ข้ามไปเนื้อหา

เฮลิคอปเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฮลิคอปเตอร์แบบ เบล 206 (Bell 206) ของตำรวจสหรัฐอเมริกา
เฮลิคอปเตอร์กู้ภัยแบบ AW139SAR แห่งสำนักงานความปลอดภัยทางทะเลของสเปน (A Spanish Maritime Safety Agency)
HH-43 Huskie

เฮลิคอปเตอร์ จัดเป็น อากาศยาน ปีกหมุน (Rotor Craft) มีใบพัดขนาดใหญ่ติดตั้งเหนือลำตัว ใบพัดหมุนรอบตัวในแนวนอน ทำหน้าที่ช่วยพยุงตัวและบังคับให้บินไปตามทิศทางที่ต้องการได้ ใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนและบินขึ้นลงในแนวดิ่งได้ สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างสะดวกแม้แต่ในที่แคบก็ขึ้นลงได้อย่างสบาย

เฮลิคอปเตอร์ลำแรกของโลกพัฒนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2482[1] โดยชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย ชื่ออิกอร์ ซิคอร์สกี ( Igor Sikorsky) โดยใช้ชื่อว่า VS-300 ใช้เครื่องยนต์ 4 สูบ ประกอบด้วยเหล็กท่ออย่างหนา ไม่มีผนังลำตัวปกปิด และไม่มีเครื่องวัดใด ๆ โรเตอร์หลักประกอบด้วยใบพัดสามใบ และมีโรเตอร์ท้ายเพื่อต้านแรงหมุนที่เกิดขึ้น

ประวัติ

[แก้]
เฮลิคอปเตอร์ไม้ไผ่ประดิษฐ์ของญี่ปุ่น "ทาเกะทอมโบะ" (taketombo)

จากหลักฐานอ้างอิงที่เก่าแก่ที่สุดสำหรับบันทึกของการบินในแนวดิ่งนั้นได้มาจากประเทศจีน ตั้งแต่เมื่อประมาณราว 400 ปีก่อนคริสตกาล [2] เด็ก ๆ ชาวจีนได้เล่นกับของเล่นบินได้ทำจากไม้ไผ่ (bamboo flying toys) [3][4] คอปเตอร์ไม้ไผ่จะถูกปั่นหมุนโดยการกลิ้งไถลแท่งไม้กลมที่ยึดติดอยู่กับใบพัดด้วยมือสองข้าง และในศตวรรษที่ 4 หลังคริสตกาล ได้มีหนังสือในลัทธิเต๋าชื่อ เป้าผูจื่อ (Baopuzi) (抱朴子 "Master who Embraces Simplicity" ("นายผู้ที่โอบกอดกันอย่างเรียบง่าย")) ซึ่งได้อธิบายถึงบางส่วนของความคิดที่มีอยู่เกี่ยวกับอากาศยานปีกหมุนไว้: [5]

"สกรูอากาศ" ของดาวินชี

จวบจนเวลาผ่านไปก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นจนกระทั่งถึงยุคต้นปี 1480 เมื่อเลโอนาร์โด ดาวินชีได้ทำการออกแบบเครื่องกลที่สามารถอธิบายได้ว่าเป็น "สกรูอากาศ" (aerial screw), นับได้ว่าเป็นบันทึกหลักฐานแรกของความก้าวหน้าในเรื่องราวของการบินในแนวตั้ง จากบันทึกของเขาบอกไว้ว่าเขาได้สร้างแบบจำลองการบินขนาดเล็กขึ้น แต่ก็ไม่มีข้อบ่งชี้ใด ๆ สำหรับข้อกำหนดในการที่จะทำให้มีการที่จะหยุดตัวโรเตอร์ (ใบพัดหลักของเฮลิคอปเตอร์) จากการทำให้ตัวยานนั้นหมุนไปได้ [7][8] (ซึ่งเฮลิคอปเตอร์ในยุคปัจจุบันนี้นั้นทำได้แล้วคือ เพิ่มใบพัดส่วนหางสำหรับผลักดันต่อต้านผลของแรงบิดอันเนื่องมาจากแรงปฏิกิริยาที่เกิดจากการหมุนย้อนกลับอันเนื่องมาจากการหมุนของใบพัดโรเตอร์เข้าไป) เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นและกลายเป็นที่ยอมรับมากขึ้น มนุษย์ก็ยังคงเฝ้าติดตามแนวความคิดใหม่ ๆ ในเรื่องของการบินในแนวตั้งอยู่ตลอดมา หลาย ๆ แบบจำลองและเครื่องกลไกเหล่านี้ในระยะเวลาภายหลังต่อ ๆ มาดูจะคล้ายคลึงอย่างใกล้ชิดมากกับเครื่องบินที่ทำจากไม้ไผ่ที่บินด้วยปีกหมุนที่อยู่ด้านบน, มากกว่าสกรูอากาศของดาวินชี

