เอเอช-1 ซูเปอร์คอบรา
เอเอช-1 ซูเปอร์คอบรา | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | เฮลิคอปเตอร์จู่โจม |
ชาติกำเนิด | สหรัฐ |
บริษัทผู้ผลิต | เบลล์ เฮลิคอปเตอร์ |
สถานะ | อยู่ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | กองนาวิกโยธินสหรัฐ กองทัพบกสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน กองทัพบกสาธารณรัฐจีน กองทัพบกตุรกี |
จำนวนที่ผลิต | มากกว่า 1,217 ลำ |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | พ.ศ. 2513-ปัจจุบัน |
เริ่มใช้งาน | พ.ศ. 2514 (รุ่นเจ) พ.ศ. 2529 (รุ่นดับบลิว) |
เที่ยวบินแรก | พ.ศ. 2512 (รุ่นเจ) |
พัฒนาจาก | เอเอช-1 คอบรา |
สายการผลิต | เอเอช-1ซี ไวเปอร์ เบลล์ วายเอเอช-63 แพนฮา 2091 |
เบลล์ เอเอช-1 ซูเปอร์คอบรา (อังกฤษ: Bell AH-1 SuperCobra) เป็นเฮลิคอปเตอร์จู่โจมแบบสองเครื่องยนต์ที่มีพื้นฐานมาจากเอเอช-1 คอบราของกองทัพบกสหรัฐ ในตระกูลคอบรายังมีเอเอช-1เจ ซีคอบรา เอเอช-1ที อิมพรูฟคอบรา และเอเอช-1ดับบลิว ซูเปอร์คอบรา เอเอช-1 ดับบลิวเป็นเฮลิคอปเตอร์หลักของกองนาวิกโยธินสหรัฐแต่จะถูกแทนที่ด้วยเอเอช-1ซี ไวเปอร์ในทศวรรษถัดไป
การออกแบบและพัฒนา
[แก้]เอเอช-1 คอบราถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางปีพ.ศ. 2503 ให้เป็นเฮลิคอปเตอร์จู่โจมชั่วคราวของกองทัพบกสหรัฐฯ ซึ่งนำไปใช้ในสงครามเวียดนาม คอบราใช้เครื่องส่งสัญญาณ ระบบใบพัด และเครื่องยนต์ ที53 แบบเดียวกับที่ใช้ในยูเอช-1 ฮิวอี้[1]
เมื่อถึงเดือนมิถุนายนปีพ.ศ. 2510 เอเอช-1จี ฮิวอี้คอบราเครื่องแรกก็ถูกสร้างขึ้นมา เบลล์ได้สร้างเอเอช-1จีเป็นจำนวน 1,116 เครื่องให้แก่กองทัพบกสหรัฐฯ ในระหว่างพ.ศ. 2510 และพ.ศ. 2516 และคอบราได้ถูกลงทะเบียนในชั่วโมงบินกว่าล้านชั่วโมงในเวียดนาม
นาวิกโยธินสหรัฐสนใจในเอเอช-1จี คอบราอย่างมากแต่ก็ต้องการรุ่นที่มีสองเครื่องยนต์มากกว่าเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติการเหนือผิวน้ำและยังต้องการอาวุธที่ให้อำนาจการยิงมากยิ่งขึ้น ในตอนแรกกระทรวงกลาโหมได้ปฏิเสธคำร้องของของนาวิกโยธินที่ต้องการคอบราแบบสองเครื่องยนต์ด้วยการเชื่อว่าเอเอชแบบธรรมดานั้นได้เปรียบตรงที่เหมาะกับเครื่องยนต์หลายแบบ อย่างไรก็ตามนาวิกโยธินก็ชนะและได้ทำสัญญากับบริษัทเบลล์ให้สร้าง เอเอช-1เจ ซีคอบราแบบสองเครื่องยนต์เป็นจำนวน 49 เครื่องในปีพ.ศ. 2511 ด้วยมาตรการชั่วคราวกองทัพบกสหรัฐได้ส่งต่อเอเอช-1จีจำนวน 38 เครื่องให้กับนาวิกโยธินในปีพ.ศ. 2512 เอเอช-2เจยังได้ติดตั้งป้อมปืนที่ทรงพลังมากยิ่งขึ้น มันมีปืนใหญ่เอ็กซ์เอ็ม197แบบสามลำกล้อง
