ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไข้เด็งกี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
== สาเหตุ ==
== สาเหตุ ==
โรคไข้เลือดออก เป็น[[โรคติดต่อ]]ที่เกิดจากยุงลาย (''Aedes aegyti'') ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัส[[ไวรัสเด็งกี|เด็งกี]]จะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ฯลฯ
โรคไข้เลือดออก เป็น[[โรคติดต่อ]]ที่เกิดจากยุงลาย (''Aedes aegyti'') ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัส[[ไวรัสเด็งกี|เด็งกี]]จะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ฯลฯ
===วิทยาไวรัส===
{{Main|Dengue virus}}
[[File:Dengue.jpg|thumb|alt=A transmission electron microscopy image showing dengue virus|ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน แสดงให้เห็นกลุ่มของตัวไวรัสไข้เด็งกี (จุดดำๆ กลางภาพ)]]
ไวรัสไข้เด็งกี (Dengue fever virus, DENV) เป็น[[ไวรัส]]ชนิด[[อาร์เอ็นเอไวรัส]]ใน[[แฟมิลี]] ''[[Flaviviridae]]'' [[จีนัส]] ''[[Flavivirus]]'' ไวรัสอื่นในแฟมิลีนี้ เช่น [[Yellow fever|ไวรัสไข้เหลือง]] [[West Nile virus|ไวรัสเวสท์ไนล์]] [[St. Louis encephalitis|ไวรัสไข้สมองอักเสบเซนต์หลุยส์]] [[Japanese encephalitis|ไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี]] [[Tick-borne encephalitis virus|ไวรัสไข้สมองอักเสบซึ่งมีหมัดเป็นพาหะ]], [[Kyasanur forest disease|ไวรัสโรคป่ายาซานูร์]] และ[[Omsk hemorrhagic fever|ไวรัสไข้เลือดออกออมส์ก]]<ref name=Gould/> ส่วนใหญ่ติดต่อโดยมี[[สัตว์ขาปล้อง|แมลงหรือแมง]] ([[ยุง]] หรือ[[หมัด]] [[เห็บ]] เป็นต้น) เป็น[[พาหะ]] จึงถูกเรียกรวมๆ ว่า arbovirus มาจาก ''ar''thropod-''bo''rne virus (ไวรัสซึ่งติดต่อโดยมีสัตว์ขาปล้อง (arthropod) เป็นพาหะ)<ref name=Gould/>

[[จีโนม]]ของไวรัสไข้เด็งกีมีขนาดประมาณ 11,000 [[นิวคลีโอไทด์เบส]] [[รหัสพันธุกรรม|ถอดรหัส]]ออกมาเป็น[[โมเลกุล]][[โปรตีน]] 3 ชนิด (C, prM และ E) ซึ่งประกอบกันเป็น[[virion|ตัวไวรัส]] และโมเลกุลโปรตีนชนิดอื่นๆ อีก 7 ชนิด (NS1, NS2a, NS2b, NS3, NS4a, NS4b, NS5) ซึ่งจะพบเฉพาะในเซลล์โฮสท์ที่ติดเชื้อ โดยเป็นโปรตีนที่มีความจำเป็นในการสร้างไวรัส<ref name=Life10>{{cite journal|author=Rodenhuis-Zybert IA, Wilschut J, Smit JM|title=Dengue virus life cycle: viral and host factors modulating infectivity|journal=Cell. Mol. Life Sci.|volume=67|issue=16|pages=2773–86|year=2010|month=August|pmid=20372965|doi=10.1007/s00018-010-0357-z}}</ref><ref name=Guzman10>{{cite journal|author=Guzman MG, Halstead SB, Artsob H, ''et al.''|title=Dengue: a continuing global threat|journal=Nat. Rev. Microbiol.|volume=8|issue=12 Suppl|pages=S7–S16|year=2010|month=December|pmid=21079655|doi=10.1038/nrmicro2460|url=http://www.nature.com/nrmicro/journal/v8/n12_supp/full/nrmicro2460.html}}</ref> ไวรัส DENV มีอยู่ 4 สายพันธุ์หรือ[[serotype|ซีโรไทป์]] คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4<ref name=WHOp14/> ทั้งสี่ชนิดสามารถทำให้เกิดโรคได้ทั้งแบบไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรงมากไม่ต่างกัน<ref name=WHOp14/> เชื่อกันว่าการติดเชื้อไวรัสซีโรไทป์หนึ่งๆ จะทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสซีโรไทป์นั้นๆ ไปตลอดชีวิต และมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสซีโรไทป์อื่นๆ ได้ในช่วงเวลาสั้นๆ<ref name=WHOp14/><ref name=Chen/>

ภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างซึ่งพบในการติดเชื้อครั้งที่สองนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ป่วยเคยติดเชื้อ DENV-1 มาก่อน จากนั้นจึงติดเชื้อ DENV-2 หรือ DENV-3 ในภายหลัง หรือเคยติดเชื้อ DENV-3 มาก่อน แล้วติดเชื้อ DENV-2 ในภายหลัง<ref name=Guzman10/>


===ภาวะเสี่ยง===
===ภาวะเสี่ยง===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:16, 31 กรกฎาคม 2554

ไข้เลือดออกเด็งกี
(Dengue fever)
Photograph of a person's back with the skin exhibiting the characteristic rash of dengue fever
ผื่นลักษณะเฉพาะของไข้เลือดออกเด็งกี
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10A90
ICD-9061
DiseasesDB3564
MedlinePlus001374
eMedicinemed/528
MeSHC02.782.417.214

ไข้เด็งกี, ไข้เลือดออกเด็งกี หรือในไทยนิยมเรียกว่า ไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อซึ่งระบาดในเขตร้อน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และมีผื่นลักษณะเฉพาะซึ่งคล้ายกับผื่นของโรคหัด ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีอาการรุนแรง จนกลายเป็นไข้เลือดออกเด็งกี ซึ่งทำให้มีเลือดออกง่าย มีเกล็ดเลือดต่ำ และมีการรั่วของพลาสมา หรือรุนแรงมากขึ้นเป็นกลุ่มอาการไข้เลือดออกช็อก ซึ่งมีอาการช็อก และมีเกล็ดเลือดต่ำมากได้

ไข้เลือดออกติดต่อผ่านทางพาหะคือยุงในจีนัส Aedes โดยเฉพาะ A. aegypti หรือยุงลายบ้าน ไวรัสเด็งกีมีชนิดย่อยอยู่สี่ชนิด การติดเชื้อแต่ละครั้งจะทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนั้นๆ ไปตลอดชีวิต และมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเด็งกีชนิดอื่นๆ ในเวลาสั้นๆ การติดเชื้อไวรัสเด็งกีชนิดอื่นในภายหลังอาจทำให้มีอาการรุนแรง การป้องกันโรคทำโดยการลดจำนวนพาหะโดยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ได้ผลดี

ยังไม่มีวิธีจำเพาะในการรักษาไข้เลือดออก การรักษาหลักๆ เป็นการรักษาประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงรักษาโดยการทดแทนสารน้ำ อาจใช้การกินทางปากหรือการให้ทางหลอดเลือดดำ และสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงรักษาโดยให้สารน้ำหรือเลือดหรือองค์ประกอบของเลือดทางหลอดเลือดดำ อุบัติการณ์ของไข้เลือดออกเพิ่มสูงขึ้นมากตั้งแต่ช่วงคริสตทศวรรษ 1960 โดยมีผู้ป่วยติดเชื้อ 50-100 ล้านคนในแต่ละปี โรคนี้มีการอธิบายเอาไว้ครั้งแรกตั้งแต่ ค.ศ. 1779 ส่วนไวรัสที่เป็นสาเหตุและกลไกการติดต่อนั้นค้นพบเมื่อช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาไข้เลือดออกได้กลายเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งทั่วโลก มีประเทศที่เป็นพื้นที่ระบาดมากกว่า 110 ประเทศ ปัจจุบันนอกจากความพยายามในการลดจำนวนยุงแล้วยังมีความพยายามในการพัฒนาวัคซีนและยาที่ออกฤทธิ์โดยตรงกับไวรัสอยู่ด้วย

อาการและอาการแสดง

Outline of a human torso with arrows indicating the organs affected in the various stages of dengue fever
ภาพแสดงอาการของผู้ป่วยไข้เลือดออก

ผู้ติดเชื้อไวรัสเด็งกีส่วนใหญ่ไม่มีอาการใดๆ (80%) หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น เป็นไข้ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ[1][2][3] อีกส่วนหนึ่งมีอาการรุนแรงกว่า (5%) และเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อาการรุนแรงมากจนเสี่ยงต่อการเสียชีวิต[1][3] ระยะฟักตัวของโรคอยู่ที่ 3-14 วัน แต่ส่วนใหญ่ประมาณ 4-7 วัน[4] ดังนั้นสำหรับคนที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ระบาด แต่เดินทางกลับมาจากพื้นที่ระบาด และมีไข้หลังกลับมาเกิน 14 วัน มีโอกาสน้อยมากที่จะเป็นไข้เลือดออกเด็งกี[5] ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่มีอาการไม่ต่างจากหวัดหรือกระเพาะอาหารกับลำไส้อักเสบ (ท้องเสีย อาเจียน)[6] แต่มีโอกาสป่วยหนักได้มากกว่าผู้ใหญ่[5]