ต้นแบบที่สร้างขึ้นโดย เอ็ม. ลามานาซูฟ (M. Lomonosov), ปี ค.ศ. 1754

ในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 1754 มิคาอิล ลามานาซูฟ (Mikhail Lomonosov) ได้จัดแสดงสาธิตให้เห็นถึงโรเตอร์ตีคู่ขนาดเล็กแก่สถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งรัสเซีย มันถูกขับเคลื่อนโดยสปริงและเขายังได้แนะนำให้เป็นวิธีการที่จะใช้สำหรับยกเคลื่อนย้ายอุปกรณ์เครื่องมือทางอุตุนิยมวิทยาอีกด้วย ในปี 1783 คิสชองก์ เดอ ลัวนัวว์ (Christian de Launoy) และช่างเครื่องของเขาชื่อ เบียเวนู (Bienvenu) ได้สร้างแบบจำลองใบพัดคู่ที่หมุนสวนทางกันขึ้นมา, โดยใช้การบินด้วยขนไก่งวงเป็นใบพัดโรเตอร์, และในปี 1784, เขาได้จัดแสดงสาธิตให้แก่สถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส (French Academy of Sciences) เซอร์ จอร์จ เคย์ลี (Sir George Cayley) ได้รับอิทธิพลจากความหลงใหลในวัยเด็กกับสุดยอดในด้านการบินของชาวจีน, เขาเติบโตขึ้นมาเพื่อพัฒนาโมเดลของสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากขนนกคล้ายกับสิ่งประดิษฐ์ของลัวนัวว์ และเบียเวนู แต่มันถูกขับเคลื่อนด้วยหนังยาง ในตอนท้ายของศตวรรษ, เขามีความก้าวหน้าในการใช้แผ่นดีบุกสำหรับใช้ทำใบพัดโรเตอร์และสปริงสำหรับการใช้เป็นแหล่งพลังงาน งานเขียนของเขาเกี่ยวกับการทดลองและแบบจำลองของเขาได้กลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อผู้บุกเบิกด้านการบินในอนาคต [7] หลังจากนั้นต่อมา อัลฟองส์ พนูลด์ (Alphonse Pénaud) ก็ได้พัฒนาของเล่นเฮลิคอปเตอร์ที่มีใบพัดโรเตอร์คู่ที่มีแกนอันเดียวกันในปี ค.ศ. 1870, โดยขับเคลื่อนด้วยหนังยาง หนึ่งในของเล่นเหล่านี้นั้นได้รับมอบเพื่อเป็นของขวัญจากพ่อของเขาเพื่อที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับเขาเหมือนดังเช่นพี่น้องไรต์ (Wright brothers) ในการที่จะไล่ตามความฝันของการบินให้จงได้ [9]

