ลักกีแอนด์ไวลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลักกีแอนด์ไวลด์
ใบปลิวเกมในทวีปอเมริกาเหนือ
ผู้พัฒนานัมโค
ผู้จัดจำหน่ายนัมโค
ออกแบบยูตากะ โคโนเอะ
แต่งเพลงเอ็ตสึโอะ อิชิอิ
เครื่องเล่นอาร์เคด
วางจำหน่าย
แนวแข่งความเร็ว/เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น
ระบบอาร์เคดนัมโคซิสเตม 2

ลักกีแอนด์ไวลด์[a] (อังกฤษ: Lucky & Wild) เป็นเกมอาร์เคดแข่งความเร็ว/เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง ที่วางจำหน่ายโดยบริษัทนัมโคใน ค.ศ. 1993 ซึ่งปฏิบัติการบนฮาร์ดแวร์นัมโคซิสเตม 2

รูปแบบการเล่น[แก้]

ตัวละครของผู้เล่นคนแรกชื่อ "ลักกี" เป็นชายผู้มีความซับซ้อนในชุดสูทธุรกิจ ที่ต้องขับรถด้วยพวงมาลัยกับคันเร่ง และยิงปืนด้วยไลต์กันกระบอกแรก อย่างไรก็ตาม ตัวละครของผู้เล่นคนที่สองชื่อ "ไวลด์" เป็นนักโต้คลื่นผมยาวสีบลอนด์ จำเป็นต้องช่วยตามล่าด้วยไลต์กันกระบอกที่สอง ผู้เล่นจะต้องช่วยลักกีและไวลด์จับผู้ต้องสงสัยที่ต้องการตัวหกคน (ได้แก่ "เจอร์คี", "แกมบิต", "จูลิโอรา", "คีล", "แบร์" และ "บิ๊กซิการ์" ด้วยตัวเอง)

ขณะที่พวกเขาไล่ตามผู้ต้องสงสัยในทุกด่าน ลักกีและไวลด์จะต้องยิงใส่รถของศัตรู รวมถึงยิงศัตรูที่อยู่ในสายตาให้ล้ม พร้อมกับโพรเจกไทล์ที่ยิงใส่พวกเขา ตลอดจนสิ่งกีดขวางที่ขวางกั้นพวกเขา เมื่อพวกเขาตามทันผู้ต้องสงสัย พวกเขาจะต้องยิงรถอย่างต่อเนื่องจนกว่าพลังงานจะหมด หากทำสำเร็จ พวกเขาจะจับผู้ต้องสงสัยได้และจะได้รับเงินรางวัล แต่หากหมดเวลา ผู้ต้องสงสัยจะหลบหนีได้ (โดยระบุด้วยข้อความ "หนีไปแล้ว" ที่ปรากฏบนหน้าจอ)

หลังจากแต่ละด่าน ลักกีและไวลด์จะขับรถไปที่ "อู่แมวสีชมพู" เพื่อซ่อมรถในด่านต่อไป โดยจะมีสาว ๆ สวมหางและหูแมวมอบ "ความบันเทิง" ซึ่งเกมนี้จะจบลงเมื่อเคลียร์ทั้งหกด่านแล้ว โดยไม่คำนึงถึงจำนวนผู้ต้องสงสัยที่ถูกจับได้ นอกจากนี้ ยังมีห้าวิธีในการเล่นเกมที่แตกต่างกัน ได้แก่: ผู้เล่นคนหนึ่งขับรถพร้อมกับใช้ปืนยิง โดยผู้เล่นอีกคนใช้ปืนยิงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงผู้เล่นคนหนึ่งขับรถโดยมีผู้เล่นอีกคนถือปืนเช่นกัน ทั้งผู้เล่นคนหนึ่งขับรถโดยมีผู้เล่นอีกคนถือปืนทั้งสองกระบอก, ผู้เล่นคนหนึ่งขับรถ ผู้เล่นอีกคนควบคุมปืนหนึ่งกระบอก และผู้เล่นคนที่สามถือปืนกระบอกที่สอง หรือแม้กระทั่งผู้เล่นคนเดียวคนหนึ่งถือปืนทั้งสองกระบอกขณะขับรถ (ตามอำเภอใจ) เนื่องจากบริษัทนัมโคไม่เคยผลิตเกมที่ให้ผู้เล่นสูงสุดสามคนเล่นพร้อมกันได้

การพัฒนา[แก้]

