกลางเมือง ยังไม่สามารถตัดสินว่าใครจะเป็นตัวแทนประเทศที่ถูกต้องตามกฎหมาย

การลงนามและการให้สัตยาบัน[แก้]

มี 49 ประเทศที่ร่วมลงนาม ยกเว้นเชโกสโลวาเกีย โปแลนด์ และสหภาพโซเวียต เนื่องจากทั้งสามประเทศปฏิเสธที่จะเข้าร่วมสนธิสัญญา ประเทศโคลอมเบีย อินโดนีเซีย และลักเซมเบิร์กได้ร่วมลงนามแต่ไม่ได้ทำสัตยาบัน

อ้างอิง[แก้]

  • Dictionary of World History, Chambers Harrap, New York 2000