ในปี ค.ศ. 1861 คำว่า "เฮลิคอปเตอร์" ได้รับการบัญญัติชื่อเรียกโดย กุสตาฟ เดอ พอนดัน ดามาโคร์ท (Gustave de Ponton d'Amécourt), นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสที่ได้จัดการแสดงสาธิตเล็ก ๆ ให้เห็นถึงแบบจำลองที่ขับเคลื่อนด้วยพลังไอน้ำ ในขณะที่มีการเฉลิมฉลองกับการมีการประยุกต์ใช้งานนวัตกรรมใหม่ ๆ, คือ โลหะอะลูมิเนียม, แบบจำลองต่าง ๆ ที่ประดิษฐ์สร้างกันขึ้นมาก็ไม่เคยสามารถบินยกตัวมันเองขึ้นจากพื้นได้เลย ดามาโคร์ทนั้นได้มีส่วนร่วมทางด้านเกี่ยวกับภาษาศาสตร์ในการที่จะมีชีวิตอยู่ดูผลงานเพื่อให้คำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องของการบินในแนวตั้งที่เขาคิดวาดภาพจินตนาการเอาไว้ในท้ายที่สุด พลังไอน้ำนั้นก็ได้รับความนิยมกับนักประดิษฐ์คนอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ในปี ค.ศ. 1878 อากาศยานแบบไร้คนขับได้ถูกสร้างขึ้นโดยนักประดิษฐ์ชาวอิตาเลียนชื่อ เอนริโก ฟอร์ลานินี่ (Enrico Forlanini) โดยใช้กำลังที่ถูกขับเคลื่อนโดยเครื่องจักรไอน้ำ, เป็นการบินครั้งแรกที่เครื่องสามารถทะยานลอยตัวขึ้นไปที่ระดับความสูง 12 เมตร (40 ฟุต), ซึ่งมันได้ทำการบินร่อน (hovered) อยู่นานเป็นเวลาประมาณ 20 วินาทีหลังจากที่ได้พยายามทำการบินขึ้นไปในแนวดิ่ง นักประดิษฐ์ชื่อ เอ็มมานูเอล ดีย์เอด (Emmanuel Dieuaide) ได้ทำการออกแบบเฮลิคอปเตอร์ใช้กำลังจากเครื่องจักรไอน้ำโดยการออกแบบที่โดดเด่นโดยใช้ใบพัดโรเตอร์หมุนทวนเข็มนาฬิกาขับเคลื่อนด้วยพลังไอน้ำโดยใช้กำลังไอน้ำที่ขับเคลื่อนผ่านมาทางท่อที่ต่อมาจากหม้อไอน้ำที่ติดตั้งอยู่บนพื้นดิน [7] ในปี ค.ศ. 1887 นักประดิษฐ์ชาวกรุงปารีส, กุสตาฟ ทรูย์เว (Gustave Trouvé) ได้ออกแบบสร้างและทำการบินเฮลิคอปเตอร์แบบที่ใช้สายไฟฟ้าเป็นสายยึดโยงไว้เวลาขณะที่กำลังทำการบิน (tethered electric model helicopter) [10]

เดือนกรกฎาคม ปี 1901 นักประดิษฐ์ชื่อ แฮร์มันน์ เกนสวินด์ท (Hermann Ganswindt) ได้แสดงให้เห็นบินถึงเที่ยวบินแรกของเฮลิคอปเตอร์ของเขาที่เกิดขึ้นในกรุงเบอร์ลิน-โชนเบอร์ก (Berlin-Schöneberg), ซึ่งอาจเป็นครั้งแรกที่ใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนป็นเที่ยวบินแรกที่บรรทุกมนุษย์ไปด้วย

ภาพวาดจากเอดิสัน จากสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1910 (Drawing from Edison's 1910 patent)[11]

