ปางทรมานพระยามหาชมพู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ หรือพระพุทธนิมิต วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระพุทธรูปปางทรมานพญาชมพูบดี (โปรดพระยาชมพูบดี) ศิลปะอยุธยา

ปางทรมานพระยามหาชมพู (หรือปางโปรดพญาชมพูบดี) เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) ทรงเครื่องต้นอย่างพระมหากษัตริย์

ประวัติ[แก้]

พญาชมพูบดีผู้มีฤทธิ์เดชมาก มีความริษยาพระเจ้าพิมพิสาร เพราะทรงมีปราสาทงดงามกว่าปราสาทของพระองค์ จึงมารุกรานข่มเหง จนพระเจ้าพิมพิสารต้องหนีไปพึ่งพระบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงเนรมิตพระองค์เองเป็นพระเจ้าราชาธิราชที่งดงามดุจท้าวมหาพรหม และรับสั่งให้ท้าวสักกเทวราชแปลงเป็นราชทูตไปทูลเชิญพญาชมพูบดีมา พญาชมพูบดีตกตะลึงในความงดงามและความยิ่งใหญ่แห่งพระนครของพระราชาธิราช พระพุทธองค์ทรงให้โอกาสพญาชมพูบดีแสดงอิทธิฤทธิ์ แต่ก็พ่ายต่อพระพุทธองค์ จึงทรงบันดาลให้ทุกสิ่งกลับคืนสู่สภาพเดิมและทรงแสดงธรรมโปรด จนพญาชมพูบดีเบื่อหน่ายในราชสมบัติอันไม่ยั่งยืน ทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่พญาชมพูบดี

ลักษณะพระพุทธรูป[แก้]

ความเชื่อและคตินิยม[แก้]

เป็นพระพุทธรูปประจำปีกุน

อ้างอิง[แก้]