ลักกีแอนด์ไวลด์เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของยูตากะ โคโนเอะ ผู้เป็นนักออกแบบวิดีโอเกมที่ร่วมงานกับบริษัทนัมโคใน ค.ศ. 1991[1] โปรเจกต์แรกของเขาคือแทงก์ฟอร์ซ ซึ่งเป็นอาร์เคดภาคต่อของแทงก์แบตแทลเลียน โดยต่อมาได้ทำงานในซีรีส์พอยต์แบลงก์และไทม์ไครซิสแรกเริ่ม[1] แผนกวางแผนของบริษัทพิจารณาอุตสาหกรรมอาร์เคดและสังเกตเห็นว่าผู้มาเล่นวิดีโออาร์เคดในญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นคู่หนุ่มสาว บริษัทนัมโคและโคโนเอะจึงตัดสินใจสร้างเครื่องอาร์เคดขนาดใหญ่ที่คู่รักเหล่านี้โดยเฉพาะผู้ชายสามารถเพลิดเพลินได้[1] เมื่อมองหาแรงบันดาลใจ โคโนเอะสังเกตเห็นความนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของภาพยนตร์คู่หูตำรวจในญี่ปุ่น เช่น ฉลามบก และวิ่งสู้ฟัด ซึ่งเขาตัดสินใจที่จะทำให้เกมนี้เป็นการแสดงความเคารพต่อภาพยนตร์เหล่านี้ เพราะเขารู้สึกว่ามันจะทำให้ผู้เล่นมีส่วนร่วมกับฉากที่คุ้นเคยได้อย่างง่ายดาย[1] นอกจากนี้ ฉลามบกยังเป็นที่มาของแรงบันดาลใจสำหรับชื่อเกม เช่นเดียวกับในญี่ปุ่นที่ใช้ชื่อโจแอนด์พอนช์[1]

ด้วยแนวคิดที่พร้อมแล้ว โคโนเอะและทีมพัฒนาจึงเริ่มสร้างลักกีแอนด์ไวลด์ การออกแบบเกมในช่วงแรกได้รับแรงบันดาลใจมาจากเกมเรลเชสของบริษัทเซกา โดยเฉพาะเบาะที่นั่งแบบเคลื่อนไหวซึ่งตอบสนองตามการกระทำของผู้เล่นในเกม เช่น การสั่นเมื่อวิ่งบนถนนที่เป็นหิน[1] ลักกีแอนด์ไวลด์มีแนวคิดนี้แต่แรกเริ่ม โดยโยกอย่างรุนแรงในรูปแบบเหมือนกระดานหก[1] ซึ่งผู้บริหารของบริษัทนัมโคกดดันให้ไลต์กันยิงนัดเดียวเมื่อเหนี่ยวไก ส่วนโคโนเอะและคนอื่น ๆ ไม่เห็นด้วยเนื่องจากทำให้เกมไม่สามารถเล่นได้[1] เพื่อที่จะสร้างความแตกต่างจากเกมอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วในตลาด รวมถึงสิ่งทีโคโนเอะอธิบายว่าเป็น "[การ]ปกป้องความภาคภูมิใจของแผนกพัฒนา ทีมผู้ผลิตได้ทำงานเพื่อทำให้เกมรู้สึกสดใหม่และแปลกใหม่"[1] ประวัติศาสตร์อันกว้างขวางของบริษัทนัมโคในเกมแนวแข่งความเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแฟรนไชส์ไฟนอลแลป ทำให้ทีมสามารถสร้างเกมเหล่านั้นขึ้นมาจากความเชี่ยวชาญในการออกแบบ[1] โคโนเอะจำได้ว่าส่วนที่ยากที่สุดของการพัฒนาคือการควบคุมเนื่องจากความไม่สมดุลของผู้เล่น[1] ซึ่งการควบคุมเดิมถูกมองว่าเป็นเรื่องที่น่าสับสนและยากต่อการนำไปใช้ โดยนำไปสู่การถกเถียงกันอย่างยาวนานระหว่างพนักงานว่าการควบคุมจะทำให้ง่ายขึ้นและแก้ไขความไม่สมดุลได้อย่างไร[1]

