ผู้ใช้:FrameHotep/ทดลองเขียน/ประวัติศาสตร์ไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผู้ใช้:FrameHotep/ทดลองเขียน/ประวัติศาสตร์ไทย/ประวัตศาสตร์จังหวัดท้องถิ่น

สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 2[แก้]

พระมหาธรรมราชาธิราชที่ 2 พระราชสมภพในปี พ.ศ. 1911[1]

ปรากฏใน จารึกวัดบูรพาราม ความว่า :-

"ประมาณ ศักราช๗๓๐ ทัศ วอกนักษัตรอาษาฒมาส สมเด็จมหาธรรมราชาธิราชได้เสด็จเสวยสวรรค์ชาติคลาดมาตโรทร"[2]

พ.ศ. 1939 อายุ 38 ท่านได้ปราบถึงน่าน ซวา ทิศเหนือถึงฝั่งโขง ทิศตะวันออกถึง... ตะวันตกถึงฉอด รอดแดนเมืองพัน ตะวันออกเฉียงเหนือถึงลุมบาจาย กระจายถึงยโสธร ข้างเหนือถึง นครไท เชียงดง เชียงทอง

พ.ศ. 1951 ฉลูนักษัตร ท่านก็เสวยสวรรคาลัย

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2[แก้]

พระราชประวัติ[แก้]

พระราชสมภพ[แก้]

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 มีพระนามเดิมว่าเจ้าสามพระยา เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 3 ในสมเด็จพระอินทราชา หลังจากพระราชบิดาตีได้หัวเมืองเหนือแล้ว ก็โปรดให้มีพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ทั้ง 3 พระองค์ไปครองเมืองต่าง ๆ คือ เจ้าอ้ายพระยาเป็นผู้ครองเมืองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พระยาเป็นผู้ครองเมืองแพรกศรีราชา (อำเภอสรรคบุรี) ส่วนพระองค์ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ไปปกครองเมืองชัยนาท (พิษณุโลก) ซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญทางเหนือ และได้อภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งกรุงสุโขทัย

ประวัติศาสตร์เมืองระยอง[แก้]

ประมาณ 2,000 ปีที่แล้ว[แก้]

การเจริญขึ้นของชุมชนระยองโบราณ เจริญขึ้นมาเมื่อราว 2,000 ปีที่แล้วโดยชุมชนระยองโบราณเป็นสถานีการค้า เชื่อมต่อกับเมืองพญ่าเร่และเมืองพนัญนิคม จังหวัดชลบุรี ชุมชนระยองโบราณเดิมตั้งอยู่บริเวณวัดบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย ก่อนที่จะขยับขยายลงมาบริเวณปากน้ำระยอง โดยปรากฎหลักฐานพระพุทธรูปศิลปะฟูนันและทวารวดีหลายองค์บริเวณ อ.บ้านค่าย

ชนชาติดั่งเดิมที่อาศัยบริเวณระยองโบราณคือชนชาติชอง ซึ่งพูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร และกลุ่มมลายู ก่อนที่จะหันมาพูดภาษาไทย เพราะเป็นภาษากลางทางการค้าของภูมิภาค และกลายตัวเป็นคนไทยในที่สุด

ก่อนกรุงศรีอยุธยา[แก้]

เมืองระยองปรากฎหลักฐานชัดเจนถึงอารยธรรมเขมรที่เผยแพร่เข้ามาในระยอง โดยปรากฎคูและซากศิลาแลงที่บ้านคลองยายล้ำ ตำบลบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย รวมทั้งพระพุทธรูปแบบบายนซึงปัจจุบันอยู่ที่วัดป่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง

ประมาณพ.ศ.1700 จีนนำสำเภามาค้าขายทางทะเลและหนุนรัฐสุพรรณภูมิ ทำให้ชาวจีนจึงเริ่มเข้ามาอยู่อาศัยในจังหวัดระยอง

ขึ้นครองราชย์สมบัติ[แก้]

เมื่อสมเด็จพระนครินทราธิราชเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1959 เจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา ต่างยกทัพเข้ากรุงศรีอยุธยาเพื่อชิงราชสมบัติ ทั้งสองพระองค์ได้กระทำยุทธหัตถีกันที่เชิงสะพานป่าถ่านจนสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์ ขุนนางผู้ใหญ่จึงไปกราบทูลเชิญเจ้าสามพระยาขึ้นเสวยราชสมบัติ เฉลิมพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า แล้วโปรดให้ขุดพระศพพระเชษฐาทั้งสองพระองค์ไปถวายพระเพลิง แล้วสร้างวัดราชบูรณะในที่ถวายพระเพลิงนั้น ส่วนที่กระทำยุทธหัตถีให้ก่อเป็นเจดีย์ไว้ 2 องค์

เหตุการณ์ในรัชสมัย[แก้]

การศึกกับเขมร[แก้]

ปี พ.ศ. 1962 สมเด็จพระบรมราชาธิราชได้เสด็จยกทัพไปตีเมืองนครหลวง (นครธม) ในรัชสมัยพระธรรมาโศกราชได้ แล้วโปรดให้พระนครอินท์เจ้า พระราชโอรสไปครองเมืองนครหลวงแทนในฐานะเมืองประเทศราช แล้วให้นำพระยาแก้วพระยาไท พร้อมทั้งพระประยูรญาติ เหล่าขุนนาง กับทั้งรูปหล่อพระโคสิงห์สัตว์ต่าง ๆ กลับมากรุงศรีอยุธยาด้วย ทำให้อิทธิพลของเขมรในด้านการปกครอง ประเพณี ตลอดจนงานศิลปะมาปรากฏชัดในอยุธยา ต่อมาพระองค์ได้แต่งตั้งพระอินทราชา (พระนครอินทร์) อยู่ครองกรุงนครธม แต่พระอินทราชาอยู่ปกครองกรุงกัมพูชาได้ไม่นานเท่าใดก็ประชวร สิ้นพระชนม์ พระองค์จึงทรงแต่งตั้งเจ้าพญาแพรกครองแทน

