โรบิน หลี่
โรบิน หลี่ | |
---|---|
李彦宏 | |
โรบิน หลี่ ในปี ค.ศ. 2010 | |
เกิด | หยางฉวน มณฑลชานซี ประเทศจีน | 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1968
สัญชาติ | จีน |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์กที่เมืองบัฟฟาโล (ซูนี) |
อาชีพ | นักการเมือง, ผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ต |
ตำแหน่ง | ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการไป่ตู้ |
กรรมการใน | เอดูเคชันแอนด์เทคโนโลยีกรุป อิงค์ |
คู่สมรส | หม่า ตงหมิ่น |
บุตร | 4 คน |
โรบิน หลี่ | |||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 李彦宏 | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 李彥宏 | ||||||||||||
|
โรบิน หลี่ เยี่ยนหง (จีน: 李彦宏; พินอิน: Lǐ Yànhóng; เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1968) เป็นทั้งนักการเมือง, นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ตชาวจีน เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเสิร์ชเอนจินไป่ตู้[2] และเป็นหนึ่งในคนที่รวยที่สุดในประเทศจีน โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 18.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2017[1] หลี่เป็นสมาชิกคนหนึ่งของการประชุมสภาปรึกษาการเมืองแห่งประชาชนจีนครั้งที่ 12[3]
หลี่ศึกษาการจัดการข้อมูลที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์กที่เมืองบัฟฟาโล ในปี ค.ศ. 1996 เขาได้คิดค้นแรงก์เดกซ์ ซึ่งเป็นเสิร์ชเอนจินแรกที่มีอัลกอริทึมการจัดอันดับหน้าและการให้คะแนนเว็บไซต์[4] ส่วนในปี ค.ศ. 2000 เขาได้ก่อตั้งไป่ตู้ร่วมกับเอริก ซู่ ซึ่งหลี่เป็นกรรมการผู้จัดการของไป่ตู้ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2004 บริษัทได้จดทะเบียนในแนสแด็กเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2005[5] นอกจากนี้ หลี่ได้รับการรวมเป็นหนึ่งใน 15 นักวิทยาศาสตร์ชาวเอเชียที่น่าจับตามอง โดยเอเชียนไซเอนทิสต์แมกกาซีนเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2011[6]
ในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2014 โรบิน หลี่ ได้รับการแต่งตั้งจากนายพัน กี-มุน ซึ่งเป็นเลขาธิการสหประชาชาติ ในฐานะประธานร่วมของกลุ่มที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านการปฏิวัติข้อมูลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน[7]
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]หลี่เกิดที่มณฑลชานซี ประเทศจีน ที่ซึ่งเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในวัยเด็กของเขา พ่อแม่ของเขาทั้งคู่เป็นคนงานในโรงงาน หลี่เป็นลูกคนที่สี่ในพี่น้องทั้งหมดห้าคน และเป็นเด็กผู้ชายเพียงคนเดียว[8]
เขาลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งซึ่งเขาศึกษาด้านการจัดการข้อมูลและได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ครั้นฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1991 หลี่ได้เรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์กที่เมืองบัฟฟาโล เดิมที เขาต้องการสำเร็จการศึกษาปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่เมื่อเขาได้รับปริญญาโทสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ในปี ค.ศ. 1994 ก็ตัดสินใจที่จะไม่เรียนต่อ[8]
เส้นทางสู่ไป่ตู้