แม้ว่าเกมแข่งความเร็ว 3 มิติจะได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 แต่โคโนเอะก็เลือกที่จะยึดติดกับสไปรต์ 2 มิติ และใช้มันเพื่อสร้างภาพลวงตาของโลก 3 มิติ[1] ส่วนฮาร์ดแวร์อาร์เคดที่ปฏิบัติการอยู่อย่างนัมโคซิสเตม 2 ได้มีข้อจำกัดที่เข้มงวดซึ่งทำให้ยากต่อการทำงานระหว่างการผลิต[1] เพื่อหาวิธีหลีกเลี่ยงการหยุดยั้งความก้าวหน้าเหล่านี้และสร้างโลกที่พวกเขาจินตนาการไว้ ทีมงานจึงมองหาแรงบันดาลใจในเกมโพลโพซิชัน ซึ่งใช้เทคนิคอันชาญฉลาดในการจัดวางวัตถุที่ใช้สไปรต์ให้สอดคล้องกับถนนที่สร้างภาพลวงตาของสภาพแวดล้อม 3 มิติ[1] โคโนเอะนำสิ่งนี้มาใช้ในลักกีแอนด์ไวลด์ โดยใช้การจัดเรียงเสาไฟถนน, อาคาร, พุ่มไม้ และป้ายโฆษณาที่สมจริงเพื่อให้ขนานกับถนนดังกล่าว และสร้างความรู้สึกที่มีความลึกอย่างมาก[1] วัตถุเหล่านี้และอัตราการเคลื่อนไหวที่พวกเขาเลื่อนผ่านเครื่องเล่นล้วนทำด้วยมือ โดยได้รับการช่วยเหลือเล็กน้อยจากชุดเครื่องมือการผลิตของบริษัทนัมโค[1] ซึ่งวัตถุต่าง ๆ ได้รับการวาดขึ้นทีละชิ้นอย่างอุตสาหะ โดยทีมงานใช้แหล่งวัตถุดิบอย่างมังงะและอัลบัมภาพถ่ายเป็นข้อมูลอ้างอิง[1] อนึ่ง เชื่อกันว่าเกมนี้ได้รับแรงบันดาลใจอย่างมากจากภาพยนตร์เรื่อง 2 โหดไม่รู้ดับ เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันหลายประการ เช่น การออกแบบที่คล้ายคลึงกันของตัวละครเอกและธีมที่เกือบจะเหมือนกัน ซึ่งโคโนเอะปฏิเสธเรื่องนี้ในการให้สัมภาษณ์ โดยอ้างว่าเขาไม่รู้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีอยู่ในระหว่างการผลิต และความคล้ายคลึงกันเป็นเพียงเรื่องบังเอิญเท่านั้น[1] ทั้งนี้ ลักกีแอนด์ไวลด์ได้รับการเปิดตัวในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1993 ตามด้วยการเปิดตัวในทวีปอเมริกาเหนือในอีกหนึ่งเดือนต่อมา[2]

การอ้างอิงในเกมอื่น ๆ[แก้]

ลักกีแอนด์ไวลด์ยังได้รับการยืมมาเป็นแบรนด์บริษัทรถแต่งสัญชาติอเมริกันในเกมริดจ์เรเซอร์ โดยมีผลิตภัณฑ์เป็นมัสเซิลคาร์ (คล้ายกับของแดนเวอร์) ส่วนการก่อรูปแบบของตัวละครเอกของลักกีแอนด์ไวลด์ได้ปรากฏในมาริโอคาร์ตอาร์เคด จีพี ดีเอกซ์ ในเวลาต่อมา โดยมีผู้เล่นคนหนึ่งขับรถและคนที่สองทำหน้าที่เป็นมือปืน นอกจากนี้ ในตอนแรกของซีรีส์วิดีโออินเตอร์แอกทีฟอย่างแบร์สตีมส์บราโว นั้น แจ็กกี ดาลตัน ผู้เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารแบร์สตีมส์ กล่าวถึงแฟรนโกและเฮนรีซึ่งเป็นผู้ควบคุมด้วยชื่อ "ลักกีแอนด์ไวลด์"

การตอบรับ[แก้]

เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1993 เกมแมชชีนอ้างว่าลักกีแอนด์ไวลด์เป็นเกมอาร์เคดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเป็นอันดับสามในประเทศญี่ปุ่น[3] และรีเพลย์ยังรายงานว่าลักกีแอนด์ไวลด์เป็นเกมอาร์เคดหรูหราที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอันดับสี่ในขณะนั้น[4] ส่วนนิตยสารเพลย์มิเตอร์ระบุว่าลักกีแอนด์ไวลด์เป็นเกมอาร์เคดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอันดับที่ 25 ในขณะนั้นเช่นกัน[5] นอกจากนี้ ไทม์เอกซ์เทนชันได้กล่าวถึงเกมนี้ว่าเป็น "หนึ่งในเกมที่น่าทึ่งที่สุดของยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 และเป็นเกมที่สมควรได้รับความสนใจมากกว่าที่ทำอยู่ในปัจจุบัน"[6]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ラッキー&ワイルド Rakkī Ando Wairudo

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 Tilley, Sorrel (April 2012). "The Making Of: Lucky & Wild". No. 101. United Kingdom: Imagine Publishing. Retro Gamer. pp. 36–39. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
  2. Akagi, Masumi (13 October 2006). ナムコ Namco; Namco America; L. アーケードTVゲームリスト 国内•海外編 (1971-2005) (ภาษาญี่ปุ่น) (1st ed.). Amusement News Agency. pp. 53, 126, 157. ISBN 978-4990251215.
  3. "Game Machine's Best Hit Games 25 - アップライト, コックピット型TVゲーム機 (Upright/Cockpit Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 449. Amusement Press, Inc. 15 May 1993. p. 29.
  4. "The Player's Choice - Top Games Now in Operation, Based on Earnings-Opinion Poll of Operators: Best Deluxe Videos". RePlay. Vol. 18 no. 10. RePlay Publishing, Inc. July 1993. p. 4.
  5. "Equipment Poll - Video & Pinball Combined". Play Meter. Vol. 19 no. 9. Skybird Publishing. August 1993. p. 8.
  6. McFerran, Damien (27 March 2023). "Remembering Lucky & Wild, Namco's Arcade-Only Forgotten Classic". Time Extension. Hookshot Media. สืบค้นเมื่อ 27 March 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]