พระชินราช[แก้]

พ.ศ. 1969 สร้างวัดมเหยงค์ในปีเดียวกัน พระพุทธชินราช มีน้ำพระเนตรไหลออกมาเป็นโลหิต

ปราบเมืองพิมายและพนมรุ้ง[แก้]

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนปี พ.ศ. 1982 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทรงให้ระดมกองทัพช้างม้า เตรียมจะยกไปตีเมืองพิมายและพนมรุ้ง เจ้าเมืองทั้งหลายจึงออกมาถวายบังคมสมเด็จพระบรมราชาธิราช พระองค์ก็โปรดพระราชทานรางวัล แล้วโปรดให้เจ้าเมืองเหล่านั้นกลับไปปกครองเมืองของตนตามเดิม[3]

พระราชพิธีโกษรกรรม สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ[แก้]

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1982 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 จัดให้มีพระราชพิธีโกษรกรรม(พระราชพิธีโสกันต์) ให้กับพระบรมเชษฐาธิราช พระราชโอรส แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า "สมเด็จพระราเมศวรบรมไตรโลกนารถบพิตร"[3]

ปรากฏใน พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ ความว่า :-

"๏ ศักราช 801 มะแม เอกศก สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าก็ให้ประชุมพราหมณาจารย์แลท้าวพญาเสนามาตย์ทั้งหลายเล่นมหรสพ ตั้งพระราชพิธีโกษ(ร)...กรรมสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชกุมารท่าน แลประสาทพระนาม...สมเด็จพระราเมศวรบรมไตรโลกนารถบพิตร"[3]

เพลิงไหม้พระราชมณเทียร[แก้]

เพลิงไหม้พระราชมณเทียร

พ.ศ. 1984 เกิดเพลิงไหม้พระที่นั่งตรีมุข

การศึกกับล้านนา[แก้]

ในปี พ.ศ. 1985 พระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ ได้รบกับท้าวช้อยผู้เป็นพระอนุชา ท้าวช้อยแพ้หนีไปอยู่เมืองเทิง(อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย) เจ้าเมืองเทิงได้มาขอสวามิภักดิ์กับกรุงศรีอยุธยาและขอให้ส่งกองทัพไปช่วยรบ สมเด็จพระบรมราชาธิราชจึงทรงยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ของอาณาจักรล้านนาแต่ก็ตีไม่สำเร็จประกอบกับทรงพระประชวรจึงทรงยกกองทัพกลับกรุงศรีอยุธยา

ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พระองค์ทรงยกกองทัพไปตีเชียงใหม่อีกครั้ง เมื่อ พ.ศ. 1987 ทรงตั้งทัพหลวงที่ตำบลปะทายเขษม ครั้งนี้ได้หัวเมืองชายแดนของเชียงใหม่กับเชลยอีก 120,000 คน จึงยกทัพหลวงกลับพระนคร แต่ศึกครั้งนี้ไม่ปรากฏในหลักฐานฝ่ายล้านนา ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ กล่าวเพียงแค่เสด็จไปปราบพรรค ตั้งทัพหลวงที่ตำบลปะทายเขษม ได้เชลย 120,000 คน เท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงเมืองเชียงใหม่

จากข้อมูลอื่นใน พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีกหมายเลข 223,2/ก.125 กล่าวว่า เจ้าอยาด บุตรพระรามเจ้า (พระรามาธิบดี (คำขัด)) ที่ถูกส่งไปอยู่จัตุรมุข (พนมเปญ) นั้น ได้ก่อกบฏต่อพระอินทราชา ชักชวนชาวเขมรให้แข็งเมืองขึ้นจนใหญ่โตเป็นมหาพรรค พระอินทราชายกทัพไปตีเจ้าอยาดแตกพ่าย จับเจ้าอยาดส่งไปกรุงศรีอยุธยา แต่ขุนนครไชยกลับแอบปล่อยตัวให้เจ้าอยาดหนีไป เจ้าอยาดเลยระดมกองทัพมหาพรรคชาวเขมรขึ้นใหม่ ในขณะนั้นพระอินทราชาเกิดประชวรสวรรคต เจ้าสามพระยาจึงส่งเจ้าพระยาแพรก ราชบุตรอีกองค์ไปครองพระนครธม และยกทัพใหญ่เข้ามายังกัมพูชาเพื่อปราบพรรคในปี พ.ศ. 1987 จึงน่าจะเป็นเหตุการณ์นี้มากกว่าสงครามกับล้านนา และเมื่อพิจารณาจากชื่อสถานที่ตั้งทัพคือปะทายเขษม คำว่าปะทายน่าจะเพี้ยนมาจากภาษาเขมรคือ บันทาย (បន្ទាយ) ซึ่งมักพบเป็นชื่อสถานที่หรือชื่อเมืองในกัมพูชา

ปราบจราจล[แก้]

พ.ศ. 1987 เสด็จยกทัพปราบจราจล แลตั้งทัพหลวงที่ปะทายเขษม

การสวรรคต[แก้]

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 เสด็จสวรรคต เมื่อ พ.ศ. 1994 พระองค์ครองราชสมบัติรวม 35 ปี โดยสมเด็จพระราเมศวรพระราชโอรสได้สืบราชสมบัติต่อ มีพระนามว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

รายพระนามกษัตริย์นครศรีธรรมราช[แก้]

รายพระนามกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรตามพรลิงค์[แก้]

ฃรายชื่อกษัตริย์อาณาจักรศรีวิชัย

พ.ศ.1006. ถึง พ.ศ............. พระเจ้าพิชัยเดชะ .....

พ.ศ.1132 ถึง พ.ศ..1160 พระเจ้าธรรมราชบุระ(พระเจ้าลี-ฟู-โต-เส) หรือ พระเจ้าธรรมราช ราชวงค์โคตมะวงค์(จูถ่าน)

พ.ศ.............ถึง พ.ศ. 1196พระยาศรีไสยนรงค์ นางจันทาเทวี อัครมเหสี

พ.ศ..............ถึง พ.ศ.1198 ท้าวธรรมกษัตริย์(น้องชาย)

พ.ศ. ...........ถึงพ.ศ.1213 พระเจ้าศรีวิชัย (โห-มิ-โต) ชิลิโพชิ

พ.ศ.1217 ถึง พ.ศ........ พระนางสิมา กษัตริย์ผู้หญิงแห่งนครศรีธรรมราช

พ.ศ.1245 ถึง พ.ศ...........พระเจ้าธรรมเสตุ หรือ สมเด็จพระอินทราธิราช(ไศเลนทรวงค์)

พ.ศ.1267 ถึง พ.ศ............พระเจ้ากรุงศรีวิชัย เช-ลิ-โต-เล-เปา-ไม

พ.ศ.1285 ถึง พ.ศ........... พระเจ้า .ลิว-เตง-วิ-กง (กษัตริย์ศรีวิชัย)

พ.ศ.......... ถึง พ.ศ.1310...พระเจ้าวิษณุที่1.......

พ.ศ.1310 ถึง พ.ศ........... พระเจ้าวิษณุที่2

พ.ศ.1318 ถึง พ.ศ............พระเจ้าศรีวิชเยนทรราชา(วิษณุ)หรือ ศรีวิชเยนทรนฤบดี และดำรงพระราชอิสริยยศว่า ( ศรีราชา )ผู้เป็นราชวงค์ไศเลนทร.....จารึกหลักเสมาเมือง ศักราช697 ( พ.ศ.1318 ทรงพระนามว่า... ธรรมเสตุ )

พ.ศ.1403 ถึง พ.ศ.1440.... พระเจ้าศิริกิตกุมาร (เรื่องพระแก้วมรกต) กรุงตามพรลิงค์

.............................ราชวงศ์ไศเลนทรตอนปลาย...................................................

๑.พ.ศ.1446 ถึงพ.ศ.1471 มหาราชสิทธะยนาภา(ชีวกราช ในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์)มีพระนามหลายพระนาม พระยาวรราช หรือสุชิตราช หรือ สุรชิตราช ตั้งราชธานีอยู่ที่มาลัยปุระ คือนครตามพรลิงค์

๒.พ.ศ.1457 ถึง พศ ......พระเจ้ากัสสปะที่4 กษัตริย์ศรีวิชัย ผู้ครองเมืองตามพรลิงค์เดินทางไปปกครองลังกา( จากศิลาจารึกประเทศศรีลังกา)

๓.พ.ศ.1471 ถึง พ.ศ.1503 มหาราชโกณฑัญญะ

๔.พ.ศ.1503 ถึง พ.ศ.1550 มหาราชศรีจุฬามณีวรรมเทวา ตั้งราชธานีอยู่ท่ีนครศรีวิชัย คือไชยา

พ.ศ. 1544 ท้าวสุชัย

๕.พ.ศ.1550 ถึง พ.ศ.1567 มหาราชมารวิชโยตตุงคะ สิ้นพระชนม์ชีพในสนามรบ

พ.ศ.1567และโอรสองค์ใหญ่ชื่อ....สงครามวิชโยตตุง..ถูกจับเป็นเชลยและสิ้นพระชนม์ที่แคว้นโจฬะ โอรสองค์น้อย

๖.พ.ศ.1567 ถึง พ.ศ.1615 มหาราชสมรวิชโยตุงคะ พระเจ้าสุชิตราช หรือชีวกะ

๗.พ.ศ.1615 ถึง พ.ศ........ มหาราชมาณาภรณ์

๘.พ.ศ......... ถึง พ.ศ...... มหาราชมหาสธรรมปรัพตา

๙.พ.ศ....... ..ถึง พ.ศ....... .มหาราชสูรยนารายณ์ ( 3 ) ร่วมสมัยกับพระเจ้าวิชัยพาหุที่1(1614-1669) ประเทศศรีลังกา ตั้งราชธานีอยู่ที่ นครสิงหปุระ เข้าใจว่าจะเป็นเมืองร้างที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

ราชวงศ์โมริยะ[แก้]

พระรูป พระนาม รัชกาล หมายเหตุ
พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ 1 พ.ศ.1098 - พ.ศ.1120 ผู้สร้างเมืองละคอน
พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ 2 พ.ศ.1120 - พ.ศ.1180 พระอนุชาพระนามว่า เจตราช

ราชวงศ์ศิริปะระ[แก้]

พระรูป พระนาม รัชกาล หมายเหตุ
พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ 3

(พิลิฎฐปะระ)

พ.ศ.1180 - พ.ศ.1217 พระชามาดาของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่ 2
พระราชินีศรีธรรมาโศกราชที่ 4

(พระนางสีมา)