ในปี 1885 โทมัส เอดิสันได้รับเงิน 1,000 เหรียญ จาก เจมส์ กอร์ดอน เบนเน็ตต์ จูเนียร์ (James Gordon Bennett, Jr) เพื่อจะดำเนินการทดลองการพัฒนาการบิน เอดิสันสร้างเฮลิคอปเตอร์ขึ้นและใช้กระดาษสำหรับพิมพ์ราคาหุ้นเพื่อที่จะสร้างดินสำลี (guncotton), อีกด้วยซึ่งเขาพยายามที่จะใช้พลังงานจากเครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นตัวขับเคลื่อน เฮลิคอปเตอร์ได้รับความเสียหายจากการระเบิดและหนึ่งในคนงานของเขาถูกไฟคลอกย่างสดอย่างรุนแรงทั้งเป็น เอดิสันรายงานว่ามันจะต้องใช้เครื่องยนต์ที่มีกำลังในอัตราส่วน 3-4 ปอนด์ต่อแรงม้าเพื่อที่จะประสบความสำเร็จ, บนพื้นฐานของการทดลองของเขา [12] ยาน บาฮิลิล (Ján Bahýľ), นักประดิษฐ์ชาวสโลวัก (Slovak), ได้ดัดแปลงเครื่องยนต์สันดาปภายในเพื่อเป็นต้นกำลังของเฮลิคอปเตอร์ต้นแบบของเขาที่สามารถบรรลุความสูงไปได้ถึง 0.5 เมตร (1.6 ฟุต) ในปี 1901 วันที่ 5 พฤษภาคม ปี 1905 เฮลิคอปเตอร์ของเขาไปถึงในระดับความสูงสี่เมตร (13 ฟุต) และบินมาเป็นระยะทางกว่า 1,500 เมตร (4,900 ฟุต) [13] ในปี 1908, เอดิสันได้จดสิทธิบัตรการออกแบบของตัวเองสำหรับเฮลิคอปเตอร์ที่ขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์เบนซิน (gasoline engine) ที่ประกอบไปด้วยว่าวกล่อง (box kite) ที่ยึดติดอยู่กับเสากระโดงโดยสายเคเบิลของใบพัดโรเตอร์, [11] แต่มันก็ไม่เคยบินขึ้นได้เลย [14]

การบินครั้งแรก

[แก้]

ในปี ค.ศ.1961 สองพี่น้องชาวฝรั่งเศส แจ๊ค (Jacques) และ หลุยส์ บรูเกต์ (Louis Breguet) เริ่มการทดลองสำหรับเฮลิคอปเตอร์ ในปี ค.ศ. 1907 การทดลองเหล่านั้นปรากฏเป็นไจโรเพลน 1 ซึ่งจากลักษณะภายนอกเป็นไปได้ว่าเป็นต้นแบบของเครื่องบินสี่ใบพัด (quadcopter) ระหว่าง 14 สิงหาคม และ 29 กันยายน ค.ศ. 1907 ไจโรเพลน 1 พร้อมนักบิน สามารถบินขึ้นได้ประมาณ 2 ฟุต (0.6 เมตร) เป็นเวลาหนึ่งนาที ไจโรเพลน 1 ไม่มีเสถียรภาพ จนต้องมีคนช่วยจับในแต่ละมุมของตัวเครื่อง อย่างไรก็ดีไจโรเพลน 1 ถือเป็นการบินครั้งแรกของเฮลิคอปเตอร์โดยนักบิน แต่ไม่ใช่เป็นการบินโดยอิสระ กล่าวคือ ยังต้องมีการช่วยพยุง

ในปีเดียวกัน นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส พอล กอนู (Paul Cornu) ออกแบบและสร้าง กอนู เฮลิคอปเตอร์ ใช้ใบพัดสองชิ้นหมุนสลับทิศกัน ยาว 20 ฟุต (6 เมตร) ขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์ยี่ห้ออันโตเนต (Antonette) 24 แรงม้า (18 กิโลวัตต์) และ ได้ทดลองนำเครื่องขึ้นในวันที่ 13 พฤษศจิกายน ค.ศ.1907 โดยเครื่องสามารถบินได้สูง 1 ฟุต (0.3 เมตร) และ ลอยอยู่กลางอากาศได้ 20 วินาที แม้ว่าสถิติการบินเที่ยวนี้จะไม่ได้ดีกว่าไจโรเพลน 1 แต่ถือเป็นการบินเที่ยวแรกโดยนักบิน โดยไม่มีการช่วยพยุง กอนู เฮลิคอปเตอร์ ได้บินอีกและบินได้สูง 6.5 ฟุต (2 เมตร) แต่พบว่าไม่มีเสถียรภาพ และไม่ได้ถูกพัฒนาต่อในที่สุด

ออโต้ไจโร

[แก้]
พิตแคร์น พีซีเอ-2 ออโต้ไจโร (Pitcairn PCA-2 autogyro) สร้างขึ้นในสหรัฐอเมริกาภายใต้ใบอนุญาตให้แก่บริษัท Cierva Autogiro

การบินด้วยปีกโรเตอร์ในช่วงยุคแรก ๆ ได้ประสบกับความล้มเหลวเป็นส่วนใหญ่อันเนื่องมาจากความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบหมุนที่เกิดจากความไม่สมดุลที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อได้มีความพยายามในการบินทะยานขึ้นไปของตัวอากาศยานนั้นเนื่องมาจากการสูญเสียความสมมาตร (dissymmetry) ของการยกตัวเองขึ้นในระหว่างใบพัดโรเตอร์ด้านที่กำลังเคลื่อนที่หมุนมาข้างหน้าและใบพัดโรเตอร์ด้านที่กำลังหมุนเคลื่อนที่ถอยหลังออกไป ความยากลำบากที่สำคัญอันนี้ได้รับการแก้ไขโดยการประดิษฐ์แผ่นปีกใบพัดที่มีลักษณะแบบบานพับที่สามารถขยับกระพือปีกเผยิบผยาบขึ้นลงได้เมื่อเวลาเจอแรงลมต้านทาน (flapping hinge)ของนักประดิษฐ์ที่ชื่อ ฮวน เดอ ลา เซียร์วา (Juan de la Cierva)

กำเนิดอุตสาหกรรม

[แก้]

ฮายน์ริช โฟคเกอ (Heinrich Focke) จากบริษัทโฟคเกอ วูฟ (Focke-Wulf) ได้รับอนุญาตให้ผลิต เซียวา ซี 30 (Cierva C.30) ออโตไจโรในปี 1933 โฟคเกอออกแบบเฮลิคอปเตอร์สองใบพัดเครื่องแรก โฟคเกอวูฟ 61 โดยบินเป็นครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ.1936 เครื่อง FW61 ทำลายสถิติโลกในปี 1937 โดยสามารถทำสถิติการบินที่ออโตไจโรเคยทำได้

ในช่วงสงความโลกครั้งที่สอง นาซีเยอรมัน ใช้เฮลิคอปเตอร์เป็นจำนวนน้อย โดยใช้เฉพาะการสังเกตการณ์ ขนส่ง และอพยพผู้ป่วยฉุกเฉิน

การใช้งาน

[แก้]

เนื่องจากลักษณะการดำเนินงานของเฮลิคอปเตอร์นั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการทะยานตัวขึ้นและการร่อนลงจอดในแนวตั้งได้ของมันนั่นเอง,และจะสามารทำการบินโฉบร่อนตัวเองอยู่นิ่ง ๆ กลางอากาศได้สำหรับในช่วงระยะเวลาหนึ่งเช่นเดียวกับคุณสมบัติด้านการจัดการควบคุมการบินของตัวมันเองได้อย่างง่ายดายภายใต้สภาวะอากาศที่มีอัตราเร็วลมที่ต่ำ ๆ ใกล้พื้นดิน ซึ่งเฮลิคอปเตอร์จะได้รับการเลือกสรรที่จะใช้ดำเนินงานภาระกิจต่าง ๆ เป็นอันดับต้น ๆ โดยที่ก่อนหน้านี้จะใช้ไม่ได้กับเครื่องบินแบบอื่น ๆ หรืออาจเป็นเพราะระยะเวลาการบินปฏิบัติภารกิจของเครื่องบินแบบอื่น ๆ ที่มากเกินความจำเป็นเกินไป หรือ การบินที่คร่ำเคร่งตรากตรำมากเกินไปของเครื่องบินแบบอื่น ๆ กับการที่จะสามารถปฏิบัติภารกิจให้ประสบความสำเร็จลุล่วงลงไป ณ เบื้องบนภาคพื้นดิน

ลักษณะการออกแบบ

[แก้]

ระบบโรเตอร์

[แก้]

