ปราสาทบันทายสำเหร่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปราสาทบันทายสำเหร่

ปราสาทบันทายสำเหร่ (เขมร: ប្រាសាទបន្ទាយសំរែ บอนตีย์สำแร) ปราสาทนี้ได้รับการบูรณะโดยช่างชาวฝรั่งเศสด้วยวิธี Anastylose[1] ซึ่งเป็นวิธีซ่อมแซมโดยคงสภาพเดิมของปราสาทไว้ให้มากที่สุด จะไม่มีการต่อเติมหรือเพิ่มลวดลายขึ้นมาใหม่ โดยมีขั้นตอนดังนี้ ช่างจะทำแผนผังส่วนประกอบต่าง ๆ ของปราสาทไว้ทั้งหมด จากนั้นก็ค่อยๆ รื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ ลงมา โดยจะทำเครื่องหมายและถ่ายภาพชิ้นส่วนทุกชิ้น จากนั้นก็ทำการปรับพื้นฐานล่างของปราสาทให้มั่นคงแข็งแรง แล้วสุดท้ายจึงประกอบชิ้นส่วนทั้งหมดกลับเข้าไปเหมือนเดิม การบูรณะปราสาทด้วยวิธีนี้ช่างฮอลันดาเป็นผู้คิดค้นขึ้นและใช้ครั้งแรกที่ประเทศอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยเคยใช้กับการบูรณะปราสาทหินพิมายและปราสาทหินเขาพนมรุ้ง

ปราสาทบันทายสำเหร่ตั้งอยู่นอกเมืองพระนครไปทางตะวันออก นักวิชาการสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 หรืออาจจะเป็นสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 2 เป็นเทวสถานฮินดู ศิลปะแบบนครวัด ภาพสลักส่วนใหญ่แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์ มีการแกะลายที่ชัดเจน ลึกและหนักแน่น

อ้างอิง[แก้]

  1. เสนีย์ เกษมวัฒนากุล, บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539, หน้า 69

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°26′32″N 103°57′32″E / 13.442155°N 103.958978°E / 13.442155; 103.958978