พ.ศ.1217 - พ.ศ.1230 พระราชธิดาพระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่ 3

และพระนัดดาพระนางจามเทวี

พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ 5

(พระเจ้าสันนา)

พ.ศ.1230 - พ.ศ.1270 พระราชโอรสพระราชินีศรีธรรมโศกราชที่ 4

ราชวงศ์ไศเรนทร์[แก้]

พระรูป พระนาม รัชกาล หมายเหตุ
พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ 5

(พระเจ้าสันนา)

พ.ศ.1230 - พ.ศ.1270 พระราชโอรสพระราชินีศรีธรรมโศกราชที่ 4

ประเทศราชแห่งศรีวิชัย[แก้]

ราชวงศ์โมริยะ(ครั้งที่ 2)[แก้]

พระรูป พระนาม รัชกาล หมายเหตุ
พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ 6 พ.ศ.1270 - พ.ศ.1303 สามันตราชแห่งศรีวิชัย
พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ 7 พ.ศ.1270 - พ.ศ.1343
พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ 8 พ.ศ.1343 - พ.ศ.1361
พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ 9

(พระเจ้าพันธุ)

พ.ศ.1361 - พ.ศ.1394

ตามพรลิงค์อิสระ[แก้]

ราชวงศ์สัญชัย[แก้]

พระรูป พระนาม รัชกาล หมายเหตุ
พระเจ้าศรีธรรมาราชที่ 1

(พระเจ้ากลันธรรม)

พ.ศ.1426 - พ.ศ.1440 กู้เอกราชจากศรีวิชัย
พระเจ้าศรีธรรมาราชที่ 2

(พระเจ้าสุชิตราช)

พ.ศ.1440 - พ.ศ.1470 พระราชโอรสพระเจ้ากลันธรรม
พระเจ้าศรีธรรมาราชที่ 3

(พระเจ้ากัมโพชะ)

พ.ศ.1470 - พ.ศ.1515 เจ้าชายสุรัยยะผู้พิชิตเขมรพระราชโอรส ดำรงตำแหน่งอุปราชแห่งละโว้
พระเจ้าศรีธรรมาราชที่ 4 พ.ศ.1515 - พ.ศ.1567 พระอนุชาเจ้าชายสุรัยยะ
พระเจ้าศรีธรรมาราชที่ 5 พ.ศ.1567 - พ.ศ.1610 พระราชโอรสพระเจ้าศรีธรรมาราชที่ 4

ราชวงศ์ปัทมะ[แก้]

๑. พ.ศ.........ถึง พ.ศ....... มหาราชสูรยนารายณ์ ( ๔ ) เป็นโอรสของมหาราชมหาสธรรมปรัพตา (กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งไศเลนทรวงค์ จัดเป็นพระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่ ๑

๒. พ.ศ.........ถึง พ.ศ 1710 มหาราชชัยโคปะ( พระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่ ๒ ) (ในศิลาจารึกดงแม่นางเมืองหลักที่ 35) ตำนานพระบรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราชระบุปีที่สร้างว่าเป็นศักราช 1098 ซึ่งศักราชในที่นี้ควรเป็นมหาศักราชเนื่องจากจารึกดงแม่นางเมือง พ.ศ. 1710 ที่มีรับสั่งให้เจ้าเมืองถวายที่นาเพื่อบูชาสริธาตุของกษัตริย์ผู้ล่วงลับไปแล้ว ทั่งนี้เมื่อเปรียบเที่ยบปีพุทธศักราช 1710 ของจารึกแม่นางเมือง ก็หมายความว่าในปีพ.ศ. 1790 ซึ่งเป็นปีที่สร้างเมืองนครศรีธรรมราชและเป็นปีเดียวกันกับการสร้างพระบรมธาตุในปี1719 (ซึ่งตรงกับบรรทึกของพระเจ้า นรปติสินธุกษัตริย์พม่าที่เมืองพุกาม)

๓ ..พ.ศ.1713.........ถึง.พ.ศ.1733............พระเจ้ามันละยาทิป เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช

1719 สร้างพระบรมธาตุ.... ดอนพระ..(วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน) ร่วมสมัย กับ พระเจ้านรปติสิทธุกัตริย์ประเทศพม่า

๔. พ.ศ..........ถึง พ.ศ. 1752 มหาราชปรลัมพัตร พระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่ ๓(ในศิลา.จารึก.ดงแม่นางเมืองหลักที่ 35 และจารึกฐานพระพุทธรูปนาคปรกหลักที่ 25 )ย้ายราชธานีจาก นครสิงหปุระมาสร้างเมืองนครศรีธรรมราช ที่กระหม่อมโคก (เมืองพระเวียง) เป็นราชธานีเมื่อราว พ.ศ. 1719

พระรูป พระนาม รัชกาล หมายเหตุ
พระเจ้าศรีมหาราชาธิราชที่ 1

(ธรรมโศก ศรีธรรมราชที่ 6)

พ.ศ.1610 - พ.ศ.1649 มหาราชที่เกรียงไกร
พระเจ้าศรีมหาราชาธิราชที่ 2

(ศรีธรรมราชที่ 7)

พ.ศ.1649 - พ.ศ.1670 พระราชโอรสพระเจ้าศรีมหาราชาธิราชที่ 1
พระเจ้าศรีธรรมราชที่ 8

(พระกัมรเดง ชคตศรีธรรมาโศก)

พ.ศ.1670 - พ.ศ.1711 พระราชโอรสพระเจ้าศรีธรรมราชที่ 7
พระเจ้าศรีธรรมราชที่ 9

(พระกัมรเดง อัญศรีบรมวาสุเทพ)

