เสื้อปัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางสังขารลาวหลวงพระบางใส่เสื้อปัดโดยมีผ้าเบี่ยงอยู่ชั้นนอก

เสื้อปัด (ไทยถิ่นเหนือ: เสื้อปั๊ด, ลาว: ເສື້ອປັດ, เสื้อปัด) หรือ เสื้อป้าย (ลาว: ເສື້ອປ້າຍ, เสื้อป้าย)[1][2] เป็นเสื้อที่นิยมสวมใส่โดยสตรีในภาคเหนือของประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งโดยมากมักนุ่งโดยผู้หญิงไทยวนล้านนา ไทลื้อ ลาวหลวงพระบาง และ ลาวเวียงจันทน์ เป็นต้น

ปัจจุบันในประเทศลาวมักมีการสวมใส่เสื้อปัดในงานพิธีสำคัญต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน[3] และในแขวงหลวงพระบางของประเทศลาวจะมีการสวมใส่เสื้อปัดโดยนางสังขาร (นางสงกรานต์) อีกด้วย

ชื่อ[แก้]

บางครั้งเสื้อปัดมักถูกเรียกว่า "เสื้อคอปัด" (ลาว: ເສື້ອຄໍປັດ, เสื้อคอปัด) หรือ "เสื้อคอป้าย" (ลาว: ເສື້ອຄໍປ້າຍ, เสื้อคอป้าย) ที่มาของคำว่า ปัด หรือ ป้าย น่าจะมีรากมาจากการที่ต้อง "ปัด" หรือ "ป้าย" เฉียงมาผูกไว้ข้างเอว นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นอีก ซึ่งขึ้นอยู่กับท้องถิ่นของผู้นุ่ง เช่น "เสื้อปั๊ดจ้าง" หรือ "เสื้อแขบ" หรือ "เสื้อป้ายข้าง" [4]

ลักษณะของเสื้อปัด[แก้]

เสื้อปัดเป็นเสื้อแขนยาว ไม่มีกระดุม แต่จะป้ายเฉียงมาผูกไว้ที่เอวด้านข้าง ชายเสื้อยกลอยขึ้นทั้งสองข้าง เสื้อปัดของหลวงพระบางมักจะมีปกคอที่ค่อนข้างหนาและมีสีทอง

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สืบวิถีนุ่ง-ห่ม พัสตราภรณ์โบราณถิ่นล้านนา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-02. สืบค้นเมื่อ 2013-08-02.
  2. ການນຸ່ງຖືຂອງແມ່ຍິງລາວກັບງານປະເພນີ[ลิงก์เสีย]
  3. ການນຸ່ງຖືຂອງແມ່ຍິງລາວກັບງານປະເພນີ[ลิงก์เสีย]
  4. เสื้อปั้ดจ้างของชนเผ่าไทลื้อ อำเภอทุ่งช้าง

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]