พระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชสิทธิโกศล

(เทพ นนฺโท)
ชื่ออื่นพระคุณท่าน ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อเทพ วัดกลางสุรินทร์
ส่วนบุคคล
เกิด10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 (79 ปี)
มรณภาพ23 พฤษภาคม พ.ศ. 2539
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นเอก ,ม.ศ.3
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดกลางสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
อุปสมบท22 พฤษภาคม พ.ศ. 2481
พรรษา59
ตำแหน่งอดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (ม) และอดีตเจ้าอาวาสวัดกลางสุรินทร์

พระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท)[1] อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (มหานิกาย) และอดีตเจ้าอาวาสวัดกลางสุรินทร์,ผู้สถาปนาโรงเรียนปริยัติโกศลวิทยา พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในระดับศึกษาผู้ใหญ่ และในระดับมัธยมศึกษาปีที่1-6ของพระภิกษุ และสามเณร เป็นผู้มีแนวความคิดริเริ่มขยายโอกาสทางการศึกษาของคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ในระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เกิดขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์


ภาพที่ระลึกพระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท)
เหรียญที่ระลึกพระสิทธิการโกศล (เทพ นนฺโท)
ต้อนรับสัญญาบัตรพัดยศประกอบสมณศักดิ์พระราชสิทธิโกศล(เทพ นนฺโท)
ภาพที่ระลึกพระราชสิทธิโกศล(เทพ นนฺโท)อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์

ชาติภูมิ[แก้]

พระราชสิทธิโกศล[2]นามเดิมว่า เทพ นามสกุลจันทร์เพชร เกิดวันเสาร์ แรม 11 ค่ำ เดือน 12 ปี มะเส็ง ที่ 10 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 เป็นบุตรนายติง-นางตัน นามสกุลจันทร์เพชร ภูมิลำเนาเดิมอยู่ บ้านเลขที่ 4/1 หมู่ที่ 6 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

การบรรพชา-อุปสมบท[แก้]

วิทยฐานะ[แก้]

งานปกครอง[แก้]

งานการศึกษา[แก้]

งานสาธารณูปการ[แก้]

  • พ.ศ. 2494 สร้างกุฏิสำนักงาน และเป็นกุฏิเจ้าอาวาส 1 หลัง 2 ชั้น กว้าง 7 เมตร ยาว 12 เมตร สร้างด้วยเนื้อไม้แข็ง มูลค่า 60,000 บาท
  • พ.ศ. 2503-2508 สร้างอุโบสถ 1 หลัง กว้าง 8 เมตร ยาว 20 เมตร ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มูลค่า 850,000 บาท
  • พ.ศ. 2508 สร้างประตูและกำแพงวัดด้านหน้า มูลค่าประมาณ 48,000 บาท
  • พ.ศ. 2510 สร้างกุฏิสังฆาธิการ 2 ชั้น 8 ห้อง ทรงปั้นหยา มูลค่า 215,000 บาท
  • พ.ศ. 2516-2517 สร้างศาลาสหมิตรังสรรค์ 1 หลัง 2 ชั้น ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร ทรงไทย มูลค่า 952,000 บาท
  • พ.ศ. 2516-2517 สร้างกุฏิทรงไทย 1 หลัง 2 ชั้น ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 7 เมตร ยาว 17.50 เมตร มูลค่า 300,000 บาท
  • พ.ศ. 2516-2517 สร้างกุฏิเก็บสังฆภัณฑ์ 1หลัง 2 ชั้น ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 5 เมตร ยาว 8 เมตร มูลค่า 85,000 บาท
  • พ.ศ. 2518 สร้างกุฏิครัวสงฆ์ 1 หลัง 2 ชั้น ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 5 เมตร ยาว 12 เมตร มูลค่า 52,000 บาท
  • พ.ศ. 2519 ซ่อมอุโบสถที่เสียหายจากอัคคีภัย มูลค่า 40,300 บาท
  • พ.ศ. 2519 สร้างกำแพงด้านข้าง ยาว 60 เมตร และห้องน้ำ 6 ห้อง มูลค่า 52,000 บาท
  • พ.ศ. 2521 สร้างอาคารเรียนปริยัติธรรม 1 หลัง 3 ชั้น จำนวน 18 ห้องเรียน ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 7 เมตร ยาว 43 เมตร มูลค่า 2,200,800 บาท
  • พ.ศ. 2523 สร้างศาลาเอนกประสงค์ 1 หลังอาคาร 3 ชั้นลักษณะทรงไทย ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 12 เมตร ยาว 26 เมตร มูลค่า 1,220,000 บาท
  • เป็นกรรมการ สร้างตึกสงฆ์อาพาธ ประจำโรงพยาบาลสุรินทร์