นาวิกโยธินได้ร้องขอคอบราที่มีความจุกระสุนได้มากยิ่งขึ้นในปีพ.ศ. 2513 เบลล์ได้ใช้ระบบจากรุ่น 309 เพื่อสร้างเอเอช-1ที รุ่นนี้ทีหางที่ยาวและส่วนลำตัวที่ได้รับการพัฒนามาจากรุ่น 309 เบลล์ได้ออกแบบเอเอช-1ทีให้ไว้ใจได้และใช้งานได้ง่ายขึ้นในภาคสนาม มันยังได้เพิ่มระบบจับเป้าและเซ็นเซอร์แบบอื่นๆ อย่างเต็มรูปแบบ ในรุ่นที่พัฒานขึ้นไปอีกที่เรียกกันว่าเอเอช-1ที+นั้นมีเครื่องยนต์ที่ทรงพลังกว่าและอากาศกลศาสตร์ที่ได้รับการพัฒนาได้ถูกนำไปใช้ในอิหร่านในช่วงปลายปีพ.ศ. 2513 แต่การล้มล้างอำนาจของผู้นำในอิหร่านได้ทำให้การขายถูกยกเลิก
ในช่วงต้นปีพ.ศ. 2523 นาวิกโนธินสหรัฐฯ ได้มองหาเฮลิคอปเตอร์สำหรับกองทัพเรือแบบใหม่แต่ก็ถูกปฏิเสธที่จะมอบทุนในการซื้อเอเอช-64 อาปาเช่โดยสภาในปีพ.ศ. 2524 นาวิกโยธินหันกลับไปตามหาเอเอช-1ทีรุ่นที่ทรงพลังยิ่งขึ้นไปอีก การเปลี่ยนแปลงยังรวมทั้งการดัดแปลงระบบควบคุมการยิงเพื่อบรรทุกและยิงขีปนาวุธแบบเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์และเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์ รุ่นใหม่นี้ได้รับทุนจากสภาและได้รับชื่อว่าเอเอช-1 ดับบลิวซึ่งผลิตออกมาอย่างน้อย 266 เครื่อง
ผู้สาธิตเอเอช-1ที+และต้นแบบของเอเอช-1ดับบลิวได้รับการทดสอบในเวลาต่อมาด้วยระบบใบพัดแบบสี่ใบพัดแบบใหม่ ระบบใหม่นี้ทำให้มันทำงานได้ดียิ่งขึ้น ลดเสียงและเพิ่มประสิทธิภาพในการออกรบ ด้วยการที่ไม่มีสัญญากับกองนาวิกโยธินสหรัฐฯ เบลล์จึงพัฒนารุ่นใหม่นี้ให้เป็นเอเอช-1ซีด้วยทุนของตัวเอง ในปีพ.ศ. 2539 นาวิกโยธินถูกปฏิเสธอีกครั้งในการสั่งซื้อเอเอช-64 การสร้างอาปาเช่ให้กับนาวิกโยธินนั้นมีราคาแพงและดูเหมือนว่าจะมีเพียงแค่นาวิกโยธินเท่านั้นที่เป็นลูกค้ารายเดียว พวกเขาจึงทำสัญญาในการพัฒนาเอเอช-1ดับบลิวจำนวน 180 เครื่องให้เป็นเอเอช-1ซีแทน
เอเอช-1ซี ไวเปอร์มีการออกแบบที่เปลี่ยนแปลงไปมากมาย ปีกทั้งสองของเอเอช-1ซีที่ได้รับการออกแบบใหม่มีความยาวมากกว่าเพื่อบรรทุกขีปนาวุธอย่างเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ได้มากขึ้น ในแต่ละปีกจะมีแท่นยิงจรวดไฮดราขนาด 70 ม.ม.หรือเครื่องยิงขีปนาวุธเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์แบบสี่ลูก เรดาร์ของลองโบว์นั้นสามารถนำมาติดตั้งบนปลายปีกได้
ประวัติการปฏิบัติการ
[แก้]ในช่วงที่สหรัฐฯ เริ่มมีส่วนพัวพันในเวียดนามนาวิกโยธินได้นำเอเอช-1เจ ซีคอบราลงเรือยูเอสเอส คลีฟแลนด์และต่อมาก็ยูเอสเอส ดูบัคเพื่อเป็นฐานทางทะเลเพิ้อสะกัดกั้นเวียดนามเหนือบนเกาะฮอนลา
