การหลบหนีและการถูกขับไล่ของชาวเยอรมัน (ค.ศ. 1944–1950)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาวเยอรมันที่ถูกขับไล่ ในปี ค.ศ. 1946

ในช่วงขั้นตอนสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองและช่วงหลังสงคราม พลเรือนชาวเยอรมันและประชากรเชื้อชาติเยอรมันได้หลบหนีหรือถูกขับไล่ออกไปจากประเทศต่างๆในทวีปยุโรปตะวันออกและกลาง และส่งไปยังดินแดนที่เหลืออยู่ของเยอรมนีและออสเตรีย หลังสงคราม, การขับไล่ชาวเยอรมันได้กลายเป็นส่วนที่สำคัญของการกำหนดโครงร่างทางภูมิรัฐศาสตร์และชาติพันธุ์ในทวีปยุโรปตะวันออกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยความพยายามที่จะสร้างประเทศชาติที่มีประชากรเชื้อชาติเดียวกันภายในขอบเขตในการนิยามใหม่[1]

ในระหว่างปี ค.ศ. 1944 และ 1948 ประชากรราวประมาณ 31 ล้านคน รวมทั้งผู้ที่มีเชื้อสายเยอรมัน (Volksdeutsche) เช่นเดียวกับพลเรือนชาวเยอรมัน (Reichsdeutsche), ถูกย้ายอย่างถาวรหรือชั่วคราวจากทวีปยุโรปตะวันออกและกลาง[2] ในปี ค.ศ. 1950 จำนวนทั้งหมดประมาณ 12 ล้านคน[3]ชาวเยอรมันได้หลบหนีหรือถูกขับไล่ออกไปจากทวีปยุโรปตะวันออก-กลางเข้าสู่เยอรมนีและออสเตรียภายใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตร รัฐบาลเยอรมนีตะวันตกได้รับประชากรมาทั้งหมด 14.6 ล้านคน[4], รวมถึงผู้คนที่มีเชื้อสายเยอรมัน 1 ล้านคนในดินแดนที่ถูกพิชิตได้โดยนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้คนที่มีเชื้อชาติเยอรมันได้อพยพไปยังเยอรมนีในช่วงหลังปี ค.ศ. 1950 และเด็กที่เกิดมาก็ถูกขับไล่พร้อมกับพ่อแม่ ด้วยจำนวนที่ใหญ่ที่สุดมากจากดินแดนเยอรมันที่มีมาก่อนที่จะยกให้แก่โปแลนด์[5][6] และสหภาพโซเวียต(ประมาณ 7 ล้านคน) และจากเชโกสโลวาเกีย(ประมาณ 3 ล้านคน)

พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรวมถึงอดีตดินแดนทางตะวันออกของเยอรมนีซึ่งถูกผนวกโดยโปแลนด์[7] และสหภาพโซเวียตในช่วงหลังสงคราม เช่นเดียวกับชาวเยอรมันที่อาศัยอยู่ในชายแดนก่อนสงคราม อันได้แก่ โปแลนด์ เชโกสโลวาเกีย ฮังการี ยูโกสลาเวีย และรัฐบอลติก นาซีได้มีแผน—ที่เสร็จสมบูรณ์เพียงบางส่วนก่อนที่นาซีจะได้รับความปราชัย—เพื่อกำจัดชาวสลาฟและชาวยิวจำนวนมากออกไปจากทวีปยุโรปตะวันออกและตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ด้วยชาวเยอรมัน[8][9]

ยอดผู้เสียชิวิตทั้งหมดอันเนืองมาจากการหลบหนีและถูกขับไล่นั้นได้มีการถกเถียงโต้แย้งกัน มีจำนวนประมาณตั้งแต่ 500,000-600,000 คน[10] [11] และสูงถึง 2 ล้านคน.[12][13][14]

การขับไล่ที่เกิดขึ้นในสามช่วงที่มีความซับซ้อนกัน, ช่วงแรกคือการจัดตั้งกลุ่มผู้อพยพของผู้ที่มีเชื้อชาติเยอรมันโดยรัฐบาลนาซี ด้วยการเผชิญหน้ากับการรุกของกองทัพแดง ตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 1944 ถึง ต้นปี ค.ศ. 1945[15] ช่วงที่สองคือการหลบหนีอย่างไม่เป็นระเบียบของผู้คนที่มีเชื้อชาติเยอรมันทันทีหลังจากที่ความพ่ายแพ้ของกองทัพแวร์มัคท์ ช่วงที่สามคือการขับไล่อย่างเป็นระบบที่เพิ่มมากขึ้นภายหลังการประชุมพ็อทซ์ดัม[15] ซึ่งได้นิยามใหม่ด้วยพรหมแดนของทวีปยุโรปกลางและอนุมัติในการขับไล่ผู้ที่มีเชื้อชาติเยอรมันจากโปแลนด์ เชโกสโลวาเกีย และฮังการี[16] พลเรือนชาวเยอรมันจำนวนมากได้ถูกเกณฑ์ให้ใช้แรงงานโดยบังคับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการซ่อมแซมความเสียหายให้แก่ประเทศในทวีปยุโรปตะวันออก[17] การขับไล่ครั้งใหญ่ได้เสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1950[15] มีการคาดประมาณจากจำนวนทั้งหมดของประชาชนที่ผู้ที่มีเชื้อสายเยอรมันที่ยังคงอาศัยอยู่ในทวีปยุโรปตะวันออกและกลางในปี ค.ศ. 1950 มีอยู่ในระหว่าง 700,000 คน ถึง 2.7 ล้านคน

