ก่องนม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัปสรสีห์สวมก่องนม ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ก่อง, ก่องนม บ้างเรียก ฉลองนม เป็นเครื่องแต่งกายหรือเครื่องประดับของสตรีชั้นสูงซึ่งปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนังในพื้นที่อาณาจักรล้านนา และบริเวณใกล้เคียง เพราะสตรีสามัญในสมัยโบราณจะเปลือยอกในชีวิตประจำวัน ด้วยมองว่าเป็นเพียงอวัยวะหนึ่งในร่างกาย หาใช่สิ่งยั่วกามารมณ์[1] ถ้าหากเป็นหญิงสูงศักดิ์จะสวมเครื่องประดับสวยงาม เพื่อแสดงสถานะสูงส่งของตนออกมาเป็นที่ประจักษ์[2][3] โดยก่องนมมีลักษณะคล้ายยกทรงแต่ผูกเชือกไว้ด้านหลัง ทำเป็นทรงรูปทรงกลมที่ทำจากวัสดุมีค่ารอบถันทั้งสอง ภายในเป็นตาข่ายโปร่ง เผยให้เห็นเนินเนื้อ แต่จะปิดส่วนหัวนมเอาไว้[2]

ส่วนในคณะละครรำของคนไทยสยามในภาคกลางจะมีก่องนมอีกรูปแบบหนึ่ง ทำจากกะลามะพร้าวขัดมัน ลงรักปิดทองประดับกระจก ด้านในเย็บนวมกรุไว้ ผูกเชือกไว้ด้านหลังเพื่อให้นักแสดงสวมใส่[4]

หลังการรับอิทธิพลยุควิกตอเรียเข้ามามีอิทธิพลในสยามตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ได้กำหนดให้สตรีแต่งกายอย่างมิดชิด โดยการหาผ้าแถบมาคาดนม ก่อนพัฒนาเป็นเปลนมเมื่อรับอิทธิพลจากชาติตะวันตก แล้วคลี่คลายเป็นเสื้อคอกระเช้าในเวลาต่อมา[1][5] กอปรกับนโยบายรัฐนิยมของจอมพล แปลก พิบูลสงครามในศตวรรษถัดมา ที่ปรับปรุงการแต่งกายให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ ทำให้การแต่งกายยุคเก่าพ้นสมัยไป[1]

ก่องนม หรือ ฉลองนม ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง สุริโยทัย (2544) ซึ่งมีฉากที่พระนางจิรประภาเทวี รับบทโดยเพ็ญพักตร์ ศิริกุล สวมฉลองพระองค์ก่องนมออกมารับเสด็จและถวายเครื่องบรรณาการแก่สมเด็จพระไชยราชาธิราช[6][7] ทำให้ก่องนมเป็นที่รู้จักและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมในเวลาเดียวกัน[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) (2564). "ผู้หญิงไทยเริ่มใส่เสื้อชั้นในเมื่อไหร่กัน?". โครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติฯ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-03. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 "นักอนุรักษ์ทางล้านนา ตำหนิ เพ็ญพักตร์ ใส่ชุดโป๊เกินไป". สยามโซน. 16 สิงหาคม 2544. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ส่อง 'จั๊กจั่น' ทรงเครื่องประดับฉลองนม ลง'สางนางพราย' แฟนแห่ชมแซ่บแบบไทย". มติชนออนไลน์. 18 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "เสื้อชั้นในสตรีของไทยสมัยโบราณ". ร้อยคำหอม. 16 กรกฎาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "พัฒนาการชุดชั้นใน จากอดีต รัชกาลที่ 4 จนถึงปัจจุบัน". สนุกดอตคอม. 3 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. เพ็ญสุภา สุขคตะ (7 สิงหาคม 2565). "ปัญหาโอละแม่! ประเด็น 'จิรประภามหาเทวี' (1) : ข้อมูลเดิมที่เคยรับรู้". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "การเมืองเรื่องสตรี ขัตติยนารีกับพื้นที่แห่งอำนาจ". มติชนสุดสัปดาห์. 2 เมษายน 2566. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)