ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 19 เมษายน พ.ศ. 2555
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 ธันวาคม พ.ศ. 2524 (42 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่
เชื้อชาติไทย
พรรคการเมืองพลังประชาชน (พ.ศ. 2550–2551)
เพื่อไทย (พ.ศ. 2551–2555)
บุพการี
ญาติชยาภา วงศ์สวัสดิ์ (น้องสาว)
ทักษิณ ชินวัตร (ลุง)
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (น้า)
แพทองธาร ชินวัตร (ลูกน้อง)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเคนต์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เป็นที่รู้จักจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2524 — ) ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)[1] เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นบุตรสาวของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กับนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย และยังเป็นหลานสาวของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 28 ของไทย ปัจจุบันศึกษาปริญญาเอก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[ต้องการอ้างอิง]

ประวัติ[แก้]

ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ มีชื่อเล่นว่า "เชียร์" เกิดเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2524 (42 ปี) เป็นบุตรสาวของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี คนที่ 26 ของประเทศไทย กับนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน และยังเป็นหลานสาวของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อีกด้วย

ก่อนที่นางสาวชินณิชาจะเข้าสู่การเมือง ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับธุรกิจประเภทบริหารคลังสินค้า ในนามบริษัทวิโคสท์ อินดัสเทรียล พาร์ค นอกจากนี้ชื่อของเธอยังเป็นชื่อของหมู่บ้านหรู ชินณิชาวิลล์ และเป็นเจ้าบริษัทก่อสร้าง "แอสคอน คอนสตักชั่น" ที่เป็นบริษัทรับเหมาในส่วนสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ[2] นอกจากนั้นยังเป็นผู้ถือหุ้น บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)[3]

การศึกษา[แก้]

การเมือง[แก้]

ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ เขต 1 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ในนามพรรคพลังประชาชน (ปัจจุบันคือ พรรคเพื่อไทย) และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อายุน้อยที่สุด[4] (ขณะนั้นอายุ 25 ปี 11 เดือน 23 วัน) ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกสมัย ในเขตเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่

ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้มีคำพิพากษาให้นางสาวชินณิชา พ้นจากตำแหน่ง ส.ส. และห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลา 5 ปี นับจากวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555 และให้จำคุกเป็นเวลา 2 เดือน พร้อมทั้งปรับเงิน 4,000 บาท แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษมีกำหนด 1 ปี จากกรณีแจ้งบัญชีทรัพย์สินหนี้สินเป็นเท็จ[5]

ภาพรถหาเสียง ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์
  2. นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ทายาทธุรกิจ “เจ๊แดง” จุดพลุกับธุรกิจคลังสินค้า
  3. เปิดชัด ๆ บ.แอสคอนฯ ก่อน‘เกษม’รวยผิดปกติ 186.6 ล. กลุ่ม‘วงศ์สวัสดิ์’ หุ้นใหญ่
  4. เปิดใจ"ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์"ลูกสาวนายกฯ-ส.ส.อายุน้อยที่สุด[ลิงก์เสีย]
  5. คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่อง การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (คดีหมายเลขดำที่ อม. 3/2554 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 1/2555 ระหว่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ร้อง นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ผู้คัดค้าน)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๗๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๓๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