ระบบโรเตอร์หรือมากยิ่งไปกว่านั้นเป็นส่วนที่หมุนของเฮลิคอปเตอร์ในการที่จะสร้างให้เกิดแรงยกขึ้น ระบบโรเตอร์อาจจะติดตั้งในแนวนอน, ในขณะที่ใบพัดโรเตอร์หลักคือการให้แรงยกในแนวดิ่ง, หรืออาจจะติดตั้งในแนวตั้ง เช่น ใบพัดหางเพื่อทำให้เกิดแรงยกเป็นแรงผลักดันในแนวนอนเพื่อต่อต้านกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากแรงบิด (torque) โรเตอร์ประกอบไปด้วยเสากระโดง, ดุมใบพัด (hub) และใบพัด

ระบบใบพัดโรเตอร์แบบทีเทอริ่ง (teetering)

เสากระโดงเป็นเพลาโลหะทรงกระบอกที่ยื่นยาวสูงขึ้นไปและถูกขับเคลื่อนโดยการส่งผ่านแรง ที่ด้านบนของเสากระโดงคือจุดที่เป็นที่ยึดติดสำหรับใบพัดโรเตอร์ที่เรียกว่าดุมใบพัดหรือฮับ ใบพัดโรเตอร์นั้นจะถูกยึดติดเข้ากับฮับด้วยจำนวนของใบพัดอันเนื่องมาจากวิธีการที่แตกต่างกัน ระบบใบพัดหลักจะถูกแบ่งจำแนกตามวิธีการที่ใบพัดโรเตอร์หลักจะถูกยึดติดและมีการเคลื่อนที่ที่สัมพันธ์กับฮับหรือศูนย์กลางโรเตอร์หลัก

คุณสมบัติต้านแรงบิด

[แก้]
เฮลิคอบเตอร์แบบ MD รุ่น 520N NOTAR

เฮลิคอปเตอร์ส่วนใหญ่มีโรเตอร์หลักแกนเดียว แต่แรงบิดที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นกลไกสำหรับไปหมุนโรเตอร์เป็นสาเหตุทำให้ลำตัวเครื่องของเฮลิคอปเตอร์นั้นเกิดการหมุนไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับโรเตอร์ (โดยหลักการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม) (conservation of angular momentum) เพื่อขจัดผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้, การจัดเรียงลำดับในการควบคุมเพื่อต่อต้านแรงบิดด้วยวิธีการบางอย่างเป็นสิ่งจำเป็นจะต้องทำ

การออกแบบสร้างเฮลิคอปเตอร์ตามที่อิกอร์ ซิคอร์สกี ได้ทำการออกแบบไว้เป็นเฮลิคอปเตอร์รุ่น VS-300 ซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์ที่มีใบพัดหางขนาดเล็กอยู่ตรงบริเวณส่วนปลายหางด้านท้ายของลำตัวเครื่อง

เครื่องยนต์

[แก้]
เครื่องยนต์กังหันเทอร์ไบน์ที่ใช้ในเฮลิคอปเตอร์ มิ-2 (Mi-2)


จำนวน, ขนาดและประเภทของเครื่องยนต์ ที่ใช้กับเฮลิคอปเตอร์จะเป็นตัวกำหนดขนาด, ฟังก์ชันการทำงานและความสามารถในการออกแบบเฮลิคอปเตอร์

การควบคุมการบินของเฮลิคอปเตอร์

[แก้]
แผนภาพแสดงห้องควบคุมของเฮลิคอปเตอร์แบบ เบล 206 (Bell 206)

เฮลิคอปเตอร์มีปัจจัยในการควบคุมการบินอยู่สี่ตัวแปร เหล่านี้ก็มี ไซคลิค (cyclic) คอลเลคทีฟ (collective) คันเหยียบต่อต้านแรงบิด (anti-torque pedals) และ คันเร่ง (throttle)

การบิน

[แก้]
เฮลิคอปเตอร์กำลังบินโฉบอยู่เหนือเรือในการฝึกหัดกู้ภัยทางทะเล

มีสามเงื่อนไขการบินพื้นฐานสำหรับเฮลิคอปเตอร์: คือ การบินลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ, การบินไปข้างหน้า และการเปลี่ยนแปลงลักษณะการบินระหว่างทั้งสองข้อแรกข้างต้น

บินลอยตัว (Hover)

