ผู้ใช้:Supattra Phengphithak/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปฏิรูประบบราชการ มีการพัฒนาและปรับปรุง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในการทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าและให้ประชากรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ที่ผ่านมาประเทศไทย มีการปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้ง ในครั้งแรกมีการปฏิรูประบบราชการโดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้นำเอาระบบจตุสดมภ์มาใช้ในการพัฒนาการบริหารและในครั้งที่ 2 เกิดการปฏิรูปในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นประเทศไทยก็ได้มีการปฏิรูประบบราชการผ่านทางฝ่ายรัฐบาลต่างๆ โดยเป็นการปฏิรูประบบราชการในรูปแบบการพัฒนาและปรับปรุงให้สอดคล้องกับหลักของระบบราชการแบบเดิม [1]

ความหมายของการปฏิรูประบบราชการ[แก้]

การปฏิรูประบบราชการ หมายถึง การเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างของระบบราชการขนานใหญ่ เริ่มตั้งแต่การปรับปรุงหน้าที่ของรัฐ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารระดับต่างๆ โครงสร้างรูปแบบขององค์การ ระบบบริหารงานต่างๆ เช่น ระบบบริหารงานบุคคล วิธีการทำงาน รวมไปการปรับปรุงระบบกฎหมาย กฎ ระเบียบ วัฒนธรรมและค่านิยมต่างๆ เพื่อให้ระบบราชการมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากเดิม และตอบสนองความต้องการของประชาชนในประเทศรวมถึงสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้[2]

วัตถุประสงค์ของการปฏิรูประบบราชการ[แก้]

การปฏิรูประบบราชการมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ภาครัฐมีกระบวนการทำงานร่วมกันในองค์กร โดยใช้ทรัพยากรต่างๆในองค์กรให้บรรลุตามเป้าหมาย ดังต่อไปนี้

  1. เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน หมายถึง การปฏิบัติงานตามความต้องการของประชาชนเป็นหลัก โดยประชาชนจะต้องได้รับการบริการจากภาครัฐอย่างเท่าเทียม เพื่อให้ประชาชนมีความสงบสุข และเกิดความปลอดภัยในสังคมส่วนรวม[3]
  2. เพื่อให้ข้าราชการเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้รัฐบาลมีประสิทธิภาพ โดยการนำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผลตามเป้าหมาย โดยข้าราชการจะต้องมีคุณสมบัติและความสามารถที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติในทางรูปธรรม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบาย เพื่อที่จะเสนอให้รัฐบาลปรับปรุงและแก้ไขนโยบายให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  3. เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของข้าราชการและป้องกันไม้ให้มีการทุจริตเกิดขึ้นในระบบราชการ
  4. เพื่อให้ระบบราชการมีเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถ มีความซื่อสัตย์ สุจริตต่อประชาชน
  5. เพื่อเสริมสร้างให้ประเทศได้มีการแข่งขันในระดับเวทีโลก โดยข้าราชการจะต้องมีความรู้ เพื่อสร้างปัจจัยพื้นฐานให้กับภาคเอกชน ซึ่งประกอบไปด้วย ระบบข้อมูลเศรษฐกิจมหาภาคที่สมบูรณ์และทันสมัย รวมถึงระบบกฎหมายที่ทันสมัยและเข้าใจง่าย[4]

แนวทางการปฏิรูประบบราชการ[แก้]