[แก้]ในปี ค.ศ. 1994 หลี่ได้เข้าร่วมไอดีดี อินฟอร์เมชันเซอร์วิส ซึ้งเป็นแผนกรัฐนิวเจอร์ซีย์ของดาวโจนส์แอนด์คอมพานี ที่ซึ่งเขาช่วยพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์สำหรับเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลฉบับออนไลน์[9] เขายังทำงานเกี่ยวกับการปรับปรุงอัลกอริทึมสำหรับเสิร์ชเอนจิน เขายังคงทำงานอยู่ที่ไอดีดี อินฟอร์เมชันเซอร์วิส ตั้งแต่พฤษภาคม ค.ศ. 1994 ถึงมิถุนายน ค.ศ. 1997 โดยในปี ค.ศ. 1996 ขณะทำงานที่ไอดีดี หลี่ได้คิดค้นคิดค้นอัลกอริทึมการให้คะแนนเว็บไซต์แรงก์เดกซ์สำหรับการจัดอันดับหน้าของเสิร์ชเอนจิน[4][10][11] ซึ่งได้รับรางวัลสิทธิบัตรในสหรัฐ[12] มันเป็นเสิร์ชเอนจินแรกที่ใช้ไฮเปอร์ลิงก์เพื่อวัดคุณภาพของเว็บไซต์ที่เป็นดัชนี[13] โดยเกิดขึ้นก่อนสิทธิบัตรอัลกอริทึมที่คล้ายกันยื่นโดยกูเกิลช่วงสองปีต่อมาในปี ค.ศ. 1998[14] แลร์รี เพจ ผู้ก่อตั้งกูเกิลอ้างถึงผลงานของหลี่ในสิทธิบัตรของสหรัฐบางรายการสำหรับเพจแรงก์[15] ซึ่งต่อมาหลี่ได้ใช้เทคโนโลยีเพจแรงก์ของเขาสำหรับเสิร์ชเอนจินไป่ตู้
หลี่ทำงานเป็นวิศวกรพนักงานของอินโฟซีค ซึ่งเป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตเสิร์ชเอนจินผู้บุกเบิก ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1997 ถึงธันวาคม ค.ศ. 1999 ความสำเร็จของเขาคือฟังก์ชันการค้นหารูปภาพที่ใช้โดย Go.com[16] นับตั้งแต่ก่อตั้งไป่ตู้ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2000 หลี่ได้เปลี่ยนบริษัทเป็นเสิร์ชเอนจินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 80 เปอร์เซนต์จากข้อความค้นหา และเสิร์ชเอนจินอิสระ[คลุมเครือ] ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2005 ไป่ตู้ประสบความสำเร็จในการเสนอขายหุ้นไอพีโอบนแนสแด็ก และในปี 2007 ก็ได้กลายเป็นบริษัทจีนแห่งแรกที่รวมอยู่ในดัชนีแนสแด็ก-100 นอกจากนี้ เขาได้ปรากฏในรายชื่อ "50 บุคคลที่มีความสำคัญในตอนนี้" ประจำปีของซีเอ็นเอ็นมันนีเมื่อปี ค.ศ. 2007[17]
เกียรติประวัติ
[แก้]ในปี ค.ศ. 2001 เขาได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน"ผู้บุกเบิกนวัตกรรมท็อปเท็นของจีน" เก็บถาวร 2007-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ส่วนในปี ค.ศ. 2002 และ ค.ศ. 2003 เขาได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน"สิบผู้มีชื่อเสียงด้านไอที"สองสมัยติดต่อกัน ครั้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 2004 เขาได้รับเลือกให้อยู่ในเซสชันที่สองของ"สิบบุคคลหนุ่มสาวด้านซอฟต์แวร์ที่โดดเด่น" สำหรับวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 2005 เขาได้รับเลือกให้อยู่ในเซสชันที่สองของ"รางวัลเยาวชนอาเซียน" เก็บถาวร 2016-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2005 เขาได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน"บุคคลด้านเศรษฐกิจจีนแห่งปีของซีซีทีวี 2005" เก็บถาวร 2016-09-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รวมถึงเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2006 เขาได้รับเลือกให้เป็น "ผู้นำทางธุรกิจที่ดีที่สุดในโลก" ในปี ค.ศ. 2006 โดยอเมริกันบิสสิเนสวีคลี เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]หลี่ได้สมรสกับหม่า ตงหมิ่น ซึ่งทำงานให้แก่ไป่ตู้เช่นกัน[18][19] พวกเขามีลูกสี่คนและอาศัยอยู่ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Robin Li". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 October 2017.
