ข้ามไปเนื้อหา

ไทม์ไครซิส 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทม์ไครซิส 3
งานศิลปะปก
ผู้พัฒนาเนกซ์เทค
ผู้จัดจำหน่ายนัมโค, โซนีคอมพิวเตอร์เอนเตอร์เทนเมนต์ (ยุโรป, เกาหลี)
กำกับทากาชิ ซาสึกาวะ
อำนวยการผลิตฮาจิเมะ นากาทานิ
เครื่องเล่นอาร์เคด (ซิสเต็ม 246)
เพลย์สเตชัน 2
วางจำหน่ายอาร์เคด
เพลย์สเตชัน 2
แนวเกมยิงที่ไม่ต้องเดิน
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว
หลายผู้เล่น
ระบบอาร์เคดนัมโคซิสเต็ม 246

ไทม์ไครซิส 3 (อังกฤษ: Time Crisis 3) เป็นเกมยิงที่ไม่ต้องเดิน ซึ่งเป็นภาคที่สามของซีรีส์อาร์เคดไทม์ไครซิส เหมือนภาคก่อนอย่างไทม์ไครซิส II ที่อนุญาตให้ผู้เล่นสองคนร่วมมือกันในสภาพแวดล้อมการเล่นแบบลิงก์กัน และมีระบบคันเหยียบที่เป็นเอกลักษณ์ของไทม์ไครซิสสำหรับการซ่อนและบุก รวมถึงเป็นระบบแรกในซีรีส์ที่จะเปลี่ยนหรือเลือกอาวุธ ซึ่งต่อมาเกมนี้ได้ลงพอร์ตเพลย์สเตชัน 2

การเปลี่ยนแปลง

[แก้]

ไทม์ไครซิส 3 ได้รวมระบบอาวุธชนิดใหม่ที่อนุญาตให้ผู้เล่นสลับระหว่างปืนพกมาตรฐาน 9 นัด, ปืนกลอัตโนมัติเต็มรูปแบบที่สามารถจุ 200 นัด, ปืนลูกซองกับกระสุน 50 นัด และเครื่องยิงลูกระเบิด 5 นัดพร้อมความเสียหายซัดสาดที่ทรงพลัง ปืนพกเท่านั้นที่มีกระสุนไม่จำกัด แม้ว่าผู้เล่นจะสามารถยิงทหารที่สวมชุดสีเหลืองเพื่อรับกระสุนสำหรับอาวุธอื่น ๆ คุณสมบัตินี้ถูกใช้ในพอร์ตไครซิสโซนในภายหลัง โดยมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง

เกมดังกล่าวยังปรับปรุงระบบแสงแลบวิกฤตซึ่งการยิงที่เป็นอันตรายต่อชีวิตในเกมจะสว่างขึ้น ทำให้คำแนะนำในการปล่อยคันเหยียบนั้นง่ายขึ้น

ชื่อนี้ได้รับการเปิดตัวในภายหลังสำหรับเพลย์สเตชัน 2 พร้อมกับเนื้อเรื่องฝั่งอลิเซีย วินสตัน ในฐานะผู้เล่น ซึ่งเป็นเพียงผู้สนับสนุนที่เล่นไม่ได้ในเกมเวอร์ชันอาร์เคด รูปแบบการเล่นสำหรับอลิเซียส่วนใหญ่เหมือนกับแคมเปญปกติ พร้อมด้วยส่วนที่ผู้เล่นจะต้องใช้ปืนไรเฟิลซุ่มยิงเป็นครั้งคราวเพื่อจัดการกับพลซุ่มยิงของศัตรู ผิดกันกับไทม์ไครซิส และไทม์ไครซิส II พอร์ตคอนโซลบ้านประกอบด้วยองค์ประกอบของโครงเรื่อง, คุณสมบัติ และอาวุธที่ไม่พบในอาร์เคด เช่นเดียวกับเวอร์ชันไทม์ไครซิส II ของเพลย์สเตชัน 2 ผู้เล่นสามารถเข้าถึงเมนูการฝึกไครซิสมิชชันผ่านการเล่นเกมที่ยาวนานขึ้น

โครงเรื่อง

[แก้]

