แบรนดอน ลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แบรนดอน ลี
李國豪
เกิดแบรนดอน บรูซ ลี
1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965(1965-02-01)
โอ๊กแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
เสียชีวิต31 มีนาคม ค.ศ. 1993(1993-03-31) (28 ปี)
วิลมิงตัน รัฐนอร์ทแครไลนา สหรัฐ
ที่ฝังศพสุสานเลกวิว ซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน สหรัฐ
อาชีพนักแสดง, ศิลปะการต่อสู้, นักจัดท่าเต้นต่อสู้
ปีปฏิบัติงาน1985–1993
คู่รักเอลิซา ฮัตตัน
(1990–1993; เชาเสียชีวิต)
บุพการี
ญาติ
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม李國豪
อักษรจีนตัวย่อ李国豪
ลายมือชื่อ

แบรนดอน บรูซ ลี (อังกฤษ: Brandon Bruce Lee; 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965 - 31 มีนาคม ค.ศ. 1993) เป็นนักแสดงและนักแสดงศิลปะการป้องกันตัว ชาวอเมริกัน เขาเป็นบุตรชายของนักแสดง บรูซ ลี เริ่มแสดงในหนังแอ็กชันและเซ็นสัญญากับทเวนตีธ์เซนจูรีฟอกซ์ อยู่หลายเรื่อง เขาเสียชีวิตประสบอุบัติเหตุถูกยิงเสียชีวิต ในรัฐนอร์ทแคโรไลนา เมื่ออายุ 28 ปี ขณะถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง The Crow

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

แบรนดอนและพ่อของเขาประมาณ ค.ศ. 1966

แบรนดอนเกิดในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965 ที่โรงพยาบาลอีสต์โอ๊กแลนด์ โอ๊กแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย[1] เป็นลูกชายของบรูซ ลี (ค.ศ. 1940–1973) กับลินดา ลี แคดเวลล์ (สกุลเดิม เอเมอรี)[2][3] ในวัยเด็ก ลีเรียนรู้ศิลปะการต่อสู้จากพ่อของเขา เขากล่าวว่าครอบครัวของตนอาศัยอยู่ในฮ่องกงและสหรัฐ (เนื่องจากอาชีพของพ่อ) ขณะที่เขาเยี่ยมชมชุดถ่ายทำของพ่อ ลีเริ่มสนใจในด้านการแสดง พ่อของเขาเสียชีวิตฉับพลันใน ค.ศ. 1973 ทำให้เขาต้องสืบทอดภาพลักษณ์ศิลปะการต่อสู้และภาพยนตร์ต่อ[4] Grace Ho (ย่าของลี) กล่าวว่า ตอนที่เขาอายุ 5 ขวบ เขาสามารถเตะแผ่นกระดานนิ้วให้แตกได้[5]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ทวดฝั่งพ่อของเขาคือ Ho Kom-Tong ผู้ใจบุญชาวจีนที่เป็นพี่/น้องชายร่วมกับ Robert Ho Tung นักธุรกิจและผู้ใจบุญ[6] ส่วนลินดา เอเมอรี แม่ของเขา มีบรรพบุรุษเป็นชาวสวีเดนและเยอรมัน พ่อของเขากล่าวว่าตน "ภูมิใจที่จะพูดให้ทุกคน" เกี่ยวกับรูปลักษณ์ที่หลากหลายของแบรนดอน ลูกชายของตน โดยกล่าวถึงเขาว่าอาจเป็นชาวจีนคนเดียวที่มีผมบลอนด์และตาสีเทา[7] เขาเป็นพี่ชายของแชนนอน ลี[8]

รางวัลและการเข้าชิง[แก้]

รางวัล หมวดหมู่ ผลงานเข้าชิง ผล
รางวัลฮ่องกงฟิล์มอวอร์ด ครั้งที่ 6 Best New Performer Legacy of Rage (1986) เสนอชื่อเข้าชิง[9]
1995 Fangoria Chainsaw Awards นักแสดงชายดีเด่น อีกาพญายม (1994) ชนะ[10]
2021 Asian Hall of Fame induction Actor & Cultural Icon Award in memoriam ไม่มี ชนะ[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Lee, Linda; Lee, Mike (1989). "14". The Bruce Lee Story (ภาษาอังกฤษ). Santa Clarita, California: Ohara publication, Inc. p. 179. ISBN 978-0-89750-121-7.
  2. Sharkey, Betsy (May 3, 1993). "Fate's children: Bruce and Brandon (Published 1993)". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ October 15, 2020.
  3. "Father and son". The News and Observer. April 1, 1993. pp. 18 A.
  4. Hicks, Chris (July 24, 1992). "Brandon Lee follows in his dad's shoes, but he hopes to win respect as an actor in his own right". Deseret News. สืบค้นเมื่อ April 22, 2019.
  5. Wing Chun News (August 24, 2018). "Geraldo Rivera interviews Bruce Lee's mother in her only live tv interview". wingchunnews.ca. Wing Chun News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 25, 2022. สืบค้นเมื่อ 25 March 2022.
  6. Russo, Charles (May 19, 2016). "Was Bruce Lee of English Descent?". Vice. สืบค้นเมื่อ February 16, 2020.
  7. Blank, Ed (August 9, 2018). "Mixed Martial Artist: Uncovering Bruce Lee's Hidden Jewish Ancestry". Jewish Federation of San Diego County. สืบค้นเมื่อ March 30, 2020.
  8. Yap, Audrey Cleo (October 5, 2020). "Bruce Lee's Daughter Shannon Recalls His Struggle to Make 'Enter the Dragon' in New Book Excerpt". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-07. สืบค้นเมื่อ March 23, 2021.
  9. "List of Awardees of The 6th Hong Kong Film Awards". Hong Kong Film Awards. สืบค้นเมื่อ December 11, 2016.
  10. Gingold, Michael (November 1995). "The 4th Annual FANGORIA Chainsaw Awards". FANGORIA. No. 148. United States: Starlog Group, Inc.
  11. "2021 Asian Hall of Fame inductees include Nancy Kwan, Brandon Lee, Steve Aoki, Ken Jeong". สืบค้นเมื่อ April 4, 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]