ปัญหาสกันทอร์ป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างของปัญหาสกันทอร์ปในการสร้างบัญชีผู้ใช้วิกิพีเดียเนื่องจากการตรวจจับโดยนิพจน์ปรกติ

ปัญหาสกันทอร์ป (อังกฤษ: Scunthorpe problem) เป็นปัญหาที่เกิดจากตัวกรองสแปมหรือเสิร์ชเอนจินบล็อกเว็บไซต์ อีเมล หรือผลการค้นหาโดยไม่ตั้งใจเนื่องจากข้อความมีสายอักขระหรือสายอักขระย่อยที่มีความหมายหยาบคายหรือไม่พึงประสงค์ โดยส่วนใหญ่จะพบในชื่อ ชื่อย่อ และศัพท์เทคนิค

ปัญหานี้เกิดขึ้นเนื่องจากคอมพิวเตอร์มีความสามารถมากพอที่จะตรวจค้นหาสายอักขระในเอกสารหรือข้อความได้ แต่ยังไม่มากพอที่จะตีความหมายตามบริบทซึ่งซับซ้อนกว่าได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การบล็อกอย่างกว้าง ๆ ส่งผลทำให้เกิดผลบวกลวงที่มีผลกระทบต่อสายอักขระที่ไม่ได้มีความหมายหยาบคายหรือไม่พึงประสงค์ได้

ปูมหลัง[แก้]

ปัญหานี้มีที่มาจากเหตุการณ์ใน ค.ศ. 1996 เมื่อตัวกรองคำหยาบของเอโอแอลทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากเมืองสกันทอร์ป มณฑลลิงคอล์นเชอร์ ในประเทศอังกฤษไม่สามารถจดทะเบียนผู้ใช้กับเอโอแอลได้เนื่องจากชื่อเมืองมีสายอักขระย่อย "cunt" ซึ่งเป็นคำสแลงในภาษาอังกฤษหมายถึงอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง[1] ต่อมาในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ตัวกรองทางเลือกเซฟเสิร์ชของกูเกิลทำให้เกิดปัญหาในลักษณะเดียวกัน โดยผู้ใช้ที่เปิดใช้เซฟเสิร์ชไม่สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจท้องถิ่นหรือยูอาร์แอลเว็บไซต์ที่มีคำว่า Scunthorpe ในชื่อได้[2]

ตัวอย่างอื่น ๆ ที่สำคัญ[แก้]

ความผิดพลาดอื่น ๆ จากตัวกรองประเภทนี้ที่มีบันทึกได้แก่

การจดทะเบียนชื่อโดเมนและบัญชีผู้ใช้[แก้]

  • เดือนเมษายน ค.ศ. 1998 เจฟฟ์ โกลด์พยายามจดทะเบียนชื่อโดเมน shitakemushrooms.com แต่เนื่องจากชื่อโดเมนมีคำว่า shit ซึ่งติดตัวกรองของ InterNIC[3] คำว่าเห็ดหอมในภาษาอังกฤษเป็นคำยืมจากภาษาญี่ปุ่น ว่า 椎茸 (shiitake) ซึ่งในภาษาอังกฤษมักสะกดย่อเป็น shitake
  • ค.ศ. 2000 รายการข่าวในประเทศแคนาดาเผยแพร่เนื้อหาข่าวว่าเว็บไซต์ของสภาท้องถิ่นมอนทรีออล (Montreal Urban Community; ฝรั่งเศส: Communauté urbaine de Montréal) ถูกบล็อกเนื่องจากชื่อโดเมนของเว็บไซต์จดตามอักษรย่อในภาษาฝรั่งเศส (ภาษาทางการของรัฐเกแบ็ก) CUM (www.cum.qc.ca)[4] ความหมายหนึ่งของคำว่า "cum" ได้แก่คำสแลงในภาษาอังกฤษสื่อถึงน้ำอสุจิ
  • เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 เครก โคเบิร์น (Craig Cockburn) ชาวสกอตแลนด์แจ้งว่าเขาไม่สามารถสร้างบัญชีผู้ใช้ฮอตเมลโดยใช้นามสกุลของเขาได้ นอกจากนี้เขายังมีปัญหากับอีเมลที่ทำงานของเขาด้วยเนื่องจากตำแหน่งงาน software specialist มีสายอักขระย่อย cialis ซึ่งตรงกับชื่อยารักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศซึ่งมักปรากฏในอีเมลสแปม ในช่วงแรกฮอตเมลแนะนำให้เขาสะกดนามสกุลว่า C0ckburn (ใช้ตัวเลข 0 แทนตัวอักษร "o") ก่อนที่จะยกเลิกการบล็อกในเวลาต่อมา[5] ต่อมาใน ค.ศ. 2010 นามสกุลของเขาสร้างปัญหาเดิมอีกครั้งเมื่อพยายามสร้างบัญชีผู้ใช้บนเว็บไซต์ของบีบีซี[6]
  • เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 ลินดา คัลลาฮัน (Linda Callahan) ไม่สามารถใช้นามสกุลสร้างบัญชีผู้ใช้ยาฮู! ได้เนื่องจากนามสกุลของเธอมีสายอักขระย่อย Allah ยาฮู! ปลดบล็อกเธอในเวลาต่อมา[7]
  • เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008 ดร. เฮอร์มัน ไอ. ลีพชิทซ์ (Herman I. Libshitz) ไม่สามารถสร้างบัญชีผู้ใช้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเวอไรซันได้เนื่องจากนามสกุลมีสายอักขระย่อย shit และเวอไรซันปฏิเสธที่จะยกเว้นนามสกุลของเขา เวอไรซันประกาศขออภัยในเวลาต่อมา[8]
  • เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2018 นาทาลี ไวเนอร์ (Natalie Weiner) โพสต์ข้อความทางโซเชียลมีเดียว่าเธอสร้างบัญชีผู้ใช้เว็บไซต์หนึ่งไม่ได้เพราะนามสกุลของเธอเป็นคำสแลงหมายถึงอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย และมีผู้แสดงความคิดเห็นตอบโพสต์ของเธอว่าประสบปัญหาเช่นเดียวกัน ซึ่งรวมทั้งเบน ชมัก (Ben Schmuck; นามสกุลภาษายิดดิชยังเป็นคำสแลงในภาษาอังกฤษหมายถึงอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย[9]) และอรุณ ทิกษิต (Arun Dikshit; นามสกุลเป็นภาษาสันสกฤตหมายถึงผู้สอนหรือผู้ให้ความรู้ มีสายอักขระย่อย shit)[10][11][12] บทความข่าวเกี่ยวกับโพสต์นี้ระบุว่าเป็นปัญหาทางเทคนิคที่พบบ่อยและซับซ้อนที่ยังไม่มีทางแก้ไขได้[10]

ผลการค้นหาเว็บไซต์[แก้]

