ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 0 sources and tagging 1 as dead.) #IABot (v2.0.9.5
แก้ไขลิงก์เสียในอ้างอิง
ป้ายระบุ: ลิงก์แก้ความกำกวม
บรรทัด 23: บรรทัด 23:
* [[WIRE]] - กล้องโทรทรรศน์อวกาศ[[อินฟราเรด]]ของนาซา ถูกส่งขึ้นไปในปี 1999 หลังจากที่ตัวกล้องโทรทรรศน์เกิดเสียหาย จึงถูกใช้สำหรับวิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์
* [[WIRE]] - กล้องโทรทรรศน์อวกาศ[[อินฟราเรด]]ของนาซา ถูกส่งขึ้นไปในปี 1999 หลังจากที่ตัวกล้องโทรทรรศน์เกิดเสียหาย จึงถูกใช้สำหรับวิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์
* [[MOST]] - ดาวเทียมของ[[แคนาดา]]เปิดตัวในปี 2003 เป็นยานอวกาศลำแรกที่มีวัตถุประสงค์หลักในด้านวิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์
* [[MOST]] - ดาวเทียมของ[[แคนาดา]]เปิดตัวในปี 2003 เป็นยานอวกาศลำแรกที่มีวัตถุประสงค์หลักในด้านวิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์
* [[CoRoT]] - ดาวเทียมของ ESA ที่นำโดยฝรั่งเศสเปิดตัวในปี 2006 มีจุดประสงค์หลัก 2 อย่างคือการสังเกต [[ดาวเคราะห์นอกระบบ]] และวิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์<ref name=ESAPR2006>{{cite press release |date=26 October 2006 |title=Europe goes searching for rocky planets |url=http://www.spaceref.com/news/viewpr.html?pid=21129 |publisher=[[European Space Agency|ESA]] |access-date=3 August 2008 }}{{ลิงก์เสีย|date=ตุลาคม 2023 |bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }}</ref>
* [[CoRoT]] - ดาวเทียมของ ESA ที่นำโดยฝรั่งเศสเปิดตัวในปี 2006 มีจุดประสงค์หลัก 2 อย่างคือการสังเกต [[ดาวเคราะห์นอกระบบ]] และวิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์<ref name=ESAPR2006>{{Cite press release |date=26 October 2006 |title=Europe goes searching for rocky planets |url=http://www.spaceref.com/news/viewpr.html?pid=21129 |publisher=[[European Space Agency|ESA]] |access-date=3 August 2008 |archive-url=https://archive.is/ue4K |archive-date=9 December 2012 |df=dmy-all}}</ref>
* [[ยานเคปเลอร์]] - ถูกส่งไปในปี 2009 จุดประสงค์หลักคือการสังเกตดาวเคราะห์นอกระบบ แต่ก็ยังใช้สำหรับวิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์ด้วย<ref>{{cite journal |last1=Grigahcène |first1=A. |date=2010 |title=Hybrid γ Doradus – δ Scuti pulsators: New insights into the physics of the oscillations from ''Kepler'' observations |arxiv=1001.0747 |display-authors=etal |doi=10.1088/2041-8205/713/2/L192 |volume=713 |issue=2 |journal=The Astrophysical Journal |pages=L192–L197 |bibcode=2010ApJ...713L.192G|s2cid=56144432 }}</ref>
* [[ยานเคปเลอร์]] - ถูกส่งไปในปี 2009 จุดประสงค์หลักคือการสังเกตดาวเคราะห์นอกระบบ แต่ก็ยังใช้สำหรับวิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์ด้วย<ref>{{Cite journal |last1=Grigahcène |first1=A. |date=2010 |title=Hybrid γ Doradus – δ Scuti pulsators: New insights into the physics of the oscillations from ''Kepler'' observations |arxiv=1001.0747 |display-authors=etal |doi=10.1088/2041-8205/713/2/L192 |volume=713 |issue=2 |journal=The Astrophysical Journal |pages=L192–L197 |bibcode=2010ApJ...713L.192G |s2cid=56144432}}</ref>


== ดาวยักษ์แดง ==
== ดาวยักษ์แดง ==
บรรทัด 32: บรรทัด 32:
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}


== อ่านเพิ่มเติม ==
* {{Cite book
| last1 = Aerts | first1 = Conny
| last2 = Christensen-Dalsgaard | first2 = Jørgen
| last3 = Kurtz | first3 = Donald
| title = Asteroseismology
| publisher = Springer
| series = Astronomy and Astrophysics Library
| date = 2010
| location = Dordrecht, New York
| isbn = 978-1-4020-5803-5
}}
* {{Cite web
| last = Christensen-Dalsgaard | first = Jørgen
| title = Lecture notes on stellar oscillations
| url = http://astro.phys.au.dk/~jcd/oscilnotes/
| access-date = 5 June 2015
| df = dmy-all
}}
* {{Cite book
| last1 = Pijpers | first1 = Frank P.
| title = Methods in Helio- and Asteroseismology
| publisher = Imperial College Press
| date = 2006
| location = London
| isbn = 978-1-8609-4755-1
}}
{{Break}}
{{ดาวฤกษ์}}
{{Authority control}}
[[หมวดหมู่:ปรากฏการณ์ของดาวฤกษ์]]
[[หมวดหมู่:ปรากฏการณ์ของดาวฤกษ์]]
[[หมวดหมู่:ฟิสิกส์ดาราศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:ฟิสิกส์ดาราศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:สาขาของวิทยาแผ่นดินไหว]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:30, 5 ธันวาคม 2566

คลื่นภายในดวงอาทิตย์

วิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์ (asteroseismology) คือการศึกษาการแกว่งกวัด ของดาวฤกษ์ โหมดการสั่นแบบต่าง ๆ ที่พบในดาวได้รับอิทธิพลจากส่วนต่าง ๆ ของดาวอย่างละเอียดอ่อน ดังนั้นจึงให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างภายในของดาว ซึ่งไม่สามารถทราบได้จากกำลังส่องสว่าง และ อุณหภูมิพื้นผิวของดาวที่สามารถสังเกตการณ์โดยตรงได้ วิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับวิทยาคลื่นไหวสะเทือนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นการศึกษาการแกว่งในดวงอาทิตย์ แม้ว่าทั้งสองจะมีพื้นฐานทางฟิสิกส์เดียวกัน แต่พื้นผิวของดวงอาทิตย์สามารถสังเกตได้ด้วยความละเอียดที่สูงกว่ามาก ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะได้รับข้อมูลที่ต่างกันทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

การไหวสะเทือน

การสั่นไหวของดาวฤกษ์เกิดจากการเปลี่ยน พลังงานความร้อนมาเป็นพลังงานจลน์ กระบวนการนี้คล้ายคลึงกับหลักการของเครื่องจักรความร้อน ซึ่งความร้อนจะถูกดูดกลืนเมื่ออุณหภูมิสูงและปล่อยออกมาเมื่ออุณหภูมิต่ำ กลไกหลักของดาวฤกษ์คือการเปลี่ยนพลังงานจากการแผ่รังสีเป็นพลังงานการขยับเต้นเป็นจังหวะที่พื้นผิว การสั่นที่เกิดขึ้นไม่ได้มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งจะช่วยรักษาความเป็นอิสระของดาวฤกษ์และความสมมาตรทรงกลมของดาวฤกษ์ ในระบบดาวคู่ แรงน้ำขึ้นลงของดาวฤกษ์มีอิทธิพลอย่างมากต่อการแกว่งของดาวฤกษ์ การประยุกต์ใช้วิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์อย่างหนึ่งคือในดาวนิวตรอน เราไม่สามารถสังเกตโครงสร้างภายในได้โดยตรง แต่ได้รับการอนุมานจากการศึกษาการไหวสะเทือนของนิวตรอน

ประเภทของคลื่น

คลื่นภายในดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • โหมดความดัน (โหมด p) - คลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของความดันภายในของดาว ซึ่งการเคลื่อนที่ถูกกำหนดโดยความเร็วของเสียงเฉพาะที่
  • โหมดความโน้มถ่วง (โหมด g) - คลื่นที่เกิดจากการลอยตัว
  • โหมดความโน้มถ่วงพื้นผิว (โหมด f) - คล้ายกับการเกิดคลื่นทะเลตามพื้นผิวดาวฤกษ์

ในดาวคล้ายดวงอาทิตย์ เช่น พร็อกซิมาคนครึ่งม้า โหมด p จะโดดเด่นที่สุด และโหมด g จะจำกัดอยู่ในส่วนแก่นดาวซึ่งเป็นชั้นพาความร้อน อย่างไรก็ตาม จะเห็นโหมด g ได้ในดาวแคระขาว

วิทยาคลื่นไหวสะเทือนดวงอาทิตย์

วิทยาคลื่นไหวสะเทือนดวงอาทิตย์ เป็นสาขาย่อยของวิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ การสั่นไหวของดวงอาทิตย์ถูกกระตุ้นด้วยการพาความร้อนในชั้นนอก และ การสั่นแบบคล้ายดวงอาทิตย์ภายในดาวฤกษ์ดวงอื่นก็ถือเป็นสาขาใหม่ของวิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์

ภารกิจอวกาศ

ยานอวกาศบางลำได้ถูกมอบหมายให้การตรวจสอบทางวิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์เป็นเป้าหมายหลักของภารกิจ

  • SOHO - ดาวเทียมสำรวจดวงอาทิตย์ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในปี 1995 โดยความร่วมมือกันขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) และ นาซา
  • WIRE - กล้องโทรทรรศน์อวกาศอินฟราเรดของนาซา ถูกส่งขึ้นไปในปี 1999 หลังจากที่ตัวกล้องโทรทรรศน์เกิดเสียหาย จึงถูกใช้สำหรับวิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์
  • MOST - ดาวเทียมของแคนาดาเปิดตัวในปี 2003 เป็นยานอวกาศลำแรกที่มีวัตถุประสงค์หลักในด้านวิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์
  • CoRoT - ดาวเทียมของ ESA ที่นำโดยฝรั่งเศสเปิดตัวในปี 2006 มีจุดประสงค์หลัก 2 อย่างคือการสังเกต ดาวเคราะห์นอกระบบ และวิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์[1]
  • ยานเคปเลอร์ - ถูกส่งไปในปี 2009 จุดประสงค์หลักคือการสังเกตดาวเคราะห์นอกระบบ แต่ก็ยังใช้สำหรับวิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์ด้วย[2]

ดาวยักษ์แดง

ดาวยักษ์แดง เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ในช่วงปลายของวิวัฒนาการดาวฤกษ์หลังจากสิ้นสุดการหลอมนิวเคลียสไฮโดรเจนในแกนกลาง ชั้นนอกของดาวขยายตัว 200 เท่าในขณะที่แกนกลางเกิดการยุบตัวจากความโน้มถ่วง อย่างไรก็ตาม มีสองขั้นตอนที่แตกต่างกัน คือ ระยะเริ่มต้นที่การหลอมนิวเคลียสไฮโดรเจนยังคงอยู่ในชั้นนอกของแกนกลางแต่ไม่มีฮีเลียมในแกนกลาง และระยะต่อมาที่แกนกลางถึงอุณหภูมิที่จะเริ่มฟิวชันฮีเลียม ก่อนหน้านี้ ระยะทั้งสองนี้ไม่สามารถแยกแยะได้จากการสังเกตการณ์สเปกตรัมของดาวฤกษ์ จนกระทั่งภารกิจของเคปเลอร์ได้ศึกษาคลื่นไหวสะเทือนของดาวยักษ์แดงจำนวนหลายร้อยดวง ทำให้สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสองช่วงนี้ได้ โดยระยะเวลาโหมด g ของดาวที่เผาไหม้ไฮโดรเจนอยู่ภายใน 50 วินาที และระยะเวลาของดาวที่เผาไหม้ด้วยฮีเลียมคือภายใน 100 ถึง 300 วินาที วิทยาคลื่นไหวสะเทือนดาวฤกษ์ช่วยแสดงให้เห็นว่าแกนกลางหมุนเร็วกว่าพื้นผิวอย่างน้อยสิบเท่า การสังเกตการณ์เพิ่มเติมช่วยเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ที่ไม่เคยทราบมาก่อน

อ้างอิง

  1. "Europe goes searching for rocky planets" (Press release). ESA. 26 ตุลาคม 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2008.
  2. Grigahcène, A.; และคณะ (2010). "Hybrid γ Doradus – δ Scuti pulsators: New insights into the physics of the oscillations from Kepler observations". The Astrophysical Journal. 713 (2): L192–L197. arXiv:1001.0747. Bibcode:2010ApJ...713L.192G. doi:10.1088/2041-8205/713/2/L192. S2CID 56144432.

อ่านเพิ่มเติม

  • Aerts, Conny; Christensen-Dalsgaard, Jørgen; Kurtz, Donald (2010). Asteroseismology. Astronomy and Astrophysics Library. Dordrecht, New York: Springer. ISBN 978-1-4020-5803-5.
  • Christensen-Dalsgaard, Jørgen. "Lecture notes on stellar oscillations". สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2015.
  • Pijpers, Frank P. (2006). Methods in Helio- and Asteroseismology. London: Imperial College Press. ISBN 978-1-8609-4755-1.