ในปีพ.ศ. 2526 นาวิกโยธินได้ทำปฏิบัติการบนชายฝั่งเบรุตของเลบานอนซึ่งได้มีการนำเอเอช-1ไปใช้ด้วย ด้วยการที่ต้องเผชิญกับความเป็นไปได้ของภัยคุกคามจากระเบิดพลีชีพที่มากับอากาศยานของพลเรือน เอเอช-1จึงติดอาวุธด้วยไซด์ไวน์เดอร์และปืนในสถานะพร้อมโจมตี[2]
ในช่วงสงครามอ่าวระหว่างปีพ.ศ. 2533-2534 คอบราและซีคอบราได้ถูกใช้ให้ทำหน้าที่สนับสนุน ซีคอบราทั้งสิ้น 78 เครื่องได้เข้าโจมตีศัตรูด้วยจำนวนที่น้อยกว่าโดยที่ไม่มีการสูญเสีย[3] เอเอช-1สามลำตกในอุบัติเหตุในช่วงการรบและในภายหลัง เอเอช-1ดับบลิวของนาวิกโยธินได้ทำลายรถถังไป 97 คัน ยานเกราะและพาหนะ 104 คัน และที่ตั้งของปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานสองแห่งใน 100 ชั่วโมงในภารกิจภาคพื้นดิน [4]
เอเอช-1เจ ซีคอบราของอิหร่านได้มีส่วนร่วมในการต่อสู้ทางอากาศกับเครื่องอ็มไอ-24ของอิรักในช่วงสงครามอิหร่าน-อิรัก ผลของการปะทะดังกล่าวยังคงเป็นที่โต้เถียงกัน เอกสารหนึ่งได้กล่าวว่า"เอเอช-1เจของอิหร่านได้ปะทะกับเฮลิคอปเตอร์เอ็มไอ-8 และเอ็มไอ-24 ของอิรัก"[5] แหล่งที่มาที่ไม่ใช่ของทางการได้รายงานว่านักบินของอิหร่านทำการสังหารในอัตรา 10:1 เหนือนักบินเฮลิคอปเตอร์ของอิรักในการปะทะดังกล่าว (1:5) นอกจากนี้เอเอช-1เจของอิหร่านและอากาศยานของอิรักก็ได้ปะทะกันเช่นกัน แหล่งอื่นๆ อ้างว่าในการต่อสู้ตลอดแปดปีนั้นเครื่องเอเอช-1เจของอิหร่านถูกยิงตกสิบเครื่องในขณะที่เครื่องเอ็มไอ-24 ของอิรักตกไปหกเครื่อง ยังมีแหล่งอื่นที่กล่าวว่าในการต่อสู้ทั้งสองมีความเท่าเทียมกัน[6] เอเอช-1เจของอิหร่านยังคงประจำการอยู่จนถึงทุกวันนี้และผ่านการพัฒนามา ในพ.ศ. 2531 เครื่องมิก-23 ของโซเวียตได้ยิงเอเอช-1เจของอิหร่านตกสองลำ[7] ซึ่งได้ทั้งสองลำได้หลงเข้าไปในน่านฟ้าทางตะวันตกของอัฟกานิสถาน
เอเอช-1 คอบรายังคงปฏิบัติการต่อพร้อมกับนาวิกโยธินสหรัฐฯ คอบราของกองนาวิกโยธินสหรัฐฯ ยังคงทำหน้าที่ตลอดทศววรษ 2533[4] คอบราของนาวิกโยธินสหรัฐฯ ยังได้ทำหน้าที่ในปฏิบัติการเอ็นดัวริงฟรีดอมในอัฟกานิสถานในสงครามอิรัก ขณะที่อากาศยานที่ใหม่เข้ามาทดแทนถูกมองว่าเป็นทางเลือกสำคัญของกองบินเอเอช-1 กองนาวิกโนธินได้แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาเป็นทางแก้ไขที่ทำได้ง่ายที่สุด น่าสนับสนุนที่สุด และมีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับเฮลิคอปเตอร์จู่โจมขนาดเบาของกองนาวิกโยธิน[8]
แบบอื่นๆ