[แก้]

การบินลอยตัวเป็นส่วนที่ท้าทายที่สุดในการบินเฮลิคอปเตอร์ เนื่องจากเฮลิคอปเตอร์สร้างแรงลมจากอากาศที่มีกำลังแรงของตัวเองในขณะที่อยู่ในการบินลอยตัว, ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านกับลำตัวเครื่องบิน (fuselage) และแพนบังคับควบคุมการบิน (flight control surfaces) (แพนบังคับควบคุมการบินของอากาศยาน คือ อุปกรณ์ทางด้านอากาศพลศาสตร์ที่ช่วยให้นักบินสามารถปรับแต่งและควบคุมลักษณะท่าทางการบินของอากาศยานลำนั้น ๆ ได้) [15] ผลลัพธ์ที่ได้คือปัจจัยการควบคุมที่คงที่และการแก้ไขสถานการณ์โดยนักบินเพื่อให้เฮลิคอปเตอร์รักษาสถานะที่ควรจะเป็น [16] แม้ว่าความซับซ้อนของภาระกิจ, ปัจจัยการควบคุมในการบินลอยตัวจะเรียบง่ายเพียงใดก็ตาม คันโยกไซคลิกจะใช้ในการจำกัดการลอยตัวในแนวราบ, นั่นคือการควบคุมไปข้างหน้าและด้านหลัง, ขวาและซ้าย คันโยกคอลเลคทีฟใช้เพื่อรักษาระดับความสูง คันเหยียบใช้เพื่อควบคุมทิศทางหรือการหัน ซ้าย , ขวาของเฮลิคอปเตอร์ การควบคุมการทำงานร่วมกันของตัวควบคุมเหล่านี้ทำให้การบินลอยตัวเป็นเรื่องยากขึ้นเนื่องจากการปรับตัวในการควบคุมตัวใดตัวหนึ่งต้องมีการปรับตัวของอีกสองตัวที่เหลือทำให้เกิดการแก้ไขเป็นวัฏจักรอย่างต่อเนื่อง

การเปลี่ยนจากการบินลอยตัวไปสู่การบินไปข้างหน้า

[แก้]

ขณะที่เฮลิคอปเตอร์เคลื่อนที่จากการบินลอยตัวไปสู่การบินไปข้างหน้ามันจะเข้าสู่สถานะที่เรียกว่าการยกตัวแบบเลื่อนตำแหน่ง (translational lift) ซึ่งทำให้เกิดการยกตัวเองให้ลอยขึ้นเป็นกรณีพิเศษโดยไม่ต้องเพิ่มกำลังเครื่องยนต์ ที่สถานะนี้, ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่อความเร็วของเครื่องบินมาถึงประมาณ 16-24 นอต (หน่วยความเร็วหนึ่งไมล์ทะเล หรือ 6080 ฟุตต่อชั่วโมง), และอาจจำเป็นสำหรับเฮลิคอปเตอร์เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการบิน

การบินไปข้างหน้า

[แก้]

ในการบินไปข้างหน้าการควบคุมการบินของเฮลิคอปเตอร์มีพฤติกรรมคล้ายกับอากาศยานแบบปีกตรึง (fixed-wing aircraft) การโยกคันบังคับไซคลิกไปทางข้างหน้าจะทำให้ส่วนหัวของเฮลิคอปเตอร์ลดระดับลง, โดยมีผลทำให้อัตราเร็วลม (airspeed) (คือ อัตราเร็วของอากาศยานที่สัมพัทธ์กับอากาศ) และการสูญเสียระดับความสูงเพิ่มขึ้น การโยกคันบังคับไซคลิกไปทางด้านหลังจะทำให้ส่วนหัวเฮลิคอปเตอร์เชิดระดับขึ้น, ทำให้เฮลิคอปเตอร์ชะลอความเร็วลงและทำให้ไต่ระดับสูงขึ้น การเพิ่มคอลเลคทีฟ (กำลัง) (คือ การยกคันโยกคอลเลคทีฟขึ้น) ในขณะที่ยังคงรักษาอัตราความเร็วลมให้คงที่จะทำให้เฮลิคอปเตอร์บินไต่ระดับยกตัวลอยขึ้นและในขณะที่การลดคอลเลคทีฟลง (คือ การลดคันโยกคอลเลคทีฟลง) ก็จะทำให้เฮลิคอปเตอร์บินลดระดับต่ำลง การสอดประสานกันของปัจจัยทั้งสองอย่างนี้, การลดคันโยกคอลเลคทีฟลงบวกกับการดึงคันบังคับไซคลิคไปด้านหลัง หรือ การยกคันโยกคอลเลคทีฟขึ้นบวกกับการโยกคันบังคับไซคลิคไปข้างหน้า, จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอัตราเร็วลมของเฮลิคอปเตอร์ขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาระดับความสูงให้คงที่อยู่เสมอ

