ป็อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ป็อง
ตู้เกม ป็อง จัดแสดงที่ Neville Public Museum of Brown County
ผู้พัฒนาอาตาริ
ผู้จัดจำหน่าย
ออกแบบอัลลัน อัลคอร์น
เครื่องเล่น
วางจำหน่าย
  • NA: 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1972
  • JP: พฤศจิกายน ค.ศ. 1973[1]
  • EU: ค.ศ. 1973[2]
แนวกีฬา
รูปแบบเดี่ยว, หลายคน

ป็อง (อังกฤษ: Pong) เป็นหนึ่งในวิดีโอเกมที่เป็นเกมตู้ยุคแรกที่สุด ป็องเป็นเกมกีฬาเทนนิสที่นำเสนอกราฟิกสองมิติแบบง่าย มีลักษณะเป็นเกมเทนนิสซึ่งมีลักษณะเป็นกราฟิกสองมิติอย่างง่ายขณะที่เกมตู้เกมอื่นเช่น คอมพิวเตอร์สเปซ ออกมาก่อน ป็องเป็นเกมแรกที่ได้รับความนิยมจากกระแสหลัก แต่เดิมเกมผลิตโดยบริษัทอาตาริ (Atari) ออกจำหน่ายใน ค.ศ. 1972 อัลลัน อัลคอร์น สร้างเกมป็องเป็นเครื่องออกกำลังกายหลังจากได้รับมอบหมายโดยผู้ร่วมก่อตั้งอาตาริ โนแลน บุชเนลล์ บุชเนลล์ยึดแนวคิดจากเกมปิงปองอิเล็กทรอนิกส์ที่รวมอยู่ในเครื่องแม็กนาวอกซ์โอดีสซี ซึ่งต่อมากลายเป็นคดีความขัดแย้งกับอาตาริ เมื่อรู้สึกประหลาดใจกับคุณภาพงานของอัลคอร์น บุชเนลล์และผู้ร่วมก่อตั้งอาตาริ เท็ด แด็บนีย์ ตัดสินใจผลิตเกมนี้ขึ้นมา

ป็องประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วและเป็นเกมตู้เกมแรกที่ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ และช่วยสร้างอุตสาหกรรมวิดีโอเกม ร่วมกับคอนโซลเครื่องแรก แม็กนาวอกซ์โอดีสซี ไม่นานหลังออกจำหน่าย บริษัทจำนวนมากเริ่มผลิตเกมที่เลียนแบบรูปแบบการเล่นของเกมป็อง และในที่สุดก็ออกเกมรูปแบบใหม่มากมาย ด้วยเหตุนี้ อาตาริกระตุ้นให้พนักงานผลิตเกมที่ทันสมัยมากขึ้น บริษัทออกเกมภาคต่อมากมายโดยต่อยอดรูปแบบการเล่นเดิมให้มีลูกเล่นเพิ่มขึ้น จนกระทั่งในช่วงคริสต์มาสของ ค.ศ. 1975 อาตาริออกเกมป็องรุ่นเล่นที่บ้าน จำหน่ายเฉพาะร้านเซียส์ (Sears) เท่านั้น เกมประสบความสำเร็จและนำไปสู่การเลียนแบบมากมาย เกมถูกนำมาทำใหม่ในแพลตฟอร์มทั้งแบบตามบ้านและแบบพกพา ป็องถูกนำไปกล่าวถึงและล้อเลียนในรายการโทรทัศน์และวิดีโอเกมต่าง ๆ และเป็นส่วนหนึ่งของวิดีโอเกมหลายเกมและตามนิทรรศการต่าง ๆ

วิธีเล่น[แก้]

รูปของจอทีวีที่แสดงการเล่นเกมป็อง
ไม้ตีสองข้างสะท้อนบอลตีแข่งกัน โดยมีคะแนนแสดงโดยตัวเลขอยู่ด้านบนของจอภาพ

ป็องเป็นเกมกีฬาสองมิติที่จำลองเทเบิลเทนนิส ผู้เล่นควบคุมไม้ตีในเกมด้วยการเคลื่อนในแนวตั้งด้านซ้ายหรือขวาของหน้าจอ ผู้เล่นสามารถแข่งกับผู้เล่นอีกคนที่ควบคุมไม้ตีที่สองด้านตรงข้าม ผู้เล่นใช้ไม้ตีไว้ตีบอลกลับไปมา เป้าหมายของเกมนี้คือทำคะแนนถึง 11 คะแนนก่อนที่ฝ่ายตรงข้ามจะทำได้ โดยจะได้คะแนนก็ต่อเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถตีบอลกลับมาได้[3][4][5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Akagi, Masumi (13 October 2006). アーケードTVゲームリスト国内•海外編(1971-2005) [Arcade TV Game List: Domestic • Overseas Edition (1971-2005)] (ภาษาญี่ปุ่น). Japan: Amusement News Agency. p. 51. ISBN 978-4990251215.
  2. "After Pong". ACE. No. 6 (March 1988). 4 February 1988. pp. 29–32 (31).
  3. "Pong". Killer List of Videogames. สืบค้นเมื่อ 22 October 2008.
  4. Sellers, John (August 2001). "Pong". Arcade Fever: The Fan's Guide to The Golden Age of Video Games. Running Press. pp. 16–17. ISBN 0-7624-0937-1.
  5. Kent, Steven (2001). "And Then There Was Pong". Ultimate History of Video Games. Three Rivers Press. pp. 40–43. ISBN 0-7615-3643-4.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]