- ↑ www
.baidu .com - ↑ "政协委员李彦宏:高薪挖著名教授成为不了优秀大学". China Internet Information Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-05. สืบค้นเมื่อ March 5, 2016.
- ↑ 4.0 4.1 "About: RankDex", rankdex.com; accessed 3 May 2014.
- ↑ "Baidu mesmerizes Wall Street - Taipei Times". www.taipeitimes.com. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017.
- ↑ "The Ultimate List Of 15 Asian Scientists To Watch – Robin Li". AsianScientist.com. 15 May 2011. สืบค้นเมื่อ 6 June 2011.
- ↑ "UN Secretary-General's Data Revolution expert group". undatarevolution.org. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017.
- ↑ 8.0 8.1 "李彦宏 - MBA智库百科" (ภาษาจีน). Wiki.mbalib.com. 1 May 2012. สืบค้นเมื่อ 5 May 2012.
- ↑ "Robin Li's vision powers Baidu's Internet search dominance - Taipei Times". www.taipeitimes.com. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017.
- ↑ Greenberg, Andy, "The Man Who's Beating Google" เก็บถาวร 2013-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Forbes magazine, October 05, 2009
- ↑ Yanhong Li, "Toward a Qualitative Search Engine," IEEE Internet Computing, vol. 2, no. 4, pp. 24–29, July/August 1998, doi:10.1109/4236.707687
- ↑ USPTO, "Hypertext Document Retrieval System and Method" เก็บถาวร 2011-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, US Patent number: 5920859, Inventor: Yanhong Li, Filing date: 5 February 1997, Issue date: 6 July 1999
- ↑ "Baidu Vs Google: The Twins Of Search Compared". FourWeekMBA. 18 September 2018. สืบค้นเมื่อ 16 June 2019.
- ↑ Altucher, James (March 18, 2011). "10 Unusual Things About Google". Forbes. สืบค้นเมื่อ 16 June 2019.
- ↑ "Method for node ranking in a linked database". Google Patents. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2015. สืบค้นเมื่อ 19 October 2015.
- ↑ Watts, Jonathan (8 December 2005). "The man behind China's answer to Google: accused by critics of piracy and censorship". สืบค้นเมื่อ 13 August 2017 – โดยทาง The Guardian.
- ↑ CNN Money, June 2007, "50 people who matter now", cnn.com; accessed 3 May 2014.
- ↑ "Baidu focuses on AI as founder hires new management team". scmp.com. สืบค้นเมื่อ 11 October 2017.
- ↑ "She has been a partner of Robin Li, now return to Baidu as a special assistant". www.bestchinanews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-03. สืบค้นเมื่อ 11 October 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "NEWSMAKER-Baidu founder rules China's Web with pragmatism" by Melanie Lee, Reuters, 19 January 2010.
- Robin Li profile เก็บถาวร 2014-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ir.baidu.com; accessed 3 May 2014.
- Robin Li delivers lecture at Stanford University's Entrepreneurship Corner เก็บถาวร 2011-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, September 2009; accessed 3 May 2014.
- Asia.com เก็บถาวร 2006-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; accessed 3 May 2014.
- Pages using infobox person with deprecated net worth parameter
- บทความทั้งหมดที่ต้องการคำอธิบายสำหรับเนื้อหาบางแห่ง
- บทความที่ต้องการคำอธิบายสำหรับเนื้อหาบางแห่งตั้งแต่March 2018
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2511
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ไป่ตู้
- นักธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ
- นักธุรกิจซอฟต์แวร์
- มหาเศรษฐีชาวจีน
- บุคคลจากมณฑลชานซี
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยบัฟฟาโล
- นักประดิษฐ์ชาวจีน