ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อันดับสัตว์ฟันแทะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kannajaja (คุย | ส่วนร่วม)
แปลข้อมูลเติมอ้างอิงและรูปภาพในหัวข้อ "ความฉลาด" ของวิกิอังกฤษ
Kannajaja (คุย | ส่วนร่วม)
แปลข้อมูลและเติมอ้างอิงในหัวข้อ "ประวัติวิวัฒนาการ" ของวิกิอังกฤษ
บรรทัด 155: บรรทัด 155:
==การจัดจำแนกและวิวัฒนาการ==
==การจัดจำแนกและวิวัฒนาการ==
===ประวัติวิวัฒนาการ===
===ประวัติวิวัฒนาการ===
การเรียงของฟัน (Dentition) เป็นลักษณะสำคัญของฟอสซิลสัตว์ฟันแทะและการบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มาจาก[[สมัยพาลีโอซีน]]ซึ่งเป็นช่วงหลังจากการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ที่ไม่ใช่นกเมื่อ 66 ล้านปีทีแล้ว ฟอสซิลเหล่านี้ถูกพอเจอ ณ [[มหาทวีปลอเรเชีย]] ซึ่งรวมทวีป ณ ปัจจุบันได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย กลิเรสเป็นเคลดที่รวมอันดับสัตว์ฟันแทะและอันดับกระต่ายไว้ด้วยกัน โดยเคลดนี้แบ่งแยกออกจากเชื้อสายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่กี่ล้านปีหลังจาก Cretaceous-Tertiary boundary ต่อมาสัตว์ฟันแทะและกระต่ายจึงแพร่กระจายประชากรในช่วง[[มหายุคซีโนโซอิก]]<ref>{{cite journal |author=Asher1, Robert J.; Meng, Jin; Wible, John R.; McKenna, Malcolm C.; Rougier, Guillermo W.; Dashzeveg, Demberlyn; Novacek, Michael J. |year=2005 |title=Stem Lagomorpha and the Antiquity of Glires |journal=Science |volume=307 |issue=5712 |pages=1091–1094 |doi=10.1126/science.1107808 |pmid=15718468|bibcode=2005Sci...307.1091A }}</ref> ผลจากข้อมูลของ[[นาฬิกาอาศัยโครงสร้างโมเลกุล]] (molecular clock data) ชี้ให้เห็นว่าสัตว์ฟันแทะ ณ ปัจจุบันโพร่ขึ้นมาในปลาย[[ยุคครีเทเชียส]] แต่ทว่าการคาดการณ์ของงานวิจัยอื่นตรงกับการบันทึกฟอสซิลมากกว่า<ref name=Douzery03>{{cite journal |author1=Douzery, E. J. P. |author2=Delsuc, F. |author3=Stanhope, M. J. |author4=Huchon, D. | year=2003 | title=Local molecular clocks in three nuclear genes: divergence times for rodents and other mammals and incompatibility among fossil calibrations | journal=Journal of Molecular Evolution | volume=57 | pages=S201–13 | doi=10.1007/s00239-003-0028-x | pmid=15008417|bibcode=2003JMolE..57S.201D }}</ref><ref name=Horneretal>{{cite journal |author1=Horner, D. S. |author2=Lefkimmiatis, K. |author3=Reyes, A. |author4=Gissi, C. |author5=Saccone, C. |author6=Pesole, G. | year=2007 | title=Phylogenetic analyses of complete mitochondrial genome sequences suggest a basal divergence of the enigmatic rodent ''Anomalurus'' | journal=BMC Evolutionary Biology | volume=7 | page=16 | doi=10.1186/1471-2148-7-16 | pmid=17288612 | pmc=1802082 | issue=1}}</ref>
{{โครงส่วน}}

สัตว์ฟันแทะถูกเชื่อว่ามีแหล่งกำเนิดในเอเชีย ซึ่งเป็นสถานที่ที่สัตว์ [[multiuberculate]] ได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วง[[เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน]] และไม่เคยฟื้นฟูกลับได้ไม่เหมือนกับญาติในทวีอเมริกาเหนือและยุโรป ความว่างเปล่าในระบบนิเวศเปิดโอกาสให้สัตว์ฟันแทะและสัตว์อื่นในเคลดกลิเรสมีวิวัฒนาการและสามารถกระจายพันธุ์ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างการแพร่กระจายของสัตว์ฟันแทะและการสูญพันธุ์ของ multituberculates เป็นหัวข้อที่มีการถกเถียงเป็นอย่างมาก ความหลากหลายทางชีวภาพของ multituberculates อเมริกันและยุโรปลดลงเมื่อมีการนำเข้าของสัตว์อันดับฟันแทะในพื้นที่นี้ แต่ทว่า multituberculates ที่หลงเหลืออยู่ในเอเชียอาศัยรวมกันกับสัตว์ฟันแทะอย่างน้อย 15 ล้านปีและไม่พบเจอการแทนที่อยู่ของสัตว์<ref name="Wood 2010">{{Cite thesis |last=Wood |first= D. Joseph|title=The Extinction of the Multituberculates Outside North America: a Global Approach to Testing the Competition Model |type=M.S. |year=2010 |publisher=The Ohio State University |url=https://etd.ohiolink.edu/!etd.send_file?accession=osu1275595604&disposition=inline }}</ref>

ประวัติศาสตร์การปกครองทวีปบนโลกโดยสัตว์ฟันแทะมีความซับซ้อน การเคลื่อนไหวของวงศ์ใหญ่ [[Muroidea]] (รวมทั้ง แฮมสเตอร์ เจอร์บิล หนูที่แท้จริง) อาจจะรวมถึง 7 พื้นที่ในทวีปแอฟริกา 5 พื้นที่ในทวีปอเมริกาเหนือ 4 พื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2 พื้นที่ในทวีปอเมริกา และมีมากถึง 10 พื้นที่ในทวีปยูเรเชีย<ref>{{cite journal |author1=Schenk, John J. |author2=Rowe, Kevin C. |author3=Steppan, Scott J. | title=Ecological opportunity and incumbency in the diversification of repeated continental colonizations by muroid rodents | journal=Systematic Biology | volume=62 | issue=6 | pages=837–864 | year=2013 | url=http://sysbio.oxfordjournals.org/content/early/2013/08/06/sysbio.syt050 | doi=10.1093/sysbio/syt050 | pmid=23925508}}</ref>

ความหลากลายทางชีวิตของสัตว์ฟันแทะเพิ่มใน[[สมัยอีโอซีน]] บีเวอร์มีต้นกำเนิดอยู่ ณ ทวีปยูเรเซียในปลายสมัยอีโอซีนก่อนที่จะแพร่กระจายถิ่นฐานไปยังทวีปอเมริกาในปลายสมัยไมโอซีน<ref>{{cite journal |author1=Samuels, Joshua X. |author2=Zancanella, John |title=An early hemphillian occurrence of ''Castor'' (Castoridae) from the Rattlesnake Formation of Oregon |volume=85 |issue=5 |pages=930–935 |year=2011 |url=http://www.nps.gov/joda/parknews/upload/Samuels-and-Zancanella-2011-Rattlesnake-Castor.pdf |doi=10.1666/11-016.1 |journal=Journal of Paleontology}}</ref> กลุ่มของเม่นโลกเก่า ([[Hystricognathi]]) คาดการว่ามีต้นกำเนิด ณ ทวีปเอเชียเมื่อ 39.5 ล้านปีที่แล้วและเริ่มที่จะบุกรุกไปยังทวีปแอฟริกาในช่วงปลายอีโอซีน<ref name=Marivaux>{{cite journal |author1=Marivaux, Laurent |author2=Essid, El Mabrouk |author3=Marzougui, Wissem |author4=Ammar, Hayet Khayati |author5=Adnet, Sylvain |author6=Marandat, Bernard |author7=Merzeraud, Gilles |author8=Tabuce, Rodolphe |author9=Vianey-Liaud, Monique |title=A new and primitive species of ''Protophiomys'' (Rodentia, Hystricognathi) from the late middle Eocene of Djebel el Kébar, Central Tunisia |journal=Palaeovertebrata |year=2014 |volume=38 |issue=1 |pages=1–17 |url=http://palaeovertebrata.com/Articles/sendFile/43/published_article}}</ref> ฟอสซิลจากแอฟริกาบ่งบอกว่าสัตว์บางชนิดจากกลุ่มเม่นโลกเก่า (Caviomorpha) เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยลอยตามกระแสน้ำมาพร้อมกับเศษขยะ และแพร่กระจายประชากรในทวีปอเมริกาใต้<ref>{{cite journal |author1=Gheerbrant, Emmanuel |author2=Rage, Jean-Claude |title=Paleobiogeography of Africa: How distinct from Gondwana and Laurasia? | journal=Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology |volume=241 |pages= 224–246 |year=2006 |doi=10.1016/j.palaeo.2006.03.016}}</ref> [[Caviomorpha]] มาถึงยังทวีปอเมริกาใต้เมื่อ 41 ล้านปีที่แล้ว<ref name=Marivaux/>และถึง[[เกรตเตอร์แอนทิลลีส]]เมื่อต้น[[สมัยโอลิโกซีน]] ซึ่งบงบอกว่าสัตว์กลุ่มนี้แพร่กระจายอย่างต่อเนื่องบนทวีปอเมริกาใต้<ref>{{cite journal |author1=Vélez-Juarbe, Jorge |author2=Martin, Thomas |author3=Macphee, Ross D. E. |year=2014 |title=The earliest Caribbean rodents: Oligocene caviomorphs from Puerto Rico |journal=Journal of Vertebrate Paleontology |volume=34 |issue=1 |pages=157–163 |doi=10.1080/02724634.2013.789039 }}</ref>

[[Nesomyid]] ถูกเชื่อว่าเดินทางจากทวีปแอฟริกาไปยังมาดากัสการ์เมื่อประมาณ 20-24 ล้านปีที่แล้ว<ref name = "Ali&Huber">{{Cite journal |last1=Ali |first1=J. R. |last2=Huber |first2=M. |title=Mammalian biodiversity on Madagascar controlled by ocean currents |journal = [[Nature (journal)|Nature]] |volume=463 |issue=4 Feb. 2010 |pages=653–656 |publisher = [[Nature Publishing Group]] |date=2010-01-20 |url = http://www.nature.com/nature/journal/vaop/ncurrent/full/nature08706.html |doi = 10.1038/nature08706 | accessdate = 2010-01-20 |pmid=20090678 |bibcode=2010Natur.463..653A}}</ref> 27 ชนิดหมดของ[[หนูมาลากาซี]]คาดว่าน่าจะสืบทอดมาจากเหตุการณ์การปกครองครั้งเดียว

ฟอสซิลที่เป็นของกลุ่มสัตว์เช่น วงศ์ Muridae เริ่มที่จะเกิดขึ้นเมื่อ 20 ล้านปีที่แล้ว<ref name=Kay/> ใน[[สมัยไมโอซีน]]เมื่อทวีปแอฟริกาเชื่อมกับทวีปเอเชีย สัตว์ฟันแทะทวีปแอฟริกาเช่น [[เม่น]] เริ่มที่จะแพร่กระจายประชากรใน[[ทวีปยูเรเซีย]]<ref>{{cite journal|author1=Vekua, A. |author2=Bendukidze, O. |author3=Bukhsianidze, M. |author4=Vanishvili, N. |author5=Augusti, J. |author6=Martinez-Navarro, B. |author7=Rook, L. |title=Porcupine in the Late Neogene and Quaternary of Georgia |journal=Bulletin of the Georgian National Academy Of Sciences |volume=4 |issue=3 |pages=140–149 |year=2010 |url=http://science.org.ge/moambe/4-3/Vekua.pdf |deadurl=yes |archiveurl=https://web.archive.org/web/20140716075336/http://science.org.ge/moambe/4-3/Vekua.pdf |archivedate=16 July 2014 |df= }}</ref> Some fossil species were very large in comparison to modern rodents and included the giant beaver, ''[[Castoroides|Castoroides ohioensis]]'', which grew to a length of {{convert|2.5|m|0|abbr=on}} and weight of {{convert|100|kg|0|abbr=on}}.<ref>{{cite web |title=Giant beaver |work=Natural History Notebooks |publisher=Canadian Museum of Nature |date=28 May 2013 |url=http://nature.ca/notebooks/english/giantbev.htm |accessdate=19 October 2014}}</ref> ฟอสซิลของสัตว์บางชนิดมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับสัตว์ฟันแทะในยุคปัจจุบันรวมถึง[[บีเวอร์ยักษ์]] (Castoroides ohioensis) ซึ่งสามารถโตและมีความยาวไดถึง 2.5 เมตรและมีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม สัตว์ฟันแทะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ [[Josephoartigasia monesi]] ซึ่งเป็น [[Pacarana]] ที่มีความยาวตัวได้ถึง 3 เมตร<ref>{{ cite journal |last1=Rinderknecht |first1=Andrés |author2=Blanco, R. Ernesto |year = 2008 |title=The largest fossil rodent |journal=Proceedings of the Royal Society B |volume=275 |issue=1637 |pages=923–928 |doi=10.1098/rspb.2007.1645 |pmid=18198140 |pmc=2599941}}</ref>

สัตว์ฟันแทะตัวแรกที่ถึงทวีปออสเตเรียมาจากอินโดนีเซียเมื่อ 5 ล้านปีที่แล้ว ถึงแม้ว่า[[สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง|สัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง]]จะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นรู้จักเมื่อพูดถึงทวีปออสเตเรีย สัตว์ฟันแทะหลายชนิดซึ่งทั้งหมดอยู่ใน[[วงศ์ย่อย Murinae]] เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมท้องถิ่นที่สำคัญ<ref name=Breed>{{cite book |author1=Breed, Bill |author2=Ford, Fred |title=Native Mice and Rats |publisher=CSIRO Publishing |date=2007 |pages=3, 5, and passim |isbn=978-0-643-09166-5 |url=http://www.publish.csiro.au/samples/native%20Mice%20and%20rats%20sample.pdf}}</ref> โดยจะมีสัตว์ฟันแทะมีประมาณ 50 ชนิดที่ถือว่าเป็น “สมาชิกถ้องทิ่นเก่า” โดยในกลุ่มแรกของสัตว์ฟันแทะปกครองทวีปออสเตเรียเมื่อสมัยไมโอซีนหรือต้น[[สมัยไพลโอซีน]] ในขณะที่หนูที่แท้จริง 8 ชนิดซึ่งถือว่าเป็น “สมาชิกถ้องทิ่นใหม่” มาปกครองทวีปออสเตเรียเป็นกลุ่มที่สองในช่วงปลายสมัยไพลโอซีนหรือต้น[[สมัยไพลสโตซีน]] ฟอสซิลที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในทวีปออสเตเรียมีอายุได้มากถึง 4.5 ล้านปี<ref>{{cite web |url=http://www.environment.gov.au/node/14807 |title=The Action Plan for Australian Rodents |date=1 April 1995 |publisher=Environment Australia |accessdate=18 September 2014}}</ref>และข้อมูลจากนาฬิกาอาศัยโครงสร้างโมเลกุลตรงกับการปกครองเกาะนิวกินีช่วงตะวันตกเมื่อช่วงปลายสมัยไมโอซีนหรือต้นสมัยไพลโอซีนและตามมาด้วยการเพิ่มขึ้นของความหลาหลายทางชีวิต [[การแผ่ปรับตัว]]เกิดขึ้นอีกรอบเมื่อหลักจากการปกครองทวีปออสเตเรียหนึ่งครั้งหรือมากกว่าเมื่อ 2-3 ล้านปีต่อมา<ref>{{cite journal |author1=Rowe, K. C. |author2=Reno, M. L. |author3=Richmond, D. M. |author4=Adkins, R. M. |author5=Steppan, S. J. |year=2008 |title=Pliocene colonization and adaptive radiations in Australia and New Guinea (Sahul): multilocus systematics of the old endemic rodents (Muroidea: Murinae) |journal=Molecular Phylogenetics and Evolution |volume=47 |issue=1 |pages=84–101 |doi=10.1016/j.ympev.2008.01.001 |pmid=18313945}}</ref>