พ.ศ.1711 - พ.ศ.1723 พระราชโอรสพระเจ้าศรีธรรมราชที่ 8

สร้างพระบรมธาตุดอนพระ(วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน)(อ้างอิงข้อมูลเพจ)

พระเจ้าศรีธรรมราชที่ 10(พระอัญมหาราช ศรีมัตไตรโลกราชเมาลิ

ภูษณะ วรัมเทวะ) มหาราชสูรยนารายณ์ (อ้างอิงข้อมูลเพจ)

พ.ศ.1723 - พ.ศ.1770 พระราชโอรสพระเจ้าศรีธรรมราชที่ 9
พระเจ้าศรีธรรมราชที่ 11

(พระเจ้าจันทรภานุ)

พ.ศ.1770 - พ.ศ.1813 พระราชโอรสพระเจ้าศรีธรรมราชที่ 10

มเหสีชื่อพระนางเลือดแม่เจ้าอยู่หัว(อ้างอิงข้อมูลเพจ)

พระเจ้าศรีธรรมราชที่ 12

(พระเจ้าพงศ์สุราหะ)

พ.ศ.1813 - พ.ศ.1820 พระอนุชาพระเจ้าจันทรภาณุ

พระมเหสีชื่อพระนางอรวคุ(อ้างอิงข้อมูลเพจ)

เมืองร้าง[แก้]

ไม่ทันที่กษัตริย์พระองค์ใหม่จะขึ้นครองราช ก็เกิดยมบน เกิดโรคไข้ห่าในเมืองหลวงเสียก่อน..............................................................หลังจากนี้ เมืองนครศรีธรรมราช ก็เกิด โรคระบาดไข้ห่า (อหิวา) ผู้คนล่มตายจำนวนมาก ที่เหลือก็หนีเข้าป่า ภายในเมืองหลวง ไร้ผู้คน ถึงต้อง ทิ้งเมือง ปล่อยให้เมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองร้างไร้ผู้คนเป็นเวลาช้านาน (ย้ายเมืองไปอยู่เขาวังอำเภอลานสกา) เป็นเวลา 5 ปี จนเมืองนครศรีธรรมราชกลายเป็นป่ารกร้าง เมื่อโรคระบาดสงบลง ก็ย้ายเมืองกลับมากลับมา ระยะนี้เมืองนครศรีธรรมราชบอบช้ำมาก ใหนจะภัยจากสงคราม ยังต้องเกิดโรคไข้ห่าอีก..........

ราชวงศ์ลานสกา[แก้]

พระรูป พระนาม รัชกาล หมายเหตุ
นายอู่ นายอยู่
หมื่นศรีจอมรัก นางบุญกอง
พระศรีมหาราชที่ 1 ? - พ.ศ.1820
พระศรีมหาราชาที่ 2

(นายธนู)

พ.ศ.1820 - พ.ศ.1861

พ.ศ. 1861 อยู่มาพระศรีมหาราชาถึงแก่กรรม ศักราช 1861 โปรดให้ข้าหลวงมาเป็นศรีมหาราชาแต่งพระธรรมศาลา ทำระเบียงล้อมพระมหาธาตุ และก่อเจดีย์ วัศสภ มีพระบัณฑูรให้พระศรีมหาราชาไปรับเมืองลานตกา ศรีมหาราชาถึงแก่กรรมเอาศพมาไว้ วัศศภ

ประเทศราชแห่งเพชรบุรี[แก้]

พระรูป พระนาม รัชกาล หมายเหตุ
พระพนมทะเลศรี มเหสวัสดิทราธิราช

(นางจันทรเทวี)

พ.ศ.1861 - ?
พระพนมวัง

(นางสะเดียงทอง)

? - พ.ศ.1885
พระเจ้าศรีธรรมโศกราช สุรินทราราชาสุ รวงค์ ธิบดีศีรยุธิษเถียรอภัย

ฑิริ ปรากรมพาหุ (นางสน) เจ้าพระยานครศรีธรรมราชมหานคร (เจ้าศรีราชา)

พ.ศ.1885 - ?

ปีพ.ศ. 1837 ถึงปีพ.ศ.1893 เมืองนครศรีธรรมราชยังมีฐานะเป็นเมืองพระยามหานคร หรือเมืองประเทศราช

พระนาม ปีครองราช หมายเหตุ
ขุนรัตนากร หลังปี พ.ศ......1861

เมืองพระยามหานคร[แก้]

พ.ศ.1893.......

ถูกรวบเข้ากับอาณาจักอยุธยา เมืองนครศรีธรรมราชตก อยู่ในกลุ่ม เมืองพระยามหานครที่ต้องถวายต้นไม้ทอง เครื่องราชบรรณาการแก่กรุงศรีอยุธยา

พระนาม ปีครองราช หมายเหตุ
ท้าวราชกฤษณา พ.ศ..........ถึง พ.ศ. ...... ท้าวราชกฤษณา และภรรยาออกญาราม เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช(ตำนานวัดพังยาง ระโนด)
หลวงศรีมหาวงค์ พ.ศ.1919 ถึง พ.ศ......... หลวงศรีมหาวงค์ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช มาทำวิหารฝ่ายอุดรพระธาตุทักษิณพระโพธิมณเฑียร ก่อพระสูง 7 ศอก หล่อพระสำมฤฐองค์หนึ่งไว้ปัจฉิม เมียหล่อองค์หนึ่งไว้ฝ่ายบูรรพ์ ชื่อว่าเพหารเขียน (สร้างวิหารเขียน วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช)แล้วอุทิศข้าหญิงชายไร่นาไว้ สำหรับ รักษาพระ โปรดให้หลวงพิเรนทรเทพมาเป็นเจ้ามือง พระทิพราชาน้องพระญาสุพรรณเป็นปลัดศึก อารู้ ยกมาตีเมืองแล้วไปตีพัทลุงได้ ทิพราชาเป็นแม่ทัพไปตีคืนเล่า
หลวงพิเรนทรเทพ