งานสาธารณูปการสงเคราะห์[แก้]

  • ดำเนินการก่อตั้ง วัดเทพสุรินทร์ (คุ้มเหนือ),วัดใหม่ศรีหมากทอง,วัดหลักวอก
  • พ.ศ. 2518 เป็นคณะกรรมการก่อสร้างอุโบสถวัดหนองบัว และเป็นคณะกรรมการอุโบสถวัดจำปา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

งานการเผยแผ่[แก้]

  • เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตจังหวัดสุรินทร์
  • เป็นผู้ก่อตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดโคกบัวราย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • บรรยายธรรมทางสถานีวิทยุ รายการธรรมะวัตร

งานพิเศษ[แก้]

ถึงแก่มรณภาพ[แก้]

จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา พระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท) เริ่มปรารถถึงความเจ็บป่วยของพระเดชพระคุณท่านเอง เมื่อศิษยานุศิษย์จึงได้พาพระเดชพระคุณเข้าโรงพยาบาลแพทย์ได้ตรวจพบว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นโรคสมองฝ่อ เมื่อปี พ.ศ. 2537 เมื่อศิษยานุศิษย์ได้พาพระเดชพระคุณหลวงพ่อเข้ารักษาอาการป่วย ที่โรงพยาบาลสมิติเวช กรุงเทพมหานคร อาการได้ทุเลาลงบ้างแต่ก็ไม่ได้หายขาด ต่อมาเมื่อวันที่ 28 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2538 ศิษยานุศิษย์เห็นสมควรว่าพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์เป็นดีที่สุด ศิษยานุศิษย์จึงได้พาพระเดชพระคุณเข้ารักษาอาการป่วย ที่โรงพยาบาลสุรินทร์ ซึ่งเป็นการเข้ารักษาพยาบาลอาการป่วยของพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่ยาวนานที่สุด ซึ่งอาการป่วยของหลวงพ่อในช่วงนี้มีอาการดีขึ้นอยู่บ้าง พระเดชพระคุณหลวงพ่อรู้สึกตัว และสามารถพูดจารู้เรื่อง แต่ก็เป็นระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน อาการป่วยก็เป็นดั่งเดิม สุขภาพของพระเดชพระคุณหลวงพ่อมีแต่ทรุดลงตามลำดับ ร่างกายที่เคยสดใสสมบูรณ์สมน้ำสมเนื้อก็ห่อเหี่ยวจนอาการผ่อยผอมลง อย่างปรากฏเห็นชัดเจน แทบจะกล่าวได้ว่า "เป็นหนังติดกระดูก" จนกระทั่งวันที่ 23 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2539 เวลา 07.15 น. พระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท) ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการอันสงบ ณ โรงพยาบาลสุรินทร์ [4]

สมณศักดิ์,พัดยศ[แก้]

ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ตามลำดับดังนี้

อ้างอิง[แก้]

  1. https://www.facebook.com/WatcharaManyuen/posts/10203449765921934?pnref=story
  2. http://www.weloveshopping.com/template/a25/showproduct.php?pid=24670243&shopid=308934[ลิงก์เสีย]
  3. https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/amulets/news_2100291
  4. หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระราชสิทธิโกศล อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ และอดีตเจ้าอาวาสวัดกลางสุรินทร์ 9 เมษายน 2540 พิมพ์ที่ สุรินทร์การพิมพ์
  5. | ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗ หน้าที่ ๒๗๙๑
  6. | ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑ ฉบับพิเศษ หน้าที่ ๓
  7. | ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓ ฉบับพิเศษ หน้าที่ ๓
ก่อนหน้า พระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท) ถัดไป
พระประภากรคณาจารย์ (เดื่อ ปภากโร) เจ้าอาวาสวัดกลางสุรินทร์
(พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2539)
พระครูบรรณสารโกวิท (แป สุปญฺโญ)
พระประภากรคณาจารย์ (เดื่อ ปภากโร) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
(พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2539)
พระธรรมโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ)
เริ่มตำแหน่ง ผู้จัดการ โรงเรียนปริยัติโกศลวิทยา วัดกลางสุรินทร์
(พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2539)
พระครูบรรณสารโกวิท (แป สุปญฺโญ) (รักษาการแทน)