สัตว์ฟันแทะเข้ารวม [[the Great American Interchange]] ซึ่งเกิดขึ้นจากการเชื่อมต่อกันของทวีปอเมริกาใต้และเหนือด้วย[[คอคอดปานามา|แผ่นดินคอคอดปานามา]]เมื่อ 3 ล้านปีที่แล้วใน[[สมัย Piacenzian]]<ref name=Baskin>{{cite journal | title=South Texas and the Great American Interchange | author1=Baskin, Jon A. |author2=Thomas, Ronny G. |journal=Gulf Coast Association of Geological Societies Transactions |year=2007 |volume=57 |pages=37–45 |url=http://ckwri.tamuk.edu/fileadmin/user_upload/PHOTOS/Deer-Research_Program/Class_files/Baskin_Thomas2007--South_Texas_and_the_Great_American_Interchange.pdf |deadurl=yes | archiveurl=https://web.archive.org/web/20140718213213/http://ckwri.tamuk.edu/fileadmin/user_upload/PHOTOS/Deer-Research_Program/Class_files/Baskin_Thomas2007--South_Texas_and_the_Great_American_Interchange.pdf |archivedate=18 July 2014 |df=dmy-all}}</ref> โดยการเชื่อมต่อนี้ทำให้กลุ่มของสัตว์จำนวนน้อยเช่น เม่นโลกใหม่ (Erethizontidae) เดินทางไปยังอเมริกาเหนือ<ref name=Kay>{{cite journal |author1=Kay, Emily H. |author2=Hoekstra, Hopi E. |title=Rodents |journal=Current Biology| volume=18 |issue=10 |pages=R406–R410 |date=2008 |url=http://www.cell.com/current-biology/fulltext/S0960-9822%2808%2900319-9 |doi=10.1016/j.cub.2008.03.019}}</ref> ในทางกลับกันการบุกรุกไปยังทางใต้ของ [[Sigmodontinae]] เกิดขึ้นไม่กี่ล้านปีก่อนที่ทวีปทั้งสองจะเชื่อมกันโดยสัตว์กลุ่มนี้เดินทางโดยวิธีการล่องแพ<ref name=Marshall>{{cite journal |author1=Marshall, L. G. |author2=Butler, R. F. |author3=Drake, R. E. |author4=Curtis, G. H. |author5=Tedford, R. H. |title=Calibration of the Great American Interchange |journal=Science |volume=204 |issue=4390 |pages=272–279 |date=1979 |url=http://www.sciencemag.org/cgi/content/abstract/204/4390/272 |doi=10.1126/science.204.4390.272 |pmid=17800342|bibcode=1979Sci...204..272M }}</ref><ref name="Smith1999">{{cite journal |author1=Smith, Margaret F. |author2=Patton, James L. |year=1999 |title=Phylogenetic relationships and the radiation of Sigmodontine rodents in South America: evidence from cytochrome b |journal=Journal of Mammalian Evolution |volume=6 |issue=2 |pages=89–128 |doi=10.1023/A:1020668004578}}</ref><ref name="Parada2013">{{cite journal|last1=Parada|first1=A.|last2=Pardiñas|first2=U. F. J.|last3=Salazar-Bravo|first3=J.|last4=D’Elía|first4=G.|last5=Palma|first5=R. E.|title=Dating an impressive Neotropical radiation: Molecular time estimates for the Sigmodontinae (Rodentia) provide insights into its historical biogeography |journal=[[Molecular Phylogenetics and Evolution]] |volume=66 |issue=3 |date=March 2013 |pages=960–968 |doi=10.1016/j.ympev.2012.12.001 |pmid=23257216}}</ref> Sigmodontinae กระจายตัวและเพิ่มความหลากหลายเป็นอย่างมากเมื่อถึงทวีปอเมริกาใต้ แต่ทว่าการหลากหลายของสัตว์กลุ่มนี้เกิดขึ้นบนอเมริกากลางแล้วก่อนการปกครองทวีปอเมริกาใต้<ref name = "Smith1999"/><ref name="Parada2013"/> เนื่องจากการปกครองของสัตว์กลุ่มนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ระยะต้น ๆ ส่งผลให้สัตว์ฟันแทะทวีปอเมริกาเหนือเช่น sciurids geomyids heteromyids และ nonsigmodontine cricetids มีกลุ่มประชากรน้อยในสัตว์ทวีปอเมริกาใต้


===การจัดจำแนกมาตรฐาน===
===การจัดจำแนกมาตรฐาน===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:58, 9 พฤศจิกายน 2561

อันดับสัตว์ฟันแทะ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: พาลีโอซีนยุคสุดท้าย - ปัจจุบัน
61.7–0Ma
กระรอกข้างลายท้องแดง (Callosciurus notatus) สัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในประเทศไทยและคาบสมุทรมลายู
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
ชั้นฐาน: Eutheria
อันดับใหญ่: Euarchontoglires
อันดับ: Rodentia
Bowdich, 1821
อันดับย่อย[1]
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของสัตว์ฟันแทะรอบโลก (ไม่รวมสายพันธุ์ต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามา)

อันดับสัตว์ฟันแทะ (อังกฤษ: Rodent, ชื่อวิทยาศาสตร์: Rodentia) เป็นอันดับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับหนึ่ง ประมาณร้อยละ 40 ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดได้ถูกจัดให้อยู่ในอันดับนี้ นอกจากนี้แล้วสัตว์ในอันดับนี้สามารถถูกพบเจอได้ในทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา

ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีฟันตัดหน้าในขากรรไกรบน 2 ซี่ และขากรรไกรล่าง 2 ซี่ ลักษณะของฟันตัดหน้ามีรูปร่างคล้ายสิ่ว มีความแข็งแรงมาก ใช้สำหรับกัด ขุด และแทะอาหาร ไม่มีฟันเขี้ยว ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันตัดหน้าและฟันตัดหน้ากราม ผิวเคลือบทางด้านนอกของฟันตัดหน้าเป็นอีนาเมล จึงทำให้ฟันแข็งแรง นอกจากนี้ฟันตัดหน้าของสัตว์ในอันดับนี้ยังเป็นรูทเลสส์ โดยที่ฟันจะไม่หยุดการเจริญเติบโต เฉลี่ย 12 เซนติเมตรครึ่งต่อปี[2]

วิธีการอาศัยของสัตว์ฟันแทะสามารถแบ่งได้เป็นหลายอย่าง เช่น บางจำพวกก็อาศัยอยู่บนต้นไม้ ขุดรูอยู่ใต้ดินหรือบนดิน ซึ่งชนิดของสัตว์ในอันดับนี้ที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ หนู กระรอก แพรรีด็อก เม่น ชิปมังก์ เม่น บีเวอร์ หนูตะเภา แฮมสเตอร์ เจอร์บิล แคพิบารา เป็นต้น ในขณะที่กระต่าย กระต่ายแจ็ก กระแต ไพกา ตุ่น และชูการ์ไกลเดอร์ไม่ถูกนับว่าเป็นสมาชิกของอันดับสัตว์ฟันแทะถึงแม้จะมีรูปลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกัน[3] กระต่าย กระต่ายแจ็ก และไพกาถูกจัดอยู่ในอันดับกระต่าย โดยอันดับกระต่ายและอันดับสัตว์ฟันแทะเป็น "พี่น้อง" ซึ่งมีมีบรรพบุรุษร่วมกันที่ฐานและสร้างเคลดที่มีชื่อกลิเรส

สมาชิกส่วนใหญ่ในอันดับนี้มีขนาดเล็ก ร่างกายที่แข็งแรง ขาสั้น และหางยาว มีฟันตัดหน้าที่คมซึ่งเหมาะสมสำหรับการแทะอาหาร ขุด และป้องกันตัวเอง โดยส่วนมากจะกินเมล็ดหรือวัสดุอื่นๆ จากพืช ในขณะที่สมาชิกอื่นมีความหลากหลายทางอาหาร สัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะเป็นสัตว์สังคมซึ่งอยู่เป็นกลุ่มและมีวิธีการสื่อสารที่สับส้อน นอกจากนี้แล้วการผสมพันธุ์ระหว่างสัตว์ในอันดับนี้มีตั้งแต่แบบผัวเดียวเมียเดียว ผัวเดียวหลายเมีย และสําส่อน ตัวเมียจะออกลูกได้เป็นครอกโดยลูกที่ออกมานั้นได้เติบโตเต็มได้อย่างดีหรือไม่เต็มที่ขึ้นอยู่กับสัตว์ในแต่ล่ะสายพันธุ์

ซากฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดของสมาชิกในอันดับนี้มีอายุตั้งแต่สมัยพาลีโอซีนบนมหาทวีปลอเรเชีย ความหลากหลายของสมาชิกในอันดับนี้นี้เพิ่มขึ้นและแพร่กระจายในทวีปหรือข้ามมหาสมุทรเป็นอย่างมากในช่วงสมัยอีโอซีน โดยสมาชิกของอันดับนี้เดินทางจากทวีปแอฟริกาไปยังทวีปอเมริกาใต้และมาดากัสการ์ และยังเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่อยู่อาศัยบนบกและมีสายรกแรกที่ถึงและแพร่กระจายในทวีปออสเตรเลีย

สิ่งมีชีวิตในอันดับนี้ถูกนำมาใช้ในหลายด้านโดยมนุษย์ เช่น เสื้อผ้า อาหาร สัตว์เลี้ยง และสัตว์ทดลอง สมาชิกบางส่วน เช่น หนูบ้าน หนูท้องขาว หนูหริ่งบ้านเป็นสัตว์ก่อความรำคาญที่กัดกินอาหารของมนุษย์หรือแพร่เชื้อโรค เมื่อถูกนำเข้ามาหรือแพร่กระจายมาจากที่อื่นมักจะรุกรานสัตว์ที่อยู่ในท้องถิ่นซึ่งให้เกิดการสูญพันธุ์ได้

ลักษณะทั่วไป

ภาพวาดโครงสร้างฟันของสมาชิกในอันดับสัตว์ฟันแทะ โดยด้านหน้าของฟันตัดหน้า (incisors) มีชั้นเคลือบฟันที่หนามาก ในขณะที่ด้านหลังมีเนื้อฟันที่นุ่มกว่า ซึ่งทำให้เกิดการซึกกร่องของเนื้อฟันและทำให้ฟันตัดหน้ามีลักษณะคล้ายสิ่ว

ลักษณะสำคัญที่จำแนกสมาชิกในอันดับสัตว์ฟันแทะจากสัตว์อื่นนั้น คือฟันตัดหน้า (incisors) ที่คมและเติบโตเรื่อยๆ[4] เนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงฟันตลอดเวลา สัตว์อันดับนี้จึงต้องใช้ฟันแทะอย่างสม่ำเสมอเพราะไม่งั้นจะทำให้ฟันนั้นยาวเกินไปและสามารถเจาะกระโหลกได้ โดยด้านหน้าของฟันตัดหน้าจะมีชั้นเคลือบฟันที่หนามาก ในขณะที่ด้านหลังมีชั้นเคลือบฟันที่บาง[5] เมื่อฟันตัดหน้าจากขากรรไกรบนและล่างเสียดสีกัน ฟันที่มีชั้นเคลือบฟันที่บางกว่าจะสึกกร่อน ก่อให้เกิดขอบฟันที่คมและมีลักษณะคล้ายสิ่ว[6] สมาชิกส่วนใหญ่ในอันดับนี้มีฟันมากถึง 22 ซี่ ซึ่งไม่มีฟันเขี้ยวหรือฟันกรามน้อยที่อยู่ด้านหน้า และจะมีช่องว่าง (diastema) ระหว่างฟันตัดหน้าและฟันแก้มซึ่งทำให้สัตว์ในอันดับนี้สามารถดูดแก้มหรือริมฝีปากเพื่อที่กำจัดและป้องกันไม่ให้เศษไม้และวัสดุที่กินไม่ได้บาดปากหรือลำคอได้[7] ฟันกรามของชินชิลล่าและหนูตะเภาไม่มีรากฟันและเติบโตเรื่อยๆ เหมือนกับฟันตัดหน้าของสมาชิกอื่นในอันดับสัตว์ฟันแทะเนื่องจากอาหารที่เส้นใยอาหารเป็นจำนวนมาก[8]

สมาชิกส่วนใหญ่ในอันดับนี้มีฟันกรามที่ใหญ่ โครงสร้างที่ประณีต และปุ่มฟันที่สูง ซึ่งสามารถเคี้ยวอาหารให้เป็นชิ้นเล็กได้[4] นอกจากนี้แล้วยังมีกล้ามเนื้อขากรรไกรที่แข็งแรง โดยที่ขากรรไกรล่างจะผลักไปข้างหน้าเมื่อแทะ และดึงไปด้านหลังเมื่อเคี้ยว[5] กลุ่มของสัตว์ในอันดับนี้มีความแตกต่างกันในการจัดโครงสร้างของกล้ามเนื้อขากรรไกรและกระโหลก สมาชิกในอันดับย่อย Sciuromorpha เช่น Eastern gray squirrel มีกล้ามเนื้อแมสซีเตอร์ที่ใหญ่และลึก เหมาะสำหรับการแทะด้วยฟันตัดหน้า สมาชิกในอันดับย่อย Myomorpha เช่น หนูบ้าน มีกล้ามเนื้อเทมโพราลิสที่ใหญ่ เหมาะสำหรับการเคี้ยวด้วยฟันกราม สมาชิกในอันดับย่อยเม่นเช่น หนูตะเภา มีกล้ามเนื้อแมซีเทอร์ชั้นนอก (superficial masseter muscle) ที่ใหญ่กว่าและกันมีกล้ามเนื้อแมซีเทอร์ชั้นใน (deep masseter muscle) ที่เล็กกว่าเมื่อเทียบกับหนูหรือกระรอก ซึ่งส่งผลให้การกัดด้วยฟันตัดหน้ามีประสิทธิภาพน้อยลง แต่ในขณะเดียวกันกล้ามเนื้อเทอรีกอยด์มัดใน (internal pterygoid) ที่มีขนาดใหญ่ทำให้สามารถการขยับขากรรไกรทางด้านข้างได้มากขึ้นในขณะเคี้ยว[9] กลุ่มย่อยของอันดับสัตว์ฟันแทะ เช่น หนูจิงโจ้ หนูแฮมสเตอร์ ชิปมังก์ และโกเฟอร์ มีกระพุ้งแก้มสองข้างสำหรับสะสมอาหาร[10] ถึงแม้ว่าหนูชนิดอื่นจะไม่มีโครงสร้างนี้แต่กระพุ้งแก้มยังมีความยืดหยุ่นเนื่องจากการปกคลุมด้วยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทในบริเวณนั้น[11]

