ผู้ใช้:Thanabordee/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดภูเก็ต[แก้]

      ภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ
      คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "บูกิต" (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) และคำว่า "ภูเขา" ในภาษาอุรักลาโว้ย เรียกว่า "บูเก๊ะ" หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม "เมืองถลาง"

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]

ประวัติ[แก้]

    ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์จังหวัดภูเก็ต
    เดิมคำว่าภูเก็ตนั้นสะกดว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลได้ว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา (ภู) มีประกายแก้ว (เก็จ) เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลมจังซีลอน หรือเกาะภูเก็ต (เกาะถลาง) นั่นเอง ต้องการอ้างอิง
    จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ อาณาจักรศรีวิชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราชเรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดา ชาวโปรตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้สร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต (ถลาง)
    ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็นจังหวัดภูเก็ต

ร่วมสมัย[แก้]

  • วันที่ 23-30 มิถุนายน พ.ศ. 2529 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหลัง4เกิดเหตุจลาจลทั่วจังหวัดภูเก็ตเพื่อประท้วงคัดค้านโรงงานแทนทาลัมจนนำไปสู่การเผาโรงงานแทนทาลัม อันเป็นการเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไปสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างสิ้นเชิง
  • วันที่ 10-24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร[5]
  • วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เกิดเหตุเผาทำลายสถานีตำรวจภูธรถลางท่ามกลางการใช้ มาตรา 44 แทนกฎอัยการศึก[6]ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีผู้ต้องหาประมาณ 50 ราย[7]ทั้งหมดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายมาตรา 44 และพรบ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558[8]

รายนามผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]

รายนามเจ้าเมืองถลาง[แก้]

  1. พระยาถลาง ซาร์บอนโน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
  2. พระยาถลาง บิลลี สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
  3. พระยาถลางจอมสุรินทร์ สมัยสมเด็จพระเพทราชา
  4. พระยาถลาง คางเซ้ง สมัยสมเด็จพระเพทราชา-สมเด็จพระเจ้าเสือ
  5. พระยาถลางจอมเฒ่า สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
  6. พระยาถลางจอมร้าง สมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ
  7. พระยาถลางอาด
  8. พระยาถลางชู 2312-2314
  9. พระยาสุรินทราชา (พิมลขัน) 2314-2325
  10. พระยาถลาง (ขัน) 2335-2328
  11. พระยาถลาง ทองพูน 2328-2332
  12. พระยาถลาง เทียน 2332-2352
  13. พระยาถลาง บุญคง 2352-2360
  14. พระยาถลาง เจิม 2360-2370
  15. พระยาถลาง ทอง 2370-2380
  16. พระยาถลาง ฤกษ์ 2380-2391
  17. พระยาถลาง ทับ 2391-2405
  18. พระยาถลาง คิน 2405-2412
  19. พระยาถลาง เกด 2412-2433
  20. พระยาถลาง หนู 2433-2437

รายนามเจ้าเมืองภูเก็ต[แก้]

  1. เจ้าภูเก็ต เทียน 2312-2332
  2. หลวงภูเก็ต ช้างคด 2332-ระยะเวลาพม่าเผาบ้านเมืองถลาง
  3. พระภูเก็ต นายศรีชายนายเวร ระยะเวลาพม่าเผาบ้านเมืองถลาง
  4. หลวงปลัด อุด ระยะเวลาพม่าเผาบ้านเมืองถลาง
  5. พระภูเก็ต แก้ว 2370-2405
  6. พระภูเก็ต ทัด 2405-2412
  7. พระยาภูเก็ต ลำดวน 2412-2433

รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต[แก้]

  1. พระยาวิสูตรสาครดิฐ (สาย โชติกะเสถียร) ก่อน พ.ศ. 2450
  2. พระยาวิเศษสิงหนาท (ปิ๋ว บุนนาค) ก่อน พ.ศ. 2450
  3. พระยาประชากิจกรจักร (ชุบ โอสถานนท์) ก่อน พ.ศ. 2450
  4. พระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ (อรุณ อมาตยกุล) ก่อน พ.ศ. 2450
  5. หม่อมเจ้าประดิพัทธเกษมศรี พ.ศ. 2450–2458
  6. พระยาทวีปธุระประศาสตร์ (ชุบ โอสถานนท์) พ.ศ. 2458–2461
  7. พระยากรุงศรีสวัสดิการ (จำรัส สวัสดิชูโต) พ.ศ. 2461–2465
  8. พระยานครราชเสนี (สหัส สิงหเสนี) พ.ศ. 2465–2471
  9. พระศรีสุทัศน์ (ม.ล.อนุจิตร สุทัศน์) พ.ศ. 2471–2472
  10. พระยาอมรศักดิ์ประสิทธิ์ (ทนง บุนนาค) พ.ศ. 2472–2476
  11. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา พ.ศ. 2476–2476
  12. พระยาสุริยเดชรณชิต พ.ศ. 2476–2478
  13. พระยาศิริชัยบุรินทร์ (เบี๋ยน) พ.ศ. 2478–2479
  14. พระยาอุดรธานีศรีโชมสาครเชตร พ.ศ. 2479–2480
  15. หลวงเธียรประสิทธิสาร (ร.อ.มงคล เธียรประสิทธิ์) พ.ศ. 2480–2486
  16. หลวงอังคณานุรักษ์ (ร.อ.ถวิล เทพาคำ) พ.ศ. 2486–2489
  17. ขุนภักดีดำรงค์ฤทธิ์ (.....เกษีพันธ์) พ.ศ. 2489–2492
  18. นายอุดม บุณยประสพ พ.ศ. 2492–2494
  19. นายมาลัย หุวะนันทน์ พ.ศ. 2494–2495
  20. ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์) พ.ศ. 2495–2497
  21. นายมงคล สุภาพงษ์ พ.ศ. 2497–2500
  22. นายเฉลิม ยูปานนท์ พ.ศ. 2500–2501
  23. ขุนวรคุตต์คณารักษ์ พ.ศ. 2501–2501
  24. นายอ้วน สุระกุล พ.ศ. 2501–2511
  25. นายกำจัด ผาติสุวัณณ พ.ศ. 2511–2512
  26. นายสุนัย ราชภัณฑารักษ์ พ.ศ. 2512–2518
  27. นายศรีพงศ์ สระวาลี พ.ศ. 2518–2521
  28. นายเสน่ห์ วัฑฒนาธร พ.ศ. 2521–2523
  29. นายมานิต วัลยะเพ็ขร์ พ.ศ. 2523–2528
  30. นายสนอง รอดโพธิ์ทอง พ.ศ. 2528–2529
  31. นายกาจ รักษ์มณี พ.ศ. 2529–2530
  32. นายเฉลิม พรหมเลิศ พ.ศ. 2530–2534
  33. นายยุวัฒน์ วุฒิเมธี พ.ศ. 2534–2536
  34. นายสุดจิต นิมิตกุล พ.ศ. 2536–2539
  35. นายจำนง เฉลิมฉ้ตร พ.ศ. 2539–2541
  36. นายเจด็จ อินสว่าง พ.ศ. 2541–2542
  37. นายชาญชัย สุนทรมัฎฐ์ พ.ศ. 2542–2543
  38. นายพงศ์โพยม วาศภูติ พ.ศ. 2543–2546
  39. นายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร พ.ศ. 2546–2549
  40. นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร พ.ศ. 2549–2551
  41. นายปรีชา เรืองจันทร์ พ.ศ. 2551–2552
  42. นายวิชัย ไพรสงบ พ.ศ. 2552–2553
  43. นายตรี อัครเดชา พ.ศ. 2553–2555
  44. นายไมตรี อินทุสุต พ.ศ. 2555–2557
  45. นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ พ.ศ. 2557–2558
  46. นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา พ.ศ. 2558–2559
  47. นายโชคชัย เดชอมรธัญ พ.ศ. 2559–2560
  48. นายนรภัทร ปลอดทอง พ.ศ. 2560–ปัจจุบัน

หน่วยการปกครอง[แก้]

    การปกครองแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 17 ตำบล 104 หมู่บ้าน
  1. อำเภอเมืองภูเก็ต
  2. อำเภอกะทู้
  3. อำเภอถลาง

ประชากร[แก้]

    ชาวเลเป็นชาวกลุ่มแรก ๆ ที่มาอาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ต จากนั้นมาจึงกลุ่มชนอื่น ๆ อพยพตามมาอีกจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ชาวไทย ชาวมาเลเซีย ฯลฯ จนมีวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเองสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นสีสันอย่างหนึ่งของภูเก็ต ตามบันทึกของฟรานซิส ไลต์ กล่าวถึงชาวภูเก็ตว่าเป็นพวกผสมผสานกันทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมกับชาวมลายู โดยเฉพาะคนไทยจำนวนมากในสมัยนั้นทำตัวเป็นพุทธศาสนิกชน สักการะพระพุทธรูป ขณะที่กัปตันทอมัส ฟอร์เรสต์ ชาวอังกฤษที่เดินเรือมายังภูเก็ต ใน พ.ศ. 2327 ได้รายงานว่า "ชาวเกาะแจนซีลอนพูดภาษาไทย ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจภาษามลายู พวกเขามีลักษณะหน้าตาคล้ายกับชาวมลายู ท่าทางคล้ายชาวจีนมาก"
    ปัจจุบันชาวภูเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนช่องแคบ ชาวจีนกวางตุ้ง ฯลฯ รวมไปถึงชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม แถบอำเภอถลาง โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมมีจำนวนถึงร้อยละ 20-36 ของประชากรในภูเก็ต มีมัสยิดแถบอำเภอถลางราว 30 แห่งจาก 42 แห่งทั่วจังหวัด มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ยและพวกมอแกน (มาซิง) ซึ่งมอแกนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ มอเกนปูเลา (Moken Pulau) และ มอเกนตาหมับ (Moken Tamub) และยังมีชนกลุ่มต่างชาติอย่างชาวยุโรปที่เข้าลงทุนในภูเก็ต รวมไปถึงชาวอินเดีย มีชาวคริสต์ในภูเก็ตราว 300 คน ชาวสิกข์ที่มีอยู่ราว 200 คน และชาวฮินดูราว 100 คน และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ลาว และเขมรราวหมื่นคน
    ประชากรส่วนใหญ่ในภูเก็ตนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 73, ศาสนาอิสลามร้อยละ 25, ศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 2[10]