การดำเนินโรค

อาการของไข้เลือดออกคือมีไข้เฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และผื่น อาการปวดข้อและปวดกล้ามเนื้อนี้เป็นที่มาของชื่ออีกชื่อหนึ่งของไข้เลือดออก คือ break-bone fever ("ไข้กระดูกแตก")[1][7] โดยมีการดำเนินโรคแบ่งออกเป็นสามระยะ คือระยะไข้ ระยะวิกฤต และระยะฟื้น[8]

ในระยะไข้ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง มักสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส มีอาการปวดตามตัวและปวดศีรษะ ระยะนี้มักกินเวลา 2-7 วัน[7][8] ผู้ป่วยระยะไข้ที่มีอาการ 50-80% จะมีผื่นขึ้น[7][9] โดยอาจพบในวันแรกๆ ของอาการป่วยมีลักษณะเป็นปื้นแดง (erythema) หรือพบในวันที่ 4-7 มีลักษณะเป็นผื่นคล้ายผื่นของโรคหัด[9][10] อาจมีจุดเลือดออก[8] หรืออาจมีเลือดออกจากเยื่อบุได้เล็กน้อย เช่นจากในปาก หรือในจมูก[5][7] ลักษณะเฉพาะสำหรับอาการไข้ของไข้เลือดออกคือมีการมีไข้ขึ้นสองรอบ คือมีไข้ขึ้นครั้งหนึ่ง จากนั้นไข้จึงลดลงไป และมีไข้ขึ้นต่ออีก 1-2 วัน แต่แบบแผนอาการไข้ของไข้เลือดออกก็มีความแตกต่างกันมาก และยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าแบบแผนไข้เฉพาะเช่นนี้ปรากฎขึ้นบ่อยเพียงใด[10][11]

ผู้ป่วยบางคนมีอาการดำเนินไปถึงระยะวิกฤต คือช่วงที่ไข้ลง ระยะนี้มักกินเวลา 1-2 วัน[8] ซึ่งผู้ป่วยอาจมีสารน้ำสะสมในช่องปอดและช่องท้องได้อย่างมากเนื่องจากสารน้ำรั่วออกจากผนังหลอดเลือดฝอยที่อยู่ในภาวะที่มีความยอมให้ผ่านสูงขึ้นอย่างมากจากตัวโรค ทำให้มีสารน้ำในระบบไหลเวียนน้อยลง และมีการไหลของเลือดไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญน้อยลง[8] อาจมีการทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว และมีเลือดออกได้มาก โดยมักออกจากทางเดินอาหาร[5][8] ภาวะช็อก (กลุ่มอาการช็อกจากไข้เลือดออก, dengue shock syndrome) และการมีเลือดออก ("ไข้เลือดออก", dengue hemorrhagic fever) นั้นพบในผู้ป่วยไข้เด็งกีไม่ถึง 5%[5] อย่างไรก็ดีผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสเด็งกีชนิดอื่นมาก่อนแล้ว (ติดเชื้อครั้งนีเป็นครั้งที่สอง) จะมีความเสี่ยงสูงกว่านี้[5][12]

ระยะต่อมาคือระยะฟื้น สารน้ำที่รั่วออกจากหลอดเลือดจะไหลกลับคืนเข้ามา[8] ระยะนี้กินเวลา 2-3 วัน[5] ผู้ป่วยอาจรู้สึกดีขึ้นอย่างมาก อาจมีอาการคันมาก หรือหัวใจเต้นช้าได้[5][8] ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจมีสารน้ำในร่างกายเกิน ซึ่งหากเสียสมดุลจนทำให้สมองบวม ก็อาจมีระดับการรู้สึกตัวลดลงหรือมีอาการชักได้[5]

ปัญหาที่พบร่วม

บางครั้งไข้เลือดออกอาจส่งผลต่อระบบอื่นๆ ของร่างกายได้[8] โดยอาจมีเฉพาะอาการของระบบนั้นๆ โดยไม่มีอาการของไข้เลือดออก หรือมีอาการของไข้เลือดออกและอาการของระบบอื่นๆ ไปพร้อมกันก็ได้[6] 0.5-6% ของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีการลดลงของระดับความรู้สึกตัว ซึ่งอาจเป็นผลโดยตรงจากการติดเชื้อไวรัสที่สมอง ทำให้เกิดสมองอักเสบ หรือเป็นผลโดยอ้อมจากการที่อวัยวะสำคัญทำงานบกพร่อง เช่น ตับ[6][11]