การปฏิรูประบบราชการจะต้องครอบคลุมทุกส่วนในภาครัฐ ได้แก่

  1. การปรับปรุงบทบาทของภาครัฐ เป็นการปรับปรุงเพื่อให้ภาครัฐหลีกเลี่ยงในการปฏิบัติภารกิจที่ไม่จำเป็น
  2. การปรับปรุงโครงสร้างอำนาจหน้าที่ที่จะต้องทำของรัฐบาลและข้าราชการประจำ โดยจะมุ่งเน้นเพื่อให้ผลเกิดประสิทธิภาพตามความต้องการของประชาชน
  3. การปรับปรุงระบบบริหารราชการ โดยทำงานเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ให้เกิดในระบบราชการ ซึ่งสิงที่จะต้องปรับปรุง ดังนี้ ด้านงบประมาณ ระบบงานของบุคลากร งานพัสดุ ระบบงานสารบรรณ ระบบกฎหมาย เป็นต้น
  4. การปรับปรุงโครงสร้างและจัดรูปแบบองค์กรใหม่ทั้งหมด โดยแยกเรื่องปฏิบัติงานออกจากเรื่องนโยบาย หน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานส่วนท้องถิ่นควรกำหนดความสัมพันธ์เอาไว้อย่างชัดเจน เป็นต้น
  5. การปรับปรุงกฎเกณฑ์ให้เข้มงวดขึ้น ควรมีระบบรายงานผลที่ดีในวิธีการดำเนินงานและเปิดเผยการทำงานต่อสาธารณะ
  6. การปรับปรุงระบบข้าราชการ โดยพัฒนาข้าราชการให้มีความรู้ ความสามารถ พัฒนาข้าราชการให้มีความเป็นผู้นำที่มีคุณภาพ
  7. การปรับปรุงวัฒนธรรมและค่านิยมของระบบราชการ
  8. การปรับปรุงระบบเทคโนโลยี โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาฐานข้อมูลของส่วนราชการ[5]

การปฏิรูประบบราชการไทย[แก้]

ความเป็นมาของการปฏิรูประบบราชการไทย[แก้]

การปฏิรูประบบราชการนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาระบบราชการอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ซึ่งในประเทศไทยมีการปฏิรูประบบราชการมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งในสมัยนั้นเกิดการปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรก เกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและครั้งหลังเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นการปฏิรูประบบราชการก็เกิดขึ้นในรูปแบบของการพัฒนาระบบราชการ โดยผ่านทางรัฐบาล ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบราชการให้ทันสมัยขึ้น แต่ยังคงยึดหลักเดิมตามหลักของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การปฏิรูประบบราชการในประเทศไทยเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่ในภาครัฐ เช่นการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อประชาชนทุกคนและให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น [6]

การปฏิรูประบบราชการในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาภ[แก้]

การปฏิรูประบบราชการในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นการควบคุมทิศทางการจัดการปกครองประเทศ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนไม่ว่าจะเป็นการจัดระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การต่างประเทศ ซึ่งจากเดิมในสมัยอยุธยาตอนต้น มีการใช้ระบบการปกครองส่วนกลาง เรียกว่าจตุสดมภ์ ประกอบด้วย กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง กรมนา โดยมีออกญาจตุสดมภ์เป็นหัวหน้าของแต่ละฝ่าย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงได้มีการปฏิรูปขึ้นใหม่ โดยการเปลี่ยนชื่อและเพิ่มหน้าที่ที่ชัดเจนของแต่ละฝ่าย[7] ดังต่อไปนี้

  1. กรมเวียง ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กรมนครบาล โดยมีเสนาบดี คือ พระยายมราชอินทราธิบดีศรีวิชัยบริรักษ์โลกากร มีหน้าที่ การดูแลรักษาความสงบภายในเมืองหลวง
  2. กรมวัง ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กรมธรรมาธิกรณ์ โดยมีเสนาบดี คือ พระยาธรรมาธิบดีศรีวิริยพงษวงษภักดีบดินทรเดโชชัยมไหสุริยาธิบดีศรีรันมณเทียรบาล มีหน้าที่ ดูแลงานในพระราชวัง รายรับรายจ่ายในวัง ตัดสินคดีความ ดูแลศาลหลวงและแต่งตั้งยกกระบัตรไปดูแลตามหัวเมืองต่างๆ
  3. กรมคลัง เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กรมโกษาธิบดี โดยมีเสนาบดี คือ พระยาศรีธรรมราชเดชชาติอำมาตยานุชิตพิพิธรัตนราชโกษาธิบดีหรือพระยาโกษาธิบดี มีหน้าที่ เกี่ยวกับทรัพย์สิน ดูแลรายรับรายจ่าย การค้ากับต่างประเทศ การรับรองทูตต่างประเทศและตัดสินใจคดีเกี่ยวกับชาวต่างชาติ
  4. กรมนา เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กรมเกษตราพิการ มีเสนาบดี คือ พระยาพลเทพราชเสนาบดีศรีไชยนพรัตน์เกษตราธิบดี มีหน้าที่เกี่ยวกับนา เช่น ดูแลควบคุมการทำนาออกกรรมสิทธิ์เกี่ยวกับที่นาให้กับราษฎร จัดพระราชพิธีแรกนา ตัดสินคดีเกี่ยวกับที่นา เก็บภาษีที่นา เป็นต้น[8]

การปฏิรูประบบราชการในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[แก้]

การปฏิรูประบบราชการในครั้งนี้เป็นการปฏิรูประบบราชการครั้งสำคัญและเป็นครั้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[9] มีเป้าหมายสำคัญเพื่อควบคุมประชาชนภายใต้แบบแผนและกฎเกณฑ์เดียวกัน ให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในประเทศ เพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในประเทศและเพื่อไม่ให้ประเทศไทยถูกคุกคามหรือตกไปอยู่ภายใต้ลัทธิล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูประบบราชการในเรื่องต่างๆ ดังนี้

1.การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาองคมนตรี การปฏิรูประบบราชการในสมัยรัชกาลที่ 5 สร้างขึ้นในปีพศ 2417 โดยมีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาองคมนตรี[10]

สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) แต่งตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2417 มีหน้าที่เสนอกฎหมายและแสดงความคิดเห็นในกระบวนการตรากฎหมายขึ้นมาในที่ประชุมและมีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นประธานในที่ประชุม หากเสียงส่วนใหญ่มีความเห็นชอบด้วยกับข้อกฎหมายนั้นก็จะออกกฎหมายมาบังคับใช้ในประเทศ[11] เช่น กฎหมายว่าด้วยทาสและเกษียณอายุ กฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาคดีในศาล[12]

สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินมีสมาชิกเป็นขุนนางชั้นพระยา[13] จำนวนทั้งหมด 12 คน ได้แก่

  1. พระยาราชสุภาวดี
  2. พระยาศรีพิพัฒ
  3. พระยาราชวรานุกูล
  4. พระยากระสาปน์กิจโกสล
  5. พระยาภาษกรวงษ
  6. พระยามหาอำมาตย
  7. พระยาอภัยรณฤทธิ์
  8. พระยาราไชย
  9. พระยาเจริญราชไมตรี
  10. พระยาพิพิธโภไคย
  11. พระยากระลาโหมราชเสนา
  12. พระยาราชโยธา[14]

2.การปฎิรูปการจัดเก็บภาษีอากรและการคลัง

  1. การจัดระเบียบบริหาร และหน่วยงาน โดยได้จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อเป็นหน่วยงานควบคุมการจัดเก็บภาษีอากรและการคลัง
  2. การตราพระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติ พ. ศ. 2418 เพื่อกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าพนักงาน ในการส่งเงินภาษีอากรและการรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน
  3. การตราพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ รศ 109 (พ. ศ. 2433) เพื่อให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติทำงานอย่างเป็นระบบในเรื่องการควบคุมรายได้ของแผ่นดิน[15]

3.การยกเลิกระบบจตุสดมภ์และการปฏิรูปโครงสร้างระบบบริหารราชการแผ่นดิน สำหรับการบริหารราชการส่วนภูมิภาคมีการจัดตั้งกรมขึ้น 12 กรม ได้แก่ กรมมหาดไทย กรมพระยากลาโหม กรมท่า กรมวัง กรมเมือง กรมนา กรมพระคลัง กรมยุติธรรม กรมยุทธนาธิการ กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ กรมมุรธาธิการ ต่อมาได้มีการจัดระบบบริหารไรเปลี่ยนจากซมเป็นกระทรวงทั้ง 12 กระทรวงในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2435 และได้ออกพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่มาบังคับใช้ทั่วประเทศ

