การทัพปราบอ้วนสุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การทัพปราบอ้วนสุด
ส่วนหนึ่งของ สงครามที่นำไปสู่จุดสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น
วันที่ต้นปี ค.ศ. 197 – ฤดูร้อน ปี ค.ศ. 199
สถานที่
ภูมิภาคทางใต้ของ แม่น้ำหวยเหอ จีน
ผล กองทัพฮั่นได้ชัยชนะ
คู่สงคราม
ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์ต๋องซือ
ซานเยฺว่
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
โจโฉ
เล่าปี่
ลิโป้ (ค.ศ. 197)
ผู้แปรพักตร์จากฝ่ายราชวงศ์ต๋องซือ:
ซุนเซ็ก (ค.ศ. 197–199)
งอเก๋ง (197–199)
ซุน เปิน (ค.ศ. 197–199)
ลุยป๊ก
ตันหลัน
อ้วนสุด
อ้วนถำ (ค.ศ. 199)
จู่ หลาง Surrendered
ซุนเซ็ก (ต้นปี ค.ศ. 197)
งอเก๋ง (ต้นปี ปี ค.ศ. 197)
ซุนเปิน (ต้นปี ปี ค.ศ. 197)
ผู้แปรพักตร์จากฝ่ายราชวงศ์ฮั่น:
ลิโป้ (ค.ศ. 198–199)  โทษประหารชีวิต
การทัพปราบอ้วนสุด
อักษรจีนตัวเต็ม袁術討伐戰
อักษรจีนตัวย่อ袁术讨伐战

การทัพปราบอ้วนสุด (อังกฤษ: Campaign against Yuan Shu) เป็นการทัพเพื่อปราบปรามที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 197 และ 199 ในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก การทัพครั้งนี้ถูกริเริ่มขึ้นโดยราชสำนักของราชวงศ์ฮั่นเพื่อต่อกรกับขุนศึกนามว่า อ้วนสุด ภายหลังจากอ้วนสุดได้ประกาศตนเองว่าเป็น"โอรสแห่งสวรรค์" ซึ่งการกระทำครั้งนี้จึงถูกมองว่าเป็นกบฏต่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ จักรพรรดิองค์ปัจจุบันที่ปกครองอยู่ การทัพครั้งนี้สิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของอ้วนสุดและการล่มสลายของราชวงศ์ Zhong ที่เขาได้ก่อตั้งขึ้น

เบื้องหลัง[แก้]

การปกครองครั้งแรกในลำหยงและเฉินหลิว[แก้]

ตราหยกแผ่นดิน สัญลักษณ์ของอำนาจจักรพรรดิซึ่งสูญหายไปในลั่วหยางเมื่อครั้งที่ตั๋งโต๊ะเผาเมือง ซุนเกี๋ยน หนึ่งในสมาชิกของแนวร่วมพันธมิตรต่อต้านตั๋งโต๊ะได้พบตราหยกแผ่นดินเข้าโดยบังเอิญในซากปรักหักพังของลั่วหยางและเก็บไว้กับตัวเขาเอง ซุนเกี๋ยนเป็นแม่ทัพภายใต้สังกัดของอ้วนสุดในช่วงเวลานั้น เมื่ออ้วนสุดทราบว่า ซุนเกี๋ยนได้ตราหยกแผ่นดินเข้า จึงจับภรรยาของซุนเกี๋ยนเป็นตัวประกันและบีบบังคับให้ซุนเกี๋ยนส่งตราหยกแผ่นดินมาให้กับเขา

อ้วนสุดได้ตั้งฐานบัญชาการในเมืองลำหยง ปี ค.ศ. 189 แต่ภายหลังจากพบความปราชัยในยุทธการที่ซงหยง (ค.ศ. 191) ซึ่งซุนเกี๋ยน แม่ทัพฝีมือดีของเขาได้ถูกสังหาร เขาจึงถอนกำลังไปยังเฉินหลิวในด้านตะวันออก และเริ่มขยายอิทธิพลใน Yang Province ในปี ค.ศ. 192 ด้วยความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับด้วยน้ำมือของอ้วนเสี้ยวและโจโฉ ทำให้อ้วนสุดถูกบีบบังคับให้หลบหนีและย้ายฐานที่มั่นไปยังฉิวฉุนในจิ่วเจียง(ปัจจุบันคือ Shouxian มณฑลอานฮุย) ทางตอนใต้ของริมฝั่งแม่น้ำหวยเหอ[1]