ความผิดปกติอื่นๆ ทางระบบประสาทที่มีการรายงานในผู้ป่วยไข้เลือดออก เช่น ไขสันหลังอักเสบตามขวาง และกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร[6] และความผิดปกติอื่นๆ ที่พบได้น้อยยิ่งกว่า เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ และตับวายเฉียบพลัน เป็นต้น[5][8]

สาเหตุ

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย (Aedes aegyti) ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสเด็งกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ฯลฯ

วิทยาไวรัส

A transmission electron microscopy image showing dengue virus
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน แสดงให้เห็นกลุ่มของตัวไวรัสไข้เด็งกี (จุดดำๆ กลางภาพ)

ไวรัสไข้เด็งกี (Dengue fever virus, DENV) เป็นไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอไวรัสในแฟมิลี Flaviviridae จีนัส Flavivirus ไวรัสอื่นในแฟมิลีนี้ เช่น ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเวสท์ไนล์ ไวรัสไข้สมองอักเสบเซนต์หลุยส์ ไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี ไวรัสไข้สมองอักเสบซึ่งมีหมัดเป็นพาหะ, ไวรัสโรคป่ายาซานูร์ และไวรัสไข้เลือดออกออมส์ก[11] ส่วนใหญ่ติดต่อโดยมีแมลงหรือแมง (ยุง หรือหมัด เห็บ เป็นต้น) เป็นพาหะ จึงถูกเรียกรวมๆ ว่า arbovirus มาจาก arthropod-borne virus (ไวรัสซึ่งติดต่อโดยมีสัตว์ขาปล้อง (arthropod) เป็นพาหะ)[11]

จีโนมของไวรัสไข้เด็งกีมีขนาดประมาณ 11,000 นิวคลีโอไทด์เบส ถอดรหัสออกมาเป็นโมเลกุลโปรตีน 3 ชนิด (C, prM และ E) ซึ่งประกอบกันเป็นตัวไวรัส และโมเลกุลโปรตีนชนิดอื่นๆ อีก 7 ชนิด (NS1, NS2a, NS2b, NS3, NS4a, NS4b, NS5) ซึ่งจะพบเฉพาะในเซลล์โฮสท์ที่ติดเชื้อ โดยเป็นโปรตีนที่มีความจำเป็นในการสร้างไวรัส[12][13] ไวรัส DENV มีอยู่ 4 สายพันธุ์หรือซีโรไทป์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4[2] ทั้งสี่ชนิดสามารถทำให้เกิดโรคได้ทั้งแบบไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรงมากไม่ต่างกัน[2] เชื่อกันว่าการติดเชื้อไวรัสซีโรไทป์หนึ่งๆ จะทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสซีโรไทป์นั้นๆ ไปตลอดชีวิต และมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสซีโรไทป์อื่นๆ ได้ในช่วงเวลาสั้นๆ[2][7]

ภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างซึ่งพบในการติดเชื้อครั้งที่สองนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ป่วยเคยติดเชื้อ DENV-1 มาก่อน จากนั้นจึงติดเชื้อ DENV-2 หรือ DENV-3 ในภายหลัง หรือเคยติดเชื้อ DENV-3 มาก่อน แล้วติดเชื้อ DENV-2 ในภายหลัง[13]

ภาวะเสี่ยง

ผู้ป่วยที่เป็นเด็กทารกหรือเด็กเล็กมีโอกาสป่วยรุนแรงมากกว่าช่วงอายุอื่น และมักพบบ่อยในเด็กที่มีสุขภาพทั่วไปค่อนข้างดี[5] แตกต่างกับโรคติดเชื้อชนิดอื่นๆ เพศหญิงมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าเพศชาย[13] และผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังอยู่เดิมแล้ว (เช่น เบาหวาน หรือหอบหืด) มีโอกาสป่วยรุนแรงถึงชีวิตมากกว่า[13]

มีการศึกษาพบว่าความแตกต่างตามปกติ (โพลีมอร์ฟิซึม) ของยีนบางยีนมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มโอกาสการมีอาการป่วยรุนแรงเมื่อป่วยเป็นไข้เลือดออก ตัวอย่างของยีนเหล่านี้ เช่น ยีนที่ถอดรหัสออกมาเป็น TNFα, mannan-binding lectin,[1] CTLA4, TGFβ,[12] DC-SIGN และ HLA บางชนิด[13] ภาวะพร่องเอนไซม์กลูโคส-6-ฟอสเฟตดีไฮโดรจีเนส (ภาวะพร่องเอนไซม์จี-6-พีดี) ก็เพิ่มความเสี่ยง[14] นอกจากนี้ยังพบว่าการมีโพลีมอร์ฟิซึมของยีนที่ถอดรหัสออกมาเป็นวิตามินดีรีเซพเตอร์และ FcγR อาจสามารถลดโอกาสการป่วยรุนแรงในการติดเชื้อครั้งที่สองได้[13]