4.การปฏิรูปเรื่องอื่นๆ

  1. การยกเลิกไพร่และการปฏิรูปราชการทหาร เพื่อแก้ปัญหาการควบคุมกำลังคนและสร้างความมั่นคงให้ประเทศการเลิกทาส เพื่อแก้ปัญหาการกดขี่และความไม่เป็นธรรมในสังคม
  2. การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาล เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชนทุกคน
  3. การปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้ทุกคนมีการศึกษาและพัฒนาคุณภาพให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา การบริหารประเทศ
  4. การปฏิรูปกฎหมายที่ดิน เพื่อแก้ปัญหาในการแย่งชิงที่ดินและจัดระบบที่ดินใหม่
  5. การปฏิรูปการบริหารการเกษตร เพื่อยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตของเกษตรกร

กระบวนการปฏิรูปในด้านต่างๆทั้งหมดที่กล่าวมาทำให้ประเทศชาติรอดพ้นจากการถูกต่างประเทศคุกคาม และทำให้ประเทศไทยเป็นเอกราชมาจนถึงปัจจุบันนี้[16]

การปฏิรูประบบราชการไทย พ.ศ.2545[แก้]

การปฏิรูประบบราชการในพ. ศ. 2545 ขณะที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กระบวนการทำงานโดยภาพรวมของภาครัฐยังไม่เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลก กระบวนการทำงานนี้เป็นไปด้วยความยากลำบาก ที่จะทำให้งานเป็นไปได้ตามนโยบายแห่งรัฐ และนโยบายต่างๆของรัฐบาล ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะมุ่งเน้นให้ชุมชนมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้นและระบบราชการในสมัยนี้ยังไม่สามารถช่วยให้ประชาชนได้รับการตอบสนองตามความต้องการในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้ทันที ทำให้รัฐบาลต้องพัฒนาและยกระดับระบบราชการให้มีความทันสมัย ทันต่อกระแสที่โลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและรัฐบาลยังพยายามที่จะแก้ปัญหาที่ข้าราชการยังขาดความสามารถที่จะทำงานให้เกิดผลสำเร็จได้ การทุจริตและการขาดความโปร่งใสของข้าราชการ ซึ่งรัฐบาลก็พยายามที่จะแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวแล้วแต่ยังขาดความสามารถที่จะควบคุมกลไกภายในได้ การปฏิรูประบบราชการในครั้งนี้ จะต้องอาศัยข้าราชการ นักการเมืองและประชาชนทุกฝ่าย รัฐบาลตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พุทธศักราช 2545 มาปรับปรุงโครงสร้างของกระทรวง ทบวง กรม และจัดตั้งกระทรวงขึ้นมาเพิ่มเป็น 20 กระทรวง เหตุผลที่จัดตั้งกระทรวงขึ้นมาเพิ่ม เพราะบางกระทรวงมีความจำเป็นที่จะต้องทำภารกิจที่รัฐบาลให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ เพื่อลดสายบังคับบัญชาลง เพื่อเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร[17]

รายชื่อกระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง มีดังนี้[18]

  1. สำนักนายกรัฐมนตรี
  2. กระทรวงกลาโหม
  3. กระทรวงการคลัง
  4. กระทรวงการต่างประเทศ
  5. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  6. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  7. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  8. กระทรวงคมนาคม
  9. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  10. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  11. กระทรวงพลังงาน
  12. กระทรวงพาณิชย์
  13. กระทรวงมหาดไทย
  14. กระทรวงยุติธรรม
  15. กระทรวงแรงงาน
  16. กระทรวงวัฒนธรรม
  17. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  18. กระทรวงศึกษาธิการ
  19. กระทรวงสาธารณสุข
  20. กระทรวงอุตสาหกรรม

การปฏิรูประบบราชการผ่านคณะรักษาความสงบแห่งชาติพ. ศ. 2557[แก้]

