ปฏิญญามอสโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปฏิญญามอสโก ได้มีการลงนามระหว่างการประชุมมอสโก เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1943 ชื่ออย่างเป็นทางการของแถลงการณ์ดังกล่าวคือ "แถลงการณ์ของสี่ชาติเกี่ยวกับความมั่นคงทั่วไป" เอกสารดังกล่าวได้รับการลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียต แถลงการณ์ดังกล่าวมีสี่ส่วนแยกจากกัน

แถลงการณ์ร่วมสี่ชาติ[แก้]

ในส่วนแถลงการณ์ร่วมสี่ชาติ รัฐบาลสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียต และจีน ตามที่แถลงการณ์โดยสหประชาชาติเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 และแถลงการณ์ถัดมา เพื่อคงความเป็นปรปักษ์กับชาติฝ่ายอักษะเหล่านี้ซึ่งประเทศทั้งสี่ต่างอยู่ในสภาวะสงครามจนกว่าประเทศเหล่านี้จะยอมลดอาวุธลงบนพื้นฐานของการยอมจำนนอย่างปราศจากเงื่อนไข ทั้งสี่ประเทศยังได้รับรองความจำเป็นที่จะจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศทั่วไป (สหประชาชาติ) ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ บนแนวคิดของอธิปไตยที่เท่าเทียมกันของรัฐที่รักสันติทั้งหมด และเปิดโอกาสให้รัฐเหล่านี้ล้วนมีโอกาสสมัครเข้าเป็นสมาชิกได้ ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก เพื่อการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

แถลงการณ์ส่วนที่เกี่ยวข้องกับอิตาลี[แก้]

ในส่วนของแถลงการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอิตาลีนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและสหภาพโซเวียต ได้ประกาศว่า ฟาสซิสต์และอิทธิพลของฟาสซิสต์นั้นควรจะถูกทำลายลงอย่างสมบูรณ์ และชาวอิตาลีควรจะได้รับทุกโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาลและสถาบันอื่นโดยตั้งอยู่บนแนวคิดประชาธิปไตย

แถลงการณ์ส่วนที่เกี่ยวข้องกับออสเตรีย[แก้]

ในส่วนของแถลงการณ์ที่เกี่ยวข้องกับออสเตรียนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและสหภาพโซเวียต ได้ประกาศว่าการผนวกออสเตรียของเยอรมนีนั้นไม่มีผลและเป็นโมฆะ ทั้งสี่ประเทศเรียกร้องให้มีการจั้ดตั้งออสเตรียเสรีภายหลังชัยชนะเหนือนาซีเยอรมนี

แถลงการณ์ว่าด้วยความอำมหิต[แก้]

ส่วนสุดท้ายของแถลงปฏิญญามอสโกมีชื่อว่า แถลงการณ์ว่าด้วยความอำมหิต และได้รับการลงนามโดยประธานาธิบดีสหรัฐ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิลล์ และผู้นำสูงสุดโซเวียต โจเซฟ สตาลิน พวกเขาหมายเหตุว่า "หลักฐานของความโหดร้าย การสังหารหมู่ และการประหารชีวิตหมู่อันเลือดเย็นซึ่งได้กระทำโดยกองทัพฮิตเลอร์ในหลายประเทศซึ่งถูกรุกรานและจากที่พวกเขากำลังถูกขับไล่ออกไปอย่างต่อเนื่อง" พวกเขาเห็นพ้องว่าชาวเยอรมันจะถูกส่งกลับไปยังประเทศที่พวกเขาก่ออาชญากรรมของตนขึ้น และ "ตัดสิน ณ ที่นั้นโดยประชาชนที่พวกเขาได้กระทำอย่างโหดเหี้ยมนั้น" ในกรณีของชาวเยอรมันซึ่งการกระทำความผิดทางอาญาไม่มีที่ตั้งชัดเจนนั้น พวกเขาจะถูกลงโทษโดยการตัดสินใจร่วมกันของรัฐบาลฝ่ายสัมพันธมิตร

แถลงการณ์ว่าด้วยความอำมหิตนั้นส่วนใหญ่ร่างขึ้นโดยวินสตัน เชอร์ชิลล์[1] และนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษายุโรป ซึ่งได้ร่างกฎบัตรลอนดอน

อ้างอิง[แก้]