วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
วิหารลายคำ (ซ้าย) พระเจดีย์ (กลาง) และพระอุโบสถ (ขวา) ภายในวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2565
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพระสิงห์
ที่ตั้งถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร
นิกายเถรวาท
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์)
ความพิเศษประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์) (ศิลปะเชียงแสน)
จุดสนใจสักการะพระพุทธสิหิงค์ ชมซุ้มประตูโขง และจิตรกรรมฝาผนัง
การถ่ายภาพไม่ควรใช้แฟลช ในถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนัง
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (ไทยถิ่นเหนือ: ) พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร[1] ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระสิงห์ฯ เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นประดิษฐานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสนรู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง"

ประวัติ[แก้]

วิหารลายคำ
พระพุทธสิหิงค์ ภายในวิหารลายคำ

พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่ราชวงศ์มังราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1888 ขั้นแรกให้ก่อสร้างเจดีย์สูง 23 วา เพื่อบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา ต่อมาอีก 2 ปี จึงได้สร้างพระอาราม เสนาสนวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร และกุฏิสงฆ์ เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทรงตั้งชื่อว่า "วัดลีเชียงพระ" สมัยพญาแสนเมืองมาขึ้นครองเวียงเชียงใหม่ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงราย มาประดิษฐาน

ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 วัดพระสิงห์ได้รับพระกรุณาโปรดให้ยกเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร[1]

การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน[แก้]

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 0ง วันที่ 8 มีนาคม 2478 พร้อมกับวัดอีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ [2]

ลำดับเจ้าอาวาส[แก้]

วัดพระสิงห์เป็นวัดเก่าแก่ มีเจ้าอาวาสครองวัดสืบมาเท่าที่ปรากฏนามมีดังนี้[3]

ลำดับที่ รายนาม ดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.)
1. พระอภัยจุลมหาเถระ พ.ศ. 1888 รัชสมัยพญาผายู
2. สมเด็จพระศรีนันทะ รัชสมัยพระเมกุฏิสุทธิวงศ์
3. พระเจ้าจันทรังสีมหาเถระ รัชสมัยพระเจ้ากาวิละ
4. สมเด็จพระจันทมหาเถระ รัชสมัยพระยาพุทธวงศ์
5. ครูบาโพธิ์ ไม่ปรากฏ
6. พระกัญจนมหาเถระ 2402 (รัชสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์)
7. พระเจ้าคันธา คนฺธโร 2453
8. ครูบาศรีวิชัย (อินเฟือน สิริวิชโย) (รักษาการ) 2467
9. พระแก้ว (รักษาการ) 2475
10. พระโพธิรังสี (ศรีโหม้ สุคนฺโธ) 2482 - 2492
11. พระอภัยสารทะ (สมบูรณ์ จนฺทวํโส) (รักษาการ) 2492 - 2493
12. พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว) 2493 - 2516
13. พระธรรมสิทธาจารย์ (หนู ถาวโร) 2516 - 2552
14. พระเทพสิงหวราจารย์ (โสภณ โสภโณ) 2552 - ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง ยกวัดราษฎรเป็นพระอารามหลวง, เล่ม 57, ตอน 0 ง, 26 พฤศจิกายน 248-, หน้า 2909
  2. ประกาศกรมศิลปากร กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ
  3. จรีย์ สุนทรสิงห์. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ดามคอมพิวกราฟิค, 2543. 64 หน้า. หน้า 23-24. ISBN 974-85311-1-2

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 18°47′19.5″N 98°58′52.37″E / 18.788750°N 98.9812139°E / 18.788750; 98.9812139