[แก้]แบบหนึ่งเครื่องยนต์
[แก้]- สำหรับเอเอช-1จี เอเอช-1คิวจนถึงเอเอช-1เอส/พี/อี/เอฟและสำหรับแบบอื่นๆ ดูในเอเอช-1 คอบรา
แบบสองเครื่องยนต์
[แก้]- เอเอช-1เจ ซีคอบรา
- รุ่นต้นแบบของแบบสองเครื่องยนต์
- เอเอช-1เจ อินเทอร์เนชั่นแนล
- รุ่นส่งออกของเอเอช-1เจ ซีคอบรา
- เอเอช-1ที อิมพรูฟซีคอบรา
- รุ่นที่ได้รับการพัฒนาด้วยส่วนหางเพิ่มและส่วนลำตัวและเครื่องยนต์
- เอเอช-1 ดับบลิว ซูเปอร์คอบรา
- ("วิสกี้คอบรา") รุ่นกลางวันและกลางคืนที่มีเครื่องยนต์ที่ทรงพลังและความจุอาวุธที่เพิ่มขึ้น
- เอเอช-1ซี ไวเปอร์
- ("ซูลูคอบรา") ร่วมกัยการพัฒนาของยูเอช-1วาย วีนอม รุ่นนี้ยังรวมทั้งการใช้ระบสี่ใบพัดและระบบจับเป้าตอนกลางคืน
- แบบ 309 คิงคอบรา
- รุ่นทดลองที่มีสองเครื่องยนต์
- คอบราวีนอม
- รุ่นที่ผลิตมาสำหรับสหราชอาณาจักร
- เอเอช-1อาร์โอ แดรกคูล่า
- รุ่นที่ผลิตมาสำหรับโรมาเนีย
- เอเอช-1ซี คิงคอบรา
- เอเอช-1ซีอยู่ภายใต้โครงการเอทีเอเคของตุรกี ได้รับเลือกให้ผลิตในพ.ศ. 2543 แต่ต่อมาถูกยกเลิกเมื่อเบลล์และตุรกีไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการผลิตได้[9]
ประเทศที่ใช้งาน
[แก้]- กองทัพของอิหร่านมีเครื่องเอเอช-1เจ อินเทอร์เนชั่นแนลจำนวน 202 เครื่อง[1] อิหร่านใช้เอเอช-1เจจำนวน 50 เครื่องในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551[10]
- กองทัพของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับเครื่องเอเอช-1ดับบลิวจำนวน 63 เครื่อง[1] และใช้งานเอเอช-1ดับบลิงจำนวน 59 เครื่องในพ.ศ. 2551[11]
- กองทัพของตุรกีใช้เครื่องเอเอช-1ดับบลิว ซูเปอร์คอบราจำนวน 7 เครื่องในปีพ.ศ. 2551[11]
- กองนาวิกโยธินสหรัฐมีเครื่องเอชเอ-1ดับบลิวประมาณ 167 เครื่องในปีพ.ศ. 2551 [11]
รายละเอียดเอเอช-1 คอบรา
[แก้]เอเอช-1เอฟ คอบรา
[แก้]- ยาว 13.6 เมตร
- สูง 4.1 เมตร
- น้ำหนักเปล่า 2,993 กิโลกรัม
- น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 4,500 กิโลกรัม
- เครื่องยนต์ 1 เครื่องยนต์ เอวีซีโอ ไลคอมมิ่ง ที53-เอล-703เทอร์โบชาฟท์ให้แรงขับ 1,800 แรงม้า
- จำนวนใบพัดหลัก 2 แฉก
- เพดาบินใช้งาน 3,720 เมตร
- ความเร็วสูงสุด 277 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- รัศมีทำการ 510 กิโลเมตร
เอเอช-1ดับลิว ซูเปอร์ คอบรา
[แก้]- ยาว 13.6 เมตร
- สูง 4.1 เมตร
- เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัดหลัก 14.6 เมตร
- พื้นที่ใบพัดหลัก 168.11 ตารางเมตร
- น้ำหนักเปล่า 2,993 กิโลกรัม
