สถานีย่อย:ฟุตบอล/คุณทำได้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ครงการวิกิฟุตบอล

โครงการนี้จัดตั้งขึ้นเป็นตัวสนับสนุนสถานีย่อยฟุตบอลเพื่อพยายามที่จะปรับปรุงคุณภาพ รวบรวมเรื่องราวทั้งในด้านสาระและเนื้อหา ครอบคลุมเกี่ยวกับ ฟุตบอล ทีมฟุตบอล นักฟุตบอล สนามฟุตบอล และการแข่งขันฟุตบอล ในวิกิพีเดีย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ง่ายๆ ด้วยการร่วมแก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลได้ทุกหน้า

คุณทำได้

มีส่วนร่วมกับวิกิพีเดียได้
บทความที่ควรมี - ฟุตบอล : ฟรีคิก ล้ำหน้า ตัวสำรอง ใบเหลือง ลูกฟุตบอล
บทความที่ควรมี - ทีม : ทีมชาติยูโกสลาเวีย ทีมชาติโซเวียต ทีมชาติฮังการี

หรือนอกจากนี้

  • ค้นหาบทความที่ชอบ และทำการเพิ่มเติมและร่วมแก้ไข
  • หรือลองแก้ไขหรือเพิ่มเติมที่ยังไม่สมบูรณ์ในหมวดหมู่ กีฬา และ นักกีฬา ที่ยังไม่สมบูรณ์
  • มีความรู้เกี่ยวกับฟุตบอล ช่วยสร้างบทความฟุตบอล จากลิงก์ที่เป็นสีแดงหรือดูที่วิธีสร้างบทความ
  • มีรูปถ่ายเองเกี่ยวกับฟุตบอล? นำรูปมาตกแต่งบทความ ลองดูที่ การใช้ภาพในวิกิพีเดีย
  • เก่งภาษาไทย? ช่วยตรวจสอบขัดเกลาภาษา
  • เก่งภาษาอื่น? ช่วยแปลเรื่องราวเกี่ยวกับฟุตบอลจากภาษาอื่น

ช่วยกันตรวจสอบและปรับปรุง ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ทับศัพท์ชื่อเฉพาะผิดจากต้นฉบับภาษา
ตอนนี้ยังเป็นปัญหาซึ่งผู้เขียนแต่ละคนทับศัพท์ชื่อสโมสรและชื่อนักฟุตบอล ผิดเพี้ยนไป อนึ่งชื่อส่วนใหญ่จะเป็นคำนิยมในหนังสือพิมพ์ทั้งในสมัยอดีตหรือปัจจุบัน ชื่อเหล่านั้นส่วนมากมาจากหลายภาษาไม่ว่า ภาษาอังกฤษ ภาษาอิตาลี ภาษาสเปน ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาดัตช์ หรือ ภาษาโปรตุเกส ซึ่งบางครั้งผู้เขียนไม่รู้ว่าควรจะทับศัพท์อย่างไร จึงทับศัพท์ตามภาษาอังกฤษเป็นหลัก ซึ่งถ้าพบเห็นว่าผิดพลาดสามารถช่วยแก้ได้ทันที คำที่ผิดพลาดบ่อยเช่น
  • v ในภาษาสเปน ออกเสียง บ ซึ่งมักจะทับศัพท์ผิดเป็น ว เช่น Valencia - บาเลนเซีย (ไม่ใช่ วาเลนเซีย)
  • v ในภาษาดัตช์ ออกเสียง ฟ ซึ่งมักจะทับศัพท์ผิดเป็น ว เช่น Ruud van Nistelrooy - รุด ฟาน นิสเตลรอย (ไม่ใช่ วาน นิสเตลรอย)
  • gi ในภาษาอิตาลี ออกเสียงเป็น จ มักทับศัพท์ผิดเป็น จิ เช่น Gianluigi → จานลุยจี (ไม่ใช่ จิอันลุยจี) หรือ Giuseppe → จูเซปเป
  • h ในภาษาสเปน ออกเสียง อ ซึ่งมักจะทับศัพท์ผิดเป็น ฮ เช่น เออร์นัน เครสโป (ไม่ใช่ เฮอร์นัน เครสโป)
  • i ในหลายภาษา ที่ไม่มีตัวสะกดออกเสียงเป็น สระอี มักทับศัพท์ผิดเป็น สระอิ
  • ตัวอักษรบางตัวถูกเปลี่ยน อาจเนื่องจากสื่อหนังสือพิมพ์ไม่สามารถตีพิมพ์ได้ หรือไม่คุ้นเคยในภาษาอังกฤษ เช่น
    • š → s ทำให้ออกเสียงเพี้ยนไปจาก ช เป็น ส หรือ á → a เสียงสระอาเพี้ยนเป็นสระอะ เช่นในชื่อของ Tomáš Rosický - โทมาช โรซิตซ์กี (ไม่ใช่ โทมัส)
    • Ş → S ในภาษาตุรกี ทำให้เสียงเพี้ยนไปจาก ช เป็น ซ เช่น Hakan Şükür -ฮาคาน ชูเคอร์ (ไม่ใช่ ซูเคอร์)
    • ã → a ในภาษาโปรตุเกส ทำให้เสียงเพี้ยนจาก อัน เป็น อา เช่น Maracanã - มาราคานัน (ไม่ใช่ มาราคาน่า)
  • นอกจากนี้ก็มีชื่อบางชื่อที่เป็นคำเฉพาะเช่น Celtic สำหรับสโมสรฟุตบอล อ่านว่า เซลติก แต่ชื่อกลุ่มคน อ่านว่า ชาวเคลติก

และตัวอักษรอื่นอีกหลายตัว ดูเพิ่ม วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์ อย่างไรก็ตามวิกิพีเดียสนับสนุนให้ทุกคนกล้าแก้ไขบทความ ถึงแม้ว่าจะสะกดผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีได้ ถึงแม้ว่าจะไม่รู้วิธีสะกดที่ถูกต้อง เพียงแต่เริ่มต้นบทความและให้คนอื่นมาช่วยแก้ไขในภายหลัง

ใช้วรรณยุกต์ในชื่อ
เช่นกันเนื่องจากตามหน้าหนังสือพิมพ์นิยมใช้วรรณยุกต์ที่ท้ายคำเพื่อแสดงถึงเป็นคำจากภาษาต่างประเทศ โดยให้ออกเสียงโท (ใช้ไม้เอกหรือไม้โทกำกับ) ไม่ว่า บาเซโลนา-บาเซโลน่า หรือ โรนัลโด-โรนัลโด้ ซึ่งความจริงแล้วการออกเสียงวรรณยุกต์ในหลายภาษานั้น ไม่มีการกำหนดตำแหน่งตายตัวขึ้นอยู่กับรูประโยค ตัวอย่างเช่น Ronaldo สามารถออกเสียงได้เป็น โร้นัลโด-โรนั้ลโด-โร่นั้ลโด-โรนัลโด้ ซึ่งทางสื่อหนังสือพิมพ์พยายามจัดเสียงโทไว้ท้ายคำเพื่อให้คนไทยคุ้นเคย แต่ในวิกิพีเดียเพื่อให้เกิดความถูกต้องสูงสุด จึงแนะนำให้ไม่ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่าเสียงวรรณยุกต์สามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้

ในปัจจุบันนี้ สื่อหนังสือพิมพ์เลิกใช้วรรณยุกต์กับชื่อสโมสรในภาษาอังกฤษแล้ว จะเห็นว่าไม่มีการใช้ แมนเชสเต้อร์ อาร์เซน้อล หรือ ลิเว่อร์พูล แต่อย่างใด แต่ในภาษาอื่นยังมีการใช้วรรณยุกต์กันอย่างแพร่หลายตามที่เห็นได้ในทั่วไป