  • ในช่วงเวลาหลายเดือนก่อนการแข่งขันซูเปอร์โบวล์ครั้งที่ 30 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1996 ชื่อการแข่งขันถูกกรองเนื่องจากการแข่งขันซูเปอร์โบวล์ใช้ตัวเลขโรมันบอกลำดับที่การแข่งขัน และตัวเลขโรมันที่สื่อถึงหมายเลข 30 (XXX) ยังใช้ในความหมายเกี่ยวกับสื่อลามก[13]
  • แกเร็ท โรลอฟส์ ผู้ออกแบบเว็บไซต์ RomansInSussex.com กล่าวใน ค.ศ. 2004 ว่าเขาประสบปัญหาว่าระบบอินเทอร์เน็ตในห้องสมุดประชาชน โรงเรียน และอินเทอร์เน็ตคาเฟ่บล็อกเว็บไซต์ที่มีคำว่า sex ในชื่อโดเมน ซึ่งเป็นงานยากสำหรับเว็บไซต์ RomansInSussex.co.uk ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียน"[2]
  • ค.ศ. 2008 บริการระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายของเมืองฟากาตาเน (Whakatane) ในประเทศนิวซีแลนด์บล็อกผลการค้นหาต่าง ๆ ที่มีสายอักขระย่อย whak ซึ่งรวมถึงชื่อเมืองเองด้วยเนื่องจากขั้นตอนวิธีเชิงสัทลักษณ์ของตัวกรองวิเคราะห์เสียง "whak" ว่าคล้ายกับ fuck ในสำเนียงภาษามาวรี ทางเมืองได้ใส่ชื่อเมืองลงในบัญชีขาวว่าให้ผ่านได้[14]
  • เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 หลังจากที่มีข่าวลือแพร่ทางเว็บไซต์ซินล่างเวย์ปั๋วว่าอดีตประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมินถึงแก่อสัญกรรม ทางการจีนได้บล็อกผลการค้นหาที่มีตัวอักษรจีน "เจียง" (江) อย่างไรก็ตาม ตัวอักษรดังกล่าวยังมีความหมายว่า "แม่น้ำ" ซึ่งทำให้ผลการค้นหาชื่อแม่น้ำหลายสาย รวมทั้งแม่น้ำแยงซี (จีน: 长江) ปรากฏข้อความว่าไม่สามารถแสดงผลการค้นหาได้เนื่องจากข้อบังคับทางกฎหมาย[15]
  • เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 แพลตฟอร์มสำหรับซื้อขายสินค้าของกูเกิลบล็อกชื่อสินค้าที่มีสายอักขระย่อย gun เช่นปืนกาว (glue guns) ผลงานเพลงของกันส์แอนด์โรสเซส (Guns N' Roses) และไวน์เบอร์กันดี (Burgundy wine) หลังจากที่กูเกิลพยายามป้องกันไม่ให้เกิดการซื้อขายปืน[16]

อีเมล[แก้]

  • ค.ศ. 2001 ยาฮู! เมลเริ่มใช้ตัวกรองอีเมลซึ่งแทนที่สายอักขระที่เกี่ยวข้องกับจาวาสคริปต์เพื่อป้องกันการแทรกสคริปต์ในอีเมลภาษาเอชทีเอ็มแอล ซึ่งจะแทรกเครื่องหมายยติภังค์ลงในข้อความ "JavaScript" "JScript" "VBScript" และ "LiveScript" และแทนที่ "eval" "mocha" และ "expression" ด้วยวลีที่มีความหมายคล้ายคลึงกันได้แก่ "review" "espresso" และ "statement" ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การแทนที่ไม่ได้จำกัดแค่ส่วนที่เป็นสคริปต์ซึ่งทำให้เกิดช่องโหว่ขึ้น และทำให้เกิดความผิดพลาดต่าง ๆ เช่น คำว่า medireview ปรากฏแทน medieval[17][18][19]
  • เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 สมาชิกรัฐสภาในสภาสามัญชนสหราชอาณาจักรพบว่าตัวกรองสแปมที่ติดตั้งใหม่บล็อกอีเมลที่พูดถึงกฎหมายการล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual Offences Bill) ซึ่งอยู่ระหว่างการอภิปราย[20] นอกจากนี้ยังบล็อกอีเมลที่เขียนเป็นภาษาเวลส์เนื่องจากระบบไม่เข้าใจภาษาเวลส์[21]
  • เดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 มีรายงานว่าพิพิธภัณฑ์ฮอร์นิมัน (Horniman Museum) ในกรุงลอนดอนไม่สามารถรับอีเมลได้เนื่องจากตัวกรองตีความคำว่า "Horniman" ซึ่งมาจากชื่อผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ว่าเป็นคำเลี่ยงของวลี horny man ซึ่ง horny เป็นคำสแลงหมายถึงอาการถูกกระตุ้นทางเพศ[22]
  • คำว่า socialism socialist และ specialist ก่อให้เกิดปัญหาเนื่องจากมีสายอักขระย่อย cialis ทำให้อีเมลที่มีเรซูเมและประกาศรับสมัครงานซึ่งมีข้อความดังกล่าวถูกบล็อก[23]
  • เดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 อีเมลประชาสัมพันธ์การแสดงละครสั้นแพนโทไมม์เรื่อง Dick Whittington ซึ่งส่งโดยครูคนหนึ่งในนอริชถูกระบบคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนบล็อกเนื่องจากคำว่า Dick มีอีกความหมายว่าเป็นคำสแลงใช้เรียกองคชาต[24]
  • เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 อีเมลร้องเรียนจากชาวเมืองแมนเชสเตอร์คนหนึ่งเกี่ยวกับการก่อสร้างซึ่งส่งไปยังเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นถูกบล็อกเนื่องจากมีคำว่า erection ซึ่งสื่อถึงการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างได้เช่นกัน[25]
  • ค.ศ. 2011 อีเมลของสมาชิกสภาเมืองดัดลีย์เกี่ยวกับแฟกกอตซึ่งเป็นอาหารท้องถิ่นของพื้นที่แบล็กคันทรีถูกบล็อกเนื่องจากคำว่า faggot มีความหมายใช้เป็นคำเหยียดหยามผู้ชายที่เป็นเกย์[26]
  • เรซูเมที่ระบุปริญญาเกียรตินิยมเป็นภาษาละตินเช่น cum laude, summa cum laude และ magna cum laude ถูกบล็อกเนื่องจากคำว่า cum ซึ่งจากภาษาละตินแปลว่า with สามารถสื่อถึงการหลั่งน้ำอสุจิ[27]

