ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอโขงเจียม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เกิดที่อำเภอศรีเมืองใหม่
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล อำเภอ
| name = โขงเจียม
| english = Khong Chiam
| province = อุบลราชธานี
| area = 765.0
| population = 38,426
| population_as_of = 2562
| density = 50.23
| postal_code = 34220
| geocode = 3403
| image_map = Amphoe 3403.svg
| capital = ที่ว่าการอำเภอโขงเจียม หมู่ที่ 1 ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี 34220
| coordinates = {{coord|15|19|8|N|105|29|44|E|type:adm2nd_region:TH}}
| phone = 0 4535 1041
| fax = 0 4535 1041
| คำขวัญ = รวมมัจฉา ภูผางาม น้ำสองสี ศิลป์ดีที่ผาแต้ม
}}

'''โขงเจียม''' เป็นอำเภอหนึ่งใน[[จังหวัดอุบลราชธานี]] ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก[[ที่สุดในประเทศไทย|สุดของประเทศไทย]] โดยมีชื่อเดิมว่า อำเภอบ้านด่าน<ref>พรก. เปลี่ยนชื่ออำเภอบางแห่งมนจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2514</ref> นับเป็น 1 ใน 5 อำเภอของจังหวัดที่มี[[แม่น้ำโขง]]ไหลผ่าน

== ประวัติศาสตร์ ==
== ประวัติศาสตร์ ==
อำเภอโขงเจียม แยกออกจากอำเภอศรีเมืองใหม่ (เดิมชื่ออำเภอโขงเจียม) จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านด่านปากมูลใน พ.ศ. 2502 โดยมีนายจิตร สุวรรณไลละ เป็นนายอำเภอกิ่ง ต่อมายกฐานะเป็นอำเภอบ้านด่าน มีเขตการปกครองแบ่งได้ 6 ตำบล คือ ตำบลโขงเจียม ตำบลคำเขื่อนแก้ว ตำบลหนองแสงใหญ่ ตำบลห้วยไผ่ ตำบลห้วยยาง และตำบลนาโพธิ์กลาง
อำเภอโขงเจียม แยกออกจากอำเภอศรีเมืองใหม่ (เดิมชื่ออำเภอโขงเจียม) จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านด่านปากมูลใน พ.ศ. 2502 โดยมีนายจิตร สุวรรณไลละ เป็นนายอำเภอกิ่ง ต่อมายกฐานะเป็นอำเภอบ้านด่าน มีเขตการปกครองแบ่งได้ 6 ตำบล คือ ตำบลโขงเจียม ตำบลคำเขื่อนแก้ว ตำบลหนองแสงใหญ่ ตำบลห้วยไผ่ ตำบลห้วยยาง และตำบลนาโพธิ์กลาง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:03, 16 พฤษภาคม 2563

ประวัติศาสตร์

อำเภอโขงเจียม แยกออกจากอำเภอศรีเมืองใหม่ (เดิมชื่ออำเภอโขงเจียม) จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านด่านปากมูลใน พ.ศ. 2502 โดยมีนายจิตร สุวรรณไลละ เป็นนายอำเภอกิ่ง ต่อมายกฐานะเป็นอำเภอบ้านด่าน มีเขตการปกครองแบ่งได้ 6 ตำบล คือ ตำบลโขงเจียม ตำบลคำเขื่อนแก้ว ตำบลหนองแสงใหญ่ ตำบลห้วยไผ่ ตำบลห้วยยาง และตำบลนาโพธิ์กลาง

ในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2514 ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า คำว่า "โขงเจียม" เหมาะสมกับประวัติศาสตร์และชุมชนดังเดิมแถบนี้ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอโขงเจียม ต่อมาใน พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอสิรินธร โดยให้ผนวกเอาตำบลคำเขื่อนแก้วไปอยู่ในเขตอำเภอสิรินธรด้วย จึงทำให้อำเภอโขงเจียมเหลือเขตการปกครองจำนวน 5 ตำบล จนถึงปัจจุบัน

