ทางหลวงชนบท ฉช.2004

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงชนบท ฉช.2004
แยก ทล.34 (กม.ที่ 35+900)–บ้านบางพระ
แผนที่
แนวสายทางเริ่มต้นจากถนนเทพรัตน
และสิ้นสุดที่ถนนสิริโสธร
Rural Road-ฉช.2004 (1).jpg
ถนนในช่วงตำบลบางเตย อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว25.046 กิโลเมตร (15.563 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถ.เทพรัตน ใน อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
 
ปลายทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถ.สิริโสธร ใน อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ทางหลวงชนบท ฉช.2004 แยก ทล.34 (กม.ที่ 35+900)–บ้านบางพระ เป็นทางหลวงชนบทที่เชื่อมระหว่างถนนเทพรัตน มาเชื่อมต่อกับถนนสิริโสธร เริ่มต้นในอำเภอบางปะกง ผ่านอำเภอบ้านโพธิ์ และสิ้นสุดในอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

ประวัติ[แก้]

ทางหลวงชนบท ฉช.2004 แต่เดิมคือส่วนหนึ่งของ ทางหลวงท้องถิ่นสายพิมพาวาส–แสนภูดาษ ปรากฏในผังเมืองรวมในพื้นที่อำเภอบางปะกงและส่วนต่อเนื่องอำเภอบ้านโพธิ์เมื่อปี พ.ศ. 2518[1] ต่อมาได้มีการรวมเขากับถนนเกษมราษฎร์พัฒนา ที่มีจุดเริ่มต้นในอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา[2] ซึ่งมีหลักฐานบนสะพานข้ามคลองหนองขอนระบุไว้บนราวสะพานว่า กรมโยธาธิการ พ.ศ. 2534 อยู่บนถนนช่วงตำบลบางเตย จึงสันนิษฐานว่าถนนช่วงดังกล่าวได้รับการขยายแนวเส้นทางช่วงปี พ.ศ. 2534 สอดคล้องกับประวัติการก่อตั้ง โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 4 (ปัจจุบันยุบรวมเป็นโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ศูนย์บางเตย) ที่ตั้งอยู่บนสายทางดังกล่าว ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 เพื่อเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลในท้องที่ตำบลบางเตย บางกะไห เกาะไร่ และตำบลข้างเคียงในพื้นที่[3]

หลังจากได้มีการก่อตั้งกรมทางหลวงชนบทขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2545 ได้มีการถ่ายโอนถนนดังกล่าวให้กับกรมทางหลวงชนบท และแบ่งทางหลวงท้องถิ่นสายพิมพาวาส–แสนภูดาษใหม่โดยในส่วนตำบลพิมพา เป็นทางหลวงชนบท ฉช.2004 และในตำบลหนองจอก อำเภอบางปะกงกับตำบลแสนภูดาษ อำเภอบ้านโพธิ์กำหนดให้เป็นทางหลวงชนบท ฉช.3020[4] รวมถึงกำหนดสายทางของถนนเกษมราษฎร์ที่ตัดกันกับทางหลวงชนบท ฉช.3001 และมาบรรจบกับทางหลวงท้องถิ่นสายพิมพาวาส–แสนภูดาษให้เป็นทางหลวงชนบท ฉช.2004[5]

ในปี พ.ศ. 2566 กรมทางหลวงชนบทได้เข้าดำเนินการปรับปรุงและขยายเส้นทาง ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 6+500 ผ่านทางแยกไปยังทางหลวงชนบท ฉช.2030 ที่กิโลเมตรที่ 6+636 และไปสิ้นสุดที่แยกเกาะไร่จุดบรรจบกับทางหลวงชนบท ฉช.3001 ระยะทางรวม 4.425 กิโลเมตร ให้เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ที่ประกอบไปด้วยไหล่ทางและทางเท้า ระบบสัญญาณไฟจราจร ระบบระบายน้ำ และระบบส่องสว่าง คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2568[6]

รายละเอียดของเส้นทาง[แก้]