หัวเมืองชั้นเอก[แก้]

พระนาม ปี หมายเหตุ
พ.ศ. 1998 ฐานะเมืองนครศรีธรรมราชเปลี่ยนเป็นหัวเมืองเอก
เจ้าพระญาศรีธรรมราช ชาติเดโชไชย มไหยสุริยาธิบดีอภัย พิริยบรากรมพาหุ พ.ศ.1998 - ?
พระยาพลเทพราช พ.ศ.2039 - ? โปรดให้พระยาพลเทพราชมาเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช (กำกับทำกำแพงเมือง ) กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชถูกดัดแปลงเป็นกำแพงอิฐ โดยชาวโปรตุเกต แล้วเข้าไปกรุงไปทางเมืองสระ
ออกหลวงชัยราชาราชสงคราม ย้ายเจ้าเมืองพัทลุงไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
ออกพระราชเดชชัย
เจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช (ออกพระศรีไสยรัตน์รังสี) ? - พ.ศ.2072 ขุนอินทรเทพ ตั้งเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช หรือ ออกพระศรีไสยรัตน์รังสี ( ขุนนางเชื้อสายนครศรีธรรมราช) ซึ่งเป็นคนสนิทของพระมหาธรรมราชา
ออกขุนทรเนนทรเทพ ? - พ.ศ.2091
พระเจ้าศรีธรรมโศกราช พ.ศ.2105 ถึง พ.ศ.2122 ประมาณเวลาที่พระเจ้าศรีธรรมโศกราชสร้างวัดท่าช้างเป็นอารามหลวงแล้วให้พระสมโพธิสมภารเป็นอธิการ และ ท้าวโคตรคีรีเศรษฐีสร้างวัดเสมาทอง (ตรงบริเวณเจดีย์ยักษ์)สันนิษฐานว่าวัดนี้น่าจะอยู่ตรงเจดีย์ยักษ์ ชื่อพระเงินเป็นชื่อพระประธานวัดนี้
ปลัดเมือง ขึ้นรั้งเมือง พ.ศ..........ถึง พ.ศ. 2133
จ่าพลภาย ( รั้งเมืองนครศรีธรรมราช) พ.ศ. .......ถึง พ.ศ. 2139 มีตราโกษาธิบดีออกมาให้ จ่าพลภาย ( รั้งเมืองนครศรีธรรมราช)
พระยาศรีธรรมราชะเดชะ พ.ศ.2141 ถึง พ.ศ. 2144 โปรดให้ พระยาศรีธรรมราชะเดชะมาเป็นเจ้าเมืองอุชงคนะให้ลักปหม่าหนาเป็นแม่ทัพเรือมารบ เจ้าเมืองให้ขุดคูเมืองป้องกันข้าศึกจากเมืองยี่หน(รัฐยะโฮร์) ปัจจบันเรียกว่า คูขวาง เสียขุนคำแหงปลัดเมือง ณ รอปากพระญา ข้าศึกรุกเข้าถึงตีนกำแพงฝ่ายอุดร พระยาศรีธรรมราชออกรบ ศึกหนีไป
พระยารามราชท้ายน้ำ พ.ศ.2144 ถึง พ.ศ........... โปรดให้พระยารามราชท้ายน้ำมาเป็นเจ้าเมืองเอาขุนเยาวราชมาเป็นปลัดเมืิอง รู้ข่าวศึกอุชงคนะจึงพระยาให้ขุดฝ่ายบูรรพ์แต่ลำน้ำท่าวังมาออกลำน้ำฝ่ายทักษิณ (เสียชีวิตในที่รบ) พระยาแก้วก่อเจดีย์ไว้ในวิหารพระธรรมศาลา บรรจุอัฐิรามราชท้ายน้ำ เรียกว่า เจดีย์สวรรค์ พระยารามราชท้ายน้ำ เป็นขุนศึกคู่พระทัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ออกท้าวประทอง พ.ศ.2155 ถึง พ.ศ. 2163 ออกท้าวประทอง( ออกญาพัทลุง เจ้าเมืองพัทลุง มาเป็นเจ้าเมืองนครนครศรีธรรมราช ( เป็นลูกชายเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช คนก่อน ) เจ้าเมืองคนนี้มี ปริศนาในเรื่อง เจดีย์สวรรรค์ เพราะว่าเสียชีวิตในสนามรบ ที่หัวรอ ท่าพญาเช่นกัน
ออกญาพัทลุง พ ศ......... ถึงพ.ศ..................
ขุนอินทราเป็นศรีมหาราชา พ.ศ.2171 ถึง พ.ศ. 2172 ขุนอินทราเป็นศรีมหาราชา(กรุงศรีอยธยาแต่งตั้งมามาพร้อมกับนายสามจอมทำหน้าที่จดสารบาญชีที่ภูมิทัศแก่พระสงฆ์และศาสนสถานทั้งหลายในเมืองนครศรีธรรมราช)
ออกญาเสนาภิมุข (ยามาดะ) พ.ศ.2172 ถึง พ.ศ. 2173 ในปีพ.ศ. 2172 เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงค์ (ออกญากลาโหม) กำลังชุมพลเพื่อเตรียมการปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ ภายหลังพลักได้ดันให้ ออกญาเสนาภิมุข( ยามาดะ ) ไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชได้สำเร็จ ออกญาเสนาภิมุข( ยามาดะ) ได้ฆ่ากรมการเมืองนครศรีธรรมราช ที่เป็นปรปักษ์กับตนหลายคนและทั้งริบทรัพย์สมบัติของกรมการเมืองเหล่านั้น รวมทั้งของชาวเมืองไปให้พวกญี่ปุ่นที่ติดตามมาด้วย ต่อมา ยามาดะ ถูกวางยาพิษตาย ที่เมืองนครศรีธรรมราช
ออกขุนเสนาภิมุข (โอนิน) พ.ศ.2173.ถึง พ.ศ.2176 ออกขุนเสนาภิมุข (โอนิน) บุตร ยามาดะ ขึ้น เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2175 นครศรีธรรมราช เป็นกบฏต่อกรุงศรีอยุธยา ออกญาขุนเสนาภิมุข( โอนิน) ตั้งตนเป็นกษัตริย์( พระราชากำมะลอ)เมืองนครศรีธรรมราช เกิดกลียุค ชาวเมืองถูกออกขุนเสนาภิมุข ( โอนิน ) ปล้นฆ่าตายจำนวนมาก ชาวเมืองนครฯจึงต้องหนีตายออกนอกเมือง จนเมืองนครฯกลายเป็นเมืองร้าง ออกขุนเสนาภิมุขทิ้งเมืองถอยไปอยู่กัมพูชา.......เนื่องมาจากใน ปีพ.ศ. 2175 กรุงศรีอยุธยา ส่ง ออกญามะริด ซึ่งเป็นน้องชายเจ้าเมืองคนเก่า ลงมาปราบ เข้ายึดเมืองนครศรีธรรมราชคืน