ใน ค.ศ. 2003 นับเป็น 6 ปี หลังจากเหตุการณ์ไทม์ไครซิส II อัสตีกอสซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของเมดิเตอร์เรเนียนแห่งแคว้นลูกาโน ได้ถูกรุกรานโดยกองกำลังพิเศษจากสหพันธรัฐซาโกเรียน ที่นำโดยนายพล จอร์โจ ซอตต์ จอมเผด็จการ ผู้บุกรุกพิชิตอัสตีกอสไป 80 เปอร์เซนต์ในเวลาไม่กี่สัปดาห์แม้จะมีการประท้วงในระดับนานาชาติ ในขณะเดียวกัน ผู้พิทักษ์ลูกาโนที่รอดชีวิตได้รวมตัวกันเป็นกองกำลังปลดปล่อยลูกาโนภายใต้แดเนียล วินสตัน รู้ว่ากองกำลังของซาโกเรียนได้สร้างฐานในหอดูดาวอัสตีกอสสเตตที่ถูกทิ้งร้าง แดเนียลกับผู้หมวดเจค เฮอร์นันเดซ จึงนำกองกำลังเล็ก ๆ มาแทรกซึมและทำลายมัน อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าไปข้างในพวกเขาได้ถูกจับกุมโดยกองทหารของซาโกเรียนที่คอยอยู่

หนึ่งสัปดาห์ต่อมา อลิเซียน้องสาวของแดเนียลรับภารกิจเดี่ยวเพื่อแทรกซึมเข้าไปในบังเกอร์ของชาวซาโกเรียน ที่ภายใน เธอได้ดาวน์โหลดข้อมูลข่าวกรองที่ทำให้เธอค้นพบว่าฝ่ายซาโกเรียนได้รับขีปนาวุธทิ้งตัวทางยุทธวิธี ซึ่งพวกเขาตั้งใจจะใช้เพื่อกำจัดกองกำลังปลดปล่อยลูกาโนที่เหลือ และอาจเป็นภัยคุกคามต่อประเทศเพื่อนบ้าน อลิเซียส่งข้อมูลไปยังผู้ติดต่อของเธอที่วีเอสเอสอี (V.S.S.E.) ซึ่งจะทำให้หน่วยงานส่งเจ้าหน้าที่คืออลัน ดันอเวย์ และเวสลีย์ แลมเบิร์ต ไปทำลายขีปนาวุธ อลันและเวสลีย์สวมรอยเป็นชาวประมง โดยเริ่มการโจมตีที่หาดมาราโน แต่ถูกผู้ปกป้องซาโกเรียนต้อนเข้าจนมุมอย่างรวดเร็ว นาวาอากาศเอก วิกเตอร์ ซาห์น ผู้นำของพวกมันโจมตีพวกเขาด้วยเฮลิคอปเตอร์ทหารติดอาวุธหนัก อลิเซียสามารถขโมยรถจี๊ปและช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ แล้วช่วยพวกเขายิงซาห์น ทั้งสามเดินทางไปยังอัสตีกอสทาวน์เซ็นเตอร์ ซึ่งพวกเขาได้แยกจากกันด้วยการโจมตีที่ไม่ทันได้ตั้งตัว เวสลีย์และอลันต่อสู้ผ่านเมืองและป่าเพื่อไปให้ถึงรถไฟเสบียงที่มุ่งหน้าไปยังที่ซ่อนของซอตต์ ในขณะเดียวกัน อลิเซียกำลังเผชิญหน้ากับเจคซึ่งเปิดเผยว่าเป็นคนทรยศพี่ชายแดเนียลไป หลังจากจัดการเจคนอกเมืองแล้ว อลิเซียก็พบกับเจ้าหน้าที่ทั้งสองที่โรงรถไฟ

แรนดี การ์เรตต์ ซึ่งเป็นหัวหน้า "ทีมนักฆ่า" ของซอตต์ ได้นำพวกเขาไปสู่การซุ่มโจมตี ระหว่างนั้นเขาทำลายสะพาน ทำให้รถไฟตกลงไปในแม่น้ำ หลังจากปราบการ์เร็ตต์และคนของเขาแล้ว อลิเซีย, เวสลีย์ และอลัน ก็เข้าใกล้ฐานซึ่งพวกเขาแยกกันอีกครั้งเพื่อเอาชนะผู้พิทักษ์ภายนอก อลันและเวสลีย์ต้องเผชิญหน้ากับมือปืนรับจ้างอย่างไวลด์ ด็อก — ซึ่งดูเหมือนว่าน่าจะถูกฆ่าตายในช่วงเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติการณ์นีโอไดน์ — กับคู่หูคนใหม่ของเขาอย่างไวลด์ แฟงก์ ผู้ที่มีกำลังขาอย่างมาก ในการต่อสู้ที่ตามมา เห็นได้ชัดว่าแฟงก์ถูกฆ่าตาย แต่ด็อกฆ่าตัวตายอีกครั้งโดยใช้วัตถุระเบิดเพื่อหลบเลี่ยงการจับกุม ส่วนซอตต์เตรียมที่จะประหารแดเนียลเพื่อแก้แค้น แต่อลิเซียยิงปืนพกให้หลุดจากมือด้วยปืนสไนเปอร์ อลันและเวสลีย์ไล่ตามซอตต์ซึ่งเข้าไปในที่ซ่อน ขณะที่อลิเซียปลดปล่อยคนของแดเนียลจากการเป็นเชลย แล้วกองรบก็มาถึงทันเวลาเพื่อช่วยสายลับจากทหารของซอตต์