ป้ายแสดงหมายเลขสายทาง

ทางหลวงชนบท ฉช.2004 เป็นทางหลวงชนบทชั้น 3 มีระยะทาง 25.046 กิโลเมตร พิ้นผิวจราจรแบบแอสฟัลต์คอนกรีต[7] ขนาด 2 ช่องจราจร เขตทางกว้าง 20 - 30 เมตร[5] มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากตำบลหอมศีล ต่อเนื่องไปยังตำบลพิมพา อำเภอบางปะกง จากนั้นเข้าสู่เขตตำบลเทพราช ตัดกับทางหลวงชนบท ฉช.3001 เข้าสู่ตำบลเกาะไร่ อำเภอบ้านโพธิ์ ผ่านไปยังเพื่อนที่ตำบลบางเตย และสิ้นสุดที่ตำบลบางพระ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเส้นทางดังกล่าวอยู่ในความดูแลของกรมทางหลวงชนบททั้งสายทาง[7]

ทางหลวงชนบท ฉช.2004 เป็นถนนอีกเส้นทางหนึ่งที่มีแนวโครงการทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทราพาดผ่าน ในส่วนของด้านใต้ ส่วนที่ 2 โดยเป็นการก่อสร้างในรูปแบบของแยกต่างระดับ ใช้ชื่อว่า แยกต่างระดับบางเตย เป็นรูปแบบของวงเวียนบนพื้นราบ และทางเลี่ยงเมืองเป็นสะพานยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร[8]

นอกจากนี้แนวเส้นทางยังมีการวางระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันออกพาดผ่านบริเวณสายทาง[9] ทำให้การดำเนินการในการก่อสร้างหรือขยายเส้นทางจราจรของทางหลวงชนบท ฉช.2004 ต้องมีการดำเนินการปรับแนวและเคลื่อนย้ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)[10] โดยแนวท่อดังกล่าวเป็นแนวท่อเดียวกับที่เคยเกิดเหตุระเบิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2563 ช่วงแนวทางหลวงชนบท ฉช.3001 จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต[11]

รายชื่อทางแยก[แก้]

รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงชนบท ฉช.2004 ทิศทาง: แยก ทล.34 (กม.ที่ 35+900)–บ้านบางพระ
จังหวัด อำเภอ กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ทางหลวงชนบท ฉช.2004 (แยก ทล.34 (กม.ที่ 35+900)–บ้านบางพระ)
ฉะเชิงเทรา บางปะกง 0+000 ถนนเทพรัตน ไปกรุงเทพฯ ถนนเทพรัตน ไปจังหวัดชลบุรี
2+600 สะพาน ข้ามคลองต้นโพธิ์
2+690 สป.5004 ทางหลวงชนบท สป.5004 ไปจังหวัดสมุทรปราการ ไม่มี
3+400 สะพาน ข้ามคลองบางขื่อ
4+830 ทางคู่ขนาน ทล.3702 ไปจังหวัดสมุทรปราการ ทล.3702 ไปอำเภอบางปะกง
สะพาน ข้ามทางหลวงพิเศษหมายเลข 7
ทล.3701 ไปจังหวัดสมุทรปราการ ทล.3701 ไปวิทยาลัยการอาชีพบางปะกง
6+636 ไม่มี ฉช.3020 ทางหลวงชนบท ฉช.3020 ไปตำบลแสนภูดาษ
6+653 สะพาน ข้ามคลองขวางล่าง
บ้านโพธิ์ 9+712 สะพาน ข้ามคลองขวาง
11+140 แยกเกาะไร่ ทางหลวงชนบท ฉช.3001 ไปเขตลาดกระบัง ทางหลวงชนบท ฉช.3001 ไปบรรจบ ถนนสิริโสธร
11+462 สะพาน ข้ามคลองประเวศบุรีรมย์
13+032 สะพาน ข้ามคลองเกาะไร่
เมืองฉะเชิงเทรา 14+712 สะพาน ข้ามคลองแพรกนกเอี้ยง
15+636 สะพาน ข้ามคลองบางกะรู
15+955 ฉช.ถ 1-0001 ทางหลวงท้องถิ่น ฉช.ถ 1-0001 ไปวัดจรเข้น้อย บรรจบ ถนนสุวินทวงศ์ ไม่มี
17+515 สะพาน ข้ามคลองแพรกชุมรุม
18+365 ถนนบางเตยพัฒนา ไปสถานีรถไฟคลองบางพระ ไม่มี
18+400 แยกต่างระดับบางเตย ทล.365 ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา (ด้านใต้) ส่วนที่ 2 ทล.365 ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา (ด้านใต้) ส่วนที่ 2
18+740 สะพาน ข้ามคลองบางพระ
19+518 สะพาน ข้ามคลองบางเตย
20+410 สะพาน ข้ามคลองหนองขอน
21+713 สะพาน ข้ามคลองบางกะไห
21+875 ถนนโสธรวงแหวน ซอย 9 ไปองค์การบริหารส่วนตำบลโสธร ไม่มี
22+711 สะพาน ข้ามคลองบางกะหลาม
23+207 ไม่มี ถนนสว่างสุขอุทิศ ไปวัดเทพราชปวราราม
24+121 สะพาน ข้ามคลองลัดยายหรั่ง
24+804 สะพาน ข้ามคลองหมอคง
25+046 แยกบ้านใหญ่ (แยกนาคู) ถนนสิริโสธร เข้าเมืองฉะเชิงเทรา ถนนสิริโสธร ไปอำเภอบางปะกง
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ[แก้]

