อันดับช้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อันดับช้าง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: พาลีโอซีน– ปัจจุบัน, 58.7–0Ma
ช้างพุ่มไม้แอฟริกา (Loxodonta africana)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
ชั้นฐาน: Eutheria
อันดับ: Proboscidea
Illiger, 1811
วงศ์
  • ที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์อยู่:

อันดับช้าง เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Proboscidea (/โพร-โบส-ซิ-เดีย/)

มีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์กินพืชที่มีร่างกายใหญ่โต มีจมูกและริมฝีปากบนยาว เรียกว่า "งวง" ที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ใช้สำหรับหายใจ หยิบจับสิ่งของ และจับอาหารเข้าปาก มีฟันซี่หน้า 2 ซี่ บนขากรรไกรบนยาวใหญ่ และเจริญไปเป็น "งา" ฟันกรามมีขนาดใหญ่ โดยมากไม่เกิน 1 คู่ ขณะที่บางสกุล บางชนิด หรือบางวงศ์มีมากกว่านั้น ไม่มีฟันเขี้ยว ขาใหญ่ตรงลักษณะคล้ายต้นเสา ขาหน้ามีกระดูกเรเดียส และอัลนาร์สมบูรณ์ ขาหลังก็มีกระดูกทิเบีย และฟิบูลาสมบูรณ์ เท้ามีนิ้วข้างละ 5 นิ้ว แต่เล็บนิ้วก้อยบางตัวนั้น เมื่อโตขึ้นจะหายไป มีกระเพาะอาหารแบบธรรมดา ไม่ได้เป็นกระเพาะอาหารที่แบ่งเป็นห้อง ๆ แบบสัตว์เคี้ยวเอื้อง ตัวผู้มีลูกอัณฑะอยู่ในท้อง ไม่อยู่ในถุงห้อยออกมาอย่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ขณะที่ตัวเมียมีมดลูกแยกเป็นไบคอร์เนาท์ มีเต้านม 1 คู่ อยู่ที่หน้าอกระหว่างขาหน้าทั้ง 2 ข้าง [2]

ปัจจุบัน หลงเหลือสัตว์ที่อยู่ในอันดับนี้เพียงวงศ์เดียว คือ Elephantidae 3 ชนิด (ไม่นับชนิดย่อย) คือ ช้างเอเชีย (Elephas maximus) ที่พบในทวีปเอเชีย, ช้างพุ่มไ้ม้แอฟริกา (Loxodonta africana) และช้างป่าแอฟริกา (L. cyclotis) พบในทวีปแอฟริกา ซึ่งจัดเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน

นอกจากนี้แล้ว สัตว์ในอันดับช้างยังมีความคล้ายคลึงกับสัตว์ในอันดับไฮแรกซ์ (Hyracoidea) ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็กคล้ายหนูตะเภาที่พบในแอฟริกาอีก ด้วยการที่มีฟันกรามและข้อต่อนิ้วเท้าที่คล้ายคลึงกัน[3]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Shoshani, Jeheskel (16 November 2005). "Order Proboscidea (pp. 90-91)". In Wilson, Don E., and Reeder, DeeAnn M., eds. Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2 vols. (2142 pp.). ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494. http://www.bucknell.edu/msw3/browse.asp?id=11500001.
  2. สวง บุณยวณิชย์ รศ., 2534 สัตว์วิทยามีกระดูกสันหลัง ZO411, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ
  3. หน้า 195, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]