ข้อความทางเครือข่ายสังคมออนไลน์[แก้]

  • เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 ผู้ใช้ทวิตเตอร์จากประเทศลักเซมเบิร์กเปิดบัญชีใหม่ได้เพียง 29 นาทีและทวีตข้อความแรกว่า "Finally! A pair of great tits (Parus major) has moved into my birdhouse!" และทวิตเตอร์บล็อกบัญชีผู้ใช้ แม้ว่าผู้ใช้ดังกล่าวจะระบุชื่อวิทยาศาสตร์กำกับคำว่า great tit ซึ่งเป็นชื่อสามัญของนกก็ตาม[28]
  • เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 เฟซบุ๊กบล็อกผู้ใช้จากสหราชอาณาจักรที่โพสต์เกี่ยวกับ faggot ซึ่งเป็นอาหารท้องถิ่น[29]
  • เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2020 ในช่วงที่มีเรื่องอื้อฉาวเนื่องจากดอมินิก คัมมิงส์ (Dominic Cummings) ที่ปรึกษาประจำตัวนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันแห่งสหราชอาณาจักรฝ่าฝืนคำสั่งปิดเมืองทั่วประเทศ แฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับคัมมิงส์ไม่สามารถติดอันดับบนทวิตเตอร์ได้เนื่องจากสายอักขระย่อย cum ทำให้ระบบตีความว่าเกี่ยวข้องกับงานลามก[30]
  • เดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 ตัวกรองคำหยาบของทวิตเตอร์บล็อกคำว่า "bone" "pubic" และ "stream" ในงานประชุมด้านบรรพชีวินวิทยา[31]

ชื่อเฉพาะที่ก่อให้เกิดปัญหา[แก้]

  • นิตยสาร เดอะบีเวอร์ ซึ่งเป็นนิตยสารจากเมืองวินนิเพก ประเทศแคนาดาประสบปัญหาอีเมลและผลการค้นหาถูกบล็อก ทำให้ผู้เผยแพร่ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อนิตยสารเป็น แคนาดาส์ฮิสทรี ใน ค.ศ. 2010 หลังจากใช้ชื่อเดิมมากว่า 89 ปี[32][33] เดบอราห์ มอร์ริสันซึ่งเป็นผู้เผยแพร่ให้ความเห็นว่า "ย้อนกลับไปใน ค.ศ. 1920 เดอะบีเวอร์ เป็นชื่อที่ไม่มีปัญหาอะไรเลย และในขณะที่ความหมายอื่น [โยนี] ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรนักก็ตาม ความกำกวมของชื่อนี้ก็เริ่มสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาในยุคอินเทอร์เน็ต ชื่อที่ว่าทำให้พวกเราเติบโตได้ยากขึ้น"[34]
  • ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากเมืองที่ชื่อมีสายอักขระไม่พึงประสงค์ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกับเมืองสกันทอร์ป
  • เดือนมกราคม ค.ศ. 2021 เฟซบุ๊กขออภัยหลังจากที่บล็อกผู้ใช้เนื่องจากตีความชื่อพลิมัทโฮ (Plymouth Hoe) ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวในเมืองพลิมัท มณฑลเดวอนว่าเป็นคำเหยียดเพศหญิง[39]