สถานที่สำคัญ[แก้]

  1. ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เป็นศาลากลางที่มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ทั้งยังเป็นโบราณสถานที่ยังใช้การอยู่จนกระทั่งปัจจุบันอีกด้วย
  2. วัดฉลอง (ปัจจุบันชื่อ วัดไชยธาราราม) พ.ศ. 2419 ศิษย์พ่อท่านแช่มต่อสู้กับอั้งยี่
  3. วัดพระนางสร้าง มีลายแทง "พิกุลสองสารภีดีสมอแดงจำปาจำปีตะแคง..." พระพุทธรูปดีบุกที่เก่าแก่ที่สุด ตำนานพระนางเลือดขาว
  4. อนุสาวรีย์ ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2509
  5. เกาะสิเหร่ มีชาวเลกลุ่มอูรักลาโว้ย (ชาวไทยใหม่) รองเง็งคณะแม่จิ้ว ประโมงกิจ เป็นแม่เพลงอันดามัน หรือราชินีรองเง็งแห่งอันดามัน มีพระพุทธไสยาสน์ บนยอดเขา วัดบ้านเกาะสิเหร่ เกาะสิเหร่ แต่เดิมชาวอุรักลาโว้ย เรียกว่า "ปูเลา ซิเระห์" แปลว่า "เกาะพลู" ภายหลังจึงเพี้ยนไปเป็น "เกาะสิเหร่" ตามสำเนียงคนไทยเรียก
  6. ศาลเจ้ากะทู้ (อ๊ามในทู) เป็นที่แรก ที่เริ่มประเพณีถือศิลกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย)
  7. ศาลเจ้าบางเหนียว ศาลเจ้าใกล้บริเวณท่าเรือที่ชาวต่างชาติรับส่งสินค้ามีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปี
  8. ศาลเจ้าแสงธรรม หรืออ๊ามเตงก่องต๋อง ศาลเจ้าเก่าแก่แห่งหนึ่งของภูเก็ตมีสถาปัตยกรรมที่งดงามมาก เป็นศาลเจ้าประจำตระกูลตัน
  9. ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ หรือฮกเล่งเก้ง เป็นที่ประดิษฐานองค์พระโป๊เซ้งไต่เต่ องค์พระประธานของศาลเจ้า
  10. ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย หรือ จุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง หรือ คนภูเก็ตเรียกว่า อ๊ามจุ๊ยตุ๋ย
  11. (เป็นศาลเจ้าที่มีคนร่วมงานประเพณีถือศิลกินผักมากที่สุดในจังหวัด)
  12. วัดพระทอง
  13. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง มีเทวประธานคือพระวิษณุ จดหมายเหตุท้าวเทพกระษัตรี หง่อก่ากี่ ชาวเล
  14. ย่านเมืองเก่าภูเก็ต (สถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส) ถนนถลาง ถนนดีบุก ถนนพังงา ถนนกระบี่ ถนนภูเก็ต ถนนรัษฎา ถนนระนอง ถนนเยาวราช ถนนเทพกระษัตรี ถนนสตูล ซอยรมณีย์ และตรอกสุ่นอุทิศ
  15. พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต เดิมใช้ชื่อว่าพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ ใน อังมอเหลามีเหมืองจำลองเหมืองแล่น เหมืองรู เหมืองหาบ เหมืองฉีด เหมือง เรือขุด; โลหะดีบุก เพชรภูเก็จ เพชรพังงา แทนทาลัม วิถีชีวิตชาวกะทู้; ภายนอกมีรางเหมืองแร่ (เหมืองสูบ-ฉีด) ขนาดใหญ่ไว้สาธิตการได้แร่ดีบุกของนายหัวเหมือง
  16. สนามบินนานาชาติภูเก็ต อยู่ติดชายทะเลระหว่างหาดในยางและหาดไม้ขาว
  17. อนุสรณ์สถานเมืองถลาง อยู่ในสมรภูมิเมืองถลาง พ.ศ. 2328 ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง พื้นที่ ๙๖ ไร่ ก่อนการพัฒนาเป็นทุ่งนาหลวง มีคลองเสน่ห์โพไหลผ่านไปบรรจบกับคลองบางใหญ่ซึ่งไหลมาจากเทือกเขาพระแทวไปออกทะเลที่อู่ตะเภา ทะเลพัง เคยเป็นที่จอดเรือรบของยี่หวุ่น แม่ทัพเรือพม่าเมื่อ พ.ศ. 2328
  18. ฮ่ายเหลงอ๋อง พญามังกร ณ ลานเฉลิมพระเกียรติฯ 72 พรรษา มหาราชินี (อยู่ติดกับสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูเก็ต)