ภาพจำลองหัวกะโหลกของสมาชิกในอันดับสัตว์ฟันแทะ (CT)

สัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ หนูเจอร์บัว (Mus minutoides) โดยที่ตัวโตเต็มวัยจะมีความยาวเฉลี่ยจากหัวจรดตัว 4.4 เซนติเมตร (1.7 นิ้ว) และน้ำหนักของตัวเมียเต็มวัยอยู่ที่ 3.75 กรัม (0.132 ออนซ์) สมาชิกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ แคพิบารา (Hydrochoerus hydrochaeris) พบในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีน้ำหนักได้มากถึง 66 กิโลกรัม และมีรายงานว่าพบมากถึง 91 กิโลกรัม ในขณะที่น้ำหนักเฉลี่ยของสมาชิกส่วนใหญ่มีน้อยกว่า 100 กรัม (3.5 ออนซ์) และมีรูปร่างที่อ้วนท้วนและขาที่สั้น[4] โดยขาหน้าจะมี 5 นิ้ว ซึ่งรวมถึงหัวแม่มือที่สามารถจับสิ่งของได้ ในขณะที่ขาหลังจะมี 3-5 นิ้ว นอกจากนี้แล้วยังมีข้อศอกที่ช่วยให้ขาแต่ล่ะข้างมีความยืดหยุ่นสูง[6][12] สมาชิกส่วนใหญ่ในอันดับนี้มีลักษณะการเดินด้วยเต็มเท้า (plantigrade locomotion) และมีกรงเล็บ โดยที่สมาชิกที่ขุดรูอยู่ใต้ดินหรือบนดินจะมีกรงเล็บที่ยาวและแข็งแรง ในขณะกรงเล็บของสมาชิกที่อาศัยอยู่บนต้นไม้จะมีลักษณะสั้นและคม[12] วิธีการเคลื่อนที่ของสัตว์ในอันดับนี้มีคามหลากหลายมาก เช่น การเดินด้วยสี่ขา วิ่ง ขุดรู ปีน การใช้สองขาเพื่อกระโดด (เช่น หนูจิงโจ้ และ Hopping mouse ) ว่ายน้ำ และร่อน[6] Anomalure และกระรอกบินสามารถร่อนลงมาจากต้นไม้ได้โดยใช้พังผืดที่ขยายออกมาจากด้านข้างลำตัวติดต่อระหว่างขาหน้าและขาหลัง (patagium)[13] สมาชิกในสกุลอะกูติสามารถเคลื่อนไหวด้วยนิ้วเท้าได้อย่างรวดเร็วและมีกีบเล็บ หางของสมาชิกส่วนใหญ่ในอันดับนี้มีความหลากหลายทางลักษณะมาก หางของสมาชิกบางชนิดสามารถใช้เพื่อจับหรือหยิบสิ่งของได้เช่น Eurasian harvest mouse สมาชิกบางชนิดมีขนมากอยู่บนหาง ในขณะที่หางของบางสมาชิกไม่มีขน หางสามารถใช้เพื่อสื่อสารกับสัตว์ตัวอื่นได้เช่น การที่บีเวอร์ใช้หางเพื่อตีน้ำหรือการที่หนูสั่นหางตัวเองเพื่อที่จะให้สัญญาณเตือน บางสมาชิกในอันดับนี้อาจจะมีโครงสร้างที่หลงเหลือของหางหรือไม่มีหาง[4] หางของบางสมาชิกสามารถโตใหม่ได้ถึงแม้ว่าบางส่วนอาจจะขาดหายไป[6]

ชินชิลล่าที่มีหนวดยาว

สมาชิกในอันดับนี้มีประสาทการรับรู้ที่ดี เช่น การมองเห็น การรับฟัง และสายตา สมาชิกส่วนมากที่ออกหากินในเวลากลางคืนจะมีตาที่ใหญ่ และในบางสมาชิกมีตาที่ไวต่อแสงอัลตราไวโอเลต สมาชิกส่วนมากของอันดับนี้มีหนวดที่ยาวและไวต่อการจับต้องหรือตรวจสอบสิ่งรอบข้าง บางสมาชิกมีกระพุ้งแก้มที่อาจจะปกคลุมไปด้วยขน เนื่องจากลิ้นไม่สามารถยื่นถึงฟันตัดหน้าได้ การทำความสะอาดกระพุ้งแก้มสามารถทำได้โดยการขยับให้กระพุ้งแก้มข้างในนั้นออกมาและกลับเข้าไปใหม่ สมาชิกในอันดับนี้มีระบบการย่อยอาหารที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถย่อยและดูดซึมพลังงานได้ถึงร้อยล่ะ 80 จากพลังงานในอาหารทั้งหมด เซลลูโลสจะถูกกระเพาะอาหารย่อยให้นุ่มลงและส่งต่อไปยังกระเปาะลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีแบคทีเรียที่ย่อยเซลลูโลสต่อ หลังจากนั้นสมาชิกของอันดับดับนี้จะกินมูลของตัวเองเพื่อให้ลำไส้ได้ดูดซึมอาหาร เพราะฉะนั้นมูลของสัตว์ในอันดับนี้จะมีลักษณะแข็งและแห้ง[4] องคชาติของสมาชิกตัวผู้ส่วนมากจะมีกระดูก (Baculum) ส่วนอัณฑะจะอยู่บริเวณท้องหรือหน้าขา[6]

ความแตกต่างระหว่างเพศนอกเหนือจากอวัยวะเพศของสมาชิกสายพันธ์เดียวกันเกิดขึ้นอยู่มากในอันดับสัตว์ฟันแทะ ในบางกลุ่มเช่น กระรอกดิน หนูจิงโจ้ หนูตุ่น และโกเฟอร์ ตัวผู้จะมีขนาดร่างกายที่ใหญ่และแข็งแรงกว่าตัวเมียซึ่งอาจจะเกิดมากจากการคัดเลือกทางเพศและการต่อสู้เพื่อคู่ผสมพันธุ์ในหมู่สัตว์เพศผู้ ในขณะที่สิ่งตรงข้ามเกิดขึ้นกลับบางสมาชิก เช่น ชิปมังก์ และ Jumping mice โดยที่ตัวเมียจะมีขนาดร่างกายที่ใหญ่และแข็งแรงกว่าตัวผู้ ซึ่งเหตุผลของการเกิดปรากฏการณ์นี้ยังไม่ทราบเป็นแน่ชัดแต่ในกรณีของ ชิปมังก์ Yellow-pine ตัวผู้เลือกตัวเมียที่มีขนาดตัวใหญ่กว่าเพราะว่ามีโอกาศในการสืบพันธุ์ที่สูงกว่า ในบางสมาชิกของอันดับนี้ เช่น หนูนาในกลุ่มโวล (Vole) ความแตกต่างระหว่างเพศอาจจะมีไม่เหมือนกันในแต่ล่ะประชากร โดยทั่วไปตัวเมียของ หนูนาแบงค์ (Bank vole) จะมีร่างกายที่ใหญ่กว่าตัวผู้ แต่ทว่าในประชากร ณ เขตภูเขาสูง ตัวผู้มีร่างกายที่ใหญ่มากกว่าตัวเมีย โดยสาเหตุอาจจะเกิดจากการที่มีจำนวนผู้ล่าน้อยกว่าและการต่อสู้เพื่อคู่ผสมพันธุ์ในหมู่สัตว์เพศผู้[14]

ถิ่นที่อยู่และการแพร่กระจาย

หนูบ้านในกระถางดอกไม้ บางสมาชิกของสัตว์อันดับสัตว์ฟันแทะอยู่ในพื้นที่อยู่อาศัยของมนุษย์

สัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะสามารถถูกพบเจอได้ในทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา นอกจากนี้แล้วยังเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่อยู่อาศัยบนบกและมีสายรกแรกที่ถึงและแพร่กระจายในทวีปออสเตรเลียโดยไม่มนุษย์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นี้ กลับกันมนุษย์ทำให้สมาชิกในอันดับนี้เช่น หนูจี๊ด ได้แพร่กระจายในเกาะต่างๆ[6] สัตว์ในอันดับสัตว์ฟันได้ปรับตัวให้เข้ากับที่เกือบทุกภูมิอากาศบนโลกและที่อยู่อาศัยตั้งแต่ทันดรา(มีหิมะ) ไปยังทะเลทราย

สัตว์บางชนิดในอันดับสัตว์ฟันแทะเช่น กระรอกต้นไม้ (Tree squirrel) และ สมาชิกของวงศ์เม่นโลกใหม่ อาศัยบนต้นไม้ได้ ในขณะที่สมาชิกอื่น เช่นโกเฟอร์ (Gopher) หนูทูโคทูโค (Tuco-tuco) หนูตุ่น (mole rat) อาศัยใต้ดินเป็นเวลาส่วนมากและได้สร้างระบบโพรงที่ซับซ้อน สมาชิกอื่นอีกอาศัยอยู่บนพื้นดิน แต่ยังสามารถสร้างโพรงใต้ดินเพื่อหลบศัตรู บีเวอร์และหนูมัสคแร็ต (Muskrat) อาศัยอยู่ทั้งบนบกและน้ำ[4] แต่สมาชิกที่เหมาะกับการอาศัยอยู่ในน้ำมากที่สุดคือ Earless water rat จากเกาะนิวกินี[15] นอกจากพื้นที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ สัตว์บางชนิดในอันดับสัตว์ฟันแทะอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเช่น เขตทางการเกษตรและเมือง[16]

บางสมาชิกของสัตว์อันดับฟันแทะเช่น บีเวอร์แทบทวีปอเมริกาเหนือ สร้างเขื่อนจากท่อนไม้ ซึ่งทำให้เกิดแหล่งน้ำใหม่

ถึงแม้ว่าสัตว์บางชนิดในอันดับสัตว์ฟันแทะเป็นสัตว์ที่ก่อความรังควานให้แก่มนุษย์ สมาชิกอื่นมีบทบาทสำคัญในการหมุนเวียนของระบบนิเวศวิทยา[4] บางสมาชิกถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตคีย์สโตน (keystone species) และวิศวกรทางนิเวศวิทยา (ecosystem engineer) ในทวีปอเมริกาเหนือ ณ บริเวณเกรตเพลนส์ การสร้างโพรงของแพรรีด็อกถือว่ามีมีบทบาทสำคัญในการสึกกร่อน การกักตุนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการแจกจ่ายสารอาหารของดินเช่น เพิ่มสารอินทรียและการดูดซึมน้ำของดิน[17] นอกจากนี้แล้วสัตร์กินพืชชนิดอื่นเช่น วัวกระทิง และพรองฮอร์น (Pronghorn) ชอบที่จะกินหญ้าในบริเวณที่อยู่อาศัยของแพรรีด็อก เนื่องจากคุณภาพทางโภชนาการที่เพิ่มขึ้นในหญ้า[18]

การลดลงของประชากรแพรรีด็อกสามารถนำไปสู่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น การลดลงของการถูกกินของเมล็ดพันธุ์พืช และการเริ่มต้นและแพร่กระจายของพืชต่างถิ่นรุกราน เช่น ฮันนีเมสเก (honey mesquite)[17] นอกจากนี้แล้วสมาชิกที่ขุดดินของอันดับสัตว์ฟันแทะอาจจะกินฟรุตติ้งบอดีของเห็ดราและแพร่กระจายสปอร์ผ่านทางมูลของสัตว์ ซึ่งทำให้เห็ดราขยายอนาเขตและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อรากับรากพืช[19]

ในหลายพื้นที่เขตร้อน บีเวอร์มีบทบาทสำคัญในการจัดการทรัพยากรน้ำ การที่บีเวอร์สร้างเขื่อนและรังสามารถเปลี่ยนทิศทางของสายน้ำได้[20] ซึ่งส่งผลให้มีการสร้างพื้นที่ชุ่มน้ำใหม่ งานวิจัยหนึ่งพบว่าการสร้างเขื่อนของบีเวอร์เพิ่มประชากรของไม้ล้มลุกในบริเวณพื้นที่ริมฝั่งน้ำได้ถึงร้อยล่ะ 33[21] และอีกงานวิจัยหนึ่งพบว่าช่วยเพิ่มประชากรของปลาแซลมอน[22]

พฤติกรรมและประวัติชีวิต

การกินอาหาร

ชิปมังก์ทางตะวันออกสะสมอาหารไว้ในกระพุ้งแก้ม

สัตว์ส่วนใหญ่ในอันดับสัตว์ฟันแทะเป็นสัตว์ที่กินแต่ชิ้นส่วนของพืชเช่น เมล็ด ก้าน ใบไม้ ดอกไม้ และรากไม้ ในขณะที่บางสมาชิกกินทั้งพืชและเนื้อหรือเป็นผู้ล่าสัตว์ชนิดอื่น[5] หนูนาฟิลด์ (Field vole) เป็นสมาชิกของอันดับสัตว์ฟันแทะที่กินพืชเช่น หญ้า สมุนไพร หัวราก ตะไคร่น้ำ และเปลือกไม้ และกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นครั้งคราวเช่น ตัวอ่อนแมลง[23] โกเฟอร์เพลนส์ (Plains pocket gopher) กินเศษซากพืชที่พบเจออยู่ในใต้ดินหรือเก็บภายในกระพุ้งแก้มเพื่อกักตุนไว้กินในคราวหน้า[24]

โกเฟอร์เท็กซัส (Texas pocket gopher) จะหลีกเลี่ยงที่จะโผล่ออกมาบนผิวดินนานโดยการยึดรากพืชด้วยขากรรไกรและดึงทั้งต้นลงไปยังโพรงใต้ดิน[25] ในขณะที่ African pouched rat จะหาอาหารบนพื้นดินและเก็บไว้ในกระพุ้งแก้มจนกว่าจะเต็ม แล้วจึงกลับไปยังโพรงเพื่อที่จะได้อาหารนั้นมาออกมาเลือกกิน[26]

Agouti เป็นหนึ่งในไม่กี่กลุ่มที่สามารถเปิดเปลือกของผลบราซิลนัตได้ เนื่องจากผลบราซิลนัตมีเมล็ดที่มากกว่าที่จะกินได้ในหนึ่งมื้อ Agouti จึงได้ถือเมล็ดที่เหลือไปด้วย ซึ่งก่อให้เกิดการกระจายอนาเขตของพืชเพราะยังมีเมล็ดหลงเหลืออยู่และเมล็ดนั้นห่างไกลจากต้นกำเนิด ต้นอื่นที่มีผลเป็นลูกนัตมีแนวดน้มที่จะออกผลมากเกินกว่าที่ต้องการในช่วงฤดูใบไม้ร่วง กระรอกจะนำผลเหล่านี้กักตุนในรอกแยกหรือพื้นที่กลวงของต้นไม้เพื่อไว้กินคราวหน้า ในเขตทะเลทรายผลเมล็ดมักจะมีเพียงเวลาสั้นๆ เท่านั้น หนูจิงโจ้ (kangaroo rat) จึงจะเก็บเมล็ดเหล่านี้เท่าที่เก็บได้ และนำไปกักตุนในโพรงเพื่อไว้ใช้คราวหน้า[26]