กล่าวคือกองทัพเรือกรุงศรีอยุทยา ส่งออกญาท้ายน้ำกับออกพระศักดาพลฤทธิ์เป็นแม่ทัพ พร้อมด้วยพระยาเมืองนครศรีธรรมราชคนใหม่ สามารถปราบขบถลงได้โดยเร็ว ราว วันที่ 20 สิงหาคม 2175
ออกญามะริด
พ.ศ....พระบรมธาตุหัก..ในปี.พ.ศ.2190 ซ่อมเสร็จ......ตามจารึกที่ปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์นครฯ........สมัยพระเจ้าปราสาททอง ยอดพระบรมธาตุหักถึงรัตนบัลลังก์ (เกิดจากฝีมือมนุษย์) บรรทึกไว้ว่า....... เมื่อวันจันทร์เดือนหก แรมสีค่ำ ปีมะเมีย และซ่อมกลับคืนแล้วเสร็จใน เดือนสิบ วันศุกข์
พ.ศ....พระบรมธาตุหัก..ในปี.พ.ศ.2190 ซ่อมเสร็จ......ตามจารึกที่ปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์นครฯ........สมัยพระเจ้าปราสาททอง ยอดพระบรมธาตุหักถึงรัตนบัลลังก์ (เกิดจากฝีมือมนุษย์) บรรทึกไว้ว่า....... เมื่อวันจันทร์เดือนหก แรมสีค่ำ ปีมะเมีย และซ่อมกลับคืนแล้วเสร็จใน เดือนสิบ วันศุกข์
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช เดชไชยอภัยพีธีปรากรมพาหุ พ.ศ. 2192 ถึง พ.ศ.2197
พ.ศ. 2197 ถึง พ.ศ........... มีพระบรรทูลโปรดให้...... พระยาบริบาลพลราช เจ้าเมืองตะนาวศรี มาเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เดชไชยอภัยพิธีปรากรมพาหุ เจ้าพระญานครศรีธรรมราช
.เจ้าพระยานครฯ (ขุนทอง) พ.ศ..........ถึง พ.ศ..............
.แต่งตั้งผู้รั้งเมือง กรุงศรีอยุทธยาได้ลดอำนาจเมืองนครศรีธรรมราชลง โดยแต่งตั้งผู้รั้งเมืองและกรมการเมืองตามตำแหน่งพอสม
พ.ศ..........ถึง พ.ศ. ...... เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชถูกประหาร กรณีเรื่องศรีปราชญ์ (ใคร)
พ.ศ.2230 ออกญาพัทลุง พัทลุงมีจิตรศรัทธาบริจากแผ่นทองคำติดบนปลียอดพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ความสัมพันธ์ฉันเครือญาติ มีศักกราชกำกับว่า พ.ศ. 2230 เพื่อความสัมพันธ์ฉันเครือญาติและปกครอง 2เมือง
ออกญารามเดโช (หวาน) พ.ศ.2230 ถึง พ.ศ.2235 มาเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชแทนเจ้าเมืองคนเก่าท่ีถูกประหาร (ออกรามเดโช เป็นลูกชายเจ้าเมืองไทรบุรี ซึ่งเป็นชาวเปอร์เชีย) ต่อมาในปี พ.ศ. 2229 ถึงปี พ.ศ. 2235 พระยารามราชเดโช เป็นกบฏ กรุงศรีอยธยา
พ.ศ. 2235.................... เจ้าพระยารามเดโช .เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชหนีไปมาลายู
พระยายมราชสั่ง พ.ศ.......... ถึง พ.ศ. 2242
เจ้าพระยาศรีธรรมราช เดชชาติอำมาตยานุชิต พิพิทรัตนราชโกษาธิบดีอภัยพิริยบรากรมพาหุ พ.ศ 2242 ถึง พ.ศ........ (สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้เล่ม1 ปีพ.ศ. 2529 หน้าที่17)
.ใน ปีพ.ศ. 2244 ....พระเพทราชารับสั่งให้บูรณะ พระวิหารทับเกษตรและวิหารต่างๆวัดพระบรมธาตุที่ชำรุด
พ.ศ.2275 ถึง พ.ศ .......... โปรดเกล้าให้ ขุนชำนาญ (ดาบคู่) ไปเป็นพระยานครศรีธรรมราช ในนามเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) ยศขุนนางชั้นพระยามหานคร(สารนคร ฉบับที่ 4 เมษายน 2556)
พ.ศ. 2258 ถึง พ.ศ......... ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยาได้โปรดให้ พระยาไชยาธิเบศร์ มาเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2297 พระยาพลเทพออกมาเป็นเจ้าเมืองนคร หลักฐานจากจารึกฐานพระลากวัดศรีทวี อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
พ.ศ.2300 ถึง พ.ศ. 2301 ปรากฏหลักฐานในทำเนียบศักดินา ข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้ง พระยาสุโขทัย มาเป็นเจ้าพระยาธรรมราช (บุญเลี้ยง) ปลายแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พ.ศ.2301 ถึง พ.ศ.2310 พระยาสุราชสุภาวดี (ละคร หรือดอกไม้ ) เจ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีโปรดตั้งพระยาราชสุภาวดี เป็นว่าที่พระยาศรีธรรมโศกราชเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เป็นขุนนางนอกราชการตำแหน่ง คือ เจ้ากรมพระสุรัสวดีกลางศักดินา 5000 เป็นออกพระ ถูกอุธรณ์ต้องกลับ กรุงศรีอยุธยา มีชีวิตถึงรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี

ก๊กเจ้านครศรีธรรมราช[แก้]

พระรูป พระนาม รัชกาล หมายเหตุ
เจ้าพระยานคร ฯ (หนู) พ.ศ.2310 - พ.ศ. 2312

ธนบุรี[แก้]

พระรูป พระนาม รัชกาล หมายเหตุ
พระเจ้านราสุริยวงค์ พ.ศ.2312 - พ.ศ.2319 พระเจ้าหลานเธอสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เจ้าขัตติยราชนิคมสมมติมไหสวรรค์ พระเจ้านครศรีธรรมราช

(หนู)

วันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 3 ค่ำ พ.ศ.2319 - พ.ศ.2328

รัตนโกสินทร์[แก้]

พ.ศ.2328 ถึง พ.ศ. 2352 เจ้าพระยานครพัฒน์

พ.ศ.2354 ถึง พ.ศ. 2382 เจ้าพระยานคร(น้อย) วันอาทิตย์ แรม 4 ค่ำ เดือน 6 จุลศักราช2101 เจ้าพระยานครน้อยได้ถึงแก่อสัญกรรม รวมเวลาปกครองเมืองนครศรีธรรมราช 28 ปี

พ.ศ.2382 ถึง พ.ศ. 2440 พระเสน่หามนตรี (น้อยกลาง)

พ.ศ.2440 ถึง พ.ศ. 2447 พระสุธรรมมนตรี(หนูพร้อม)

พ.ศ.2447 ถึง พ.ศ. 2449 พลเอกเจ้าพระยาบดินเดชานุชิด(แย้ม ณ นคร)

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช[แก้]

พ.ศ.2459.ถึง พ.ศ........จากผู้ว่าการเมือง ........ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด

พ.ศ.2475...................มณฑลนครศรีธรรมราช ได้ยุบเป็นจังหวัด มีผู้ว่า ราชการจังหวัด

1.พ.ศ .2440 - 2447 เจ้าพระยาสุธรรรมนตรีศรีธรรมรา (หนูพร้อม ณ นคร)

2 .พ.ศ. 2477 - 2479 พระยาสนทร ธุรกิจ (หมี ณ ถลาง)

3. 3 พ.ย. 2449 - 1 มี.ค .2542 พระยาตรังภูมิบาล (ถนอม บุญยเกตุ )

4. 15มิ.ย. 2452 - 13 ก.ค.2455 พระยาศีรีธรรมบริรักษ์ (เย็น สุวรรณปัทม)

5. 13 ก.ค. 2455 - 5 มี.ค. 2462 พระยาประชากิจกรจักร์ ( พัด มหาเปารยะ )

6. 6 ม.ค. 2462 - 26 มิ.ย. 2474 พระยารัษฏานุประดิษฐ์ ( สิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

7. 26มิ.ย. 2474 - 23 ก.พ. 2475 พระยาสุรพลพิพิธ(เป้า สุมนดิษฐ์)

อ้างอิง[แก้]

อ้างอิงข้อมูล หนังสือทักษิณรัฐ ของ ศ.มานิต วัลลิโภดม โดย กรมศิลปากร

หนังสือ ประวัติสังเขปพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช กับเรื่องเมืองนคร เจริญชัย พุทธรัต

สามเมืองแชลแนล - โพสต์ | Facebook

  1. ดร.ตรงใจ, หุตางกูร (2020), ไม่มี พรญาไสลือไท ในจารึกสุโขทัย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร - SAC, สืบค้นเมื่อ 2023-04-03
  2. "จารึกวัดบูรพาราม ด้านที่ 1". db.sac.or.th. ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 3.2 ปกรณ์ ทรงม่วง. 2539. ปริญญานิพนธ์ เรื่อง การวิเคราะห์พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.