สถานีย่อย:ประเทศรัสเซีย/บทความยอดเยี่ยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตราประจำจักรวรรดิรัสเซีย
ตราประจำจักรวรรดิรัสเซีย

ประวัติศาสตร์รัสเซีย เริ่มต้นขึ้นเมื่อชาวสลาฟตะวันออกก่อตั้งอาณาจักรคีวานรุส และรับเอาศาสนาคริสต์มาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ในปี พ.ศ. 1531 ในปีพ.ศ. 1783 อาณาจักรคีวานรุสล่มสลายโดยการรุกรานจากจักรวรรดิมองโกล

หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 มอสโกได้ค่อยพัฒนาเป็นศูนย์กลางของศิลปะและวัฒนธรรมทีละน้อย ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 รัฐมอสโกได้เป็นใหญ่ในจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งได้มีการขยายอาณาเขตถึงโปแลนด์ ทางด้านตะวันออกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก จนถึงสมัยพระเจ้าซาร์อีวานที่ 3 ในปี พ.ศ. 2023 พระองค์หยุดส่งเครื่องบรรณาการให้มองโกเลีย และประกาศเอกราชไม่เป็นเมืองขึ้นของมองโกเลียอีกต่อไป หลังจากการเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่งผลให้รัสเซียเผชิญปัญหาในการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรม ความเป็นอยู่ประชาชนลำบากแร้นแค้น กำลังทหารและเศรษฐกิจรัสเซียเข้าขั้นวิกฤต ในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์จึงได้ก่อการปฏิวัติขึ้นในปี พ.ศ. 2460 นำไปสู่การก่อตั้งสหภาพโซเวียต เป็นประเทศแรกของโลกที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์




จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย
จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย

จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย หรือ ปีเตอร์มหาราช (รัสเซีย: Пётр I Великий, 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2215 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2268) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2225 จนกระทั่งสวรรคต และถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้มีอำนาจของยุโรปในสมัยนั้น

ในช่วงระยะเวลาของรัชสมัยซาร์ปีเตอร์ที่ 1 มหาราช พระองค์ได้ทรงสร้างประเทศเป็น “จักรวรรดิ” ที่เป็นที่น่าเกรงขามได้สำเร็จ การติดต่อด้านการค้าและการทูตกับต่างประเทศ การรับเอาความเจริญทางด้านการทหาร การช่างและวิทยาศาสตร์มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาประเทศ ในสมัยต้นราชวงศ์โรมานอฟล้วนแต่เป็นการแผ้วทางไปสู่ความยิ่งใหญ่ของรัสเซียมหาราช เมื่อซาร์ปีเตอร์มหาราชเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1725 นโยบายของพระองค์ก็ได้รับการสืบทอดต่อมา จนกระทั่งในรัชสมัยของซารินาแคเธอรีนที่ 2 มหาราช (ค.ศ. 1762 - 1796) รัสเซียได้กลายเป็นหนึ่งของประเทศมหาอำนาจยุโรปทิ่ยิ่งใหญ่ และมีบทบาทสำคัญใประวัติศาสตร์ยุโรปจนถึงปัจจุบัน




จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย
จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย

จักรพรรดินีโคไลที่ 2 (รัสเซีย: Николай II, Николай Александрович Романов, tr. Nikolai II, Nikolai Alexandrovich Romanov) หรือ นิโคลัสที่ 2 (อังกฤษ: Nicholas II; 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2411 - 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2461) เป็นจักรพรรดิแห่งรัสเซีย, แกรนด์ดยุคฟินแลนด์และกษัตริย์แห่งโปแลนด์โดยสิทธิ์พระองค์สุดท้าย เช่นเดียวกับจักรพรรดิรัสเซียองค์อื่นๆ พระองค์เป็นที่รู้จักด้วยพระอิสริยยศ ซาร์ บรรดาศักดิ์โดยย่ออย่างเป็นทางการของพระองค์ คือ นิโคลัสที่ 2 จักรพรรดิและอัตตาธิปัตย์แห่งปวงรัสเซีย ศาสนจักรออโธด็อกซ์รัสเซียออกพระนามพระองค์ว่า นักบุญนิโคลัสผู้แบกมหาทรมาน (Passion-Bearer) และถูกเรียกว่า นักบุญนิโคลัสมรณสักขี

จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ทรงปกครองตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1894 จนถูกบีบให้สละราชสมบัติเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1917 ในรัชกาลของพระองค์ จักรวรรดิรัสเซียจากที่เคยเป็นมหาอำนาจชั้นนำชาติหนึ่งของโลกกลายเป็นล่มสลายทางเศรษฐกิจและทหาร ศัตรูการเมืองให้สมญาพระองค์ว่า นิโคลัสกระหายเลือด เพราะโศกนาฏกรรมโฮดึนคา โพกรมต่อต้านยิวที่ถูกกล่าวหา วันอาทิตย์นองเลือด ซึ่งเป็นการปราบปรามการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1905 อย่างรุนแรง การประหารชีวิตและเนรเทศศัตรูทางการเมืองจำนวนมากของพระองค์ และการติดตามการทัพในขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อน