บทความข่าว[แก้]

  • เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 เว็บไซต์ข่าวขององค์กร American Family Association ซึ่งเป็นองค์กรต่อต้านกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศใช้ตัวกรองกับบทความจากแอสโซซิเอเต็ดเพรสเกี่ยวกับนักกรีฑา ไทสัน เกย์ โดยแทนที่ข้อความ "gay" ด้วย "homosexual" ทำให้ชื่อนักกรีฑาดังกล่าวกลายเป็น "Tyson Homosexual"[40][41] ฟังก์ชันเดียวกันนี้ยังเคยก่อปัญหาแบบเดียวกันกับนักบาสเกตบอล รูดี เกย์ ซึ่งกลายเป็น "Rudy Homosexual"[42]
  • คำหรือสายอักขระ "ass" อาจจะถูกแทนที่ด้วย "butt" ซึ่งส่งผลทำให้เกิดคำว่า "clbuttic" (จาก "classic") "buttignment" (จาก "assignment") และ "buttbuttinate" (จาก "assassinate")[43]

ตัวอย่างอื่น ๆ[แก้]

  • เดือนมกราคม ค.ศ. 2014 ไฟล์ในเกมออนไลน์ ลีกออฟเลเจ็นดส์ VarusExpirationTimer.luaobj และ XerathMageChainsExtended.luaobj ถูกบล็อกโดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในสหราชอาณาจักรเนื่องจากมีสายอักขระย่อย sex ซึ่งได้รับการแก้ไขในภายหลัง[44]
  • เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018 ระบบสั่งสินค้าของเว็บไซต์ของร้านพับลิกซ์ไม่อนุญาตให้ลูกค้าสั่งเค้กที่แต่งหน้าด้วยข้อความ summa cum laude แม้ว่าลูกค้าจะพยายามระบุคำสั่งเพิ่มเติม แต่หน้าเค้กยังปรากฏข้อความว่า "Summa --- Laude"[45][46]

อ้างอิง[แก้]

  1. Clive Feather (25 April 1996). Peter G. Neumann (บ.ก.). "AOL censors British town's name!". The Risks Digest. 18 (7).
  2. 2.0 2.1 McCullagh, Declan (23 April 2004). "Google's chastity belt too tight". CNET. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2011.
  3. Festa, Paul (27 April 1998). "Food domain found "obscene"". News.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2020.
  4. "Foire aux questions". radio-canada.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2012. สืบค้นเมื่อ 24 February 2011.
  5. Barker, Garry (26 February 2004). "How Mr C0ckburn fought spam". The Sydney Morning Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2009.
  6. Cockburn, Craig (9 March 2010). "BBC fail – my correct name is not permitted". blog.siliconglen.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2020.
  7. "Is Yahoo Banning Allah?". Kallahar's Place. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2016. สืบค้นเมื่อ 24 February 2011.
  8. Rubin, Daniel. "When your name gets turned against you". The Philadelphia Inquirer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2008. สืบค้นเมื่อ 3 August 2008.
  9. Gross, David C. English-Yiddish, Yiddish-English Dictionary: Romanized Hippocrene Books, 1995. p.144. ISBN 0-7818-0439-6
  10. 10.0 10.1 "The 'Scunthorpe Problem' Has Never Really Been Solved - Slashdot".
  11. Weiner, Natalie (28 August 2018). "this is without a doubt the best thing that's ever happened to mepic.twitter.com/rnVkmhB2dy".
  12. "Twitter / Account Suspended". twitter.com.
  13. "E-Rate And Filtering: A Review Of The Children's Internet Protection Act". Congressional Hearings. General. Energy and Commerce, Subcommittee on Telecommunications and the Internet. 4 April 2001.
  14. "F-Word Town's Name Gets Censored By Internet Filter". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2008. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.{{cite news}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  15. Chin, Josh (6 July 2011). "Following Jiang Death Rumors, China's Rivers Go Missing". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2011.
  16. Molloy, Mark (27 February 2018). "Wine lovers cannot buy Burgundy tipple on Google as internet giant cracks down on 'gun' searches". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2018. สืบค้นเมื่อ 27 February 2018.
  17. "Yahoo admits mangling e-mail". BBC News. 19 July 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2021. สืบค้นเมื่อ 21 June 2013.
  18. "Hard news". Need To Know 2002-07-12. 12 July 2002. สืบค้นเมื่อ 2013-06-21.
  19. Knight, Will (15 July 2002). "Email security filter spawns new words". New Scientist. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 June 2013.
  20. "E-mail vetting blocks MPs' sex debate". BBC News. 4 February 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2021.
  21. "Software blocks MPs' Welsh e-mail". BBC News. 5 February 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2021.
  22. Kwintner, Adrian (5 October 2004). "Name of museum is confused with porn". News Shopper.
  23. "Comment headaches". The Peking Duck. 21 November 2004.
  24. Jones, Sam (13 October 2004). "Panto email falls foul of filth filter". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2021.
  25. "E-mail filter blocks 'erection'". 30 May 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2021.
  26. "Black Country Councillor Caught up in Faggots Farce". Birmingham Mail. 24 February 2011.
  27. Maher, Kris. "Don't Let Spam Filters Snatch Your Resume". Career Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2006. สืบค้นเมื่อ 11 February 2008.
  28. "Luxemburger Twitter-Neubenutzer nach 29 Minuten blockiert" [Luxembourg new Twitter user blocked after 29 minutes]. Tageblatt (ภาษาเยอรมัน). 22 June 2010. สืบค้นเมื่อ 12 June 2010.[ลิงก์เสีย]
  29. "Faggots and peas fall foul of Facebook censors". Express & Star. November 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2020.
  30. Hern, Alex (27 May 2020). "Anti-porn filters stop Dominic Cummings trending on Twitter". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2021.
  31. Ferreira, Becky (15 October 2020). "A Profanity Filter Banned the Word 'bone' at a Paleontology Conference". Motherboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2021.
  32. "The Beaver mag renamed to end porn mix-up". The Sydney Morning Herald. Agence France-Presse. 13 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 24 February 2021.
  33. Austen, Ian (24 January 2010). "Web Filters Cause Name Change for a Magazine". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 24 February 2021.
  34. Sheerin, Jude (29 March 2010). "How spam filters dictated Canadian magazine's fate". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2021.
  35. Tom Chatfield (17 April 2013). "The 10 best words the internet has given English". The Guardian.
  36. Keyes, Ralph (2010). Unmentionables: From Family Jewels to Friendly Fire – What We Say Instead of What We Mean. John Murray. ISBN 978-1-84854-456-7.
  37. Kempf, Cédric (12 April 2021). "Insolite : Bitche est censuré par Facebook". Radio Mélodie (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-19. สืบค้นเมื่อ 2021-12-30.
  38. Darmanin, Jules (13 April 2021). "Facebook takes down official page for French town of Bitche". POLITICO. สืบค้นเมื่อ 3 July 2021.
  39. Morris, Steven (27 January 2021). "Facebook apologises for flagging Plymouth Hoe as offensive term". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2021.
  40. Frauenfelder, Mark (30 June 2008). "Homophobic news site changes athlete Tyson Gay to Tyson Homosexual". Boing Boing. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2021.
  41. Arthur, Charles (30 June 2008). "Computer autocorrects surname 'gay' to.. no, you guess". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2020.
  42. Mantyla, Kyle (30 June 2008). "The Dangers of Auto-Replace". Right Wing Watch. People for the American Way. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2020. สืบค้นเมื่อ 24 February 2021.
  43. Moore, Matthew (2 September 2008). "The Clbuttic Mistake: When obscenity filters go wrong". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2020.
  44. Gibbs, Samuel (21 January 2014). "UK porn filter blocks game update that contained 'sex'". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2020.
  45. Ferguson, Amber (2018-05-22). "Proud mom orders 'Summa Cum Laude' cake online. Publix censors it: Summa … Laude". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-24. สืบค้นเมื่อ 2018-05-22.
  46. Amatulli, Jenna (22 May 2018). "Publix Censors Teen's 'Summa Cum Laude' Graduation Cake". The Huffington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2018.