สถานที่ราชการ[แก้]

  • โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ศูนย์บางเตย อยู่ในเส้นทางช่วงตำบลบางเตย อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิมพา
  • โรงเรียนวัดพิมพาวาส (สีล้งสาราลัย)
  • เทศบาลตำบลพิมพา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะไร่
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเตย
  • โรงเรียนวัดเกาะ
  • โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ศูนย์บางเตย
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางกะไห
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกะไห
  • โรงเรียนวัดนาคู (โรงเรียนกระจ่างประชานุกูล)
  • โรงเรียนวัดบางปรง

ศาสนสถาน[แก้]

  • วัดสุนีย์ศรัทธาราม
  • วัดพิมพาวาส (ใต้)
  • วัดพิมพาวาส (เหนือ)
  • มัสยิดอัลฮาดี
  • วัดราษร์บำรุงวนาราม
  • วัดนาคูโมทนามัยปุญญาราม
  • วัดบางปรงธรรมโชติการาม

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๑๗ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘. เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๒ ก. ๒๐ มิ.ย. ๒๕๔๐. หน้า ๙
  2. ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองฉะเชิงเทรา พ.ศ. ๒๕๔๙. เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๕๙ ก. ๗ มิ.ย. ๒๕๔๙. หน้า ๗
  3. "ประวัติโรงเรียนโดยสังเขป". web.archive.org. 2005-01-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-01-16. สืบค้นเมื่อ 2023-06-28.
  4. ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบางปะกง  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พ.ศ.  ๒๕๕๔. เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๙ ก. ๒๗ เม.ย. ๒๕๕๔. หน้า ๓๐
  5. 5.0 5.1 ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. ๒๕๕๘. เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๙ ก. ๑๑ ก.พ. ๒๕๕๘. หน้า ๑
  6. "เริ่มเข้าพื้นที่สร้างถนนสาย ฉช.2004 "ฉะเชิงเทรา" 4.4 กม. วงเงิน 549 ล้าน". เดลินิวส์.
  7. 7.0 7.1 "บัญชีโครงข่ายทางหลวงชนบท ประจำปีงบประมาณ 2566" (PDF). กรมทางหลวงชนบท. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-02-26. สืบค้นเมื่อ 2023-06-28.
  8. "กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เปิดแบบทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา". www.thaigov.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "เช็กแนวท่อก๊าซ เรื่องควรรู้ก่อนซื้อบ้าน". www.ddproperty.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "วิศวกรใหญ่กรมทางหลวงชนบท ประชุมงานรื้อย้ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเพื่อก่อสร้างถนนสาย ฉช.2004 แยก ทล.34 – ทล.314 จ.ฉะเชิงเทรา". drr.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  11. "เหตุท่อส่งก๊าซธรรมชาติระเบิด ทำชาวบ้านเขตรอยต่อฉะเชิงเทรา-สมุทรปราการขวัญผวา". mgronline.com. 2020-10-22.