อลันและเวสลีย์เผชิญหน้ากับซอตต์ในโดมหลักและยิงเขาตาย แต่ไม่ทันที่เขาจะเริ่มปล่อยขีปนาวุธ เจ้าหน้าที่ทั้งสองตัดสินใจใช้เครื่องยิงจรวดทำลายหลังคาโดม ทำให้มันร่วงไปในโพรงและทำลายขีปนาวุธ ในขณะเดียวกัน อลิเซียก็พบเจคที่พยายามหนีพร้อมด้วยหัวรบนิวเคลียร์ที่ขโมยมา เธอหยุดการขนถ่ายของเขา ทำให้เขาจุดชนวนก่อนเวลาอันควร อลิเซียใช้ทักษะการซุ่มยิงของเธอทำลายเครื่องจุดชนวนระเบิดและสังหารเฮอร์นันเดซไปพร้อม ๆ กันก่อนที่จะส่งซากเพลิงไหม้ลงสู่ทะเล อลิเซียกลับไปหาพี่ชายของเธอ แล้วช่วยเจ้าหน้าที่ทั้งสองหลบหนี

ภารกิจของพวกเขาประสบความสำเร็จ อลันและเวสลีย์กลับบ้าน ในขณะที่กองกำลังปลดปล่อยลูกาโนเอาชนะฝ่ายซาโกเรียนและบังคับให้พวกเขาออกจากลูกาโนได้ในที่สุด โดยยึดเกาะอัสตีกอสคืนได้ 90 เปอร์เซ็นต์ในปฏิบัติการ

ภาคแยกโทรศัพท์มือถือ

[แก้]

ภาคแยกของไทม์ไครซิส 3 คือไทม์ไครซิสโมบายล์ (ทรีดี) ได้รับการเปิดตัวบนโทรศัพท์มือถือ และต่อมาอีกครั้งใน ค.ศ. 2009 สู่ระบบไอโฟน ไอโอเอส ด้วยชื่อไทม์ไครซิสสไตรก์

การตอบรับ

[แก้]
การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เมทาคริติก81/100[1]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
เอดจ์6/10[2]
อิเล็กทรอนิกเกมมิงมันท์ลี7.5/10[3]
ยูโรเกมเมอร์8/10[4]
เกมอินฟอร์เมอร์7.5/10[5]
เกมโปร5/5 stars[6]
เกมสปอต7.6/10[7]
เกมโซน8.6/10[8]
ไอจีเอ็น8.4/10[9]
ออฟฟิเชียล ยู.เอส. เพลย์สเตชันแมกกาซีน4.5/5 stars[10]
เอ็กซ์-เพลย์4/5 stars[11]

เกมนี้ได้รับการวิจารณ์ที่ "ดี" ตามเว็บไซต์การรวบรวมบทวิจารณ์ เมทาคริติก[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Time Crisis 3 Critic Reviews for PlayStation 2". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 2014-02-19.
  2. Edge staff (December 2003). "Time Crisis 3". Edge (130): 107.
  3. EGM Staff (November 2003). "Time Crisis 3". Electronic Gaming Monthly (172): 187.
  4. Reed, Kristan (2003-10-17). "Time Crisis 3 Review". Eurogamer. สืบค้นเมื่อ 2014-02-19.
  5. Leeper, Justin (December 2003). "Time Crisis 3". Game Informer (128): 149. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-19. สืบค้นเมื่อ 2014-02-19.
  6. Four-Eyed Dragon (2003-10-22). "Time Crisis 3 Review for PS2 on GamePro.com". GamePro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-08. สืบค้นเมื่อ 2014-02-19.
  7. Davis, Ryan (2003-10-22). "Time Crisis 3 Review". GameSpot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-10-23. สืบค้นเมื่อ 2014-02-19.
  8. Lafferty, Michael (2003-10-26). "Time Crisis 3 - PS2 - Review". GameZone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-17. สืบค้นเมื่อ 2014-02-19.
  9. Lewis, Ed (2003-10-21). "Time Crisis 3". IGN. สืบค้นเมื่อ 2014-02-19.
  10. Baker, Chris (November 2003). "Time Crisis 3". Official U.S. PlayStation Magazine: 142. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-01-09. สืบค้นเมื่อ 2014-02-19.
  11. Steinberg, Scott (2003-09-24). "'Time Crisis 3' (PS2) Review". X-Play. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-12-17. สืบค้นเมื่อ 2014-02-19.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]