แคพิบาราเล็มทุ่งหญ้า

อีกกลยุทธ์ในการจัดการกับปริมาณทรัพยากรอาหารที่แตกต่างตามฤดูกาลคือการกินให้ได้มากที่สุดและสะสมสารอาหารในรูปแบบไขมัน มาร์มอตทำเช่นนี้โดยที่น้ำหนักตัวของมันในฤดูใบไม้ร่วงอาจจะร้อยล่ะ 50 มากกว่าน้ำหนักในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เพราะว่ามาร์มอตพึ่งพาไขมันที่สะสมในการจำศีลช่วงฤดูหนาว[26] บีเวอร์กินใบไม้และเปลือกไม้ชั้นในของต้นไม้ที่กำลังโตและพืชน้ำ บีเวอร์สะสมอาหารที่ไว้ใช้สำหรับฤดูหนาวโดยการตัดต้นไม้ต้นเล็กและกิ่งไม้ที่มีใบในฤดูใบไม่ร่วงและปักไม้เหล่านั้นไว้ในดินที่อยู่ใต้แอ่งน้ำ บีเวอร์จึงสามารถมีอาหารใต้น้ำไว้กินได้ตลอดฤดูหนาวถึงแม้ว่าพื้นผิวน้ำของแอ่งจะเป็นน้ำแข็งก็ตาม[27]

ถึงแม้สมาชิกของอันดับสัตว์ฟันแทะจะถูกเรียกว่าเป็นสัตว์กินพืชโดยทั่วไป หลายสมาชิกโดยเฉพาะสมาชิกที่มีดครงสร้างร่างกายพิเศษ กินแมลง ปลา หรือเนื้อสัตว์ควบคู่กับพืช การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของระบบฟันหนูตรงกันกับความคิดที่ว่าสมาชิกดั้งเดิมของอันดับสัตว์ฟันแทะเป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและเนื้อมากกว่าที่เป็นสัตว์กินพืช การศึกษาทางวรรณกรรมแสดงให้เห็นว่าหลายสมาชิกของ Sciuromorpha และ Myomorpha และบางสมาชิกของ Hystricomorpha มีการกินเนื้อเยื้อจากสัตว์ปกติตามธรรมชาติหรือได้เตรียมที่จะกินอาหารดังกล่าวเมื่อถูกนำเสนอในเวลาถูกจองจำ จากการตรวจสอบอาหารในกระเพาะของ North American white-footed mouse พบว่าร้อยล่ะ 34 ของอาหารทั้งหมดเป็นเนื้อสัตว์ ถึงแม้ว่าโดยปกติสมาชิกนี้ถือว่าเป็นสัตว์กินพืช[28]

สัตว์กินเนื้อชนิดพิเศษอื่นๆ ได้แก่ Shrewlike rat ของฟิลิปปินส์ซึ่งกินแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีเนื้อนุ่ม และ Australian water rat ซึ่งกินแมลงในน้ำ ปลา กุ้ง ครัสเตเชีย หอย หอยทาก กบ ไข่นก และนกน้ำ[28][29] grasshopper mouse จากเขตแล้งของทวีปอเมริกาตอนเหนือมีแหล่งอาหารหลักคือแมลง แมงป่อง และหนูขนาดเล็กชนิดอื่น ในขณะที่มีพืชเป็นแหล่งอาหารย่อย มีลำตัวที่อ้วนเล็กน้อย มีขาสั้นและหาง แต่มีความว่องไวมากและสามารถเอาชนะเหยื่อที่มีร่างกายได้มากเท่ากับตัวเอง[30]

พฤติกรรมทางสังคม

แพรรีด็อกสร้างโพร่งและอยู่เป็นฝูง

สัตว์ฟันแทะมีความหลากหลายในพฤติกรรมทางสังคม ซึ่งมีตั้งแต่ระบบสังคมแบบพึ่งพาอาศัยของตุ่นหนูไร้ขน (naked mole-rat)[31] ระบบสังคมแบบอานาเขตของแพรรีด็อก[32] การอยู่เป็นกลุ่มครอบครัวจนถึงการอยู่อย่างสันโดษเช่น ดอร์เมาส์กินได้ (edible dormouse) ดอร์เมาส์ที่โตเต็มวัยอาจจะมาอนาเขตแหล่งอาหารที่ทับซ้อนกับตัวอื่น แต่ดอร์เมาส์มีรังเป็นของตัวเองและหากินเดี่ยว ยกเว้นช่วงฤดูผสมพันธุ์ที่ดอร์เมาส์จะเจอกันและผสมพันธุ์ โกเฟอร์เป็นสัตว์สันโดษยกเว้นช่วงฤดูผสมพันธุ์ โดยแต่ล่ะตัวนั้นจะขุดโพรงที่ซับซ้อนและมีอนาเขตเป็นตัวเอง[12]

สัตว์ฟันแทะที่มีขนาดใหญ่มักจะอาศัยเป็นครอบครัวโดยที่พ่อและแม่จะอยู่กับลูกจนกว่าที่ลูกนั้นจะออกจากครอบครัว ตัวอย่างเช่น บีเวอร์ โดยครอบครัวมักจะประกอบไปด้วยผู้ใหญ่หนึ่งคู่ ลูกของปีนี้ และลูกของปีที่แล้วหรือแก่กว่านี้เป็นบางครั้ง[33] หนูบ้านมักที่อยู่อาศัยแบบฝูงที่มีขนาดเล็กโดยมีสมาชิกเพศเมียหกตัวขึ้นไปอาศัยอยู่ในโพรง ในขณะที่ตัวผู้ป้องกันอนาเนตบริเวณโพรง แต่ทว่าระบบนี้จะเปลื่ยนเมื่อมีความหนาแน่นของประชากรเพิ่มขึ้น โดยตัวผู้จะมีการจัดลำดับความสำคัญในสังคมที่ซับซ้อน ลูกตัวเมียยังคงอาศัยอยู่ในโพรงเป็นกลุ่ม ในขณะที่เมื่อลูกตัวผู้โตพอประมาณแล้วจะออกจากรัง[34] ในขณะที่หนูนาแพรรี (Prairie vole) มีพฤติกรรมการผสมพันธุ์แบบผัวเดียวเมียเดียว ซึ่งเมื่อสัตว์เลือกคู่ผสมพันธุ์ได้แล้วจะอยู่กับคู่ผสมพันธุ์ตลอดชีวิต ในช่วงเวลานอกฤดูผสมพันธุ์หนูนาแพรรีจะอาศัยเป็นกลุ่มเล็ก โดยตัวผู้ไม่แสดงอาการก้าวร้าวต่อตัวผู้ตัวอื่นจนกว่าเมื่อตัวผู้จะเจอคู่ครอง ซึ่งในเวลานั้นตัวผู้จะป้องกันตัวเมีย อนาเขต และรังจากตัวผู้อื่น ตัวเมียและตัวผู้จะอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด ทำความสะอาดให้ซึ่งกันและกัน และแบ่งปันหน้าที่ดูแลลูกกับรังด้วยกัน[35]

รังของตุ่นหนูไร้ขน

ในบรรดาสัตว์ฟันแทะที่เป็นสัตว์มีสังคมมากที่สุดคือกระรอกดิน ซึ่งอยู่อาศัยกันเป็นฝูงโดยที่มีตัวเมียที่สร้างเป็นระบบเครือญาติในขณะที่ตัวผู้จะกระจายตัวออกจากกลุ่มหลังจากที่หย่านมแม่และอาศัยอย่างแร่รอนเมื่อโตเต็มวัย การร่วมมือของกระรอกดินมีความแตกต่างกันในแต่ล่ะสายพันธุ์ แต่โดยทั่วไปแล้วมักรวม การแจ้งเตือนภัย การป้องกันอนาเขต การแบ่งปันอาหาร การป้องกันพื้นที่บริเวณรัง และการขัดขวางการฆ่าทารก[36] แพรรีด็อกหางดำ (Black-tailed prairie dog) อยู่อาศัยเป็นฝูงและมีการสร้างโพรงที่มีลักษณะคล้ายเมืองขนาดใหญ่ซึ่งอาจครอบคลุมได้หลายเฮกตาร์ โดยที่แต่ล่ะโพรงจะไม่เชื่อมต่อซึ่งกันและกันแต่ครอบครองโดยแต่ล่ะอนาเขตของครอบครัวที่เรียกว่าหมู่ (coteries) ในแต่ล่ะหมู่มักจะมีหนึ่งตัวผู้ที่โตเต็มวัย สามหรือสี่ตัวเมียที่โตเต็มวัย ลูกที่ยังไม่ผสมพันธุ์และมีอายุหนึ่งปี และลูกของปีนี้ โดยสมาชิกในกลุ่มจะเป็นมิตรซึ่งกันและกันแต่จะแสดงอาการก้าวร้าวกับสมาชิกภายนอก[32]

ตุ่นหนูไร้ขนและหนูตุ่นแดมมาร่าแลนด์ (Damaraland mole-rat) แสดงให้ถึงลักษณะการอยู่กันเป็นฝูงอย่างมาก โดยที่ตุ่นหนูไร้ขนอยู่อาศัยภายใต้ดินตลอดเวลาและสร้างฝูงที่มีสมาชิกมากถึงแปดสิบสมาชิก แต่ทว่ามีเพียงหนึ่งตัวเมียและตัวผู้ได้ถึงสามตัวในฝูงที่ผสมพันธุ์ ในขณะที่สมาชิกอื่นมีขนาดเล็กกว่า เป็นหมัน และมีหน้าที่หลักคือการทำงาน บางสมาชิกมีขนาดปานกลางซึ่งสามารถช่วยเลี้ยงดูตัวอ่อนและทำหน้าที่ผสมพันธุ์แทนเมื่อตัวขยายพันธุ์ตาย[37] หนูตุ่นแดมมาร่าแลนด์มีลักษณะเด่นโดยในฝูงจะมีเพียงตัวผู้และตัวเมียอย่างล่ะตัวที่ทำหน้าที่ขยายพันธุ์ ในขณะสมาชิกที่เหลือเป็นหมันอย่างไม่แท้จริงและสามารถผสมพันธุ์ได้ต่อเมื่อสมาชิกนั้นสร้างฝูงใหม่เอง[38]

การสื่อสาร

การรับกลิ่น

สายพันธุ์ที่แสดงความคติเห็นแก่ญาติเช่น หนูหริ่งบ้านพึ่งพากลิ่นจากมูล ปัสสาวะ และสารที่ขับจากต่อม ในการแยกแยะสัตว์ที่อยู่ตระกูลและสายพันธุ์เดียวกันจากสัตว์ต่างตระกูล

สัตว์ฟันแทะมีการวางเครื่องหมายกลิ่นในบริบททางสังคมต่างๆ ซึ่งรวมถึงการสื่อสารระหว่างภายในและนอกสายพันธุ์ การก่อตั้งอนาเขต และการกำหนดทางเคลื่อนที่ ข้อมูลทางพันธุกรรมที่พบจากปัสสาวะของสัตว์ฟันแทะให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวมันเองเช่นเพศ สายพันธุ์ ระดับชั้นทางสังคม สถานการณ์สืบพันธุ์ และสุขภาพ ปัสสาวะของสัตว์ฟันแทะยังมีโปรตีนที่เกาะกับสารประกอบที่ได้จากลุ่มของยีนซึ่งเป็นตัวกำหนดและควบคุมลักษณะของแอนติเจนบนผิวเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการตอบรับหรือปฏิเสธเนื้อเยื้อรวมทั้งการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน (major histocompatibility complex, MHC) พฤติกรรมการวางกลิ่นของสัตว์ฟันแทะสามารถถูกรบกวนได้ด้วยกลิ่นตัวของนักล่าซึ่งอาจจะมีผลยาวนาน (ขั้นต่ำเจ็ดวัน)[39]

สัตว์ฟันแทะสามารถแยกแยะสัตว์ที่อยู่ตระกูลและสายพันธุ์เดียวกันจากสัตว์ต่างตระกูลได้ด้วยกลิ่น ซึ่งสัตว์จะแสดงความคติเห็นแก่ญาติต่อสัตว์สายตระกูลและสายพันธุ์เดียวกันและหลีกเหลียงการการผสมเลือดชิด กลิ่นที่สัตว์ได้รับสามารถมาได้จากมูล ปัสสาวะ และสารที่ขับจากต่อม นอกจากนี้แล้วความสามารถในการแยกแยะนี้อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ MHC โดยที่ระดับความสัมพันธ์ของสัตว์สองตัวจะเกี่ยวข้องกับความคล้ายคลึงกันของยีน MHC ในขณะที่การสื่อสารระหว่างสัตว์ต่างสายพันธุ์ต้องมีเครื่องหมายกลิ่นที่อยู่คงนานกว่า เพราะฉะนั้นแล้วสัตว์อาจจะใช้โปรตีนหลักในปัสสาวะ (Major urinary proteins, MUPs) ที่ไม่สามารถระเหยได้เป็นตัวขนส่งฟีโรโมน นอกจากนี้แล้วสัตว์ฟันแทะอาจจะใช้ MUPs ในการส่งสัญญาณบ่งบอกถึงสถานะของตัวเองอย่างเช่น หนูหริ่งบ้านตัวผู้ที่ขับปัสสาวะที่มี MUPs อยู่จำนวนมาก[40]

หนูหริ่งบ้านขับปัสสาวะที่มีฟีโรโมนสำหรับการก่อตั้งอนาเขต การแยกแยะสมาชิกในกลุ่ม และระดับชั้นทางสังคม[41] บีเวอร์และกระรอกแดง (red squirrel) สามารถรับรู้ถึงกลิ่นของสมาชิกในอนาเขตเพื่อนบ้าน ส่งผลให้มีการตอบสนองต่อการบุกรุกโดยสมาชิกของอนาเขตเพื่อนบ้านรุนแรงน้อยกว่าสมาชิกต่างถิ่นหรือแปลกหน้า ประกฎการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า Dear enemy effect[42][43]

การรับฟัง

หนูเดกู (common degu) มีระบบเสียงที่ซับซ้อน

สัตว์ฟันแทะหลายชนิดโดยเฉพาะสัตว์สังคมที่หากินตอนกลางวันมีวิธีการแจ้งเตือนภัยที่หลากหลายเมื่อสัตว์รู้สึกอันตราย โดยพฤติกรรมของสัตว์นี้ให้ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งโดยตรงและไม่โดยตรง สัตว์ผู้ล่าอาจจะหยุดการล่าเมื่อถูกพบเจอหรือการที่สัตว์ผู้ถูกล่าได้แจ้งเตือนสัตว์พันธุ์ใกล้หรือเดียวกันให้อพยพ[44] สัตว์หลายพันธุเช่นแพรรีด็อกมีระบบการเตือนภัยผู้ล่าที่ซับซ้อน ซึ่งวิธีการเตือนภัยขอแพรรีด็อกจะแตกต่างกันเมื่อพบเจอผู้ล่าแตกต่างพันธุ์ (เช่นสัตว์ปีกหรือสัตว์บก) โดยในแต่ล่ะวิธีการเตือนภัยจะมีข้อมูลที่เม่นยำและความฉุกเฉินต่อเกี่ยวกับภัยอันตราย[45][46]

