ประวัติศาสตร์มองโกเลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาณาจักรชนเผ่าเร่ร่อนต่างๆ รวมทั้งเผ่าซฺยงหนู (ช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนปีคริสตกาล จนถึง ศตวรรษที่ 1 ปีคริสต์ศักราช) เผ่าเซียนเปย์ (ค.ศ. 93–234) เผ่าโหรวหรัน (ค.ศ. 330–555) เผ่าถู๋เจีย (ค.ศ. 552–744) และเผ่าอื่นๆ ต่างได้ปกครองพื้นที่ของมองโกเลียในปัจจุบัน ชาวคิตันที่ได้ใช้ภาษามองโกเลีย ได้สถาปนาอาณาจักรที่ได้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า ราชวงศ์เหลียว (ค.ศ. 907–1125) ในทวีปเอเชียกลางและปกครองมองโกเลียและบางส่วนของดินแดนรัสเซียตะวันออกไกล ทางตอนเหนือของเกาหลี และจีนทางตอนเหนือในปัจจุบัน

ในปี ค.ศ. 1206 เจงกีส ข่านสามารถรวบรวมและพิชิตชนเผ่ามองโกล การหลอมรวมกันของพวกเขาได้กลายเป็นกองกำลังสู้รบเพื่อสร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่มีมายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลก จักรวรรดิมองโกล(ค.ศ. 1206–1368) ศาสนาพุทธในมองโกเลียได้เริ่มต้นขึ้นด้วยจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หยวนได้ทรงหันมานับถือศาสนาพุทธแบบทิเบต

ภายหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์หยวนของจีนที่นำโดยชาวมองโกลในปี ค.ศ. 1368 ชาวมองโกลได้กลับเข้าสู่วังวนของการสู้รบกันเองก่อนหน้านี้ ชาวมองโกลยังกลับไปนับถือลัทธิหมอผีอันเก่าแก่ของพวกเขาเองภายหลังจากจักรวรรดิของพวกเขาล่มสลายและมีเพียงในศตวรรษที่ 16 และ 17 ศาสนาพุทธได้กลับมาอีกครั้งนึง

ในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 17 มองโกเลียในปัจจุบันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่ปกครองโดยราชวงศ์ชิงที่นำโดยชาวแมนจู ในช่วงการล่มสลายของราชวงศ์ชิงในปี ค.ศ. 1912 แต่มองโกเลียได้ประกาศอิสรภาพและอยู่ภายใต้การปกครองของบอจด์ ข่านในปี ค.ศ. 1911 และเป็นส่วนหนึ่งของจีนในปี ค.ศ. 1919 แล้วมองโกเลียก็อยู่ภายใต้การปกครองของบอจด์ ข่านเหมือนเดิมในปี ค.ศ. 1921 แล้วก็เกิดการปฏิวัติมองโกเลียในปี ค.ศ. 1921 จนถึงปี ค.ศ 1924 ได้สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนมองโกเลียในการปกครองคอมมิวนิสต์จนถึงปี ค.ศ. 1945 เพื่อให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล ผลที่ตามมาคือ มองโกเลียได้อยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตที่แข็งแกร่งในปี ค.ศ. 1924 สาธารณรัฐประชาชนมองโกเลียได้ถูกประกาศขึ้นและการเมืองของมองโกเลียได้เริ่มเป็นไปตามรูปแบบเดียวกับการเมืองของสหภาพโซเวียตในช่วงสมัยนั้น ภายหลังจากการปฏิวัติในปี ค.ศ. 1989 การปฏิวัติมองโกเลียในปี ค.ศ. 1990 ได้นำไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปี ค.ศ. 1992 และได้ถูกเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด

อ้างอิง[แก้]

  • Janhunen, Juha (2014). Mongolian. Amsterdam: John Benjamins. p. 4. ISBN 9789027238252.
  • Хүрээлэнгийн эрдэм шинжилгээний ажлын ололт амжилт, Institute of Mongolian Archaeology Archived 2013-12-26 at the Wayback Machine
  • Eleanora Novgorodova, Archäologische Funde, Ausgrabungsstätten und Skulpturen, in Mongolen (catalogue), pp. 14-20
  • Davaadorzhiĭn Ganbold, Da Haliun – Facts about Mongolia, p.34
  • Tumen D., "Anthropology of Archaeological Populations from Northeast Asia" (PDF) pages 25, 27
  • "The Mysterious Scythians Burst Into History". United Church of God. Archived from the original on 2011-04-24.
  • SPIEGEL ONLINE, Hamburg, Germany (25 August 2006). "Archeological Sensation: Ancient Mummy Found in Mongolia". SPIEGEL ONLINE.
  • "Altaic languages". Encyclopædia Britannica.
  • "Mongolia - Early Development, ca. 220 B.C.-A.D. 1206".
  • Ts. Baasansuren "The scholar who showed the true Mongolia to the world", Summer 2010 vol. 6 (14) Mongolica, pp. 40

บทอ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Batbayar, Bat-Erdene. Twentieth Century Mongolia (Global Oriental, 2000).
  • Batbayar, Tsedendambyn, and Sharad Kumar Soni. Modern Mongolia: A concise history (Pentagon Press, 2007).
  • Bawden, Charles. "Mongolia: Ancient and Modern" History Today (Feb 1959) 9#2 p103-112.
  • Bold, Bat-Ochir. Mongolian Nomadic Society: a reconstruction of the 'medieval' history of Mongolia (Routledge, 2013).
  • Buyandelgeriyn, Manduhai. "Dealing with uncertainty: shamans, marginal capitalism, and the remaking of history in postsocialist Mongolia." American Ethnologist 34#1 (2007): 127–147. online
  • Christian, David. A History of Russia, Central Asia and Mongolia, Vol. 1: Inner Eurasia from Prehistory to the Mongol Empire (1998) excerpt
  • Christian, David. A History of Russia, Central Asia and Mongolia, Volume II: Inner Eurasia from the Mongol Empire to Today, 1260-2000 (John Wiley & Sons, 2018). excerpt
  • Kaplonski, Christopher. Truth, history and politics in Mongolia: Memory of heroes (Routledge, 2004).
  • Sanders, Alan J. K. (2010). Historical Dictionary of Mongolia. Scarecrow Press. ISBN 0810874520
  • Volkov, Vitaliĭ Vasil’evich. "Early nomads of Mongolia." in Nomads of the Eurasian steppes in the Early Iron Age ed by Jeannine Davis-Kimball, et al. (1995): 318-332 online.
  • Weatherford, Jack. Genghis Khan and the Making of the Modern World (2005) a best-seller excerpt.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]