การทหาร

[แก้]

ต่อมามีการนำมาใช้ในการทหารเช่นเฮลิคอปเตอร์แบบ ฮิวอี้ (UH-1 HUEY) ที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2499 ยุคของสงครามเกาหลี เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ยานขึ้น-ลงแนวดิ่ง เคลื่อนย้ายกำลังทหารที่บาดเจ็บ และมีการนำมาใช้ในสงครามเวียดนามอย่างแพร่หลาย ต่อจากนั้นเฮลิคอปเตอร์โจมตีก็ได้ถูกคิดค้นขึ้นมา เพื่อทำภารกิจโจมตีภาคพื้น อย่างเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบคอบร้า (AH 1 Cobra) หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาเฮลคิคอปเตอร์โจมตีในหลายๆชาติ เฮลิคอปเตอร์โจมตีที่โดดเด่นที่สุดอย่างเฮลิคอปเตอร์แบบอาปาเช่ เป็นหนึ่งในเฮลิคอปเตอร์โจมตีชั้นแนวหน้าของโลก มีระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมการบินอันทันสมัยมากมายและมีระบบอาวุธที่มากมาย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-04. สืบค้นเมื่อ 2008-05-10.
  2. Leishman, J. Gordon. Principles of Helicopter Aerodynamics. Cambridge aerospace series, 18. Cambridge: Cambridge University Press, 2006. ISBN 978-0-521-85860-1. Web extract เก็บถาวร 2014-07-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. "Early Helicopter History." Aerospaceweb.org. Retrieved: 12 December 2010.
  4. Goebel, Greg. "The Invention Of The Helicopter." Vectorsite.net. Retrieved: 11 November 2008.
  5. Fay, John. "Helicopter Pioneers – Evolution of Rotary Wing Aircraft." Helicopter History Site. Retrieved: 28 November 2007.
  6. English, Dave, ed. "Predictions." เก็บถาวร 2017-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Great Aviation Quotes via Skygod.com. Retrieved: 9 December 2007.
  7. 7.0 7.1 7.2 Rumerman, Judy. "Early Helicopter Technology." เก็บถาวร 2011-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Centennial of Flight Commission, 2003. Retrieved 12 December 2010.
  8. Pilotfriend.com "Leonardo da Vinci's Helical Air Screw." Pilotfriend.com. Retrieved 12 December 2010.
  9. Hallion, Richard P. "Pioneers of Flight: Alphonse Pénaud." เก็บถาวร 2009-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Air Force Link. Retrieved: 12 December 2010.
  10. Mémoire presented by G. Trouvé, on 24 August 1891. Conserved at the Académie des Sciences, Paris, reference arch-2007/26.
  11. 11.0 11.1 "Patent US970616 - Flying-machine". สืบค้นเมื่อ 30 March 2016.
  12. Bryan, George S. Edison: the Man and His Work. New York: Garden City Publishers, 1926. p. 249
  13. [1] "Pioneers – 1900/1930." Helicopter History Site. Retrieved: 3 May 2007
  14. Dowd, George L. "Flops of famous inventors". Popular Science, December 1930
  15. https://en.wikipedia.org/wiki/Flight_control_surfaces
  16. Lombardi, Frank (April 2015). "Under the big top". Rotor & Wing. p. 48. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-13. สืบค้นเมื่อ 12 April 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]