การปฏิรูประบบราชการในครั้งนี้เริ่มขึ้นเมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เข้าควบคุมอำนาจในการปกครองและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) เมื่อ พ.ศ.2557 ในมาตรา 27 กำหนดให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทำหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้การปฏิรูปด้านการเมือง ด้านการปกครองท้องถิ่น ด้านการบริหารแผ่นดิน ด้านกฏหมายและกรบวนการยุติธรรม ด้านการบริหารแผ่นดิน ด้านพลังงาน ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ด้านสื่อมวลชน ด้านสังคม ฯลฯ สำนักนายกรัฐมนตรีได้ร่วมกับกระทรวงต่างๆทุกกระทรวง เพื่อปฏิรูประบบราชการและแนวทางการสร้างความสุขให้กับประชาชนในประเทศ โดยมีเป้าหมายเบื้องต้นที่จะเน้นการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ลดช่องว่างในเรื่องของการแสวงหาผลประโยชน์ โดยเริ่มปรับปรุงเรื่องการปฏิบัติงานของแต่ละกระทรวงให้มีประสิทธิภาพ มอบหมายให้แต่ละกระทรวงพิจารณาความรับผิดชอบ เพื่อกำหนดแผนและตอบสนองเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ รวมถึงชี้แนะให้ประชาชนเข้าใจในความตั้งใจที่จะปฏิรูประบบราชการ[19]

ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิรูประบบราชการ[แก้]

  1. การขาดเจตนารมย์ต่อเนื่องทางการเมือง(Political Will) เนื่องจากรัฐบาลทุกสมัยที่ผ่านมาเป็นรัฐบาลผสม ทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพ มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยมาก ทำให้รัฐบาลชุดใหม่จะต้องมาแก้ปัญาต่างๆที่สืบเนื่องมาจากรัฐบาลชุดก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นปัญหาในระยะสั้น ส่วนปัญหาระยะยาวอาศัยความมุ่งมั่นหรือเจตนารมย์ที่ต่อเนื่องและแน่วแน่และใช้ความกล้าตัดสินใจทางการเมือง
  2. การขาดการกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์ในอนาคตหรือวิสัยทัศน์ของชาติ (์National Vision) เนื่องจากรัฐบาลที่ผ่านมาขาดเสถียรภาพ การแก้ปัญหาต่างๆรัฐบาลไม่ได้พิจารณาถึงภาพรวม ไม่ได้กำหนดวิสัยทัศน์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ
  3. การขาดบุคลากรและหน่วยงานที่มีพลังในการปรับปรุงหรือปฏิรูประบบราชการ(Powerful Leadership) เนื่องจากทุกรัฐบาลที่ผ่านมาแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อปฏิรูประบบราชการมีบุคลากรและหน่วยงาน มีหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ มอบหมายงานให้สำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงบประมาณ และรัฐบาลที่ผ่านมามองว่าการปฏิรูประบบราชการไม่จำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องจึงทำให้การปฏิรูประบบราชการไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
  4. การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจากข้าราชการระดับสูงและนักการเมือง(Strong Resistance to Change) เนื่องจากการปฏิรูประบบราชการให้ได้ตามวัตถุประสงค์นั้น ด้านการบริหารราชการที่เน้น เรื่องการมอบอำนาจ การกระจายอำนาจ การเป็นประชาธิปไตย การลดกฎระเบียบและการควบคุมของภาคราชการ จึงเกิดกระแสต่อต้านจากข้าราาชการระดับสูง เพราะการเปรียบแปลงระบบราชการส่งผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนตัวของข้าราชการ[20]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. อลงกต วรกี. มปป. การปฏิรูประบบราชการ : ก้าวไปข้างหน้าหรือถอยหลังเข้าคลอง. สืบค้นจาก http://kpi.ac.th/media/pdf/M7_20.pdf . สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2560
  2. วรัชยา ศิริวัฒน์. 2553. การพัฒนาระบบราชการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หน้า 173
  3. งานสารบรรณ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. มปป. เป้าหมายของการปฏิรูประบบราชการ. สืบค้นจากhttp://president.uru.ac.th/ADministration/main.htm. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2560
  4. สังวาลย์ ช่างทองและคณะ. 2542. รายงานการสัมมนาเกี่ยวกับปฏิรูปราชการเพื่อความอยู่รอดของไทย. นนทบุรี : สำนักงาน ก.พ. . หน้า 1
  5. สังวาลย์ ช่างทองและคณะ. 2542. รายงานการสัมมนาเกี่ยวกับปฏิรูปราชการเพื่อความอยู่รอดของไทย. นนทบุรี : สำนักงาน ก.พ. . หน้า 3-6
  6. อลงกต วรกี. มปป. การปฏิรูประบบราชการ : ก้าวไปข้างหน้าหรือถอยหลังเข้าคลอง, สืบค้นจาก http://kpi.ac.th/media/pdf/M7_20.pdf. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2560
  7. วรัชยา ศิริวัฒน์. 2553. การพัฒนาระบบราชการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หน้า 173-174
  8. บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ. 2559. จตุสดมภ์. สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%88%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B9%8C. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2560
  9. วรัชยา ศิริวัฒน์. 2553. การพัฒนาระบบราชการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หน้า 172
  10. สมาน รังสิโยกฤษฏ์. 25 42. การปฏิรูปภาคราชการ : แนวคิดและยุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน ก.พ. . หน้า 109
  11. อรวรรณ เกสร. 2559. สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน. สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.phptitle=%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2560
  12. สมาน รังสิโยกฤษฏ์. 2542. การปฏิรูปภาคราชการ : แนวคิดและยุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน ก.พ. . หน้า 110
  13. สมาน รังสิโยกฤษฏ์. 2542. การปฏิรูปภาคราชการ : แนวคิดและยุทธศาสตร์ . กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน ก.พ. . หน้า 109
  14. สำนักข่าวเจ้าพระยา, สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน. 2553. สืบค้นจาก http://www.chaoprayanews.com/2010/10/18/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94/. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2560
  15. สมาน รังสิโยกฤษฏ์. 2542. การปฏิรูปภาคราชการ : แนวคิดและยุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน ก.พ. . หน้า 111-112
  16. วรัชยา ศิริวัฒน์. 2553. การพัฒนาระบบราชการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หน้า 172-173
  17. มปต. 2552. ปฐมบท การปฏิรูปใหญ่ ครั้งที่ 3 ของประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2545 (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://nida-column.blogspot.com/2009/02/3-2545.html . สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน พ.ศ.2560
  18. มปต. 2559. รายชื่อกระทรวงของไทย(ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/ . สืนค้นเมื่อ 19 เมษายน พ.ศ.2560
  19. ธุวรรณ กิติคุณ. 2558. การปฏิรูประบบราชการ. สืบค้นจาก http://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-006.pdf. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560
  20. สมาน รังสิโยกฤษฏ์. 2543. การบริหารราชการไทย : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บรรณกิจ(1991) จำกัด. หน้า 99-101