สัตว์ฟันแทะที่มีสังคมมีความหลากหลายในระบบเสียงมากกว่าสัตว์ฟันแทะที่อยู่อย่างสันโดษ สิบห้าเสียงที่แตกต่างกันได้ถูกพบเจอใน Fukomys micklemi ที่โตเต็มวัยและลูกสัตว์สี่ตัว[47] เช่นเดียวกับหนูเดกู (common degu) ซึ่งเป็นหนูที่มีสังคมและขุดหลุมอีกชนิดหนึ่ง มีวิธีการสื่อสารที่หลากหลายและเสียงที่มีถึงสิบห้าชนิดด้วยกัน[48] นอกจากนี้แล้วการสื่อสารของหนูดอร์เมาส์มีการใช้เสียงที่มีความถี่สูงเมื่ออยู่ไกลกัน[49]

หนูหริ่งบ้านใช้เสียงที่คนสามารถได้ยินได้และเสียงที่มีความถี่สูงในโอกาสต่างๆ โดยที่เสียงที่คนสามารถได้ยินนั้นมักเป็นเสียงที่ใช้เมื่อเผชิญหน้ากับสิ่งอันตราย ในขณะที่เสียงที่มีความถี่สูงใช้สำหรับการหาคู่ผสมพันธุ์และลูกหนูหริ่งบ้านเมื่อตกจากรัง[41]

มาร์มอตกำลังผิวปาก

หนูทดลอง (โดยส่วนมากจะเป็นหนูบ้าน ) เสียงที่สั้นและมีความถี่สูงเมื่อรู้สึกดีในเวลาเช่นเล่น รอคอยการฉีดมอร์ฟีน ผสมพันธุ์ หรือถูกจักจี้ โดยเสียงของหนูทดลองมีลักษณะคล้ายเสียงหัวเราะและถูกตีความว่าเป็นเสียงการคาดหวังถึงสิ่งที่ทำให้มีความสุข จากการศึกษาในคลินิก เสียงนี้ของหนูทดลองมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกทางอารมณ์ในเชิงบวกและการสร้างความสัมพันธ์เมื่อถูกจักจี้ ซึ่งส่งผลให้หนูทดลองมีความแสวงหาการถูกจักจี้มากขึ้น แต่ทว่าเมื่ออายุของหนูเพิ่มขึ้นความต้องการนั้นลดลง เช่นเดียวกับเสียงของสัตว์ฟันแทะอื่น เสียงของหนูทดลองมีความถี่ที่สูงมากเกินกว่าที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้ถ้าไม่มีอุปกรณ์พิเศษเช่น เครื่องตรวจหาค้างคาว[50]

การมองเห็น

เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีสายรกยกเว้นสัตว์ในอันดับวานร สัตว์ฟันแทะมีเซลล์รับแสงรูปกรวยในจอตาอยู่สองชนิด[51]คือแบบความยาวคลื่นสั้น (สีน้ำเงิน-แสงอัลตราไวโอเลต) และแบบความยาวปานกลาง (สีเขียว) เพราะฉะนั้นสัตว์ฟันแทะถือว่าอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีตัวรับสีสองแบบ แต่ทว่าสัตว์ฟันแทะมีตัวรับแสงที่ไวต่อสเปกตรัมของแสงอัลตราไวโอเลต ซึ่งสามารถให้สัตว์ฟันแทะเห็นแสงที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ โดยข้อมูลเกี่ยวกับความไวต่อแสงอัลตราไวโอเลตยังไม่เป็นที่แน่ชัดเช่น หนูเดกู (common degu) มีท้องที่สามารถสะท้อนแสงอัลตราไวโอเลตได้มากกว่าผิวบนหลัง เพราะฉะนั้นแล้วเมื่อหนูเดกูรู้สึกตื่นตระหนก ส่งผลให้หนูเดกูยืนขึ้นด้วยขาหลังซึ่งทำให้หน้าท้องของมันเปิดเผยและสะท้อนแสงอัลตราไวโอเลตไปยังหนูตัวอื่นเพื่อส่งสัญญาณเตือนภัย ในทางกลับกันเมื่อหนูเดกูยืนด้วยสี่ขาการสะท้อนแสงอัลตราไวโอเลตจะลดลง ซึ่งลดโอกาสของสัตว์ผู้ล่าในการพบเจอหนูเดกู[52] แสงอัลตราไวโอเลตมีมากในช่วงกลางวันแต่ไม่ใช่ช่วงกลางคืน สัตว์ฟันแทะส่วนมากจะตื่นตัวในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นและลงซึ่งมีประโยชน์กับสัตว์ฟันแทะมากเพราะเป็นช่วงที่อัตราการการเพิ่มของแสงอัลตราไวโอเลตจะมากขึ้น ในขณะที่ความสามารถในการสะท้อนแสงอัลตราไวโอเลตอาจจะไม่มีประโยชน์มากสำหรับสัตว์ฟันแทะที่ออกหากินตอนกลางคืน[53]

ปัสสาวะของสัตว์ฟันแทะสามารถสะท้อนแสงอัลตราไวโอเลตเป็นอย่างดี เพราะเหตุนี้ปัสสาวะอาจจะสามารถใช้ในการสื่อสารระหว่างสัตว์ฟันแทะทางทั้งกลิ่นและการมองเห็น[54] แต่ทว่าอัตราการสะท้อนแสงอัลตราไวโอเลตของปัสสาวะจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งอาจจะให้โทษให้แก่สัตว์ฟันแทะเพราะเหยี่ยวเคสเตรลสามารถแยกแยะหว่างเครื่องหมายกลิ่นปัสสาวะของสัตว์ฟันแทะที่ใหม่และเก่าได้ ซึ่งเพิ่มความสำเร็จในการล่าของเหยี่ยวถ้าปัสสาวะของสัตว์ฟันแทะนั้นยังใหม่[55]

การวางแผน

หนูตุ่นไร้ขนตะวันออกกลาง (Middle East blind mole rat) ใช้การสื่อสารด้วยการสร้างแรงสั่นสะเทือนในดิน

การสั่นสะเทือนเป็นการส่งสัญญาณให้กับสัตว์สายพันธุ์เดียวกันเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำเฉพาะทางของสัตว์ตัวหนึ่ง การแจ้งเตือนถึงภัยอันตรายและการมาผู้ล่า การดูแลฝูงหรือญาติ และการเกี้ยวพาราสี หนูตุ่นไร้ขนตะวันออกกลาง (Middle East blind mole rat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตัวแรกที่ถูกพบเจอว่ามีการสื่อสารด้วยการสร้างแรงสั่นสะเทือน โดยที่หนูตุ่นไร้ขนนี้จะกระแทกหัวตัวเองเข้ากับกำแพงในโพรงของมัน โดยตอนแรกการกระทำนี้ถูกตีความว่าเป็นหนึ่งในพฤติกรรมการขุดโพรงของหนูตุ่นไร้ขน แต่ทว่านักสัตววิทยาค้นพบตอนหลังว่าการกระทำนี้ใช้เป็นการสื่อสารทางไกลกับหนูตุ่นไร้ขนตัวอื่น[56]

การสร้างแรงสั่นสะเทือนด้วยเท้าถูกใช้ส่วนมากเพื่อเป็นการเตือนนักล่าหรือการป้องกันตัวเอง ซึ่งพฤติกรรมนี้ใช้โดยสัตว์ที่อาศัยอยู่ใต้ดินเป็นหลักหรือบางครั้ง[57] หนูจิงโจ้หางลายธง (banner-tailed kangaroo rat) สามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนด้วยเท้าในหลายรูปแบบในแต่ล่ะโอกาสเช่น เมื่อพบเจองู การสร้างแรงสั่นสะเทือนด้วยเท้าอาจจะเตือนภัยแก่ลูกของหนูจิงโจ้ได้ แต่ทว่าสาเหตุหลักของการกระทำนี้คือการแสดงให้งูเห็นว่าหนูจิงโจ้ตื่นตระหนกเกินกว่าที่งูจะสามารถล่าหนูได้อย่างสำเร็จ ซึ่งทำให้งูนั้นล้มเลิกการล่า[56][58] หลายการศึกษาพบว่าหนูตุ่นรัฐเคป (Cape mole rat) มีการใช้แรงสั่นสะเทือนของดินสำหรับการหาคู่ผสมพันธุ์[59] โดยการสร้างแรงสั่นสะเทือนด้วยเท้าจะถูกใช้เมื่อมีการแข่งขันในหมู่ตัวผู้เพื่อแย่งตัวเมีย ตัวผู้ที่แข็งแรงกว่าจะแสดงศักยภาพในการสร้างแรงสั่นสะเทือน เพื่อหลีกเหลี่ยงการต่อสู้ทางกายภาพกับคู่แข่งซึ่งสามารถสร้างการบาดเจ็บให้ทั้งสองฝั่งได้[56]

กลยุทธ์การผสมพันธุ์

กระรอกดินเคปเป็นตัวอย่างของสัตว์ฟันแทะที่มีพฤติกรรมความสำส่อน

สัตว์ฟันแทะบางชนิดมีลักษณะการผสมพันธุ์แบบผัวเดียวเมียเดียว ซึ่งมีสองรูปแบบหลัก โดยในรูปแบบแรกทั้งพ่อและแม่จะดูแลลูกและมีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตอยู่ของลูก การที่ตัวผู้ผสมพันธุ์กับคู่ของตัวเองเท่านั้นมีประโยชน์เนื่องจากตัวผู้ลดโอกาสในการที่ไม่เจอคู่ผสมพันธุ์ตัวใหม่หรือผสมพันธุ์กับตัวเมียที่เป็นหมัน สัตว์อันดับฟันแทะที่ใช้รูปแบบนี้คือ หนูแคลิฟอร์เนีย (California mouse) หนูโอลด์ฟิลด์ (Oldfield mouse) หนูยักษ์มาลากาซี (Malagasy giant rat) และบีเวอร์ ในขณะที่รูปแบบที่สอง ตัวผู้ไม่สามารถดูแลลูกและอยู่กับตัวเมียได้ ตัวอย่างของสัตว์ฟันแทะที่ใช้รูปแบบนี้คือหนูนาแพรรี (Prairie vole) โดยที่ตัวผู้จะอยู่ในบริเวณรังและมีหน้าที่ป้องกันตัวเมียและลูกจากผู้ล่า[60]

สัตว์ฟันแทะชนิดอื่นมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์แบบผัวเดียวหลายเมีย โดยตัวผู้จะผสมพันธุ์กับตัวเมียหลายตัว พฤติกรรมนี้แบ่งออกเป็นสองชนิดหลัก โดยชนิดแรกตัวผู้จะครอบครองอนาเขตที่มีทรัพยากรมากเพื่อดึงดูดตัวเมีย สัตว์กลุ่มที่มีพฤติกรรมลักษณะแรกได้แก่ มาร์มอตท้องเหลือง (Yellow-bellied marmot) กระรอกดินแคลิฟอร์เนีย (California ground squirrel) กระรอกดินโคลัมเบีย (Columbian ground squirrel) กระรอกดินริชาร์ดสัน (Richardson's ground squirrel) ตัวผู้ที่ปกครองอนาเขตนั้นถือว่าเป็น “พ่อบ้าน” ในขณะที่ตัวเมียที่อาศัยในอนาเขตนั้นถือว่าเป็น “แม่บ้าน” ในกรณีของมาร์มอต ตัวผู้ที่เป็นพ่อบ้านจะสู้เพื่ออนาเขตของตัวเองและชนะผู้บุกรุกตัวผู้เป็นบ่อยครั้ง สัตว์ฟันแทะบางชนิดปกป้องตัวเมียที่เป็นแม่บ้านโดยตรงและการต่อสู้อาจจะก่อความบาดเจ็บสาหัสแก่ทั้งสองฝั่ง ในขณะที่พฤติกรรมแบบที่สอง ตัวผู้จะไม่อยู่เป็นหลักเป็นฐานแต่จะเดินเรื่อย ๆ เพื่อหาตัวเมียที่จะครองครอง ตัวผู้เหล่านี้มีลำดับชั้นทางสังคม โดยที่ตัวผู้ที่มีลำดับชั้นสูงจะมีโอกาสเข้าถึงตัวเมียมากกว่าตัวผู้ที่มีลำดับชั้นต่ำ พฤติกรรมเกิดขึ้นในกลุ่มสัตว์ฟันแทะเช่น กระรอกดินเบลดิง (Belding's ground squirrel) และกระรอกต้นไม้บางชนิด[60]

แท่งกันชู้ (mating plug) ในตัวเมียของกระรอกดินเบลดิง (Belding's ground squirrel)

พฤติกรรมความสำส่อนเกิดขึ้นในทั้งตัวผู้และตัวเมียของสัตว์ฟันแทะบางชนิด ในกรณีของหนูเท้าขาว (White-footed mouse) ตัวเมียจะมีลูกหลายตัวที่มาจากต่างพ่อ พฤติกรรมความสำส่อนก่อให้เกิดการแข่งขันทางอสุจิโดยตัวผู้มักจะมีอัณฑะที่ใหญ่ ในกรณีของกระรอกดินเคป อัณฑะของตัวผู้อาจจะมีความยาวได้ถึงร้อยล่ะ 20 ของความยาวหัวจรดตัว[60] สัตว์ฟันแทะบางชนิดมีพฤติกรรมการเลือกคู่ผสมพันธุ์ที่ไม่ตายตัวซึ่งสามารถมีได้ทั้งแบบผัวเดียวเมียเดียว ผัวเดียวหลายเมีย และสำส่อน[60]

ตัวเมียของสัตว์ฟันแทะมีบทบาทสำคัญในการเลือกคู่ผสมพันธุ์ โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลกับการตัดสินใจของตัวเมียได้แก่ ขนาดตัว อันดับทางสังคม และการเคลื่อนไหวของตัวผู้[61] ในกรณีของหนูตุ่นที่มีลักษณะทางสังคมแบบหนึ่งตัวเมียของฝูงทำหน้าที่สืบพันธุ์ในขณะที่ตัวเมียตัวอื่นมีหน้าที่ดูแลเด็ก หนึ่งตัวเมียจะปกครองฝูงและผสมพันธุ์กับตัวผู้อย่างน้อยสามตัว[37]

ในสัตว์ฟันแทะหลายชนิดเช่น หนูบ้านและหนูหริ่งบ้าน วงจรการตกไข่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่สัตว์ฟันแทะชนิดอื่นเช่น หนูนา (Vole) การผสมพันธุ์จะกระตุ้นวงจรการตกไข่ ในระหว่างที่ผสมพันธุ์ตัวผู้ของสัตว์ฟันแทะบางชนิดจะวางแท่งกันชู้ (mating plug) บนทางเปิดของอวัยะเพศของตัวเมีย ซึ่งจะป้องกันการรั่วไหลของอสุจิและป้องกันไม่ให้ตัวผู้อื่นฉีดอสุจิให้ตัวเมีย ตัวเมียสามารถนำแท่งกันชู้ออกได้เลยหรือหลายชั่วโมงหลังจากการผสมพันธุ์[61]

