ข้ามไปเนื้อหา

แมลงรักในสวนหลังบ้าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมลงรักในสวนหลังบ้าน
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์
เขียนบทธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์
อำนวยการสร้างวริทธิ์พล จิวะสุรัตน์
ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์
สุทธิเขตต์ คงถาวร
ทรงพล อินทเศียร
โสฬส สุขุม
อาทิตย์ อัสสรัตน์
นักแสดงนำธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์
สุชาดา โรจน์มโนธรรม
นนท์ปวิธ ด่านศรีบูรณ์
อนุพงษ์ สกุลมงคลลาภ
สตีเว่น ฟูเรอร์
กำกับภาพภูมินทร์ ชินารดี
ตัดต่อชาคร ไชยปรีชา
ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์
มานุสส วรสิงห์
ดนตรีประกอบเอก โอตรวรรณะ
บริษัทผู้สร้าง
ดาร์คไซด์ ออฟ เดอะ มูน โปรดักชัน (Darkside of the Moon Production)
ผู้จัดจำหน่ายป๊อป พิคเจอร์ส (Pop Pictures)
วันฉาย30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 (ประเทศไทย)
ความยาว93 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ข้อมูลจากสยามโซน

แมลงรักในสวนหลังบ้าน (อังกฤษ: Insects in the Backyard) เป็นภาพยนตร์สะท้อนปัญหาสังคม กำกับโดยธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ เป็นภาพยนตร์อิสระในโครงการ Indy Spirit Project ของนิตยสารไบโอสโคป ออกฉายครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติแวนคูเวอร์ 2010 และได้รับเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Dragons and Tigers Competition [1] ต่อมาได้เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์โลกกรุงเทพ เมื่อ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 [2] เนื้อเรื่องเป็นการเล่าชีวิตของตัวละครที่พบเจอประสบการณ์อันแปลกประหลาด ตัวละครในเรื่องประกอบด้วย พี่สาวคนโต ธัญญ่า (ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์) ซึ่งเป็นสาวประเภทสอง วัย 35 ปี และน้องชายกับน้องสาวของเธอ จอห์นนี (นนท์ปวิธ ด่านศรีบูรณ์) วัย 15 ปี และเจนนิเฟอร์ (สุชาดา โรจน์มโนธรรม) วัย 17 ปี[3]

หลังการฉายรอบปฐมทัศน์ ภาพยนตร์ไม่ผ่านการอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ กระทรวงวัฒนธรรม ด้วยเหตุผลว่า มีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน [4] เนื่องจากบางส่วนมีการนำเสนอภาพของขององคชาต การร่วมเพศ และการค้าประเวณี [2] และประกาศห้ามฉาย [5] ต่อมาได้มีการพยายามฉายภาพยนตร์เรื่องนี้รอบจำกัดผู้ชม ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งตรงกับวันรัฐธรรมนูญระหว่างเสวนาเชิงวิชาการเรื่อง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์กับรัฐธรรมนูญไทย จัดโดยมูลนิธิหนังไทย, หอภาพยนตร์, สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์แห่งประเทศไทย, เครือข่ายคนดูหนังแห่งประเทศไทย และนิตยสารไบโอสโคป แต่ก็ได้มีการระงับการฉายภาพยนตร์รอบพิเศษนั้น [6]

แม้ธัญญ์วารินได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการตรวจพิจารณาภาพยนตร์คณะใหญ่ ที่มีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการแล้วก็ตาม แต่คณะกรรมการได้มีมติ 13 ต่อ 4 มิให้ฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ในประเทศไทยทุกกรณี นับเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของไทยที่ถูกห้ามฉายหลังจากพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พุทธศักราช 2551 มีผลบังคับใช้ ขณะนี้ผู้กำกับได้ยื่นเรื่องไปยังศาลปกครองเพื่อขอให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต่อไป[ต้องการอ้างอิง]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]