ข้ามไปเนื้อหา

โคเรียเซอราทอปส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โคเรียเซอราทอปส์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคครีเทเชียสตอนต้น อัลเบียน 103.5–102.5Ma
[1]
ตัวอย่างต้นแบบแรก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
เคลด: ไดโนเสาร์
Dinosauria
เคลด: ออร์นิทิสเกีย
Ornithischia
อันดับย่อย: Ceratopsia
Ceratopsia
อันดับฐาน: Neoceratopsia
Neoceratopsia
Lee et al., 2011
สกุล: Koreaceratops
Koreaceratops
Lee et al., 2011
สปีชีส์: Koreaceratops hwaseongensis
ชื่อทวินาม
Koreaceratops hwaseongensis
Lee et al., 2011

โคเรียเซอราทอปส์ (เกาหลี: 코리아케라톱스; อังกฤษ: Koreaceratops) เป็นสกุลหนึ่งของมูลฐานสายวิวัฒนาการไดโนเสาร์กลุ่มเซอราทอปเซียน ที่ได้ค้นพบที่ชั้นหินครีเทเชียสตอนต้นในยุคอัลเบียน ที่ประเทศเกาหลีใต้ มันเป็นตัวอย่างต้นแบบแรกของรหัส KIGAM VP 200801 ชุดเป็นปล้องของกระดูกสันหลังมีหาง 36 ปล้อง ซึ่งอยู่ในกลุ่มของขาหลังบางส่วน และกระดูกก้น ตัวอย่างนี้ได้รับการค้นพบที่กลุ่มหินทราย ที่ได้รับการรวมเข้าไปในเขื่อนทันโดที่เมืองฮวาซอง ตามตัวอย่างสำหรับการทดสอบที่ได้แนะนำให้ตัดออกไปมากขึ้น ได้แสดงให้เห็นว่ามันมีอยู่ก่อนการขุดเจาะหิน เขื่อนแห่งนี้สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1994 และชุดกระดูกได้ถูกนำมาสร้างความสนใจต่อนักบรรพชีวินวิทยาครั้งแรกใน ค.ศ. 2008 ภายหลังจากรัฐได้ประกาศอย่างเป็นทางการ ตัวอย่างนี้เป็นไปได้ว่าอาจมาจากส่วนล่างของแนวหิน ส่วนบนของชั้นหินที่ยังไม่มีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการนี้มีอายุอยู่ในช่วง 103 ± 0.5 ล้านปีก่อน ที่มาของชื่อ โคเรียเซอราทอปส์ ได้รับการอธิบายโดย อี ยองนัม กับเพื่อนร่วมงานใน ค.ศ. 2011 [2] ซึ่งชื่อสกุลเป็นการผสมระหว่างคำว่า "Korea" กับภาษากรีก คือ κερας/keras ที่หมายถึง 'เขาสัตว์' กับคำว่า οψις/opsis ที่หมายถึง 'ใบหน้า' โดยชนิดต้นแบบคือ K. hwaseongensis โดยตั้งชื่อตามชื่อเมืองฮวาซอง[1]

โคเรียเซอราทอปส์ มีความโดดเด่นตรงเงี่ยงที่อยู่บนกระดูกสันหลังส่วนหาง และกระดูกข้อต่อ ในบางส่วนของปลายกระดูกสันหลังส่วนหาง เงี่ยงบนกระดูกสันหลังส่วนหางมีความสูงกว่ากระดูกสันหลังส่วนลำตัวกว่าห้าเท่าที่แนบติดกัน อีและคณะตั้งข้อสังเกตว่าเซอราทอปเซียนอื่นๆอีกหลายชนิดยังมีเงี่ยงสูงบนหางของพวกมันด้วยเช่นกัน โดยลักษณะเช่นนี้จะปรากฏในหลายสายพันธุ์ของเทอราทอปเซียน อีและคณะได้ตั้งสมมติฐานว่าเป็นคุณสมบัติที่ถูกพัฒนาอยางเป็นอิสระ บางทีอาจจะเป็นการปรับตัวสำหรับการว่ายน้ำ อีและคณะได้ดำเนินการสายวิวัฒนาการ และได้ค้นพบว่าโคเรียเซอราทอปส์มีตำแหน่งอยู่ระหว่างอาร์คีโอเซอราทอปส์ และได้มาอยู่ในกลุ่มเซอราทอปเซียน[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Lee, Yuong-Nam; Ryan, Michael J.; Kobayashi, Yoshitsugu (2011). "The first ceratopsian dinosaur from South Korea" (PDF). Naturwissenschaften. 98 (1): 39–49. Bibcode:2011NW.....98...39L. doi:10.1007/s00114-010-0739-y. PMID 21085924. S2CID 23743082.
  2. Koreaceratops hwaseongensis