โอฬาร พรหมใจ
โอฬาร พรหมใจ | |
---|---|
ชื่อเกิด | โอฬาร พรหมใจ |
รู้จักในชื่อ | โอ้ |
เกิด | 5 เมษายน พ.ศ. 2498 |
ที่เกิด | อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย |
แนวเพลง | เฮฟวีเมทัล |
เครื่องดนตรี | กีตาร์ |
ค่ายเพลง | แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ไมล์ สโตน เรคคอร์ด เพอร์เฟกต์ เรคคอร์ด |
อดีตสมาชิก | โซดา |
โอฬาร พรหมใจ (ชื่อเล่น: โอ้; เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักดนตรีและมือกีตาร์ หัวหน้าวงดิ โอฬาร โปรเจ็คต์ ได้รับการยอมรับให้เป็นมือกีตาร์ฝีมือดีและมีชื่อเสียงในระดับแถวหน้าคนหนึ่งของประเทศไทย
โดยโอฬาร พรหมใจ เริ่มเล่นดนตรีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 และเคยร่วมงานกับวง วีไอพี ของแหลม มอริสันในช่วงที่วง วีไอพี กลับมาจากการทัวร์คอนเสิร์ตในกลุ่มประเทศแถบสแกนดิเนเวีย
หลังจากที่วง วีไอพี ได้ยุบตัวลง โอฬาร พรหมใจ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกวงดนตรีในแนวเฮฟวี่เมทัลชื่อ โซดา โดยมี ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ เป็นนักร้องนำ และมีผลงานเพลงกับค่ายแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ 1 ชุด ต่อมาได้ชักชวนโป่ง ปฐมพงศ์ มาเป็นนักร้องนำวงดนตรีของตัวเองในชื่อ ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์ และนับเป็นวงที่ทำให้โอฬาร พรหมใจ ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงมากที่สุด เมื่อโอฬาร หยุดวงThe O-larn Project ด้วยเหตุผลเพื่อความเหมาะสม...โป่ง ปฐมพงศ์ ไปก่อตั้งวงหิน เหล็ก ไฟ
โอฬาร พรหมใจ ได้รับการยกย่องให้เป็นนักกีตาร์ฝีมือระดับชั้นแนวหน้าคนหนึ่งของไทย เช่นเดียวกับแหลม มอริสัน, กิตติ กีตาร์ปืน, ช.อ้น ณ บางช้าง, ป๊อบ - จักรรินทร์ ดวงมณีรัตนชัย, หมู คาไลโดสโคป, ชัคกี้ ธัญญรัตน์, เล็ก คาราบาว, โอม - ชาตรี คงสุวรรณ เป็นผู้ที่เล่นดนตรีด้วยการพยายามเข้าใจถึงเนื้อหาและสาระของเพลงที่จะเล่น ด้วยการตีความของตัวเอง[1]
นอกจากนี้แล้ว ในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี โอฬาร พรหมใจ ก็ได้แต่งเพลงบรรเลงเนื่องในวโรกาสนี้ ชื่อ พลังและความตั้งใจ ถวายแด่พระองค์ท่าน เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ซึ่งต่อมาเพลงนี้ได้รับรางวัลสีสันอะวอร์ดส์ สาขาเพลงบรรเลงยอดเยี่ยม ประจำปีอีกด้วย
โอฬาร พรหมใจ ได้รับเกียรติ ในการเป็นผู้รับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้แก่ Squier ยี่ห้อของกีตาร์ไฟฟ้าในเครือของเฟนเดอร์ของสหรัฐอเมริกาอยู่หลายปีก่อนที่จะได้รับการผลิตกีตาร์รุ่นลายเซ็น ของตัวเอง ซึ่งมีวางจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ซึ่งโอฬาร พรหมใจ ยังถือว่าเป็นมือกีตาร์คนแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอาเซียน ในการผลิตกีตาร์รุ่นลายเซ็นของ Squier อีกด้วยและในปี2560 ทางFender Coporation ได้ผลิตกีตาร์Fender Stratocaster O-larn Signature ถือเป็นเกียรติประวัติของคนไทยและโอฬาร [2]