อ้างอิง[แก้]

  1. งานสารบรรณ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. เป้าหมายของการปฏิรูประบบราชการ. สืบค้นจากhttp://president.uru.ac.th/ADministration/main.htm. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2560
  2. ธุวรรณ กิติคุณ. 2558. การปฏิรูประบบราชการ. สืบค้นจาก http://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-006.pdf. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560
  3. บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ. 2559. จตุสดมภ์. สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.phptitle=%E0%B8%88%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B9%8C. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน
  4. ปฐมบท การปฏิรูปใหญ่ ครั้งที่ 3 ของประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2545 (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://nida-column.blogspot.com/2009/02/3-2545.html. 19 เมษายน พ.ศ.2560
  5. มปต. มปป. รายชื่อกระทรวงของไทย(ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/ . สืนค้นเมื่อ 19 เมษายน พ.ศ.2560
  6. วรัชยา ศิริวัฒน์. 2553. การพัฒนาระบบราชการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  7. สำนักข่าวเจ้าพระยา. 2553. สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน. สืบค้นจาก http://www.chaoprayanews.com/2010/10/18/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94/. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน
  8. สังวาลย์ ช่างทองและคณะ. 2542. รายงานการสัมมนาเกี่ยวกับปฏิรูปราชการเพื่อความอยู่รอดของไทย. นนทบุรี : สำนักงาน ก.พ.
  9. สมาน รังสิโยกฤษฏ์. 2543. การบริหารราชการไทย : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บรรณกิจ(1991) จำกัด
  10. อรวรรณ เกสร. 2559. สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน. สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน
  11. อลงกต วรกี. มปป. การปฏิรูประบบราชการ: ก้าวไปข้างหน้าหรือถอยหลังเข้าคลอง. สืบค้นจาก http://kpi.ac.th/media/pdf/M7_20.pdf . สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2560