การวินิจฉัย

อาการเตือน[15]
ปวดท้อง
อาเจียนมาก
ตับโต
เลือดออกในเยื่อบุ
ความเข้มข้นเม็ดเลือดแดงสูง เกล็ดเลือดต่ำ
อ่อนเปลี้ย

การให้การวินิจฉัยไข้เลือดออกส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในพื้นที่ระบาด เช่นประเทศไทย เป็นการวินิจฉัยทางคลินิก อาศัยอาการและผลการตรวจร่างกาย[1] อย่างไรก็ดีอาการในระยะแรกของไข้เลือดออกแยกไม่ได้จากการติดเชื้อไวรัสธรรมดาทั่วๆ ไป[5] สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ระบาด อาการที่น่าสงสัยว่าอาจจะเป็นไข้เลือดออกคืออาการไข้ร่วมกับอาการสองอย่างจากอาการต่างๆ ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน ผื่น ปวดตามตัว เม็ดเลือดขาวต่ำ ทูนิเกต์เทสท์ผลบวก หรืออาการเตือนใดๆ ตามตาราง[15] ซึ่งอาการเตือนเหล่านี้มักปรากฎก่อนการดำเนินโรคไปเป็นไข้เลือดออกรุนแรง[8] การตรวจทูนิเกต์เป็นการตรวจที่มีประโยชน์มากในพื้นที่ที่ไม่สามารถส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการได้ทันที ทำโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตพันรอบแขนและรัดไว้ห้านาที จากนั้นนับจุดเลือดออกที่ปรากฎขึ้น ยิ่งมีจุดมากก็ยิ่งมีความน่าจะเป็นของการเป็นไข้เลือดออกมาก[8] โรคอีกโรคหนึ่งที่คล้ายไข้เลือดออกมากและแยกออกจากกันได้ยากคือไข้ชิคุนกุนยา ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อไวรัสอีกโรคหนึ่งที่มีอาการคล้ายกันและยังระบาดในพื้นที่หลายๆ พื้นที่ซึ่งมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอยู่แล้วด้วย[7] นอกจากนี้ยังอาจจำเป็นต้องใช้การตรวจอื่นๆ เพื่อแยกโรคที่อาจทำให้มีอาการคล้ายกับไข้เลือดออกหากอาการและการตรวจร่างกายไม่ชัดเจน เช่น มาลาเรีย ฉี่หนู ไข้รากสาดน้อย และไข้กาฬหลังแอ่น[5]

ความผิดปกติที่พบได้เร็วที่สุดจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการคือการพบเม็ดเลือดขาวต่ำ ซึ่งต่อมาอาจพบมีเกล็ดเลือดต่ำและเลือดเป็นกรดเหตุเมตาบอลิกได้[5] ในกรณีที่มีอาการรุนแรง การรั่วของพลาสมาจะทำให้ตรวจพบเลือดมีความเข้มข้นสูง (พบฮีมาโตคริตสูง) และอัลบูมินในเลือดต่ำ[5] ภาวะมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดและท้องมานอาจพบได้จากการตรวจร่างกายหากเป็นมากๆ[5] แต่อาจตรวจพบได้เร็วมากขึ้นในระยะแรกๆ จากการใช้การตรวจอื่นๆ เช่นการตรวจด้วยคลื่นอัลตราซาวนด์ ซึ่งช่วยให้สามารถตรวจพบผู้ป่วยที่จะกลายเป็นกลุ่มอาการช็อคจากไข้เลือดออกได้เร็วขึ้นในระยะแรกๆ[1][5] แต่ยังมียังข้อจำกัดเนื่องจากจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพง ซึ่งไม่ได้มีในสถานพยาบาลทุกๆ ที่[1]

การจำแนกประเภท

ระบบการจำแนกประเภทไข้เลือดออกเด็งกีขององค์การอนามัยโลกฉบับ พ.ศ. 2552 จำแนกไข้เลือดออกเด็งกีเอาไว้เป็นสองประเภท คือชนิดไม่มีภาวะแทรกซ้อนและชนิดรุนแรง[1][15] โดยใช้แทนระบบจำแนกประเภทฉบับ พ.ศ. 2550 ซึ่งมีรายละเอียดมากกว่า เนื่องจากต้องการให้การจำแนกประเภทมีความเข้าใจง่าย อย่างไรก็ดีระบบจำแนกประเภทแบบเดิมก็ยังคงมีผู้ใช้อยู่อย่างกว้างขวาง[15] โดยระบบ พ.ศ 2550 นี้ได้จำแนกประเภทของไข้เลือดออกเด็งกีเอาไว้เป็น ไข้ซึ่งจำแนกประเภทไม่ได้ (undifferentiated fever), ไข้เด็งกี (dengue fever) และไข้เลือดออกเด็งกี (dengue hemorrhagic fever)[5][16] โดยสำหรับประเภทไข้เลือดออกเด็งกีเองก็แบ่งออกเป็นระดับ (grade) 1-4 โดยระดับ 1 ผู้ป่วยจะมีไข้และมีอาการเบื้องต้นของ "เลือดออก" ได้แก่มีจ้ำเลือดตามตัวง่ายหรือทูนิเกต์เทสท์ให้ผลบวก, ระดับ 2 จะมีเลือดออกเองจากผิวหนังหรือที่อื่น, ระดับ 3 มีอาการช็อค และระดับ 4 ช็อครุนแรงจนไม่สามารถวัดความดันโลหิตและชีพจรได้[16] ไข้เลือดออกเด็งกีระดับ 3 และ 4 เรียกรวมว่า "กลุ่มอาการช็อคจากเด็งกี" (dengue shock syndrome)[15][16]

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

อาจสามารถวินิจฉัยไข้เลือดออกได้ด้วยการตรวจทางจุลชีววิทยาหรือการตรวจหาเชื้อก่อโรค[15] ซึ่งอาจทำได้โดยการแยกเชื้อไวรัสด้วยการเพาะเลี้ยงเซลล์ การตรวจหาสารพันธุกรรมด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส การทางวิทยาเซรุ่มเพื่อตรวจหาแอนติเจนของไวรัสด้วยปฏิกิริยาการจับกับแอนติบอดี[13][17] โดยการแยกเชื้อไวรัสและการตรวจหาสารพันธุกรรมเป็นการตรวจที่ให้ผลแม่นยำกว่าการตรวจหาแอนติบอดี แต่การตรวจเหล่านี้ยังไม่มีการใช้แพร่หลายเนื่องจากยังมีราคาสูงมาก[17] และยังอาจให้ผลลบ (ตรวจไม่พบ) ได้ในผู้ป่วยระยะแรก[5][13]

การตรวจเหล่านี้จะมีคุณค่าช่วยในการวินิจฉัยก็ต่อเมื่อทำในการป่วยระยะเฉียบพลัน ยกเว้นการตรวจทางวิทยาเซรุ่ม การตรวจหาแอนติบอดี IgG และ IgM ที่จำเพาะต่อชนิดของไวรัสให้ประโยชน์เป็นการยืนยันการวินิจฉัยในระยะท้ายๆ ของการดำเนินโรค ร่างกายจะเริ่มผลิต IgG และ IgM หลังจากติดเชื้อไปแล้ว 5-7 วัน ระดับ IgM จะตรวจพบได้สูงสุดหลังการติดเชื้อครั้งแรก แต่ในการติดเชื้อครั้งที่สองหรือสามก็ยังมีการผลิต IgM อยู่เช่นกันแม้จะไม่มากเท่า หลังการติดเชื้อครั้งแรก 30-90 วัน ระดับ IgM จะลดลงจนไม่สามารถตรวจพบได้ โดยในการติดเชื้อที่ไม่ใช่ครั้งแรก ระดับ IgM จะลงลงเร็วกว่านี้ ในทางกลับกัน IgG จะยังคงอยู่ให้ตรวจพบได้นานกว่า 60 ปี แม้จะไม่มีอาการเลยก็ตาม จึงมีประโยชน์ในการตรวจว่าเคยติดเชื้อมาก่อนหรือไม่ เมื่อมีการติดเชื้อครั้งแรก ระดับ IgG จะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับสูงสุดที่ 14-21 วัน และในการติดเชื้อครั้งต่อๆ มา ระดับจะขึ้นสูงเร็วกว่าและสูงมากกว่า ทั้ง IgG และ IgM เป็นสารภูมิคุ้มกันที่มีผลป้องกันการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ (ซีโรไทป์) นั้นๆ การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาระดับ IgG และ IgG นั้นอาจมีการแสดงปฏิกิริยาข้ามกันระหว่างไวรัสอื่นๆ ในกลุ่มฟลาวิไวริดีได้ เช่น ไวรัสไข้เหลือง ทำให้การแปลผลการตรวจมีความซับซ้อนและยากมากขึ้น[7][13][18] การตรวจหาระดับ IgG เพียงอย่างเดียวนั้นจะใช้เป็นเกณฑ์การวินิจฉัยไข้เลือดอองเด็งกีได้ก็ต่อเมื่อเก็บห่างกัน 14 วัน และพบว่ามีระดับเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 เท่าเท่านั้น ส่วนการตรวจ IgM ในผู้ป่วยที่มีอาการนั้น สามารถใช้ในการวินิจฉัยได้[18]

การรักษา

ในปัจจุบัน ยังไม่มี วิธีรักษาไข้เลือดออก[19] โดยตรง การรักษาก็สามารถทำได้เพียงแค่การประคองอาการ เช่น ในผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำก็เสริมน้ำให้ หรือในรายที่มีอาการรุนแรงมากๆซึ่งจะมีผลให้ขาดเลือดก็ช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยการถ่ายเลือดให้ เป็นต้น

  • ผู้ป่วยที่ไม่อาเจียนให้ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่มาก ๆ วิธีสังเกตว่าดื่มน้ำพอหรือไม่ ให้ดูปัสสาวะ ควรมีสีใส
  • ควรพบแพทย์เป็นระยะ ๆ ตามนัด เพื่อเฝ้าดูอาการที่อาจเป็นอันตรายอย่างใกล้ชิด
  • ถ้าอาเจียนมาก ซึม เพลียมาก มีอาการของช็อคและมีอาการเลือดออก ควรรับการรักษาในโรงพยาบาลและดูแลใกล้ชิด เพื่อรักษาได้ทันท่วงที หรือหากมีอาการแทรกซ้อนอื่น เช่น ตับอักเสบรุนแรง ตับวาย สมองอักเสบ ควรรับการรักษาในโรงพยาบาล
  • ให้ยาแก้ไข้พาราเซตามอล แต่ห้ามใช้แอสไพรินเพราะจะทำให้ระคายกระเพาะ มีโอกาสมีเลือดออกทางกระเพาะง่าย และทำให้การทำงานหาเกล็ดเลือดผิดปกติ

การป้องกัน

A black and white photograph of people filling in a ditch with standing water
ภาพถ่ายช่วงประมาณปี ค.ศ. 1920 แสดงให้เห็นการกำจัดแหล่งน้ำนิ่ง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

ยังไม่มีวัคซีนที่ป้องกันไวรัสไข้เลือดออกเด็งกีอย่างได้ผล[1] ดังนั้นการป้องกันโรคจึงต้องอาศัยการควบคุมการแพร่พันธุ์ยุงลายและป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด[20][21] องค์การอนามัยโลกได้แนะนำโครงการควบคุมพาหะแบบบูรณาการเอาไว้ โดยมีองค์ประกอบ 5 อย่าง ได้แก่ 1) ต้องมีการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนเพื่อให้ระบบบริการสุขภาพและชุมชนมีความเข้มแข็ง 2) ต้องมีความร่วมมือระหว่างองค์กรสุขภาพและภาคส่วนอื่นๆ 3) ส่งเสริมให้มีการควบคุมโรคอย่างบูรณาการโดยใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4) มีการตัดสินใจโดยอิงหลักฐานเพื่อให้มีการออกมาตรการที่เหมาะสม และ 5) มีการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์การระบาดในแต่ละที่อยู่เสมอ[20]

วิธีการในการควบคุมการแพร่ระบาดของยุงลายคือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย[20] ทำโดยป้องกันไม่ให้มีน้ำขังในภาชนะ เช่น คว่ำขัน กะละมัง ที่อยู่นอกบ้าน ไม่ให้มีน้ำขัง ใส่สารฆ่าแมลงหรือสารควบคุมการเจริญเติบโตของยุงลาย เช่น ทรายอะเบต ในพื้นที่[20] อย่างไรก็ดีเชื่อกันว่าการพ่นยาฆ่าแมลงเป็นครั้งๆ ไปนั้นได้ผลไม่คุ้มค่า[3] เมื่อพิจารณาว่าการใส่สารฆ่าแมลงลงในพื้นที่นั้นมีผลเสียมากกว่าที่จะรับได้ และการให้สารควบคุมการเจริญเติบโตของยุงลายนั้นเป็นการยากที่จะทำได้ทั่วถึง การลดปริมาณแหล่งน้ำขังด้วยการควบคุมภาชนะนอกบ้านจึงเป็นวิธีที่เป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับมากที่สุด[20] นอกจากนี้ยังอาจสามารถป้องกันไม่ให้ยุงลายกัดได้โดยใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด นอนกางมุ้ง หรือใช้ยาไล่ยุง เป็นต้น โดยสารที่ได้ผลดีที่สุด คือ DEET[22]

สำหรับในประเทศไทย ศูนย์ควบคุมโรคไข้เลือดออก กองควบคุมโรค สำนักอนามัย แนะนำแนวทางในการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยเน้นการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด[23] ซึ่งเป็นไปตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก

การพัฒนาวัคซีนและยา

ยังไม่มีวัคซีนสำหรับไวรัสเดงกี่ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออกจำหน่ายในตลาด เนื่องจากยังอยู่ในขั้นการทดลองและพัฒนาอยู่ การเร่งพัฒนาวัคซีนอย่างจริงจังนั้นเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2546 สำหรับประเทศไทย ได้มีการทดสอบวัคซีนไวรัสไข้เลือดออกในอาสาสมัครจำนวน 3,000-5,000 คน หลังจากประสบความสำเร็จในการทดสอบในสัตว์และอาสาสมัครกลุ่มเล็ก และขณะนี้วัคซีนที่ถูกเลือกได้เข้าสู่การทดสอบระยะที่ 1 และระยะที่ 2 แล้ว ปัญหาสำคัญของการพัฒนาวัคซีนคือการที่ไวรัสมีจำนวนสายพันธุ์ถึง 4 สายพันธุ์ ทำให้วัคซีนที่พัฒนาออกมาต้องยับยั้ง

รายการอ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 Whitehorn J, Farrar J (2010). "Dengue". Br. Med. Bull. 95: 161–73. doi:10.1093/bmb/ldq019. PMID 20616106.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WHOp14
  3. 3.0 3.1 3.2 Reiter P (2010-03-11). "Yellow fever and dengue: a threat to Europe?". Euro Surveill. 15 (10): 19509. PMID 20403310.
  4. Gubler (2010), p. 379.
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 5.15 5.16 5.17 5.18 Ranjit S, Kissoon N (2010). "Dengue hemorrhagic fever and shock syndromes". Pediatr. Crit. Care Med. 12 (1): 90–100. doi:10.1097/PCC.0b013e3181e911a7. PMID 20639791. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Varatharaj A (2010). "Encephalitis in the clinical spectrum of dengue infection". Neurol. India. 58 (4): 585–91. doi:10.4103/0028-3886.68655. PMID 20739797.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 Chen LH, Wilson ME (2010). "Dengue and chikungunya infections in travelers". Curr. Opin. Infect. Dis. 23 (5): 438–44. doi:10.1097/QCO.0b013e32833c1d16. PMID 20581669. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 WHO (2009), pp. 25–27.
  9. 9.0 9.1 Wolff K, Johnson RA (eds.) (2009). "Viral Infections of Skin and Mucosa". Fitzpatrick's Color Atlas and Synopsis of Clinical Dermatology (6th ed.). New York: McGraw-Hill Medical. pp. 810–2. ISBN 9780071599757. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  10. 10.0 10.1 Knoop KJ, Stack LB, Storrow A, Thurman RJ (eds.) (2010). "Tropical Medicine". Atlas of Emergency Medicine (3rd ed.). New York: McGraw-Hill Professional. pp. 658–9. ISBN 0071496181. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Gould EA, Solomon T (2008). "Pathogenic flaviviruses". The Lancet. 371 (9611): 500–9. doi:10.1016/S0140-6736(08)60238-X. PMID 18262042. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  12. 12.0 12.1 12.2 Rodenhuis-Zybert IA, Wilschut J, Smit JM (2010). "Dengue virus life cycle: viral and host factors modulating infectivity". Cell. Mol. Life Sci. 67 (16): 2773–86. doi:10.1007/s00018-010-0357-z. PMID 20372965. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 13.7 13.8 Guzman MG, Halstead SB, Artsob H; และคณะ (2010). "Dengue: a continuing global threat". Nat. Rev. Microbiol. 8 (12 Suppl): S7–S16. doi:10.1038/nrmicro2460. PMID 21079655. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  14. Martina BE, Koraka P, Osterhaus AD (2009). "Dengue virus pathogenesis: an integrated view". Clin. Microbiol. Rev. 22 (4): 564–81. doi:10.1128/CMR.00035-09. PMC 2772360. PMID 19822889. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 WHO (2009), pp. 10–11.
  16. 16.0 16.1 16.2 WHO (1997). "Chapter 2: clinical diagnosis". Dengue haemorrhagic fever: diagnosis, treatment, prevention and control (PDF) (2nd ed.). Geneva: World Health Organization. pp. 12–23. ISBN 9241545003.
  17. 17.0 17.1 WHO (2009), pp. 90–95.
  18. 18.0 18.1 Gubler (2010), p. 380.
  19. http://www.sukapapdeedee.com/disease/dengue-fever/3.html
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 WHO (2009), pp. 59–60.
  21. WHO (2009), p. 137.
  22. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Yellow10
  23. แผ่นพับประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก ศูนย์ควบคุมโรคไข้เลือดออก กองควบคุมโรค สำนักอนามัย [1]

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA