มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
ชื่อย่อมจร.สร. / MCU.SR.
คติพจน์ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต
ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
ประเภทวิทยาเขตสุรินทร์
สถาปนาพ.ศ. 2531
รองอธิการบดีพระราชวิมลโมลี (มานพ ปิยสีโล) ป.ธ.9 ผศ.,ดร. (รักษาการแทน)
ที่ตั้ง
บ้านโคกกระเพอ หมู่ที่ 8 (ห้วยเสนง) ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000
เว็บไซต์surin.mcu.ac.th

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ (อังกฤษ: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Surin Campus; ชื่อย่อ: มจร.สร. - MCU.SR.) ตั้งอยู่ที่ บ้านโคกกระเพอ หมู่ที่ 8 (ห้วยเสนง) ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์เป็นวิทยาเขตลำดับที่ 8 ในสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล ในการกำกับดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ประวัติ[แก้]

แนวคิดที่จะตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ ได้เริ่มมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2529 โดยพระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท)เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์และเจ้าอาวาสวัดกลางสุรินทร์ในขณะนั้น และพระศรีธีรพงศ์ (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ) รองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ฝ่ายการศึกษา ของคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ปัจจุบันคือ พระพรหมวชิรโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ),ดร. มีแนวคิดที่จะขยายการศึกษาของคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ให้ครบวงจรขึ้น ทั้งนี้ได้รับความเห็นชอบและความสนับสนุนจาก นายเสนอ มูลศาสตร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในขณะนั้น

พระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์และเจ้าอาวาสวัดกลางสุรินทร์ในขณะนั้น จึงมีหนังสือนิมนต์เจ้าคณะพระสังฆาธิการของจังหวัดสุรินทร์มาร่วมประชุมปรึกษาหารือที่อุโบสถวัดกลางสุรินทร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2529 ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้จัดตั้ง มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตสุรินทร์[1] ขึ้น ในปีพุทธศักราช 2530 แต่ทางคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เนื่องจากขาดบุคลากรผู้จะดำเนินการ

ปีพุทธศักราช 2531 คณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์พร้อมทั้งข้าราชการ คณาจารย์ พ่อค้าและประชาชน ได้พร้อมใจกันประชุมอีกครั้งหนึ่ง ที่วัดกลางสุรินทร์ โดยมีพระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และนายเถกิง เจริญศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ที่ประชุมได้มีมติให้ดำเนินการขออนุญาตจัดตั้ง มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตสุรินทร์ ขึ้น โดยใช้อาคารสถานที่ของวัดศาลาลอย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นสำนักงานและอาคารเรียนชั่วคราว ที่ประชุมได้มอบหมายให้ พระศรีธีรพงศ์ (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ) รองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ฝ่ายการศึกษา และพระมหาประจักษ์ จกฺกธมฺโม พุทธศาสตรบัณฑิต พระจริยนิเทศก์ประจำจังหวัดสุรินทร์ปัจจุบันคือ พระครูปริยัติวิสุทธิคุณ (ประจักษ์ จกฺกธมฺโม),ดร.รองเจ้าคณะอำเภอท่าตูม,เจ้าอาวาสวัดโพธิพฤกษาราม อำเภอท่าตูม เป็นผู้แทนคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ เป็นผู้ดำเนินการขออนุมัติจัดตั้ง มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตสุรินทร์ ต่อสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

สภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2531 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2531 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้จัดตั้ง วิทยาเขตสุรินทร์ ขึ้นใน “คณะสังคมศาสตร์” โดยมีชื่อเต็มว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตสุรินทร์”

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตสุรินทร์ ได้ทำการปฐมนิเทศเปิดการศึกษารุ่นแรก เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 มีพระภิกษุสามเณรสมัครเป็นนิสิตรุ่นแรกจำนวน 49 รูป และได้ประกอบพิธีเปิดป้าย ณ อาคารเรียนโรงเรียนปริยัติธรรม วัดศาลาลอย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2531 โดยมีเจ้าพระคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และนาย พิศาล มูลศาสตรสาทร ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส โดยมีเจ้าคณะจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง 17 จังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 17 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระสังฆาธิการ ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก

ในปีพุทธศักราช 2540 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับพระราชบัญญัติรับรองสถานภาพความเป็นนิติบุคคลของมหาวิทยาลัย และมีพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัย เรียกชื่อว่า พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2540 และประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 114 ตอนที่ 51 ก ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2540

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตสุรินทร์ จึงได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์”

ปีพุทธศักราช 2542 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ [2]ได้ย้ายมาดำเนินการยังสถานที่ตั้งถาวรบนเนื้อที่ 100 ไร่ ณ บ้านโคกกระเพอ หมู่ที่ 8 (ห้วยเสนง) ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา[แก้]

