ไทม์ไครซิส 5

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทม์ไครซิส 5
ภาพปกเกม
ผู้จัดจำหน่ายนัมโค
ชุดไทม์ไครซิส
เครื่องเล่นเกมอาร์เคด
วางจำหน่าย12 มีนาคม ค.ศ. 2015
แนวไลต์กันชูตเตอร์
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

ไทม์ไครซิส 5 (ญี่ปุ่น: タイムクライシス5; อังกฤษ: TIME CRISIS 5) เป็นเกมอาร์เคดแนวไลต์กันชูตเตอร์ที่สร้างโดยบันไดนัมโคเกม (ภายหลังเป็นบันไดนัมโคอัมยูสเมนต์) นับเป็นการเปิดตัวครั้งแรกในรอบเก้าปีนับจากไทม์ไครซิส 4 ที่เป็นภาคก่อน[1][2] โดยเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 2015[3] เกมนี้เป็นเกมสุดท้ายบันไดนัมโคเกมก่อนเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นบันไดนัมโคเอนเตอร์เทนเมนต์ในหมวดเอเอ็มของเวลาดังกล่าว

ในภาคห้าของซีรีส์ไทม์ไครซิส หากรวมภาคคู่ขนานจะเป็นผลงานลำดับที่ 8 ของทุกภาครวมกัน ซึ่งมีคำขวัญคือ "เพื่อทำการรักษาเวลา ไปจนถึงการทำลายเวลา" นอกเหนือจากระบบดั้งเดิมที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังเพื่อหลีกเลี่ยงการโจมตีและสิ่งกีดขวางของศัตรู ระบบคันเหยียบคู่ (ดับเบิลเพดัลซิสเต็ม) ก็ได้รับการนำมาใช้[2]

โดยโปรดิวเซอร์ โนริฮิโระ นิชิมูระ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการสร้างผลงานนี้ว่า "ผมต้องการให้เกมประเภทกันชูตเตอร์ได้รับความนิยมอีกครั้ง"[1]

เรื่องย่อ[แก้]

ไทม์ไครซิส 5 ในระบบเกมอาร์เคด

สามเดือนก่อนเหตุการณ์ของเกม ผู้ตรวจสอบของวีเอสเอสอี (V.S.S.E.) ถูกฆ่าตาย โดยกระเป๋าหิ้วของผู้ตรวจสอบมีข้อมูลเกี่ยวกับคนทรยศภายในตำแหน่งวีเอสเอสอี แต่เนื่องจากการฆาตกรรมผู้ตรวจสอบ กระเป๋าหิ้วใบนั้นก็ไม่เคยกลับไปที่การครอบครองชองวีเอสเอสอีเพื่อดึงข้อมูล ลุค โอนีล และมาร์ก โกดาร์ต จึงได้รับการส่งตัวไปเอากระเป๋าหิ้วคืนมา กับโรเบิร์ต แบ็กซ์เตอร์ ในฐานะผู้ดูแลการเรียกค้นกระเป๋าหิ้ว โดยมีแคทเธอรีน ริชชี ทำหน้าที่เป็นตัวแทนสนับสนุนทางอากาศ ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่าไวลด์ ด็อก น่าจะเป็นคนนำกระเป๋าหิ้วไปหลังจากที่ผู้ตรวจสอบถูกสังหาร

ตัวละครหลัก[แก้]