เถลิงอำนาจในฉุนฉิว[แก้]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 193 เป็นต้นมา ซุนเซ็ก ลูกชายคนโตและทายาทของซุนเกี๋ยนได้เริ่มพิชิตดินแดนในเจียงตง(ซึ่งเป็นของเล่าอิ้ว) ในนามของอ้วนสุด ด้วยความสำเร็จเหล่านี้ทำให้อ้วนสุดเป็นหนึ่งในขุนศึกที่มีอำนาจมากที่สุดในแผ่นดินจีน ตราบเท่าที่ซุนเซ็กและนายทหารคนอื่น ๆ ยังคงจงรักภักดีต่อเขา อ้วนสุดไม่ประสบความสำเร็จในการขยายอำนาจในซีจิ๋ว ซึ่งเขาต่อสู้รบกับเล่าปี่และลิโป้ ภายหลังจากเป็นพันธมิตรกับอ้วนสุดในช่วงสั้น ๆ ในปี ค.ศ. 196 แต่กลับทรยศหักหลังเขาอีกครั้งและขับไล่เขาให้กลับไปยังฉุนฉิว[1]

ถึงกระนั้น อ้วนสุดได้เข้าใจว่าการควบคุมแผ่นดินจีนทางตอนใต้นั้นยังปลอดภัย เมื่อได้ทราบว่าโจโฉได้พาพระเจ้าเหี้ยนเต้มาอยู่ภายใต้การคุ้มครองและควบคุมของเขาในฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 196 และเสด็จพาไปยังฮู่โต๋ อ้วนสุดจึงรู้สึกว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องเคลื่อนไหว[1] ในต้นปี ค.ศ. 197 เขารีบประกาศตัวเองเป็น"โอรสแห่งสวรรค์" (เช่นเดียวกับจักรพรรดิ) โดยเริ่มก่อตั้งราชวงศ์ Zhong (仲) ขึ้นมาใหม่ในหวยหนาน[2] การกระทำของอ้วนสุดไม่รับการสนับสนุนและถูกมองว่าเป็นกบฏต่อจักรพรรดิ ทำให้ซุนเซ็กต้องตัดความสัมพันธ์กับเขา ตอนนี้เหล่าขุนศึกต่าง ๆ มีเหตุผลอย่างชัดเจนในการโจมตีเขตปกครองของอ้วนสุดและประกาศว่าเป็นกบฏ ราชสำนักที่อยู่ภายใต้การควบคุมของโจโฉได้ออกคำสั่งให้ซุนเซ็กและลิโป้ กระทำการอย่างแข็งกร้าวกับอ้วนสุด ซุนเซ็กเป็นพันธมิตรกับโจโฉ แต่ยังคงตั้งตนเป็นอิสระ

การทัพ[แก้]

ระยะช่วงแรก[แก้]

แผนที่ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพื้นที่ต่าง ๆ ที่เหล่าขุนศึกต่างครอบครองในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นในปี ค.ศ. 190

เมื่อได้ทราบข่าวว่า อ้วนสุดได้ประกาศตัวเองเป็น"โอรสแห่งสวรรค์" ซุนเซ็กได้ส่งสารไปหางอเก๋ง ผู้เป็นลุงและซุนเปิน ลูกพี่ลูกน้องของเขา ซึ่งทั้งสองต่างทำงานรับใช้ให้แก่อ้วนสุดในฐานะกุนซือและแม่ทัพ ให้พวกเขาตีตัวออกห่างจากอ้วนสุดและมาเข้าร่วมกับตน ทั้งงอเก๋งและซุนเปินก็ทำตามคำเรียกร้องและแปรพักตร์มาอยู่กับเขา ผลที่ตามมาคือ อ้วนสุดสูญเสียกองเหลงและดินแดนที่ซุนเซ็กยึดครองในเจียงตง ทำให้ลดอิทธิพลของเขาในแผ่นดินจีนตอนใต้ลงอย่างมาก ในขณะเดียวกับ ลิโป้ได้เอาชนะกองกำลังของอ้วนสุดจากทางตอนเหนือของแม่น้ำหวยเหอ และปล้นสะดมในพื้นที่แห่งนี้ ในความพยายามที่จะกอบกู้สถานการณ์ อ้วนสุดได้ส่งกองทัพไปบุกเมืองเฉิน แต่กลับพ่ายแพ้ให้กับกองทัพฮั่นที่นำโดยโจโฉ[3] ในฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 197 โจโฉได้ยึดครองดินแดนทางตอนเหนือของแม่น้ำหวยเหอเอาไว้ทั้งหมด ในขณะที่ดินแดนที่เหลืออยู่ของอ้วนสุดต่างประสบภัยแล้งและเก็บเกี่ยวไม่ได้เลยทำให้อำนาจลดลงกว่าเดิม[1]

ลิโป้แปรพักตร์และพ่ายแพ้[แก้]

เมื่ออิทธิพลของอ้วนสุดได้เหลือน้อยเต็มทน ความขัดแย้งภายในได้เกิดขึ้นในท่ามกลางสมาชิกของแนวร่วมพันธมิตรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านเขา ลิโป้ได้ถูกขอร้องจากอ้วนสุดให้เข้าโจมตีเล่าปี่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโจโฉให้กลับมาต่อสู้รบ ความขัดแย้งครั้งนี้ได้นำไปสู่ยุทธการที่แห้ฝือ ในปี ค.ศ. 198 เป็นการสู้รบระหว่างกองทัพพันธมิตรของโจโฉและเล่าปี่ปะทะกับลิโป้ เมื่อเผชิญกับสถานการที่เลวร้าย ลิโป้จึงหันไปหาอ้วนสุดเพื่อขอความช่วยเหลือ อ้วนสุดทำได้แค่ส่งทหารม้าเพียง 1,000 นายเพื่อไปเสริมกำลังให้กับลิโป้ แต่กองกำลังประสบความพ่ายแพ้ก่อนที่จะไปถึงแห้ฝือ เมื่อความพินาศของลิโป้ดูเหมือนจะหลีกหนีไปไม่ได้ อ้วนสุดจึงส่งสารไปปลุกระดมชนเผ่า Shanyue และหัวหน้าโจรนามว่า Zu Lang (祖郎) เพื่อเข้าโจมตีซุนเซ็ก ซุนเซ็กได้เอาชนะศัตรูและยังคงเสริมสร้างอิทธิพลในเจียงตง ท้ายที่สุด ลิโป้ได้ยอมจำนนและถูกโจโฉประหารชีวิตในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 199

จุดจบของอ้วนสุด[แก้]

ในทางกลับกัน อ้วนสุดรู้สึกเป็นทุกข์อย่างมาก ทรัพย์สินสมบัติของเขาว่างเปล่าและทหารของเขาอ่อนแอเกินกว่าจะต้านทานการรุกรานหรือปราบปรามกบฏ ด้วยเหตุนี้ อ้วนสุดจึงตัดสินใจที่จะเผาวังของตนและหลบหนีไปยังเนินเขา Qian ซึ่งอดีตลูกน้องของเขาคือ Lei Bo (雷薄) และ Chen Lan (陳蘭), ได้ซ่อนตัวอยู่ที่แห่งนั้น ซึ่งอย่างไรก็ตาม Lei Bo และ Chen Lan ได้ปฏิเสธที่จะยอมรับอ้วนสุด ดังนั้นอ้วนสุดจึงเขียนจดหมายไปหาอ้วนเสี้ยว พี่ชายของตน โดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะมอบตราหยกแผ่นดินให้กับอ้วนเสี้ยว หากช่วยเหลือเขาได้ ด้วยตอบสนองต่อคำเรียกร้อง อ้วนเสี้ยวได้ส่งอ้วนถำ ลูกชายของเขาไปคุ้มกันอ้วนสุดไปยัง Qing Province (บริเวณครอบคลุมมณฑลซานตงในปัจจุบัน) โจโฉได้ส่งเล่าปี่และจูเหลงไปสกัดกั้นอ้วนสุด ในขณะที่อ้วนสุดกำลังเดินทางไปยัง Qing Province อ้วนสุดไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากหันหลังหลับไปที่หวยหนาน ในที่สุด อ้วนสุดก็ล้มป่วยตายในเดือนที่หกของปี ค.ศ. 199 ในระหว่างทางในเดินทางกลับสู่เมืองฉุนฉิว[4][1]

ผลสืบเนื่อง[แก้]

ครอบครัวของอ้วนสุดได้หนีไปพึ่งพาเล่าชุน ในขณะที่ผู้ติดตามคนอื่น ๆ อย่าง Yang Hong (楊弘) และ Zhang Xun (張勳) ได้วางแผนที่จะยอมจำนนต่อซุนเซ็ก แต่เล่าชุนได้จับกุมและกักขังไว้ที่ลู่เจียง ในปี ค.ศ. 199 ซุนเซ็กได้เอาชนะเล่าชุนและพิชิตลู่เจียง ทำให้ครอบครัวของอ้วนสุดและคนของเขาได้เป็นอิสระ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 de Crespigny, Rafe (2006). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23-220 AD). Leiden: Brill. pp. 1012–1013. ISBN 9789047411840. สืบค้นเมื่อ 27 January 2019.
  2. ([獻帝建安二年] ... 袁術稱帝於壽春,自稱仲家, ...) Sima Guang. Zizhi Tongjian, Volume 62.
  3. (袁術欲稱帝於淮南,使人告呂布。布收其使,上其書。術怒,攻布,為布所破。秋九月,術侵陳,公東征之。術聞公自來,棄軍走,留其將橋蕤、李豐、梁綱、樂就;公到,擊破蕤等,皆斬之。術走渡淮。公還許。) Chen Shou. Records of the Three Kingdoms, Volume 1, Biography of Cao Cao.
  4. (袁術自敗於陳,稍困,袁譚自青州遣迎之。術欲從下邳北過,公遣劉備、朱靈要之。會術病死。) Chen Shou. Records of the Three Kingdoms, Volume 1, Biography of Cao Cao.