แอร์อินเดีย เที่ยวบินที่ 101
จุดเครื่องบินตกของเที่ยวบิน 101 | |
สรุปอุบัติเหตุ | |
---|---|
วันที่ | 24 มกราคม ค.ศ. 1966 |
สรุป | ควบคุมการบินเข้าหาภูมิประเทศ |
จุดเกิดเหตุ | มวลเขาสูงมงบล็อง ประเทศฝรั่งเศส 45°52′40″N 06°52′00″E / 45.87778°N 6.86667°E |
อากาศยานลำที่เกิดเหตุ | |
ประเภทอากาศยาน | โบอิง 707–437 |
ชื่ออากาศยาน | กังเจนชุงคา |
ดําเนินการโดย | แอร์อินเดีย |
ทะเบียน | VT-DMN |
ต้นทาง | ท่าอากาศยานนานาชาติซาฮาร์ บอมเบย์ อินเดีย |
จุดพักที่ 1 | ท่าอากาศยานนานาชาติเดลี นิวเดลี อินเดีย |
จุดพักที่ 2 | ท่าอากาศยานนานาชาติเบรุต เบรุต เลบานอน |
จุดพักสุดท้าย | ท่าอากาศยานนานาชาติเจนีวา เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ |
ปลายทาง | ท่าอากาศยานฮีตโธรว์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร |
ผู้โดยสาร | 106 |
ลูกเรือ | 11 |
เสียชีวิต | 117 |
รอดชีวิต | 0 |
แอร์อินเดีย เที่ยวบินที่ 101 เป็นเที่ยวบินโดยสารของแอร์อินเดีย เดินทางจากบอมเบย์ไปยังลอนดอน โดยจอดพักที่เดลี, เบรุต และเจนีวา ในเช้าวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1966 เวลา 8:02 CET ขณะกำลังเข้าใกล้เจนีวา อากาศยานโบอิง 707 ได้บินชนเข้ากับเขามงบล็องในประเทศฝรั่งเศส โดยอุบัติเหตุ เป็นผลให้ลูกเรือและผู้โดยสารทั้งหมด รวม 117 คน เสียชีวิต ในบรรดาผู้เสียชีวิตนี้รวมถึงโหมี ชฮันคีร์ ภาภา ผู้ก่อตั้งและประธานคณะกรรมการพลังงานปรมาณูอินเดีย[1]
อุบัติเหตุเกิดขึ้นที่ไม่กี่ร้อยฟุตจากจุดที่อากาศยานล็อกฮีด 749 คอนสเตลเลชัน ของแอร์อินเดีย เที่ยวบินที่ 245 ตกใน ค.ศ. 1950[2]
เหตุการณ์
[แก้]แอร์อินเดียเที่ยวบินที่ 101 จากบอมเบย์ไปลอนดอน ในวันที่เกิดเหตุให้บริการโดยเครื่องบินโบอิง 707 ทะเบียน VT-DMN ชื่อ Kangchenjunga[3] The Pilot-In-Command was an 18-year veteran, Captain Joe T. D'Souza.[4] หลังเดินทางออกจากบอมเบย์ เครื่องบินได้ลงจอดสองครั้งที่เดลี และเบรุต และขณะเกิดเหตุกำลังมุ่งหน้าไปยังเจนีวา[3] ที่ระดับการบิน 190 (19,000 ฟุต (5,800 เมตร)) ลูกเรือได้รับคำสั่งให้ลดระดับลงสู่ท่าอากาศยานนานาชาติเจนีวาหลังเครื่องบินผ่านเขามงบล็อง[3] กัปตันเครื่องลินคิดว่าเขาได้ขับผ่านเขามงบล็องมาแล้ว และได้เริ่มลดระดับเครื่องลงและบินชนเข้ากับมวลเขาสูงมงบล็องในประเทศฝรั่งเศส ใกล้กับ Rocher de la Tournette ที่ความสูง 4,750 เมตร (15,580 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล[3][1] ผู้โดยสารทั้ง 106 คน และลูกเรือทั้ง 11 คน เสียชีวิต[1][2]
ทฤษฎีอื่น
[แก้]กล่องดำของเครื่องบินไม่ได้ถูกกู้คืน จึงไม่มีทางอื่นที่จะยืนยันได้ว่านักบินลดระดับลงก่อนที่จะถึงเขามงบล็อง เอกสารรั่วไหลบางฉบับเสนอว่าอากาศยานตกลงจากการเสียความดันอย่างรวดเร็ว (rapid decompression) ซึ่งเป็นผลจากการระเบิดของสินค้าในระวางบรรทุก เชื้อเพลิงของเครื่องกระจายเป็นบริเวณกว้างเกินกว่าที่จะมาจากการชนเข้ากับพื้นดิน[5]
ผู้เสียชีวิต
[แก้]ในบรรดาผู้โดยสารทั้ง 117 รายที่เสียชีวิตมี โหมี ชฮันคีร์ ภาภา ผู้ก่อตั้งและประธานคณะกรรมการพลังานปรมาณูอินเดีย[1]
เครื่องบิน
[แก้]เครื่องบินโบอิ้ง 707–437 VT-DMN บินครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1961 และส่งมอบให้กับแอร์อินเดียเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1961[6] ทำการบินรวม 16,188 ชั่วโมง[6] เครื่องถูกตั้งชื่อว่ากันเจนชุงคา ซึ่งเป็นชื่อของยอดเขาสูงบริเวณพรมแดนประเทศอินเดียกับเนปาล
การค้นพบในภายหลัง