การเกิดและการเลี้ยงดู

ตัวอ่อนของหนูนาแบงค์ (Bank vole) อาศัยอยู่ในรังใต้กองไม้

สัตว์ฟันแทะอาจจะเกิดมาเป็นตัวอ่อนที่ด้อยพัฒนา (มีขนน้อยและไม่สามารถมองเห็นได้) หรือตัวอ่อนที่พัฒนา (มีขนมากและมองเห็นได้) ขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ โดยส่วนมากกระรอกและหนูจะออกลูกเป็นตัวอ่อนที่ด้อยพัฒนา ในขณะที่หนูตะเภาและเม่นจะออกลูกเป็นตัวอ่อนที่พัฒนา โดยทั่วไปตัวเมียของสัตว์ที่ออกลูกด้วยพัฒนาจะสร้างรังอย่างปณีตก่อนที่จะออกลูก ต่อมาตัวเมียจะดูแลลูกจนกว่าลูกจะหย่านม ตัวเมียจะออกลูกโดยการนั่งหรือนอนลงและลูกจะออกออกมาในทางที่ตัวเมียหันหน้า ลูกที่เกิดมาใหม่นั้นสามารถเดินทางออกจากรังเมื่อสามารถเห็นได้แล้วและจะกลับยังรังบ่อยครั้ง จนกระทั้งเมื่อลูกโตและพัฒนามากขึ้นลูกจะกลับมายังรังน้อยลง เมื่อลูกหย่านม ลูกจะออกจากรังอย่างถาวร[62]

ในสัตว์ที่ออกตัวอ่อนที่พัฒนา ตัวเมียมักจะไม่ค่อยสร้างรังที่ละเอียดและซับซ้อนมากในขณะที่ตัวเมียบางตัวไม่สร้างรัง ตัวเมียจะยืนระหว่างออกลูกและลูกจะออกมาทางด้านหลังของตัวเมีย ตัวเมียของสัตว์ที่ออกลูกที่พัฒนาแล้วจะรักษาการติดต่อกับลูกที่เคลื่อนไหวได้ด้วยเสียงเรียกของแม่ ถึงแม้ว่าลูกจะสามารถอยู่รอดได้ด้วยตัวเองและหย่านมแล้ว ลูกยังคงถูกดูแลโดยแม่ต่อไป ตัวเมียออกจำนวนลูกต่อหนึ่งคอกแตกต่างกัน โดยตัวเมียที่ออกลูกน้อยจะใช้เวลาอยู่ในรังมากกว่าตัวเมียที่ออกลูกเยอะ[62]

พาตาโกเนียนมารา (Patagonian Mara) ที่โตเต็มวัยสองตัวอาศัยอยู่กับตัวอ่อน เป็นตัวอย่างของลักษณะการผสมพันธุ์แบบผัวเดียวเมียเดียและชนิดของสัตว์ที่มีการแบ่งปันรัง

ตัวเมียของสัตว์ฟันแทะสามารถดูแลลูกทั้งแบบโดยตรงเช่น การทำความสะอาดตัวและการขดตัวอยู่ใกล้ๆ และแบบทางอ้อมเช่น การหาอาหาร หาสร้างรัง และการปกป้องลูก ในหลายสัตว์ฟันแทะที่มีสังคม ลูกอาจจะถูกดูแลโดยสัตว์ตัวอื่นนอกเหนือจากพ่อแม่ของมัน ซึ่งเป็นการกระทำที่เรียกว่าการดูแลเด็กที่ไม่ใช่ของตัวเอง (alloparenting) หรือ cooperative breeding โดยพฤติกรรมการดูแลนี้เกิดขึ้นกับแพรรีด็อกหางดำ (Black-tailed prairie dog) และกระรอกดินเบลดิง (Belding's ground squirrel) โดยที่ตัวเมียหลายตัวจะสร้างหลายรังและดูแลทั้งลูกของตัวเองและลูกของตัวอื่น พฤติกรรมนี้ก่อให้เกิดคำถามที่ว่าแม่เหล่านี้สามารถแยกแยะระหว่างลูกของตัวเองจากของตัวอื่นได้หรือไม่ ในกรณีของพาตาโกเนียนมารา (Patagonian Mara) ลูกจะอยู่ในรังที่แบ่งปันกับลูกของตัวอื่นด้วยกัน แต่ทว่าแม่จะไม่อนุญาตให้ลูกสัตว์ของตัวอื่นดูแลลูกนอกเหนือจากของตัวเอง[63]

พฤติกรรมการฆ่าเด็กอ่อนเกิดขึ้นในสัตว์ฟันแทะหลายชนิด และอาจจะมีในสัตว์เต็มวัยชนิดเดียวกันทั้งตัวผู้และตัวเมีย ปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมอาจจะมีได้ทั้ง ความเครียดด้านอาหาร การแข่งขันด้านทรัพยากรอาหาร หลีกเหลี่ยงการดูแลที่ผิดผลาด และในกรณีของตัวผู้ ทำให้ตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ โดยเหตุผลอันดับสุดท้ายเกิดขึ้นบ่อยครั้งในสัตว์อันดับวานรและสิงโต แต่น้อยครั้งในสัตว์อันดับฟันแทะ[64] พฤติกรรมการฆ่าเด็กอ่อนเกิดขึ้นบ่อยครั้งในแพรรีด็อกหางดำ (Black-tailed prairie dog) ซึ่งรวมถึงการฆ่าเด็กอ่อนโดยผู้บุกรกที่เป็นตัวผู้ ผู้อพยพที่เป็นตัวเมีย และพฤติกรรมการกินลูกตัวเองของสัตว์[65] โดยการป้องกันการฆ่าเด็กอ่อนจากสัตว์เต็มวัยตัวอื่น ตัวเมียอาจจะแสดงอาการก้าวร้าวต่อสัตว์ตัวนั้น ผสมพันธุ์หลายครั้ง ป้องกันอนาเขตของตัวเอง หรือการออกลูกก่อนกำหนด[64] พฤติกรรมการฆ่าทารกในครรภ์เกิดขึ้นในสัตว์ฟันแทะเช่นกัน ในกรณีของมาร์มอตแอลไพน์ (Alpine marmot) ตัวเมียที่มีอันดับทางสังคมที่สูงจะข่มการผสมพันธุ์ของตัวเมียตัวอื่นโดยแสดงอาการไม่เป็นมิตรต่อตัวเมียตัวอื่นในระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลให้เกิดการแท้งของทารกในครรภ์[66]

ความฉลาด

หนูจิงโจ้สามารถค้นหาตำแหน่งของอาหารด้วยความจำเกี่ยวกับสถานที่

สัตว์ฟันแทะมีความสามารถทางปัญญาที่สูง โดยสัตว์สามารถเรียนรู้ที่จะหลีกเหลี่ยงเหยื่ออาหารที่เป็นพิษได้ซึ่งทำให้เป็นสัตว์ก่อความวุ่นวายที่ยากต่อการกำจัด หนูตะเภาสามารถเรียนรู้และจำเส้นทางไปยังอาหารที่ซับซ้อน[67] กระรอกและหนูจิงโจ้สามารถค้นหาตำแหน่งของอาหารได้ด้วยความจำเกี่ยวกับสถานที่นอกเหนือจากการดมกลิ่น[68][69]

ความรู้เกี่ยวกับความสามารถทางปัญญาของสัตว์ฟันแทะมีความก้าวหน้ามากขึ้นเนื่องจากการนำหนูหริ่งบ้านและหนูบ้านมาเป็นสัตว์ทดลอง หนูบ้านมีความเอนเอียงทางประชาน โดยการประมวลผลข้อมูลจะเอนเอียงขึ้นอยู่กับสภาวะทางจิตใจ[70] ตัวอย่างเช่นเมื่อหนูทดลองถูกฝึกให้ตอบสนองต่อโทนเสียงเฉพาะโดยการกดคันโยดเพื่อรับรางวัลและกดคันโยกอื่นเมื่อได้ยินอีกโทนเสียงเพื่อหลีกเหลี่ยงการถูกไฟฟ้าช็อต หนูทดลองตัวนั้นมักจะต่อสอบสนองต่อเสียงที่อยู่ระหว่างโทนเสียงทั้งสองโดยการกดขั้นโยกที่ได้รับรางวัลก่อต่อเมื่อหนูตัวนั้นได้ถูกจักจี้ (สิ่งที่หนูชอบ) การทดลองนี้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะจิตใจที่ดีและการตัดสินใจเมื่อพบเจอสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนของสัตว์ทดลอง[71]

นอกจากนี้แล้วหนูบ้านอาจจะมีความสามารถทางอภิปัญญา ซึ่งหมายถึงการตระหนักถึงการเรียนรู้ของตัวเองและตัดสินใจด้วยความรู้ที่มีหรือไม่มี โดยความคิดนี้สนับสนุนโดยผลการทดลองเกี่ยวกับการตัดสินใจของหนูบ้านเกี่ยวกับการเลือกหน้าที่ที่ง่ายกว่าและมีรางวัลสูง ซึ่งทำให้หนูเป็นสัตว์ที่สองหลังจากสัตว์อันดับวานรที่มีความสามารถนี้[72][73] แต่ทว่าผลการทดลองนี้มีข้อโต้แย้งอยู่เป็นจะนวนมากเนื่องจากหนูทดลองอาจจะเพียงทำตามที่ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (operant conditioning principles)[74] หรือโมเดลเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม[75] หนูบ้านใช้ความสามารถในการเรียนรู้สังคมในสถานการณ์หลายอย่างโดยเฉพาะการแสวงหาอาหารที่ชอบ[76][77]

การจัดจำแนกและวิวัฒนาการ

ประวัติวิวัฒนาการ

การเรียงของฟัน (Dentition) เป็นลักษณะสำคัญของฟอสซิลสัตว์ฟันแทะและการบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มาจากสมัยพาลีโอซีนซึ่งเป็นช่วงหลังจากการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ที่ไม่ใช่นกเมื่อ 66 ล้านปีทีแล้ว ฟอสซิลเหล่านี้ถูกพอเจอ ณ มหาทวีปลอเรเชีย ซึ่งรวมทวีป ณ ปัจจุบันได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย กลิเรสเป็นเคลดที่รวมอันดับสัตว์ฟันแทะและอันดับกระต่ายไว้ด้วยกัน โดยเคลดนี้แบ่งแยกออกจากเชื้อสายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่กี่ล้านปีหลังจาก Cretaceous-Tertiary boundary ต่อมาสัตว์ฟันแทะและกระต่ายจึงแพร่กระจายประชากรในช่วงมหายุคซีโนโซอิก[78] ผลจากข้อมูลของนาฬิกาอาศัยโครงสร้างโมเลกุล (molecular clock data) ชี้ให้เห็นว่าสัตว์ฟันแทะ ณ ปัจจุบันโพร่ขึ้นมาในปลายยุคครีเทเชียส แต่ทว่าการคาดการณ์ของงานวิจัยอื่นตรงกับการบันทึกฟอสซิลมากกว่า[79][80]

สัตว์ฟันแทะถูกเชื่อว่ามีแหล่งกำเนิดในเอเชีย ซึ่งเป็นสถานที่ที่สัตว์ multiuberculate ได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน และไม่เคยฟื้นฟูกลับได้ไม่เหมือนกับญาติในทวีอเมริกาเหนือและยุโรป ความว่างเปล่าในระบบนิเวศเปิดโอกาสให้สัตว์ฟันแทะและสัตว์อื่นในเคลดกลิเรสมีวิวัฒนาการและสามารถกระจายพันธุ์ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างการแพร่กระจายของสัตว์ฟันแทะและการสูญพันธุ์ของ multituberculates เป็นหัวข้อที่มีการถกเถียงเป็นอย่างมาก ความหลากหลายทางชีวภาพของ multituberculates อเมริกันและยุโรปลดลงเมื่อมีการนำเข้าของสัตว์อันดับฟันแทะในพื้นที่นี้ แต่ทว่า multituberculates ที่หลงเหลืออยู่ในเอเชียอาศัยรวมกันกับสัตว์ฟันแทะอย่างน้อย 15 ล้านปีและไม่พบเจอการแทนที่อยู่ของสัตว์[81]

ประวัติศาสตร์การปกครองทวีปบนโลกโดยสัตว์ฟันแทะมีความซับซ้อน การเคลื่อนไหวของวงศ์ใหญ่ Muroidea (รวมทั้ง แฮมสเตอร์ เจอร์บิล หนูที่แท้จริง) อาจจะรวมถึง 7 พื้นที่ในทวีปแอฟริกา 5 พื้นที่ในทวีปอเมริกาเหนือ 4 พื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2 พื้นที่ในทวีปอเมริกา และมีมากถึง 10 พื้นที่ในทวีปยูเรเชีย[82]

ความหลากลายทางชีวิตของสัตว์ฟันแทะเพิ่มในสมัยอีโอซีน บีเวอร์มีต้นกำเนิดอยู่ ณ ทวีปยูเรเซียในปลายสมัยอีโอซีนก่อนที่จะแพร่กระจายถิ่นฐานไปยังทวีปอเมริกาในปลายสมัยไมโอซีน[83] กลุ่มของเม่นโลกเก่า (Hystricognathi) คาดการว่ามีต้นกำเนิด ณ ทวีปเอเชียเมื่อ 39.5 ล้านปีที่แล้วและเริ่มที่จะบุกรุกไปยังทวีปแอฟริกาในช่วงปลายอีโอซีน[84] ฟอสซิลจากแอฟริกาบ่งบอกว่าสัตว์บางชนิดจากกลุ่มเม่นโลกเก่า (Caviomorpha) เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยลอยตามกระแสน้ำมาพร้อมกับเศษขยะ และแพร่กระจายประชากรในทวีปอเมริกาใต้[85] Caviomorpha มาถึงยังทวีปอเมริกาใต้เมื่อ 41 ล้านปีที่แล้ว[84]และถึงเกรตเตอร์แอนทิลลีสเมื่อต้นสมัยโอลิโกซีน ซึ่งบงบอกว่าสัตว์กลุ่มนี้แพร่กระจายอย่างต่อเนื่องบนทวีปอเมริกาใต้[86]

Nesomyid ถูกเชื่อว่าเดินทางจากทวีปแอฟริกาไปยังมาดากัสการ์เมื่อประมาณ 20-24 ล้านปีที่แล้ว[87] 27 ชนิดหมดของหนูมาลากาซีคาดว่าน่าจะสืบทอดมาจากเหตุการณ์การปกครองครั้งเดียว