ชื่อ อักษรคาตากานะ อักษรโรมัน รายละเอียด พากย์โดย
ลุค โอนีล ルーク・オニール Luke O'Neil ตัวละครของผู้เล่นคนที่ 1 ผู้ไม่มีความหวาดกลัวต่อสิ่งใด โดมินิก อัลเลน
มาร์ก โกดาร์ต マーク・ゴダート Marc Godart ตัวละครของผู้เล่นคนที่ 2 ผู้เงียบขรึม เอริก เคลโซ
โรเบิร์ต แบ็กซ์เตอร์ ロバート・バクスター Robert Baxter หัวหน้าภารกิจและผู้ฝึกสอนหนุ่ม จากหน่วยเนวีซีลสหรัฐ สจวร์ต โอ
แคทเธอรีน ริชชี キャサリン・リッチ Catherine Ricci เจ้าหน้าที่สนับสนุนการส่งกำลังบำรุงและนักบินเฮลิคอปเตอร์ เธอเป็นสมาชิกอายุน้อยที่สุดของทีม โซเนส สวีเวนส์
ไวลด์ ด็อก ワイルド・ドッグ Wild Dog นักฆ่าในตำนาน พร้อมกับการเป็นหัวหน้าสมาคมที่เรียกว่าองค์การไวลด์ ด็อก ซึ่งปรากฏตัวในซีรีส์ไทม์ไครซิสหลายภาค บิล ซัลลิแวน
คีธ มาร์ติน キース・マーティン Keith Martin ในการเปิดตัว มีเพียงชื่อของเขาเท่านั้นที่ปรากฏ จากหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ ชาลส์ โกลเวอร์
ไวลด์ แฟง ワイルド・ファング Wild Fang ปรากฏตัวในด่านที่ 5 ในฐานะตัวตายตัวแทนของไวลด์ ด็อก แมกซ์เวล พาวเวอส์

รูปแบบการเล่น[แก้]

รูปแบบการเล่นยังคงเอกลักษณ์เดียวกับซีรีส์ภาคก่อน ๆ โดยผู้เล่นใช้ไลต์กันเล็งยิงศัตรูบนหน้าจอ พร้อมหลบกระสุนของศัตรูด้วยการเหยียบแป้นที่อยู่ติดกับพื้น ในภาคนี้ได้เพิ่มแป้นเหยียบซ้ายและขวา ซึ่งสามารถทำให้ตัวละครของผู้เล่นขยับไปด้านข้าง เพื่อโจมตีศัตรูในทิศอื่นได้ ส่วนไลต์กันจะมีปุ่มด้านข้างเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้เล่นเปลี่ยนอาวุธเป็นปืนพก, ปืนลูกซอง หรือเครื่องยิงลูกระเบิด เกมนี้สามารถเล่นได้สองคนพร้อมกัน บนหน้าจอขนาด 55 นิ้ว[4]

การตลาด[แก้]

เกมภาคนี้ เริ่มเปิดให้เล่นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 โดยมีเพียง 3 ด่านให้เล่นในช่วงแรก แต่ทางบันไดนัมโคยืนยันว่าจะทำการเพิ่มด่านมากขึ้นอีกเท่าตัวภายในสิ้นปีดังกล่าว[4]

การตอบรับ[แก้]

เว็บไซต์เกมมิงโดสได้แสดงความสนใจต่อแป้นเหยียบที่เพิ่มขึ้น แต่วิจารณ์ถึงตัวละครที่มีลักษณะเหนือความจริงมากเกินไป อย่างไรก็ตาม ก็ได้ชื่นชมในส่วนของบอส ซึ่งมีรูปแบบการต่อสู้ที่น่าสนใจกว่าภาคก่อน ๆ[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 稲元徹也 (2014年10月21日). "8年ぶりの最新作「タイムクライシス5」が初出展された,バンダイナムコゲームス「アーケードゲーム新作体験会」の模様をレポート". 4Gamer.net. Aetas. สืบค้นเมื่อ 2015年3月9日. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. 2.0 2.1 津久井箇人 a.k.a. そそそ (2014年10月22日). "9年ぶりの新作『タイムクライシス5』来年3月に稼働!ペダルが2つになり、"攻め"の爽快感を重視". iNSIDE. イード. สืบค้นเมื่อ 2015年3月9日. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. NY+ (2015年3月12日). "アーケード向けガンシューティング「タイムクライシス5」が本日稼働開始。左右へ移動できる「ダブルペダル」を使い,無数の敵を撃ちまくろう". 4Gamer.net. Aetas. สืบค้นเมื่อ 2015年3月14日. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. 4.0 4.1 "Time Crisis 5" ลงตู้ยุ่นมีนา 2015 เพิ่มแป้นเหยียบไซด์สเต็ป (ไทย)
  5. Time Crisis อีกหนึ่งความแหวกแนวของโลกเกมยิงปืนฉบับอาร์เคด (ไทย)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]