[แก้]ซากส่วนใหญ่ของเครื่องบินยังคงอยู่ที่จุดที่เกิดเหตุ ในปี 2008 นักไต่เขาคนหนึ่งได้ค้นพบซากของหนังสือพิมพ์อินเดียที่ระบุวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1966 ตรงจุดที่เกิดเหตุ[7]
เกรกอรี ดักลาส (Gregory Douglas) นักทฤษฎีสมคบคิด[8][9] และผู้ปฏิเสธการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวของฮิตเลอร์[10] อ้างว่าได้สื่อสารทางโทรศัพท์กับอดีตเจ้าหน้าที่ซีไอเอ รอเบิร์ต คราวลีย์ ในปี 1993 และตีพิมพ์บทสนทนานี้เป็นหนังสือ Conversations with the Crow ในปี 2013 ในหนังสือนี้ ดักลาสเขียนว่าคราวลีย์ระบุว่าซีไอเอเป็นผู้รับผิดชอบการลอบสังหารภาภา เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีอินเดีย ลาล พหาทูร ศาสตรี ในปี 1966 ห่างกันเพียงสิบสามวัน โดยมีจุดหมายเพื่อยับยั้งโครงการนิวเคลียร์ของอินเดีย[11]
ในวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 2012 มีผู้ค้นพบกระเป๋าจดหมายทูตหนัก 9-กิโลกรัม (20-ปอนด์) ประทับตรา "On Indian Government Service, Diplomatic Mail, Ministry of External Affairs" (อยู่ในบริการของรัฐบาลอินเดีย, จดหมายทูต, กระทรวงการต่างประเทศ) และได้นำไปส่งมอบให้กับตำรวจที่ Chamonix[12][13] เจ้าหน้าที่รัฐของสถานทูตอินเดียในปารีสได้รับกระเป๋าจดหมายนี้ไว้ในความดูแล และพบว่ากระเป๋านี้เป็นกระเป๋าจดหมายการทูต "ชนิด C" สำหรับหนังสือพิมพ์, วารสาร และจดหมายส่วนบุคคล กระเป๋าจดหมายชนิดนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้วในปัจจุบัน ในขณะที่ "ชนิด A" (ข้อมูลลับสุดยอด) และ "ชนิด B" (การสื่อสารทางการ) ยังคงใช้อยู่[14] ในบรรดาเอกสารที่พบในกระเป๋าจดหมายนั้นยังรวมถึงหนังสือพิมพ์ของ The Hindu และ The Statesman จากเดือนมกราคม ค.ศ. 1966, ปฏิทินของแอร์อินเดีย และจดหมายส่วนบุคคลที่จ่าหน้าถึงกงสุลใหญ่ประจำนครนิวยอร์ก C.J.K. Menon[15]
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2013 นักไต่เขาชาวฝรั่งเศสพบกล่องโลหะที่มีตราของแอร์อินเดียใกล้กับจุดเกิดเหตุ ภายในกล่องมีทั้งทับทิม, แซฟฟายร์ และมรกต มูลค่ารวมกว่า €245,000, เขาได้นำกล่องนี้ไปส่งคืนแก่ตำรวจเพื่อหาเจ้าของโดยชอบธรรมต่อไป[7][16] แต่เนื่องจากไม่สามารถหาเจ้าของโดยชอบธรรมของอัญมณีเหล่านี้ได้ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2021 อัญมณีในกล่องจึงถูกแบ่งครึ่งระหว่างนักไต่เขาคนนี้ และกับคอมมูน Chamonix ซึ่งได้รับเงินไปฝ่ายละ €75,000[17]
ในปี 2017 นักไต่เชาชาวสวิส Daniel Roche ผู้ซึ่งได้ไปค้นหาธารน้ำแข็งบอซง เพื่อหาซากจากแอร์อินเดียเที่ยวบิน 245 และ 101 ได้พบกับซากมนุษย์และซากเครื่องบิน ซึ่งรวมถึงเครื่องยนต์ของโบอิง 707[18] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2020 มีผู้พบหนังสือพิมพ์จากปี 1966 ในสภาพดีเยี่ยม หลังธารน้ำแข็งละลาย[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "The Air-India Disaster". Flight International: 174. 3 February 1966. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2013. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
- ↑ 2.0 2.1 Sean Mendis (26 July 2004). "Air India : The story of the aircraft". Airwhiners.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2016. สืบค้นเมื่อ 13 June 2013.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Accident description at the Aviation Safety Network
- ↑ Haine, Colonel Edgar A. (2000). Disaster In The Air (ภาษาอังกฤษ). London: Cornwall Books. p. 147. ISBN 0-8453-4777-2.