ฟอสซิลที่เป็นของกลุ่มสัตว์เช่น วงศ์ Muridae เริ่มที่จะเกิดขึ้นเมื่อ 20 ล้านปีที่แล้ว[88] ในสมัยไมโอซีนเมื่อทวีปแอฟริกาเชื่อมกับทวีปเอเชีย สัตว์ฟันแทะทวีปแอฟริกาเช่น เม่น เริ่มที่จะแพร่กระจายประชากรในทวีปยูเรเซีย[89] Some fossil species were very large in comparison to modern rodents and included the giant beaver, Castoroides ohioensis, which grew to a length of 2.5 m (8 ft 2 in) and weight of 100 kg (220 lb).[90] ฟอสซิลของสัตว์บางชนิดมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับสัตว์ฟันแทะในยุคปัจจุบันรวมถึงบีเวอร์ยักษ์ (Castoroides ohioensis) ซึ่งสามารถโตและมีความยาวไดถึง 2.5 เมตรและมีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม สัตว์ฟันแทะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ Josephoartigasia monesi ซึ่งเป็น Pacarana ที่มีความยาวตัวได้ถึง 3 เมตร[91]

สัตว์ฟันแทะตัวแรกที่ถึงทวีปออสเตเรียมาจากอินโดนีเซียเมื่อ 5 ล้านปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้องจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นรู้จักเมื่อพูดถึงทวีปออสเตเรีย สัตว์ฟันแทะหลายชนิดซึ่งทั้งหมดอยู่ในวงศ์ย่อย Murinae เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมท้องถิ่นที่สำคัญ[92] โดยจะมีสัตว์ฟันแทะมีประมาณ 50 ชนิดที่ถือว่าเป็น “สมาชิกถ้องทิ่นเก่า” โดยในกลุ่มแรกของสัตว์ฟันแทะปกครองทวีปออสเตเรียเมื่อสมัยไมโอซีนหรือต้นสมัยไพลโอซีน ในขณะที่หนูที่แท้จริง 8 ชนิดซึ่งถือว่าเป็น “สมาชิกถ้องทิ่นใหม่” มาปกครองทวีปออสเตเรียเป็นกลุ่มที่สองในช่วงปลายสมัยไพลโอซีนหรือต้นสมัยไพลสโตซีน ฟอสซิลที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในทวีปออสเตเรียมีอายุได้มากถึง 4.5 ล้านปี[93]และข้อมูลจากนาฬิกาอาศัยโครงสร้างโมเลกุลตรงกับการปกครองเกาะนิวกินีช่วงตะวันตกเมื่อช่วงปลายสมัยไมโอซีนหรือต้นสมัยไพลโอซีนและตามมาด้วยการเพิ่มขึ้นของความหลาหลายทางชีวิต การแผ่ปรับตัวเกิดขึ้นอีกรอบเมื่อหลักจากการปกครองทวีปออสเตเรียหนึ่งครั้งหรือมากกว่าเมื่อ 2-3 ล้านปีต่อมา[94]

สัตว์ฟันแทะเข้ารวม the Great American Interchange ซึ่งเกิดขึ้นจากการเชื่อมต่อกันของทวีปอเมริกาใต้และเหนือด้วยแผ่นดินคอคอดปานามาเมื่อ 3 ล้านปีที่แล้วในสมัย Piacenzian[95] โดยการเชื่อมต่อนี้ทำให้กลุ่มของสัตว์จำนวนน้อยเช่น เม่นโลกใหม่ (Erethizontidae) เดินทางไปยังอเมริกาเหนือ[88] ในทางกลับกันการบุกรุกไปยังทางใต้ของ Sigmodontinae เกิดขึ้นไม่กี่ล้านปีก่อนที่ทวีปทั้งสองจะเชื่อมกันโดยสัตว์กลุ่มนี้เดินทางโดยวิธีการล่องแพ[96][97][98] Sigmodontinae กระจายตัวและเพิ่มความหลากหลายเป็นอย่างมากเมื่อถึงทวีปอเมริกาใต้ แต่ทว่าการหลากหลายของสัตว์กลุ่มนี้เกิดขึ้นบนอเมริกากลางแล้วก่อนการปกครองทวีปอเมริกาใต้[97][98] เนื่องจากการปกครองของสัตว์กลุ่มนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ระยะต้น ๆ ส่งผลให้สัตว์ฟันแทะทวีปอเมริกาเหนือเช่น sciurids geomyids heteromyids และ nonsigmodontine cricetids มีกลุ่มประชากรน้อยในสัตว์ทวีปอเมริกาใต้