คำว่า " โขง " หมายถึงหัวหน้าช้างหรืออาจจะมาจากคำว่า "โขลง" ที่หมายถึง ฝูงช้างก็ได้ คำว่า "เจียม" คาดว่า เพี้ยนมาจากคำว่า " เจียง " (ส่วย) ซึ่งแปลว่า " ช้าง " ดังนั้นอำเภอโขงเจียมจึงน่าจะหมายถึง "เมืองที่มีช้างมาอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ "

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอโขงเจียมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบ สลับกับโนน (เนิน) เตี้ย ๆ โขงเจียมมีเขตแดนทางตะวันออกติดแม่น้ำโขง เป็นที่ซึ่งแม่น้ำมูลไหลลงมาบรรจบบริเวณท้ายวัดโขงเจียม (วัดบ้านด่านเก่า) บริเวณที่แม่น้ำทั้งสองสายมาจดกันทำให้เกิดสภาพที่เรียกว่า น้ำสองสี โดยน้ำที่ไหลจากน้ำโขงจะมีสีขาวขุ่น ส่วนน้ำที่มาจากลำน้ำมูลมีลักษณะใสหรือสีเขียวอมฟ้าเล็กน้อย บางครั้งจะเรียกกันว่า "โขงสีปูน มูลสีคราม"

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอโขงเจียมแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 54 หมู่บ้าน ได้แก่

1. โขงเจียม (Khong Chiam) 14 หมู่บ้าน
2. ห้วยยาง (Huai Yang) 11 หมู่บ้าน
3. นาโพธิ์กลาง (Na Pho Klang) 10 หมู่บ้าน
4. หนองแสงใหญ่ (Nong Saeng Yai) 9 หมู่บ้าน
5. ห้วยไผ่ (Huai Phai) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอโขงจียมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโขงเจียม
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโขงเจียม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโขงเจียม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยยางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาโพธิ์กลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาโพธิ์กลางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแสงใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแสงใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยไผ่ทั้งตำบล

ประชากร

ประชากรในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำนา ทำไร่ ทำประมง และรับจ้างทั่วไป ส่วนในด้านการศึกษา โขงเจียมมีโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัด สพฐ. หนึ่งแห่ง ได้แก่ โรงเรียนโขงเจียมวิทยาคม

การขนส่ง

อำเภอโขงเจียมห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานีไปทางทิศตะวันออก 75 กิโลเมตร โดยใช้ถนนสถิตนิมานกาล (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217) จากวารินชำราบ-สว่างวีระวงศ์-พิบูลมังสาหาร เลี้ยวซ้ายผ่านสี่แยกธนาคารออมสิน ตรงไป ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำมูล แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2222 ประมาณ 30 กิโลเมตร ถึงอำเภอโขงเจียม นอกจากเส้นทางนี้ แล้วยังมีเส้นทางอื่นที่จะเดินทางมาได้ คือ เส้นทางอุบลราชธานี-ตระการพืชผล 50 กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่อำเภอตระการพืชผล เข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2134 อีก 60 กิโลเมตรถึงอำเภอโขงเจียม และเส้นทางสุดท้าย คือ อุบลราชธานี-ตาลสุม-โขงเจียม ระยะทาง 75 กิโลเมตร แต่สภาพถนนไม่สะดวกต่อการเดินทาง นอกจากนี้ยังมีทางหลวง 2112 เขมราฐ-โขงเจียม ซึ่งเป็นถนนเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดหลายแห่ง

สถานที่ท่องเที่ยว

อำเภอโขงเจียมมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น อุทยานแห่งชาติผาแต้ม น้ำตกสร้อยสวรรค์ น้ำตกลงรู เถาวัลย์ยักษ์ รอยพระพุทธบาทบ้านท่าล้ง เขื่อนปากมูล แก่งตะนะ และแม่น้ำสองสีซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำมูลไหลลงสู่แม่น้ำโขง

อ้างอิง