- ↑ Shukla, Srijan (27 July 2020). "Mystery of 1966 Air India crash, that killed nuclear pioneer Bhabha, is unravelling bit by bit". ThePrint (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2022. สืบค้นเมื่อ 19 July 2022.
- ↑ 6.0 6.1 Pither 1998, p. 291
- ↑ 7.0 7.1 Patrick Bodenham (14 March 2014). "The mystery of Mont Blanc's hidden treasure". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2020. สืบค้นเมื่อ 13 July 2020.
- ↑ Douglas, Gregory (2002). "Regicide: The Official Assassination of John F. Kennedy" (ภาษาอังกฤษ). Castle Hill Pub.
- ↑ "Not Quite the Hitler Diaries - Gestapo Chief (Review)". www.ihr.org. สืบค้นเมื่อ 28 January 2023.
- ↑ Douglas, Gregory. "Conversations With The Crow". สืบค้นเมื่อ 28 January 2023.
- ↑ "Has an Alps Climber Traced Mystery Crash That Killed Homi Bhabha?". News18. 30 July 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2021. สืบค้นเมื่อ 9 May 2019.
- ↑ "Diplomatic post bag from 1966 Indian plane crash found on Mont Blanc". The Daily Telegraph. 30 August 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2013. สืบค้นเมื่อ 28 November 2013.
- ↑ "Agence-France-Presse". Google.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2014. สืบค้นเมื่อ 22 February 2019.
- ↑ "Indian diplomatic bag found after 46 years". Firstpost.com. 18 September 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2016. สืบค้นเมื่อ 27 February 2017.
- ↑ "'Diplomatic bag' reaches New Delhi". Deccan Herald. 19 September 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2019. สืบค้นเมื่อ 27 February 2017.
- ↑ "Climber finds treasure trove off Mont Blanc". Yahoo News Malaysia. AFP. 26 September 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2013.
- ↑ "Climber can keep $84,000-worth of jewels he found on Mont Blanc". CNN. 7 December 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2021. สืบค้นเมื่อ 7 December 2021.
- ↑ Majumdar, Neera (24 January 2018). "Sabotage or accident? The theories about how India lost nuclear energy pioneer Homi Bhabha". ThePrint.in. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2020. สืบค้นเมื่อ 7 September 2019.
- ↑ "Indian papers resurfacing in French Alps could be from 1966 plane crash". BBC News. 13 July 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2020. สืบค้นเมื่อ 13 July 2020.
บรรณานุกรม
[แก้]- Pither, Tony (1998). The Boeing 707 720 and C-135. England: Air-Britain (Historians) Ltd. ISBN 0-85130-236-X.
- Rey, Françoise (2013) [1991]. Crash au Mont-Blanc, les fantômes du Malabar Princess et du Kangchenjunga (ภาษาฝรั่งเศส). Chamonix: Le Petit Montagnard. ISBN 978-2-9542720-9-2.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Final Report (Archive) – Bureau d'Enquêtes et d'Analyses pour la Sécurité de l'Aviation Civile (ในภาษาฝรั่งเศส)
- Cockburn, Barbara. "Air India 707 crash wreckage on Mont Blanc". Flight International. 24 มกราคม 2009.