กางเขนประดับอัญมณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รายละเอียดกางเขนประดับอัญมณี
ที่บาซิลิกาซานอพอลลินาเรอินคลาสเซอ

“กางเขนประดับอัญมณี”
Crux gemmata
{{{artist}}}
{{{period}}}
{{{size}}}
ทวีปยุโรป
ศิลปะคริสต์ศาสนา

กางเขนประดับอัญมณี (ละติน: Crux gemmata) คือกางเขนที่ส่วนใหญ่สร้างในสมัยคริสเตียนยุคแรกมาจนถึงต้นยุคกลางที่เป็นกางเขนอย่างน้อยก็ด้านหน้าส่วนใหญ่จะตกแต่งด้วยอัญมณีเป็นหลัก แทนที่จะเป็นภาพวาดบนตัวกางเขน ด้านหลังมักจะเป็นลายสลักของพระเยซูตรึงกางเขนหรือรูปจากหัวข้ออื่น[1]

ตัวอย่างของงานกางเขนโลหะก็ได้แก่กางเขนจัสตินที่ 2 (คริสต์ศตวรรษที่ 6, พิพิธภัณฑ์วาติกัน), กางเขนโลแธร์ (คริสต์ศตวรรษที่ 10, มหาวิหารอาเคิน), กางเขนเทวดาแห่งคาบสมุทรไอบีเรีย, กางเขนชัย และกางเขนค็อง (ราวคริสต์ทศวรรษ 1120, พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติแห่งไอร์แลนด์)

ประวัติ[แก้]

ในยุคโบราณตอนปลายและต้นยุคกลางสิ่งของอันมีความสำคัญมากเช่นหีบบรรจุวัตถุมงคล (Reliquary) มักจะตกแต่งอย่างเต็มที่ด้วยอัญมณีที่เป็นการตกแต่งในลักษณะที่ในปัจจุบันจะจำกัดใช้แต่ในการตกแต่งมงกุฎ และเครื่องราชกกุธภัณฑ์สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก หรือ เครื่องประดับชิ้นเล็กๆ กางเขนดังกล่าวอาจจะทำออกมาในรูปของภาพเขียน, โมเสก, งาช้างแกะสลัก และ วัสดุอื่นๆ และมักจะมีปลายแขนกางเขนเป็นแฉก แต่สัดส่วนระหว่างแนวตั้งและแนวนอนก็ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์ประกอบซึ่งก็แตกต่างกันออกไปเป็นอันมาก เครื่องห้อย (Pendilia) หรือเครื่องตกแต่งแบบแขวนหรือห้อยก็อาจจะแขวนจากแขนกางเขน โดยเฉพาะจากตัวอักษร แอลฟาและโอเมกาที่เป็นทอง ลักษณะของกางเขนดังกล่าวพบบนชิ้นส่วนของโลงหินจากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ปลายแขนกางเขนที่เป็นแฉกก็มีมาตั้งแต่งานที่พบชิ้นแรกๆ[2]

กางเขนประดับอัญมณีเช่นงานโมเสกที่วัดซานตาพูเดนเซียนาในกรุงโรม (ค.ศ. 384–ค.ศ. 389) ตัวกางเขนตั้งอยู่บนเนินที่มีฉากหลังเป็นภาพสัญลักษณ์ของกรุงเยรูซาเลมโดยตัวกางเขนเองเป็นสัญลักษณ์ของกรุงเยรูซาเลมใหม่หรือ "เมืองสวรรค์"[3] นอกจากนั้นแล้วกางเขนประดับอัญมณีก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของต้นไม้แห่งชีวิตของคริสเตียน โดยเฉพาะเมื่อปลายแขนแจกเป็นแฉกเป็นกิ่ง บางครั้งกางเขนก็จะอยู่บนเนินที่เป็นสัญลักษณ์ของสวรรค์ โดยมีแม่น้ำสี่สายไหลลงมาจากกางเขนที่เข้าใจกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระวรสารทั้งสี่[4]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. As on the Cross of Lothair. The Cross of Justin II has silver repoussé figures on the reverse.
  2. Hellemo, 100-101. Lateran sarcophagus number 106 is the earliest work.
  3. Syndicus, 104 and 139–140
  4. Syndicus, 104; see Hellemo 93, note for an example of the four rivers symbolism.
  5. See Syndicus, 139–140 and Schiller, I, 148 for slightly different interpretations in detail
  • Friesen, Ilse E., The Female Crucifix: Images of St. Wilgefortis Since the Middle Ages, Wilfrid Laurier University Press, 2001, ISBN 0-88920-365-2, google books
  • Hellemo, Geir. Adventus Domini: eschatological thought in 4th-century apses and catecheses, BRILL, 1989, ISBN 9004088369, 9789004088368 google books
  • Schiller, Gertud, Iconography of Christian Art, Vol. I, 1971 (English trans from German), Lund Humphries, London, ISBN 853312702
  • Schiller, Gertrud, Iconography of Christian Art, Vol. II, 1972 (English trans from German), Lund Humphries, London, ISBN 853313245
  • Eduard Syndicus; Early Christian Art, Burns & Oates, London, 1962
  • Wernher, Martin, The Liudhard Medalet, in Anglo-Saxon England, Volume 20, eds. Michael Lapidge, Malcolm Godden, Simon Keynes, Cambridge University Press, 1992, ISBN 052141380X, 9780521413800, google books

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กางเขนประดับอัญมณี