วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ ๑

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
คติพจน์การศึกษาเพื่ออาชีพและพัฒนาสังคม
ประเภทวิทยาลัยเทคนิค
ที่อยู่
9 ถนนเวียงแก้ว ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทร.0-5321-7708-9 โทรสาร 0-5322-1599
เว็บไซต์http://www.cmtc.ac.th

วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ เป็นวิทยาลัยเทคนิคหนึ่งในสองแห่งของจังหวัดเชียงใหม่[1] สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) การบริหารการศึกษาของวิทยาลัย มุ่งมั่นพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และแสวงหาความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศ ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนนักศึกษา และบริการสังคม โดยยึดหลักปรัชญา การศึกษาเพื่ออาชีพและพัฒนาสังคม โดยตลอด ปัจจุบันวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ มีเนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 47 ตารางวา ตั้งอยู่ พื้นที่ของวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของคุ้มหลวงเวียงแก้ว คุ้มหลวงของนครล้านนาในสมัยพระเจ้ากาวิละ


ประวัติ[แก้]

วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ เปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2480 ในชื่อ "โรงเรียนช่างไม้เชียงใหม่" เปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพช่างไม้เบื้องต้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนการช่างเชียงใหม่" รับนักเรียนที่จบชั้น ม.3 เข้าศึกษาต่อหลักสูตร 3 ปี กระทั่งปี พ.ศ. 2503 จึงได้จัดการศึกษาตามโครงการ ส.อ.ป. ใน 6 แผนกวิชา คือ ช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน ช่างเชื่อมโลหะแผ่น ช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุและโทรคานาคม และช่างก่อสร้าง

ในปี พ.ศ. 2516 ได้มีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "โรงเรียนเทคนิคเชียงใหม่" และได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ. 2522 กลุ่มสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และแม่ฮ่องสอน ได้ร่วมกันจัดตั้งเป็น "สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1" เมื่อปี พ.ศ. 2545 นับเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย[2]

แผนกวิชาที่เปิดสอน[แก้]

วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ เปิดสอนในหลักสูตรประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
หลักสูตร 3 ปี รับผู้จบ ม.ศ. 3 หรือ ม. 3 หรือ เทียบเท่า เข้าเรียนในระบบปกติ 6 สาขาวิชาชีพ ได้แก่

  • สาขาวิชาเครื่องกล
    • สาขางานยานยนต์
  • สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง
    • สาขางานเครื่องมือกล
    • สาขางานแม่พิมพ์โลหะ
  • สาขาวิชาโลหะการ
    • สาขางานเชื่อมโลหะ
  • สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
    • สาขางานไฟฟ้ากำลัง
    • สาขางานอิเล็กทรอนิกส์
    • สาขางานแมคคาทรอนิกส์
    • สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์)
  • สาขาวิชาการก่อสร้าง
    • สาขางานก่อสร้าง
    • สาขางานสถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    • สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
หลักสูตร 2 ปี รับผู้จบ ปวช. หรือ ม.6 หรือเทียบเท่า เข้าเรียนในระบบปกติ ระบบทวิภาคี 14 สาขางาน ได้แก่

  • สาขาวิชาเครื่องกล
    • สาขางานเทคนิคยานยนต์
    • สาขางานเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
    • สาขางานเทคนิคยานยนต์
  • สาขาวิชาเทคนิคการผลิต
    • สาขางานเครื่องมือกล
  • สาขาวิชาเทคนิคโลหะ
    • สาขางานเทคนิคการเชื่อมอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง
    • สาขางานเครื่องกลไฟฟ้า
    • สาขางานติดตั้งไฟฟ้า
    • สาขางานเครื่องเย็นและปรับอากาศ
  • สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
    • สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
    • สาขางานโทรคมนาคม
    • สาขางานอิเล็กทรอนิกส์การแพทย์
  • สาขาวิชาการก่อสร้าง
    • สาขางานเทคนิคการก่อสร้าง
  • สาขาวิชาสถาปัตย์กรรม
    • สาขางานเทคนิคสถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม
    • สาขางานติดตั้งและบำรุงรักษา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    • สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)


ระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ (ป.ตรี)

หลักสูตร 2 ปี รับผู้จบการศึกษาระดับ ปวส.หรือเทียบเท่า เข้าเรียนในระบบทวิภาคี จำนวน 2 ภาควิชา ดังนี้

  • ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ภาควิชาเทคโนโลยียานยนต์
    • สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์

อ้างอิง[แก้]

  1. วิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง
  2. "ประวัติวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-14. สืบค้นเมื่อ 2010-10-28.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]