ปางห้ามพยาธิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลักษณะของพระพุทธรูปปางห้ามญาติ

ปางห้ามพยาธิ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม มีลักษณะคล้ายกันกับปางห้ามสมุทรหรือปางห้ามญาติ นิยมทำเป็นแบบพระทรงเครื่อง

ประวัติ[แก้]

เมื่อครั้งเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ขึ้นในเมืองไพศาลี มีประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก กษัตริย์ลิจฉวี เจ้าผู้ครองเมืองจึงได้กราบบังคมทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า ให้เสด็จมาโปรดชาวเมือง พระพุทธองค์จึงมีรับสั่งให้พระอานนท์ เจริญรัตนสูตร (รัตนปริตร) และประพรมน้ำพระพุทธมนต์รอบพระนคร ทำให้ภัยต่าง เช่นโรคร้ายหายสิ้นไปจากพระนครด้วยพระพุทธานุภาพ

ความเชื่อและคตินิยม[แก้]

  • เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนที่เกิดวันจันทร์ เช่นเดียวกับปางห้ามสมุทร และปางห้ามญาติ
  • พระคาถาประจำวัน บท ยันทุนนิมิตตัง(อภยปริตร) สวด 15 จบ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ

อ้างอิง[แก้]

  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี  : ศิลปาบรรณาคาร โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
  • เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
  • สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
  • ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล