การเคลื่อนที่เฉพาะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพการเคลื่อนที่ของดาวเบอร์นาร์ด ทุกๆ 5 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1985 - 2005

การเคลื่อนที่เฉพาะ (อังกฤษ: proper motion) หรือ การเคลื่อนที่เฉพาะของดาวฤกษ์ คือการวัดค่าการเปลี่ยนตำแหน่งของดาวบนท้องฟ้าเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งหลังการเคลื่อนที่ไม่เฉพาะผ่านไประยะหนึ่ง แตกต่างจากความเร็วแนวเล็งซึ่งเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงระยะทางที่เคลื่อนเข้าหาหรือออกห่างจากผู้สังเกตการณ์

เอ็ดมันด์ แฮลลีย์ เป็นผู้ค้นพบการเคลื่อนที่เฉพาะในปี ค.ศ. 1718 เมื่อเขาสังเกตเห็นดาวโจร ดาวดวงแก้ว และดาวโรหิณีเคลื่อนไปประมาณครึ่งองศาจากตำแหน่งเดิมที่นักดาราศาสตร์ชาวกรีกโบราณ ฮิปปาร์คอส เคยจัดทำเอาไว้เมื่อ 1850 ปีก่อนหน้านั้น

งานวิจัยในปี ค.ศ. 2005 เป็นการวัดค่าการเคลื่อนที่เฉพาะของดาราจักรได้เป็นครั้งแรก โดยวัดจากดาราจักรสามเหลี่ยม[1]

เราสามารถแสดงค่าการเคลื่อนที่เฉพาะได้โดยอาศัยองค์ประกอบเชิงมุมใน ไรต์แอสเซนชัน (μα) และเดคลิเนชัน (μδ) การเคลื่อนที่เฉพาะสุทธิ (μ) หาได้จาก[2]

โดยที่ δ คือค่าเดคลิเนชัน มุมการเคลื่อนที่เฉพาะ (θ) มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบเหล่านี้โดย:[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. แม็กกี้ แมกกี (3 มีนาคม 2005). "Distant galaxy's subtle sidling measured" เก็บถาวร 2008-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, New Scientist. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-07-21.
  2. 2.0 2.1 Majewski, Steven R. (2006). "Stellar Motions". University of Virginia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2007-05-14.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]