ภาษาสิงหล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาสิงหล
සිංහල
Siṁhala
ออกเสียง[ˈsiŋɦələ] สิงหะละ
ประเทศที่มีการพูดศรีลังกา
ชาติพันธุ์ชาวสิงหล
จำนวนผู้พูด17 ล้านคน  (2012)[1]
ผู้พูดภาษาที่สอง 2 ล้านคน (2012)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
Elu
  • ภาษาสิงหล
ภาษาถิ่น
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ ศรีลังกา
รหัสภาษา
ISO 639-1si
ISO 639-2sin
ISO 639-3sin
Linguasphere59-ABB-a

ภาษาสิงหล (สิงหล: සිංහල, siṁhala, [ˈsiŋɦələ])[2] เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่พูดโดยชาวสิงหลในประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรมากที่สุดบนเกาะ (มีจำนวนประมาณ 16 ล้านคน)[3][1] กลุ่มชาติพันธุ์อื่นในศรีลังกาก็พูดภาษาสิงหลเป็นภาษาแม่ ซึ่งมีจำนวนประมาณ 2 ล้านคนใน ค.ศ. 2001[4] ภาษานี้เขียนด้วยอักษรสิงหล ซึ่งเป็นหนึ่งในตระกูลอักษรพราหมีที่สืบทอดจากอักษรพราหมีในอินเดียโบราณ โดยมีความใกล้ชิดกับอักษรครันถะ[5]

ภาษาสิงหลเป็นหนึ่งในภาษาราชการและภาษาประจำชาติศรีลังกา โดยมีบทบาทหลักในการพัฒนาวรรณกรรมศาสนาพุทธนิกายเถรวาทร่วมกับภาษาบาลี[1]

มีหลักฐานยืนยันรูปแบบแรกเริ่มของภาษาสิงหลมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช[6] ภาษาในจารึกซึ่งมีสระเสียงยาวและพยัญชนะธนิตเหล่านั้นเป็นภาษาปรากฤตที่คล้ายกับภาษามคธ ซึ่งเป็นภาษาระดับภูมิภาคที่พัฒนามาจากภาษาปรากฤตอินเดียสมัยกลางที่มีการใช้งานในสมัยพุทธกาล[7] ภาษาที่ใกล้ชิดกับภาษาสิงหลคือภาษาแว็ททา (ภาษาครีโอลพื้นเมืองที่อยู่ในภาวะใกล้สูญ มีชาวสิงหลจำนวนน้อยที่พูดภาษานี้) และภาษามัลดีฟส์ ภาษานี้มีวิธภาษาสองวิธภาษาหลัก ได้แก่ วิธภาษาเขียนและวิธภาษาพูด และเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของปรากฏการณ์ทางภาษาศาสตร์ที่เรียกว่าทวิภาษณ์[8][9]

พยัญชนะในอักษรสิงหล

ชื่อ[แก้]

สิงหล (Siṃhala) เป็นคำจากภาษาสันสกฤตซึ่งภาษาในยุคกลางที่เทียบได้คือ สีหละ ชื่อภาษานี้มาจากศัพท์ siṃha ซึ่งในภาษาสันสกฤตแปลว่า "สิงโต"[10] บางครั้งแปลได้เป็น "ที่อยู่สิงโต" และอาจอิงถึงบริเวณเกาะที่ในอดีตเคยมีสิงโตชุกชุม[11]

ประวัติ[แก้]

เชื่อกันว่าใน พ.ศ. 43 ได้มีกลุ่มคนจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียมาถึงเกาะลังกา นำโดยเจ้าชายวิชัย จากราชวงศ์มหาวังศะ กลุ่มผู้อพยพได้รวมเข้ากับกลุ่มชนเดิมที่เรียกเผ่าเฮลาหรือเผ่ายักขา เผ่านาคะ ที่พูดภาษาเอลู ทำให้เกิดชนชาติใหม่ที่เรียกสิงหล ในศตวรรษต่อมา มีผู้อพยพระลอกใหม่จากเบงกอลในอินเดียตะวันออก ซึ่งได้นำลักษณะของภาษาปรากฤตตะวันออกเข้ามารวม

ภาษาสิงหลได้พัฒนาเป็น 4 ระยะคือ ภาษาปรากฤตสิงหล (ก่อนพุทธศตวรรษที่ 8) ภาษาสิงหลดั้งเดิม (พุทธศตวรรษที่ 8-12) ภาษาสิงหลยุคกลาง (พุทธศตวรรษที่ 12 – 17) และภาษาสิงหลสมัยใหม่ (พุทธศตวรรษที่ 17 จนถึงปัจจุบัน) การพัฒนาหน่วยเสียงของภาษาสิงหลที่สำคัญ ได้แก่ การไม่มีความแตกต่างระหว่างเสียงมีลมและเสียงกัก เช่น kanavā "กิน" ตรงกับภาษาสันสกฤต khādati, ภาษาฮินดี khānā สระเสียงยาวถูกทำให้สั้น สระเสียงยาวในภาษาสมัยใหม่มักเป็นคำยืม เช่น vibāgaya "ตัวอย่าง" มาจากภาษาสันสกฤต vibhāga ทำให้กลุ่มของพยัญชนะกลายเป็นเสียงเดียวที่ง่ายขึ้น เช่น ภาษาสันสกฤต viṣṭā "เวลา" มาเป็นภาษาปรากฤตสิงหล viṭṭa และเป็นภาษาสิงหลสมัยใหม่ viṭa การเปลี่ยนเสียง /j/ เป็น /d/ เช่น däla "ตาข่าย" ตรงกับภาษาสันสกฤต jāla

ใน พ.ศ. 2499 ภาษาสิงหลได้เป็นภาษาราชการของศรีลังกาแทนที่ภาษาอังกฤษ ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาระหว่างชนส่วนใหญ่ชาวสิงหลกับชนกลุ่มน้อยชาวทมิฬ นอกจากนั้น ยังเป็นนโยบายของพรรคศรีลังกาอิสระที่ต้องการให้วัฒนธรรมภาษาสิงหลและศาสนาพุทธเป็นจุดเด่นของสังคม

ลักษณะของภาษาปรากฤตตะวันตกและตะวันออก[แก้]

ตัวอย่างของลักษณะภาษาปรากฤตตะวันตกในภาษาสิงหลคือเสียงต้นคำของ /v/ ยังคงอยู่ ซึ่งเสียงนี้จะเป็น /b/ ในสำเนียงตะวันออก เช่น ภาษาสันสกฤต viṃśati "ยี่สิบ" ภาษาสิงหล visi- ภาษาฮินดี bīs) ตัวอย่างลักษณะของภาษาปรากฤตตะวันออกคือคำนามเอกพจน์เพศชายลงท้ายด้วย –e ซึ่งในสำเนียงตะวันตกเป็น –o และมีมี่ซ้ำกัน เพราะมีที่มาจากภาษาสันสกฤตเช่นกั

อิทธิพลที่ปรากฏในภาษาสิงหล[แก้]

ภาษาสิงหลมีลักษณะที่ต่างจากภาษาในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันอื่น ๆ ภาษาสิงหลมีศัพท์จำนวนมากที่พบเฉพาะในภาษาสิงหล และไม่ได้มาจากภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางหรือยุคโบราณ ตัวอย่าง เช่น Kola แปลว่าใบ Dola แปลว่าหมู และมีศัพท์ทั่วไปจำนวนมากที่พบในภาษาก่อนสิงหลในศรีลังกา ผู้เขียนไวยากรณ์ภาษาสิงหลที่เก่าที่สุดคือ สิทัตสะงครวะ ได้จัดศัพท์เหล่านี้อยู่ในหมวดหมู่ก่อนภาษาสิงหล

อิทธิพลจากภาษาเพื่อนบ้าน[แก้]

ภาษาสิงหลมีคำยืมจากภาษาทมิฬจำนวนมาก และยังพบอิทธิพลของตระกูลภาษาดราวิเดียนซึ่งไม่พบในภาษากลุ่มอินโด-อารยันอื่น ๆ ได้แก่การแยกของเสียง เอะ/เอ โอะ/โอ ไม่มีเสียงมีลม เป็นต้น

อิทธิพลจากต่างชาติ[แก้]

ในช่วงที่เป็นอาณานิคมภาษาสิงหลได้ยืมคำจากภาษาโปรตุเกส ภาษาดัตช์และภาษาอังกฤษเป็นจำนวนมาก

อิทธิพลต่อภาษาอื่น ๆ[แก้]

ภาษามาเก๊าซึ่งเป็นภาษาลูกผสมระหว่างภาษามลายู ภาษาสิงหล ภาษาโปรตุเกสและภาษาจีนกวางตุ้งซึ่งเริ่มใช้พูดในชุมชนชาวมาเก๊าเมื่อครั้งเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ปัจจุบันยังมีผู้ใช้ภาษานี้เล็กน้อยในมาเก๊า

การเน้นและสำเนียง[แก้]

ภาษาสิงหลที่ใช้พูดทางใต้ของศรีลังกามีคำพูดมากมายที่ไม่พบในส่วนอื่นของประเทศ สำหรับผู้พูดภาษาสิงหลเป็นภาษาแม่จะถือว่าทุกสำเนียงเข้าใจกันได้ และไม่แตกต่างกันมากนัก

ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียน[แก้]

ภาษาสิงหลเป็นเช่นเดียวกับภาษาอื่นในเอเชียใต้คือภาษาที่ใช้พูดและเขียนนั้นแตกต่างกัน ภาษาเขียนจะใช้ศัพท์ที่มีพื้นฐานมาจากภาษาสันสกฤตมากกว่า ส่วนภาษาพูดจะไม่ใช้กริยาในรูปกริยาสะท้อน

ระบบการเขียน[แก้]

ภาษาสิงหลเขียนด้วยอักษรสิงหลที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี มีอักษรทั้งหมด 54 ตัว มีสระ 18 ตัว และพยัญชนะ 36 ตัว แต่มีอักษรเพียง 36 ตัวเท่านั้นที่จำเป็นสำหรับการเขียนภาษาสิงหลที่เป็นภาษาพูด

ไวยากรณ์[แก้]

การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีคำเชื่อมที่เทียบได้กับ what หรือ whether ในภาษาอังกฤษ แต่จะใช้ในรูปวลี คำขยายอยู่หน้าคำที่ถูกขยาย ไม่มีบุพบท มีแต่ปรบทเท่านั้น ไม่มีคำที่เทียบเคียงกับ verb to be ในภาษาอังกฤษ ภาษาสิงหลเป็นภาษาที่ละประธานของประโยคได้ ในภาษาสิงหลมีหลายการก ที่ใช้โดยทั่วไปคือ การกประธาน การกกรรมตรง การกแสดงความเป็นเจ้าของ การกกรรมรอง และ ablative

คำนามที่มีชีวิตรูปพหูพจน์ลงท้ายด้วย –o พยัญชนะเสียงยาวลงท้ายด้วย-u หรือ –la คำนามที่ไม่มีชีวิตส่วนใหญ่แสดงพหูพจน์ด้วยการตัดคำลงท้ายในรูปเอกพจน์ออก คำยืมจากภาษาอังกฤษแสดงเอกพจน์ด้วยรูป ekə และไม่แสดงรูปพหูพจน์ คำนำหน้านามไม่ชี้เฉพาะคือ –ek สำหรับนามที่มีชีวิตและ –ak สำหรับนามที่ไม่มีชีวิต ใช้กับนามเอกพจน์เท่านั้น

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Sinhala". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 2017-04-06.
  2. Laurie Bauer, 2007, The Linguistics Student's Handbook
  3. "Census of Population and Housing 2011". www.statistics.gov.lk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-28. สืบค้นเมื่อ 2017-04-06.
  4. "Census of Population and Housing 2001" (PDF). Statistics.gov.lk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-12. สืบค้นเมื่อ 16 November 2013.
  5. Jayarajan, Paul M. (1976-01-01). History of the Evolution of the Sinhala Alphabet (ภาษาอังกฤษ). Colombo Apothecaries' Company, Limited.
  6. Prof. Senarat Paranavithana (1970), Inscriptions of Ceylon Volume I – Early Brāhmī Inscriptions
  7. Dias, Malini (2020). The language of the Early Brahmi inscriptions of Sri Lanka# Epigraphical Notes Nos.22-23. Department of Archaeology. p. 12-19. ISBN 978-955-7457-30-7.
  8. Paolillo, John C. (1997). "Sinhala Diglossia: Discrete or Continuous Variation?". Language in Society. 26 (2): 269–296. doi:10.1017/S0047404500020935. ISSN 0047-4045. JSTOR 4168764. S2CID 144123299.
  9. Gair, James W. (1968). "Sinhalese Diglossia". Anthropological Linguistics. 10 (8): 1–15. ISSN 0003-5483. JSTOR 30029181.
  10. Caldwell, Robert (1875). "A comparative grammar of the Dravidian or South-Indian Family of Languages". London: Trübner & Co.: 86. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  11. The Asiatic Journal and Monthly Register for British and Foreign India, China, and Australia (ภาษาอังกฤษ). Vol. 20. Parbury, Allen, and Company. 1836. p. 30.{{cite book}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)

บรรณานุกรม[แก้]

  • Gair, James: Sinhala and Other South Asian Languages, New York 1998.
  • Indrapala, Karthigesu (2007). The evolution of an ethnic identity: The Tamils in Sri Lanka C. 300 BCE to C. 1200 CE. Colombo: Vijitha Yapa. ISBN 978-955-1266-72-1.
  • Perera, H.S.; Jones, D. (1919). A colloquial Sinhalese reader in phonetic transcription. Manchester: Longmans, Green & Co.
  • Van Driem, George (15 Jan 2002). Languages of the Himalayas: An Ethnolinguistic Handbook of the Greater Himalayan Region. Brill Academic Publishers. ISBN 978-90-04-10390-0.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Clough, B. (1997). Sinhala English Dictionary (2nd ed.). New Delhi: Asian Educational Services.
  • Gair, James; Paolillo, John C. (1997). Sinhala. Newcastle: München.
  • Gair, James (1998). Studies in South Asian Linguistics. New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-509521-0.
  • Geiger, Wilhelm (1938). A Grammar of the Sinhalese Language. Colombo.
  • Karunatillake, W.S. (1992). An Introduction to Spoken Sinhala. Colombo. [several new editions].
  • Zubair, Cala Ann (2015). "Sexual violence and the creation of an empowered female voice". Gender and Language. 9 (2): 279–317. doi:10.1558/genl.v9i2.17909. (Article on the use of slang amongst Sinhalese Raggers.)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]