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษาที่เป็นพระภิกษุ และสามเณร
  1. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยคและต้องศึกษาวิชาสามัญเพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
  2. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือ
  3. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค และได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
  4. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา หรือ
  5. เป็นพระสังฆาธิการหรือครูสอนพระปริยัติธรรมที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.) หรือ
  6. เป็นพระสังฆาธิการหรือครูสอนพระปริยัติธรรมที่สอบได้นักธรรมชั้นเอกและสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือ
  7. เป็นผู้สอบได้นักธรรมชั้นเอกและสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และต้องศึกษาวิชาภาษาบาลี ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ยกเว้นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรสาขาวิชาบาลีที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
  8. เป็นผู้สำเร็จระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือผู้ได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยรับรอง และต้องศึกษาวิชาภาษาบาลี ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต ยกเว้นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรสาขาวิชาบาลีที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
  9. เป็นผู้ที่มหาวิทยาลัยอนุมัติให้เข้าศึกษาเป็นกรณีพิเศษเพื่อขอรับปริญญาตามเกณฑ์ที่สภาวิชาการกำหนด
  10. ไม่เคยถูกคัดชื่อออกหรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใด ๆ เพราะความผิดทางความประพฤติหรือวินัย
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษาที่เป็นคฤหัสถ์ หรือประชาชนทั่วไป
  1. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรมหรือบาลีศึกษา 3 ประโยค และต้องศึกษาวิชาสามัญเพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
  2. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรมหรือบาลีศึกษา 3 ประโยค และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือ
  3. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรมหรือบาลีศึกษา 3 ประโยค และได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยอื่นรับรอง หรือ
  4. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา หรือ
  5. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือผู้ได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยรับรอง และต้องศึกษาวิชาภาษาบาลีไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ยกเว้นผู้สำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรสาขาวิชาภาษาบาลีที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
  6. เป็นผู้ที่มหาวิทยาลัยอนุมัติให้เข้าศึกษาเป็นกรณีพิเศษเพื่อขอรับปริญญาตามเกณฑ์ที่สภาวิชาการกำหนด
  7. ไม่เคยถูกคัดชื่อออกหรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใด ๆ เพราะความผิดทางความประพฤติหรือวินัย (ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2542 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ 3) แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551)

สาขาวิชาที่เปิดสอน[แก้]

ประกาศนียบัตร
  • ประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ (หลักสูตรพัฒนาศักยภาพพระสังฆาธิการ)
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู (ปัจจุบันไม่ได้เปิดสอน)
คณะพุทธศาสตร์
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
คณะสังคมศาสตร์
  • สาขารัฐศาสตร์
  • สาขารัฐประศาสนศาสตร์
คณะครุศาสตร์
  • สาขาการสอนวิชาสังคมศึกษา
  • สาขาการสอนวิชาภาษาอังกฤษ
บัณฑิตศึกษา
ปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • สาขารัฐประศาสนศาสตร์
  • สาขาพุทธบริหารการศึกษา
  • สาขาการสอนวิชาสังคมศึกษา
ปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

ผู้บริหารวิทยาเขตสุรินทร์[แก้]

ทำเนียบรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
ลำดับ รายนาม / สมณศักดิ์ ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 พระพรหมวชิรโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ) ,ดร. [3] รองอธิการบดี พ.ศ. 2531 12 เมษายน พ.ศ. 2567
ทำเนียบผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
ลำดับ รายนาม / สมณศักดิ์ ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 พระครูศรีสุนทรสรกิจ (เริงศักดิ์ เขมวีโร),ผศ.,ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน
2 พระราชวิมลโมลี (มานพ ปิยสีโล),ผศ.,ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน
3 รศ.,ดร.ทวีศักดิ์ ทองทิพย์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน
ทำเนียบผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์สุรินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
ลำดับ รายนาม / สมณศักดิ์ ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 พระครูวิริยปัญญาภิวัฒน์ (ณัฐพนธ์ วิริโย) ผศ.,ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์สุรินทร์ พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน
ทำเนียบผู้อำนวยการสำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
ลำดับ รายนาม / สมณศักดิ์ ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 พระครูปริยัติปัญญาโสภณ (ชัย สิริปญฺโญ) ผศ.,ดร. ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ พ.ศ. 2566 ปัจจุบัน
ทำเนียบผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตสุรินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
ลำดับ รายนาม / สมณศักดิ์ ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 นายพลนภัส แสงศรี ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตสุรินทร์ พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน
ทำเนียบผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาลัยสงฆ์สุรินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
ลำดับ รายนาม / สมณศักดิ์ ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 พระครูปลัดสุวัฒนอุดมคุณ (บุญชอบ ปุญญสาทโร) ป.ธ.6 ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาลัยสงฆ์สุรินทร์ พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน
ทำเนียบผู้อำนวยการศูนย์วิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
ลำดับ รายนาม / สมณศักดิ์ ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 - ผู้อำนวยการศูนย์วิปัสสนาธุระ พ.ศ.- ปัจจุบัน

ผู้มีคุณูปการต่อ มจร.วิทยาเขตสุรินทร์[แก้]

อดีตผู้บริหารและคณาจารย์

ผู้ที่ได้ปริญญากิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์[แก้]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ปริญญาตรี". มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์.
  2. "Home - MCUSRNC2022". 2020-12-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-06. สืบค้นเมื่อ 2023-02-15.
  3. https://surin.mcu.ac.th/?page_id=5293
ก่อนหน้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ ถัดไป
เริ่มตำแหน่ง พระพรหมวชิรโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ)
รองอธิการบดีวิทยาเขตสุรินทร์

(พ.ศ. 2531 - 12 เมษายน พ.ศ. 2567)
ว่าง