การจัดจำแนกมาตรฐาน

ปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์

การอนุรักษ์

สัตว์เลี้ยง

การใช้ประโยชน์

อาหาร

สัตว์ทดลอง

สัตว์รำคาญและพาหะโรค

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  2. Mouse: A Secret Life, "Animal Planet Showcase" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 10 มกราคม 2556
  3. How is a Sugar Glider as a Pet? (อังกฤษ)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 Single, G.; Dickman, C. R.; MacDonald, D. W. (2001). "Rodents". ใน MacDonald, D. W. (บ.ก.). The Encyclopedia of Mammals (2nd ed.). Oxford University Press. pp. 578–587. ISBN 978-0-7607-1969-5.
  5. 5.0 5.1 5.2 Waggoner, Ben (15 August 2000). "Introduction to the Rodentia". University of California Museum of Paleontology. สืบค้นเมื่อ 4 July 2014.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 Nowak, R. M. (1999). Walker's Mammals of the World. Johns Hopkins University Press. p. 1244. ISBN 0-8018-5789-9.
  7. Blashfield, Jean F. "Rodents". Science Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 14 July 2014.
  8. Niemiec, Brook A. (15 October 2011). Small Animal Dental, Oral and Maxillofacial Disease: A Colour Handbook. CRC Press. p. 13. ISBN 978-1-84076-630-1.
  9. Cox, Philip G.; Jeffery, Nathan (2011). "Reviewing the Morphology of the Jaw-Closing Musculature in Squirrels, Rats, and Guinea Pigs with Contrast-Enhanced MicroCT". The Anatomical Record. 294: 915–928. doi:10.1002/ar.21381.
  10. Duckett, W. (1853). "cheek pouch". English conversation and reading. Ed Michel Levi. p. 3.
  11. Mustapha, O. (2015). "Morphology of the Oral Cavity of the African Giant Rat". Bulgarian Journal of Veterinary Medicine. 18 (1): 19–30. doi:10.15547/bjvm.793.
  12. 12.0 12.1 12.2 Stefoff, Rebecca (2008). The Rodent Order. Marshall Cavendish. pp. 62–63, 71–73. ISBN 978-0-7614-3073-5.
  13. Thorington, R. W Jr.; Darrow, K.; Anderson, C. G. (1998). "Wing tip anatomy and aerodynamics in flying squirrels" (PDF). Journal of Mammalogy. 79 (1): 245–250. doi:10.2307/1382860. JSTOR 1382860.
  14. Schulte-Hostedde, A. I. (2008). "Chapter 10: Sexual Size Dimorphism in Rodents". ใน Wolff, Jerry O.; Sherman, Paul W. (บ.ก.). Rodent Societies: An Ecological and Evolutionary Perspective. University of Chicago Press. pp. 117–119. ISBN 978-0-226-90538-9.
  15. Helgen, Kristofer M. (2005). "The amphibious murines of New Guinea (Rodentia, Muridae): the generic status of Baiyankamys and description of a new species of Hydromys". Zootaxa. 913: 1–20. ISSN 1175-5326.
  16. Parshad, V.R. (1999). "Rodent control in India" (PDF). Integrated Pest Management Reviews. 4: 97–126. doi:10.1023/A:1009622109901.
  17. 17.0 17.1 Janke, Axel; Martínez-Estévez, Lourdes; Balvanera, Patricia; Pacheco, Jesús; Ceballos, Gerardo (2013). "Prairie dog decline reduces the supply of ecosystem services and leads to desertification of semiarid grasslands". PLOS ONE. 8 (10): e75229. Bibcode:2013PLoSO...875229M. doi:10.1371/journal.pone.0075229. ISSN 1932-6203. PMC 3793983. PMID 24130691.
  18. Krueger, Kirsten (1986). "Feeding relationships among bison, pronghorn, and prairie dogs: an experimental analysis". Ecology. 67 (3): 760–770. doi:10.2307/1937699. ISSN 0012-9658.
  19. Pérez, Francisco; Castillo-Guevara, Citlalli; Galindo-Flores, Gema; Cuautle, Mariana; Estrada-Torres, Arturo (2012). "Effect of gut passage by two highland rodents on spore activity and mycorrhiza formation of two species of ectomycorrhizal fungi (Laccaria trichodermophora and Suillus tomentosus)". Botany. 90 (11): 1084–1092. doi:10.1139/b2012-086. ISSN 1916-2790.
  20. Burchsted, D.; Daniels, M.; Thorson, R.; Vokoun, J. (2010). "The river discontinuum: applying beaver modifications to baseline conditions for restoration of forested headwaters". BioScience. 60 (11): 908–922. doi:10.1525/bio.2010.60.11.7.
  21. Wright, J. P.; Jones, C. G.; Flecker, A. S. (2002). "An ecosystem engineer, the beaver, increases species richness at the landscape scale" (PDF). Oecologia. 132 (1): 96–101. Bibcode:2002Oecol.132...96W. doi:10.1007/s00442-002-0929-1.
  22. Kemp, P. S.; Worthington, T. A.; Langford, T. E. l.; Tree, A. R. J.; Gaywood, M. J. (2012). "Qualitative and quantitative effects of reintroduced beavers on stream fish". Fish and Fisheries. 13 (2): 158–181. doi:10.1111/j.1467-2979.2011.00421.x.
  23. Hansson, Lennart (1971). "Habitat, food and population dynamics of the field vole Microtus agrestis (L.) in south Sweden". Viltrevy. 8: 268–278. ISSN 0505-611X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2013. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  24. Connior, M. B. (2011). "Geomys bursarius (Rodentia: Geomyidae)". Mammalian Species. 43 (1): 104–117. doi:10.1644/879.1.
  25. "Texan pocket gopher". The Mammals of Texas: Rodents. NSRL: Museum of Texas Tech University. สืบค้นเมื่อ 4 July 2014.
  26. 26.0 26.1 26.2 Attenborough, David (2002). The Life of Mammals. BBC Books. pp. 61–86. ISBN 978-0-563-53423-5.
  27. Müller-Schwarze, Dietland; Sun, Lixing (2003). The Beaver: Natural History of a Wetlands Engineer. Cornell University Press. pp. 67–75. ISBN 978-0-8014-4098-4.
  28. 28.0 28.1 Landry, Stuart O. Jr. (1970). "The Rodentia as omnivores". The Quarterly Review of Biology. 45 (4): 351–372. doi:10.1086/406647. JSTOR 2821009.
  29. "Hydromys chrysogaster: Water rat". Water for a healthy country. CSIRO. 30 June 2004. สืบค้นเมื่อ 4 July 2014.
  30. "Northern grasshopper mouse". The Mammals of Texas: Rodents. NSRL: Museum of Texas Tech University. สืบค้นเมื่อ 4 July 2014.
  31. Jarvis, Jennifer (1981). "Eusociality in a Mammal: Cooperative Breeding in Naked Mole-Rat Colonies". Science. 212 (4494): 571–573. Bibcode:1981Sci...212..571J. doi:10.1126/science.7209555. JSTOR 1686202.
  32. 32.0 32.1 Hoogland, John L. (1995). The Black-Tailed Prairie Dog: Social Life of a Burrowing Mammal. University of Chicago Press. p. 1. ISBN 978-0-226-35118-6.
  33. Baker, Bruce W.; Hill, Edward P. (2003). "Chapter 15: Beaver". ใน Feldhamer, George A.; Thompson, Bruce C.; Chapman, Joseph A. (บ.ก.). Wild Mammals of North America: Biology, Management, and Conservation. JHU Press. pp. 288–310. ISBN 978-0-8018-7416-1. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |chapterurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|chapter-url=) (help)
  34. Hanson, Anne (25 October 2006). "Wild Norway rat behavior". Rat behavior and biology. สืบค้นเมื่อ 1 July 2014.
  35. Winslow, James T.; Hastings, Nick; Carter, C. Sue; Harbaugh, Carroll R.; Insel, Thomas R. (1993). "A role for central vasopressin in pair bonding in monogamous prairie voles" (PDF). Letters to Nature. 365 (6446): 545–548. Bibcode:1993Natur.365..545W. doi:10.1038/365545a0. PMID 8413608. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 July 2014. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  36. Yensen, Eric; Sherman, Paul W. (2003). "Chapter 10: Ground Squirrels". ใน Feldhamer, George A.; Thompson, Bruce C.; Chapman, Joseph A. (บ.ก.). Wild Mammals of North America: Biology, Management, and Conservation. JHU Press. pp. 211–225. ISBN 978-0-8018-7416-1. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |chapterurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|chapter-url=) (help)
  37. 37.0 37.1 Jarvis, Jennifer (1981). "Eusociality in a mammal: Cooperative breeding in naked mole-rat colonies". Science. 212 (4494): 571–573. Bibcode:1981Sci...212..571J. doi:10.1126/science.7209555. JSTOR 1686202.
  38. Bennett, N. C.; Jarvis, J. U. M. (2004). "Cryptomys damarensis". Mammalian Species. 756: Number 756: pp. 1–5. doi:10.1644/756.
  39. Arakawa, Hiroyuki; Blanchard, D. Caroline; Arakawa, Keiko; Dunlap, Christopher; Blanchard, Robert J. (2008). "Scent marking behavior as an odorant communication in mice". Neuroscience and Biobehavioral Reviews. 32 (7): 1236–1248. doi:10.1016/j.neubiorev.2008.05.012. PMC 2577770.
  40. Holmes, Warren G.; Mateo, Jill M. (2008). "Chapter 19: Kin Recognition in Rodents: Issues and Evidence". ใน Wolff, Jerry O.; Sherman, Paul W. (บ.ก.). Rodent Societies: An Ecological and Evolutionary Perspective. University of Chicago Press. pp. 216–230. ISBN 978-0-226-90538-9. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |chapterurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|chapter-url=) (help)
  41. 41.0 41.1 Sherwin, C.M. (2002). "Comfortable quarters for mice in research institutions". ใน Viktor and Annie Reinhardt (บ.ก.). Comfortable Quarters For Laboratory Animals (9 ed.). Animal Welfare Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2014. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  42. Bjorkoyli, Tore; Rosell, Frank (2002). "A test of the dear enemy phenomenon in the Eurasian beaver". Animal Behaviour. 63 (6): 1073–1078. doi:10.1006/anbe.2002.3010.
  43. Vaché, M.; Ferron, J.; Gouat, P. (2001). "The ability of red squirrels (Tamiasciurus hudsonicus) to discriminate conspecific olfactory signatures". Canadian Journal of Zoology. 79 (7): 1296–1300. doi:10.1139/z01-085.
  44. Shelley, Erin L.; Blumstein, Daniel T. (2005). "The evolution of vocal alarm communication in rodents". Behavioral Ecology. 16 (1): 169–177. doi:10.1093/beheco/arh148.
  45. Slobodchikoff, C. N.; Paseka, Andrea; Verdolin, Jennifer L (2009). "Prairie dog alarm calls encode labels about predator colors" (PDF). Animal Cognition. 12 (3): 435–439. doi:10.1007/s10071-008-0203-y.
  46. Zimmermann, Elke; Leliveld, Lisette; Schehka, Lisette (2013). "8: Toward the evolutionary roots of affective prosody in human acoustic communication: A comparative approach to mammalian voices". ใน Altenmüller, Eckart; Schmidt, Sabine; Zimmermann, Elke (บ.ก.). The Evolution of Emotional Communication: From Sounds in Nonhuman Mammals to Speech and Music in Man. Oxford University Press. pp. 123–124. ISBN 978-0-19-164489-4. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |chapterurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|chapter-url=) (help)
  47. Vanden Hole, Charlotte; Van Daele, Paul A. A. G.; Desmet, Niels; Devos, Paul; Adriaens, Dominique (2014). "Does sociality imply a complex vocal communication system? A case study for Fukomys micklemi (Bathyergidae, Rodentia)". Bioacoustics. 23 (2): 143–160. doi:10.1080/09524622.2013.841085. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |lastauthoramp= ถูกละเว้น แนะนำ (|name-list-style=) (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  48. Long, C. V. (2007). Vocalisations of the degu (Octodon degus), a social caviomorph rodent. Bioacoustics. Vol. 16. pp. 223–244. doi:10.1080/09524622.2007.9753579. ISSN 0952-4622.
  49. Ancillotto, Leonardo; Sozio, Giulia; Mortelliti, Alessio; Russo, Danilo (2014). "Ultrasonic communication in Gliridae (Rodentia): the hazel dormouse (Muscardinus avellanarius) as a case study". Bioacoustics. 23 (2): 129–141. doi:10.1080/09524622.2013.838146.
  50. Panksepp, Jaak; Burgdorf, Jeff (2003). ""Laughing" rats and the evolutionary antecedents of human joy?". Physiology & Behavior. 79 (3): 533–547. doi:10.1016/S0031-9384(03)00159-8. PMID 12954448.
  51. Haverkamp, Silke; Waessle, Heinz; Duebel, Jens; Kuner, Thomas; Augustine, George J.; Feng, Guoping; Euler, Thomas (2005). "The primordial, blue-cone color system of the mouse retina" (PDF). Journal of Neuroscience. 25 (22): 5438–5445. doi:10.1523/JNEUROSCI.1117-05.2005. PMID 15930394.
  52. Hanson, Anne. "What do rats see?". Rat behavior and biology. สืบค้นเมื่อ 1 July 2014.
  53. Pickrell, John (8 July 2003). "Urine vision? How rodents communicate with UV light". National Geographic News. สืบค้นเมื่อ 8 July 2014.
  54. Desjardins, C.; Maruniak, J. A.; Bronson, F. H. (1973). "Social rank in house mice: Differentiation revealed by ultraviolet visualization of urinary marking patterns". Science. 182 (4115): 939–941. Bibcode:1973Sci...182..939D. doi:10.1126/science.182.4115.939. PMID 4745598.
  55. Viitala, J.; Korpimäki, E.; Palokangas, P.; Koivula, M. (1995). "Attraction of kestrels to vole scent marks visible in ultraviolet light". Nature. 373 (6513): 425–427. Bibcode:1995Natur.373..425V. doi:10.1038/373425a0.
  56. 56.0 56.1 56.2 "Vibrational communication in mammals". Map of Life: Convergent evolution online. University of Cambridge. 4 August 2010. สืบค้นเมื่อ 5 July 2014.
  57. Randall, J. A. (2001). "Evolution and function of drumming as communication in mammals". American Zoologist. 41: 1143–1156. doi:10.1093/icb/41.5.1143.
  58. Randall, Jan A.; Matocq, Marjorie D. (1997). "Why do kangaroo rats (Dipodomys spectabilis) footdrum at snakes?". Behavioral Ecology. 8: 404–413. doi:10.1093/beheco/8.4.404.
  59. Narins, P. M.; Reichman, O. J.; Jarvis, J. U. M.; Lewis, E. R. (1992). "Seismic signal transmission between burrows of the Cape mole-rat Georychus capensis". Journal of Comparative Physiology [A]. 170: 13–22. doi:10.1007/BF00190397.
  60. 60.0 60.1 60.2 60.3 Waterman, Jane (2008). "Chapter 3: Male Mating Strategies in Rodents". ใน Wolff, Jerry O.; Sherman, Paul W. (บ.ก.). Rodent Societies: An Ecological and Evolutionary Perspective. University of Chicago Press. pp. 28–39. ISBN 978-0-226-90538-9.
  61. 61.0 61.1 Soloman, Nancy G.; Keane, Brain (2008). "Chapter 4: Reproductive Strategies in Female Rodents". ใน Wolff, Jerry O.; Sherman, Paul W. (บ.ก.). Rodent Societies: An Ecological and Evolutionary Perspective. University of Chicago Press. pp. 42–52. ISBN 978-0-226-90538-9.
  62. 62.0 62.1 McGuire, Betty; Bernis, William E. (2008). "Chapter 20: Parental Care". ใน Wolff, Jerry O.; Sherman, Paul W. (บ.ก.). Rodent Societies: An Ecological and Evolutionary Perspective. University of Chicago Press. pp. 231–235. ISBN 978-0-226-90538-9.
  63. Holmes, Warren G.; Mateo, Jill M. (2008). "Chapter 19: Kin Recognition in Rodents: Issues and Evidence". ใน Wolff, Jerry O.; Sherman, Paul W. (บ.ก.). Rodent Societies: An Ecological and Evolutionary Perspective. University of Chicago Press. pp. 226–227. ISBN 978-0-226-90538-9.
  64. 64.0 64.1 Ebensperger, Luis A.; Blumsperger, Daniel T. (2008). "Chapter 23: Nonparental Infanticide". ใน Wolff, Jerry O.; Sherman, Paul W. (บ.ก.). Rodent Societies: An Ecological and Evolutionary Perspective. University of Chicago Press. pp. 274–278. ISBN 978-0-226-90538-9.
  65. Hoogland, J. L. (1985). "Infanticide in prairie dogs: Lactating females kill offspring of close kin". Science. 230 (4729): 1037–1040. Bibcode:1985Sci...230.1037H. doi:10.1126/science.230.4729.1037. PMID 17814930.
  66. Hackländera, Klaus; Möstlb, Erich; Arnold, Walter (2003). "Reproductive suppression in female Alpine marmots, Marmota marmota". Animal Behaviour. 65 (6): 1133–1140. doi:10.1006/anbe.2003.2159.
  67. Charters, Jessie Blount Allen (1904). "The associative processes of the guinea pig: A study of the psychical development of an animal with a nervous system well medullated at birth". Journal of Comparative Neurology and Psychology. University of Chicago Press. XIV (4): 300–337.
  68. Jacobs, Lucia F.; Liman, Emily R. (1991). "Grey squirrels remember the locations of buried nuts" (PDF). Animal Behaviour. 41: 103–110. doi:10.1016/s0003-3472(05)80506-8.
  69. Jacobs, Lucia F. (1992). "Memory for cache locations in Merriam's kangaroo rats" (PDF). Animal Behaviour. 43 (4): 585–593. doi:10.1016/S0003-3472(05)81018-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 August 2014. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  70. Harding, E. J.; Paul, E. S.; Mendl, M. (2004). "Animal behaviour: Cognitive bias and affective state". Nature. 427 (6972): 312. Bibcode:2004Natur.427..312H. doi:10.1038/427312a. PMID 14737158.
  71. Rygula, Rafal; Pluta, Helena; Popik, Piotr (2012). "Laughing rats are optimistic". PLOS ONE. 7 (12): e51959. Bibcode:2012PLoSO...751959R. doi:10.1371/journal.pone.0051959. PMC 3530570. PMID 23300582.
  72. Carlyle, Kim (8 March 2007). "Rats capable of reflecting on mental processes". University of Georgia. สืบค้นเมื่อ 13 August 2014.
  73. Foote, Allison L.; Crystal, J. D. (2007). "Metacognition in the rat". Current Biology. 17 (6): 551–555. doi:10.1016/j.cub.2007.01.061. PMC 1861845. PMID 17346969.
  74. Smith, J. David; Beran, M. J.; Couchman, J. J.; Coutinho, M. V. C. (2008). "The comparative study of metacognition: Sharper paradigms, safer inferences". Psychonomic Bulletin & Review. 15 (4): 679–691. doi:10.3758/PBR.15.4.679.
  75. Jozefowiez, J.; Staddon, J. E. R.; Cerutti, D. T. (2009). "Metacognition in animals: how do we know that they know?". Comparative Cognition & Behavior Reviews. 4: 29–39. doi:10.3819/ccbr.2009.40003.
  76. Hanson, Anne (2012). "How do rats choose what to eat?". Rat behavior and biology. สืบค้นเมื่อ 24 August 2014.
  77. Galef, Bennett G.; Laland, Kevin N. (June 2005). "Social Learning in Animals: Empirical Studies and Theoretical Models". BioScience. 55 (6): 489–499. doi:10.1641/0006-3568(2005)055[0489:sliaes]2.0.co;2. JSTOR 10.1641/0006-3568%282005%29055%5B0489%3ASLIAES%5D2.0.CO%3B2.
  78. Asher1, Robert J.; Meng, Jin; Wible, John R.; McKenna, Malcolm C.; Rougier, Guillermo W.; Dashzeveg, Demberlyn; Novacek, Michael J. (2005). "Stem Lagomorpha and the Antiquity of Glires". Science. 307 (5712): 1091–1094. Bibcode:2005Sci...307.1091A. doi:10.1126/science.1107808. PMID 15718468.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  79. Douzery, E. J. P.; Delsuc, F.; Stanhope, M. J.; Huchon, D. (2003). "Local molecular clocks in three nuclear genes: divergence times for rodents and other mammals and incompatibility among fossil calibrations". Journal of Molecular Evolution. 57: S201–13. Bibcode:2003JMolE..57S.201D. doi:10.1007/s00239-003-0028-x. PMID 15008417.
  80. Horner, D. S.; Lefkimmiatis, K.; Reyes, A.; Gissi, C.; Saccone, C.; Pesole, G. (2007). "Phylogenetic analyses of complete mitochondrial genome sequences suggest a basal divergence of the enigmatic rodent Anomalurus". BMC Evolutionary Biology. 7 (1): 16. doi:10.1186/1471-2148-7-16. PMC 1802082. PMID 17288612.
  81. Wood, D. Joseph (2010). The Extinction of the Multituberculates Outside North America: a Global Approach to Testing the Competition Model (M.S.). The Ohio State University.
  82. Schenk, John J.; Rowe, Kevin C.; Steppan, Scott J. (2013). "Ecological opportunity and incumbency in the diversification of repeated continental colonizations by muroid rodents". Systematic Biology. 62 (6): 837–864. doi:10.1093/sysbio/syt050. PMID 23925508.
  83. Samuels, Joshua X.; Zancanella, John (2011). "An early hemphillian occurrence of Castor (Castoridae) from the Rattlesnake Formation of Oregon" (PDF). Journal of Paleontology. 85 (5): 930–935. doi:10.1666/11-016.1.
  84. 84.0 84.1 Marivaux, Laurent; Essid, El Mabrouk; Marzougui, Wissem; Ammar, Hayet Khayati; Adnet, Sylvain; Marandat, Bernard; Merzeraud, Gilles; Tabuce, Rodolphe; Vianey-Liaud, Monique (2014). "A new and primitive species of Protophiomys (Rodentia, Hystricognathi) from the late middle Eocene of Djebel el Kébar, Central Tunisia". Palaeovertebrata. 38 (1): 1–17.
  85. Gheerbrant, Emmanuel; Rage, Jean-Claude (2006). "Paleobiogeography of Africa: How distinct from Gondwana and Laurasia?". Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology. 241: 224–246. doi:10.1016/j.palaeo.2006.03.016.
  86. Vélez-Juarbe, Jorge; Martin, Thomas; Macphee, Ross D. E. (2014). "The earliest Caribbean rodents: Oligocene caviomorphs from Puerto Rico". Journal of Vertebrate Paleontology. 34 (1): 157–163. doi:10.1080/02724634.2013.789039.
  87. Ali, J. R.; Huber, M. (2010-01-20). "Mammalian biodiversity on Madagascar controlled by ocean currents". Nature. Nature Publishing Group. 463 (4 Feb. 2010): 653–656. Bibcode:2010Natur.463..653A. doi:10.1038/nature08706. PMID 20090678. สืบค้นเมื่อ 2010-01-20.
  88. 88.0 88.1 Kay, Emily H.; Hoekstra, Hopi E. (2008). "Rodents". Current Biology. 18 (10): R406–R410. doi:10.1016/j.cub.2008.03.019.
  89. Vekua, A.; Bendukidze, O.; Bukhsianidze, M.; Vanishvili, N.; Augusti, J.; Martinez-Navarro, B.; Rook, L. (2010). "Porcupine in the Late Neogene and Quaternary of Georgia" (PDF). Bulletin of the Georgian National Academy Of Sciences. 4 (3): 140–149. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 July 2014. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  90. "Giant beaver". Natural History Notebooks. Canadian Museum of Nature. 28 May 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2014.
  91. Rinderknecht, Andrés; Blanco, R. Ernesto (2008). "The largest fossil rodent". Proceedings of the Royal Society B. 275 (1637): 923–928. doi:10.1098/rspb.2007.1645. PMC 2599941. PMID 18198140.
  92. Breed, Bill; Ford, Fred (2007). Native Mice and Rats (PDF). CSIRO Publishing. pp. 3, 5, and passim. ISBN 978-0-643-09166-5.
  93. "The Action Plan for Australian Rodents". Environment Australia. 1 April 1995. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.
  94. Rowe, K. C.; Reno, M. L.; Richmond, D. M.; Adkins, R. M.; Steppan, S. J. (2008). "Pliocene colonization and adaptive radiations in Australia and New Guinea (Sahul): multilocus systematics of the old endemic rodents (Muroidea: Murinae)". Molecular Phylogenetics and Evolution. 47 (1): 84–101. doi:10.1016/j.ympev.2008.01.001. PMID 18313945.
  95. Baskin, Jon A.; Thomas, Ronny G. (2007). "South Texas and the Great American Interchange" (PDF). Gulf Coast Association of Geological Societies Transactions. 57: 37–45. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 กรกฎาคม 2014. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  96. Marshall, L. G.; Butler, R. F.; Drake, R. E.; Curtis, G. H.; Tedford, R. H. (1979). "Calibration of the Great American Interchange". Science. 204 (4390): 272–279. Bibcode:1979Sci...204..272M. doi:10.1126/science.204.4390.272. PMID 17800342.
  97. 97.0 97.1 Smith, Margaret F.; Patton, James L. (1999). "Phylogenetic relationships and the radiation of Sigmodontine rodents in South America: evidence from cytochrome b". Journal of Mammalian Evolution. 6 (2): 89–128. doi:10.1023/A:1020668004578.
  98. 98.0 98.1 Parada, A.; Pardiñas, U. F. J.; Salazar-Bravo, J.; D’Elía, G.; Palma, R. E. (March 2013). "Dating an impressive Neotropical radiation: Molecular time estimates for the Sigmodontinae (Rodentia) provide insights into its historical biogeography". Molecular Phylogenetics and Evolution. 66 (3): 960–968. doi:10.1016/j.ympev.2012.12.001. PMID 23257216.

แหล่งข้อมูลอื่น