ประวัติ
[แก้]โอฬาร พรหมใจ เกิดวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2498 ที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนพานพิทยาคม และได้เดินทางเข้ามายังกรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาต่อทางด้านศิลปะที่เพาะช่าง,โรงเรียนอาชีวศิลป์ ก่อนจะมาศึกษาต่ออีก2ครั้งที่วิทยาลัยเพาะช่าง
ในช่วงวัยเด็กโอฬาร พรหมใจ มีความสนใจทางด้านงานศิลปะและดนตรี โดยชื่นชอบเสียงเพลงที่มีท่วงทำนองที่ถูกบรรเลงด้วยเสียงกีตาร์และมีศิลปินที่ชื่นชอบคือวงดนตรีแนวบรรเลง (Instrumental) อย่างวง เดอะ ชาโดวส์ (The Shadows) โดยโอฬารเริ่มหัดเล่นกีตาร์ตั้งแต่เด็ก และได้เป็นมือกีตาร์ในคณะรำวง ออกแสดงตามสถานที่ต่างๆในขณะที่ยังเรียนอยู่ในชั้นมัธยม จนเมื่อเข้ามาศึกษาต่อที่กรุงเทพและจบจากวิทยาลัยเพาะช่าง ก็ได้เข้าร่วมวง Epitaph ตระเวนเล่นคอนเสิร์ตทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด จนมีชื่อเสียงในหมู่นักดนตรีในฐานะมือกีตาร์ฝีมือดีคนหนึ่ง
ต่อมาเมื่อวง VIP ของ Lam Morrison กลับมาจากการทัวร์คอนเสิร์ตที่กลุ่มประเทศแถบสแกนดิเนเวีย จึงได้ชักชวนให้โอฬาร เข้ามาเล่นกีตาร์ร่วมกับทางวง จนเมื่อสมาชิกของ VIP ต่างแยกย้ายกันออกไป โอฬาร พรหมใจ จึงได้ชักชวนเพื่อนนักดนตรีจากวง Jonathan Blues ร่วมกันก่อตั้งวงดนตรีขึ้นมาใหม่เพื่อทำเพลงไทยเป็นของตนเอง แต่เพื่อนๆบอกว่าให้มาเล่นด้วบกันก่อน โดยวงที่ก่อตั้งขึ้นใหม่นี้ใช้ชื่อว่า Sapphire
หลังจากที่ก่อตั้งวงขึ้นใหม่ ขุนทอง อสุนี ณ อยุธยา ได้นำเดโมเพลงไปเสนอกับทางค่ายเพลง จนทางวงได้เซ็นสัญญากับบริษัทแกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนต์ และมีการเปลี่ยนชื่อวงเป็น โซดา (Soda) โดยมี โป่ง-ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ เป็นนักร้องนำ
วงโซดามีผลงานสตูดิโออัลบั้ม เป็นครั้งแรกชื่ออัลบั้ม คำก้อน ในปี พ.ศ. 2527 โดยมีเรวัต พุทธินันทน์ เป็นโปรดิวเซอร์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จทางด้านยอดขาย
คอนเสิร์ต
[แก้]- คอนเสิร์ต Ohm Chatree Kongsuwan & Friends : Live! Into The Light (2551)
- คอนเสิร์ต รำลีก ชักกี้ ธัญญรัตน์ (2551)
- คอนเสิร์ต The Memory Night Concert (2553)
- คอนเสิร์ต พันธุ์เล (2553)
- คอนเสิร์ต 35 ปี จรัล มโนเพ็ชร (2555)
- คอนเสิร์ต Ohm Chatree Live 2013 The Director's Cut (2556)
- คอนเสิร์ต กินลม ชมบาว (2556)
- คอนเสิร์ต Music For Friend (2558)
- คอนเสิร์ต รวมใจราชาแห่งร็อค (2562)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ บทสัมภาษณ์จากรายการ 108 Music ทางทีวีไทย: 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553
- ↑ Fender Coporation