โอลกา คอนสแตนตินอฟนาแห่งรัสเซีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ
โอลกา คอนสแตนตินอฟนาแห่งรัสเซีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ

โอลกา คอนสแตนตินอฟนาแห่งรัสเซีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ เป็นพระมเหสีในพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ และทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งกรีซเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ในปี ค.ศ. 1920 เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระเป็นพระราชนัดดาของพระองค์

แกรนด์ดัชเชสโอลกาทรงเป็นสมาชิกพระราชวงศ์โรมานอฟ พระองค์เป็นพระธิดาในแกรนด์ดยุกคอนสแตนติน นีโคลาเยวิชกับเจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งซัคเซิน-อัลเทนบูร์ก พระองค์ใช้พระชนม์ชีพวัยเยาว์ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก โปแลนด์ และคาบสมุทรไครเมีย พระนางอภิเษกสมรสกับพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งกรีซในปี ค.ศ. 1867 ขณะมีพระชนมายุ 16 พรรษา ในตอนแรก พระองค์ทรงรู้สึกไม่สบายพระทัยเมื่อได้มาประทับที่ราชอาณาจักรกรีซ แต่พระองค์ทรงเข้ามามีส่วนร่วมอย่างรวดเร็วในงานสังคมและการกุศล สมเด็จพระราชินีโอลกาทรงก่อตั้งโรงพยาบาลและศูนย์ช่วยเหลือ แต่ความพยายามของพระองค์ในการสนับสนุนให้เกิดการเข้าถึงที่มากขึ้นในการแปลพระวรสารเป็นภาษากรีก ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการจลาจลโดยฝ่ายอนุรักษ์นิยมทางศาสนา




เลโอนิด อิลลิช เบรจเนฟ
เลโอนิด อิลลิช เบรจเนฟ

วันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 เลโอนิด อิลลิช เบรจเนฟ เลขาธิการกลางคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต คนที่ 3, ผู้นำสหภาพโซเวียตคนที่ 5 และประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต คนที่ 4 ถึงแก่อสัญกรรมลง ด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด สิริอายุ 75 ปี การถึงแก่อสัญกรรมได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการโดยวิทยุและโทรทัศน์ของสหภาพโซเวียตในวันที่ 11 พฤศจิกายน โดยมีรัฐพิธีศพและฝังร่างที่ กำแพงสุสานเครมลิน ยูรี อันโดรปอฟ ทายาททางการเมืองของเบรจเนฟ ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการกลางในวันที่ 15 พฤศจิกายน 5 วันหลังอสัญกรรมของเบรจเนฟ

ในรัฐพิธีมีประมุขแห่งรัฐจาก 32 ประเทศ, หัวหน้ารัฐบาลจาก 15 ประเทศ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 14 คน และเจ้าชายจาก 4 ประเทศมาร่วมงานนี้ ส่วนประธานาธิบดีสหรัฐโรนัลด์ เรแกน ส่ง จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช รองประธานาธิบดีสหรัฐ เข้าร่วมแทน




วีรชนแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
วีรชนแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย

วีรชนแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์สูงสุดในสหพันธรัฐรัสเซีย มอบแก่บุคคลสำหรับ "ราชการแก่รัฐและชาติรัสเซีย ปกติเชื่อมโยงกับการกระทำกล้าหาญเยี่ยงวีรชน" ตำแหน่งนี้มอบให้แก่บุคคลตามกฤษฎีกาของประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ผู้รับไม่จำเป็นต้องเป็นพลเมืองรัสเซียหรือรับราชการรัฐรัสเซียก็ได้ บุคคลที่ได้รับมอบตำแหน่งยังได้รับ "เหรียญดาวทอง" เพื่อเป็นเครื่องหมายเกียรติยศระบุตัวผู้รับ มีการสถาปนาตำแหน่งวีรชนแห่งสหพันธรัฐรัสเซียในปี 1992 โดยมีผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์นี้กว่า 970 ครั้ง รวมกว่า 440 ครั้งที่มอบให้บุคคลหลังถึงแก่กรรม

เครื่องอิสริยาภรณ์ "วีรชนแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย" เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์สืบเนื่องจากวีรชนแห่งสหภาพโซเวียต ซึ่งสถาปนาตามมติของคณะกรรมการบริหารกลางของสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 1934 ดาวทองที่มาพร้อมกันนั้นมาจากการออกแบบสมัยโซเวียต ที่สถาปนิกมิรอน เมียร์จานอฟเป็นผู้สร้าง