อ้างอิง[แก้]

  1. Jan-Werner Müller (2002). Nationhood in German legislation. Memory and Power in Post-War Europe: Studies in the Presence of the Past. Cambridge University Press. pp. 254–256. ISBN 052100070X. สืบค้นเมื่อ 30 January 2015.
  2. Paul Robert Magocsi, Historical Atlas of East Central Europe, University of Washington Press (1993), pp. 164-68; ISBN 0295972483. Porter, The Ghosts of Europe.
  3. Die deutschen Vertreibungsverluste. Bevölkerungsbilanzen für die deutschen Vertreibungsgebiete 1939/50. Herausgeber: Statistisches Bundesamt - Wiesbaden. - Stuttgart: Verlag W. Kohlhammer, 1958Pages 35-36
  4. Federal Ministry for Expellees, Refugees and War Victims. Facts concerning the problem of the German expellees and refugees, Bonn: 1967.
  5. Eberhardt, Piotr (2006). Political Migrations in Poland 1939-1948 (PDF). Warsaw: Didactica. ISBN 9781536110357. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-23. สืบค้นเมื่อ 2019-02-13.{{cite book}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. Eberhardt, Piotr (2011). Political Migrations On Polish Territories (1939-1950) (PDF). Warsaw: Polish Academy of Sciences. ISBN 978-83-61590-46-0.
  7. Eberhardt, Piotr (2015). "The Oder-Neisse Line as Poland's western border: As postulated and made a reality". Geographia Polonica. 88 (1).
  8. Hans-Walter Schmuhl. The Kaiser Wilhelm Institute for Anthropology, Human Heredity, and Eugenics, 1927–1945: crossing boundaries. Volume 259 of Boston studies in the philosophy of science. Coutts MyiLibrary. SpringerLink Humanities, Social Science & LawAuthor. Springer, 2008. ISBN 1-4020-6599-X, 9781402065996, p. 348–349
  9. "Yad Vashem, Generalplan Ost" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2003-11-30. สืบค้นเมื่อ 2019-02-13.
  10. Ingo Haar, "Herausforderung Bevölkerung: zu Entwicklungen des modernen Denkens über die Bevölkerung vor, im und nach dem Dritten Reich". "Bevölkerungsbilanzen" und "Vertreibungsverluste". Zur Wissenschaftsgeschichte der deutschen Opferangaben aus Flucht und Vertreibung, Verlag für Sozialwissenschaften 2007; ISBN 978-3-531-15556-2, p. 278 (เยอรมัน)
  11. The German Historical Museum puts the figure at 600,000, maintaining that the figure of 2 million deaths in the previous government studies cannot be supported.Die Flucht der deutschen Bevölkerung 1944/45, dhm.de; accessed 6 December 2014.(เยอรมัน)
  12. Kammerer, Willi. "Narben bleiben die Arbeit der Suchdienste — 60 Jahre nach dem Zweiten Weltkrieg" (PDF). Berlin Dienststelle 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-06-11. สืบค้นเมื่อ 28 October 2017.the foreword to the book was written by German President Horst Köhler and the German interior minister Otto Schily
  13. Christoph Bergner, Secretary of State in Germany's Bureau for Inner Affairs, outlines the stance of the respective governmental institutions in Deutschlandfunk on 29 November 2006, [1]
  14. "Bundeszentrale für politische Bildung, Die Vertreibung der Deutschen aus den Gebieten jenseits von Oder und Neiße", bpb.de; accessed 6 December 2014.(เยอรมัน)
  15. 15.0 15.1 15.2 Matthew J. Gibney; Randall Hansen (2005). Immigration and Asylum: From 1900 to the Present. Santa Barbara, Calif.: ABC-CLIO. pp. 197–98. ISBN 1-57607-796-9.
  16. "Agreements of the Berlin (Potsdam) Conference, 17 July – 2 August 1945". PBS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2009.
  17. Gerhart Tubach; Kurt Frank Hoffmeister; Frederic Reinhardt, บ.ก. (1992). Germany: 2000 Years: Volume III: From the Nazi Era to German Unification (2 ed.). Continuum International Publishing Group. p. 57. ISBN 0-8264-0601-7. สืบค้นเมื่อ 28 August 2009.