- น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 4,500 กิโลกรัม
- เครื่องยนต์ 2 เครื่อง เจนอลรัล อีเล็คตริค ที700 เทอร์โบชาฟท์ ให้แรงขับเครื่องละ 1,680 แรงม้า
- จำนวนใบพัดหลัก 4 แฉก
- เพดานบินใช้งาน 3,720 เมตร
- ความเร็วสูงสุด 338 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- รัศมีทำการ 587 กิโลเมตร
เอเอช-1ซี ซูเปอร์ คอบรา
[แก้]- ยาว 13.87 เมตร
- สูง 4.39 เมตร
- เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัดหลัก 14.63 เมตร
- พื้นที่ใบพัดหลัก 168.11 ตารางเมตร
- น้ำหนักเปล่า 5,580 กิโลกรัม
- น้ำหนักสูงสุด 8,391 กิโลกรัม
- เครื่องยนต์ 2 เครื่อง เจนอลรัล อีเล็คตริค ที700-จีอี-401ซี ให้แรงขับเครื่องละ 1,690 แรงม้า
- จำนวนใบพัดหลัก 4 แฉก
- เพดานบินใช้งาน 4,495 เมตร
- ความเร็วสูงสุด 298 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- รัศมีทำการ 705 กิโลเมตร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Donald, David: Modern Battlefield Warplanes. AIRtime Publishing Inc, 2004. ISBN 1-880588-76-5.
- ↑ http://www.globalsecurity.org/military/library/report/1992/BRM.htm
- ↑ AH-1 Super Cobra เก็บถาวร 2004-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, U.S. Navy. Retrieved 2 January 2008.
- ↑ 4.0 4.1 Bishop, Chris. Huey Cobra Gunships. Osprey Publishing, 2006. ISBN 1-84176-984-3.
- ↑ Major R. M. Brady, "AH-1W Air Combat Maneuver Training - Why It Must Be Reinstated", 1992.
- ↑ Arabian Peninsula & Persian Gulf Database, ACIG Journal.
- ↑ "Soviet Air-to-Air Victories of the Cold War", ACIG Journal, 23 October 2008.
- ↑ "PMA-276 - USMC Light/Attack Helicopter Upgrade Program". Headquarters Marine Corps. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-15. สืบค้นเมื่อ 2007-11-18.
- ↑ "Back to square one in attack helicopter plan" เก็บถาวร 2006-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Turkish Daily News, 2 December 2006.
- ↑ "Directory: World Air Forces", Flight International, 11-17 November 2008.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 "World Military Aircraft Inventory". 2008 Aerospace Source Book. Aviation Week and Space Technology, January 28, 2008.
- ↑ Octavio Diez:Combat Helicopters,Udyat,Spain,2006.ISBN 84-931055-2-x