เอสเอสเกรตอีสเทิร์น
เอสเอส เกรตอีสเทิร์น ในปี ค.ศ. 1866
| |
ประวัติ | |
---|---|
สหราชอาณาจักร | |
ชื่อ | เอสเอส เกรตอีสเทิร์น (SS Great Eastern) |
ท่าเรือจดทะเบียน | ลิเวอร์พูล |
Ordered | ค.ศ. 1853 |
อู่เรือ | เจ. สก็อตต์ รัสเซลล์ แอนด์ คอมพานี, มิลล์วอลล์, อังกฤษ |
ปล่อยเรือ | 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1854 |
เดินเรือแรก | 31 มกราคม ค.ศ. 1858 |
สร้างเสร็จ | สิงหาคม ค.ศ. 1859 |
Maiden voyage | 30 สิงหสคม ค.ศ. 1859 |
บริการ | ค.ศ. 1859 |
หยุดให้บริการ | ค.ศ. 1889 |
Stricken | ค.ศ. 1889 |
ท่าจอด | ลิเวอร์พูล |
ความเป็นไป | ถูกแยกชิ้นส่วนในปี ค.ศ. 1889–90 |
หมายเหตุ | เป็นเรือที่ไม่มีเรือลำใด ๆ ใหญ่กว่าจนถึงปี ค.ศ. 1913 |
ลักษณะเฉพาะ | |
ประเภท: | เรือโดยสาร |
ขนาด (ตัน): | 18,915 ตัน[1] |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): | 32,160 ตัน |
ความยาว: | 692 ft (211 m) |
ความกว้าง: | 82 ft (25 m) |
ดาดฟ้า: | 4 ชั้น |
ระบบขับเคลื่อน: | เครื่องยนต์ไอน้ำ 4 เครื่องสำหรับใบจักรข้างเรือ และเครื่องยนต์เพิ่มเติมสำหรับใบจักรท้ายเรือ กำลังรวมประมาณ 8,000 แรงม้า (6,000 กิโลวัตต์)[2] |
ความเร็ว: | 14 นอต (26 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 16 ไมล์ต่อชั่วโมง)[3] |
ความจุ: | ผู้โดยสาร 4,000 คน |
เอสเอส เกรตอีสเทิร์น (อังกฤษ: SS Great Eastern) คือเรือเดินสมุทรประเภทเรือกลไฟของสายการเดินเรือ "อีสเทิร์น สตีม เนวิเกชั่น คอมปานี" (Eastern Steam Navigation Company) ในปี ค.ศ. 1857 โดยวิศวกรผู้ออกแบบชาวอังกฤษ อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนล (Isambard Kingdom Brunel) ผู้ริเริ่มการต่อเรือด้วยเหล็กกล้าและใช้ใบจักรแบบสกรูครั้งแรกของโลก (เรือเอสเอสเกรตบริเตน) และเรือเอสเอสเกรตอีสเทิร์นนี้ยังเป็นเรือลำแรกของโลกที่สร้างผนังท้องเรือสองชั้น
เรือเอสเอสเกรตอีสเทิร์น จัดเป็นชัยชนะทางวิศวกรรมก็จริงเพราะมีขนาดใหญ่กว่าเรือสำราญที่ใหญ่ที่สุดก่อนมันถึง 4.563 เท่า แต่ทว่าเป็นเรืออาถรรพณ์ที่ทำให้เจ้าของต้องพบกับความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ อุปสรรคต่าง ๆ เกิดเรื่องน่าสะพรึงกลัวนับตั้งแต่การสร้างเรือจนถึงวันสุดท้ายของการแยกชิ้นส่วนเรือ
ปัญหาระหว่างดำเนินโครงสร้างไม่ว่าจะเป็น เพลิงไหม้คลังเอกสารและโมเดลเรือ งบประมาณที่บานปลายหลายเท่าตัว เสียงลึกลับที่ดังมาจากท้องเรือ จนท้ายที่สุดบรูเนลก็เสียชีวิตอย่างประหลาดในเวลานั้น ด้วยเรือที่มีขนาดใหญ่เกินไปทำให้ไม่สามารถปล่อยลงน้ำได้ง่าย หรือเดินทางไปยังออสเตรเลียที่เป็นจุดหมายปลายทางเพราะไม่สามารถผ่านเส้นที่คดเคี้ยวได้ แม้ว่าเรือนี้จะงดงามดังพระราชวังลอยน้ำก็จริง แต่ก็มีปัญหาเขม่าถ่านหินระหว่างออกเดินทาง อีกทั้งยังเกิดเหตุการณ์สยองขวัญที่ไม่คาดฝันขึ้นไม่ว่าจะเป็น กว้านสมอเรือดีดใส่ลูกเรือหลายคนตกน้ำเสียชีวิต หม้อน้ำระเบิด ยังไม่นับรวมผู้เสียชีวิตในระหว่างการพยายามปล่อยลงเรือน้ำครั้งแรก หรือคนงานที่เสียชีวิตระหว่างโครงการ
การสร้าง
[แก้]แนวคิดที่จะสร้างเกรตอีสเทิร์น มีขึ้นใน ค.ศ. 1852 โดยบรูเนล สุดยอดวิศวกรแห่งยุคนั้น เรือที่เขาออกแบบ ได้เป็นเรือสำราญที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาแล้ว 2 ลำ บรูเนลได้ตัดสินใจพิสูจน์ความสามารถครั้งใหญ่ของตน โดยวางแผนจะสร้างเรือสำราญที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกลำหนึ่งของเขา โดยมีขนาดใหญ่กว่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในช่วงที่เขาออกแบบ 6 เท่า เมื่อโครงการนี้เผยแพร่ออกสู่สาธารณะ ประชาชนต่างสนใจ และเชื่อใจว่าบรูเนลจะต้องสร้างเรือลำนี้ได้
บริษัทเชื่อใจในตัวบรูเนล และบรูเนลได้ร่วมมือกับ จอห์น สกอตต์ รัสเซล ในการต่อเรือ การสร้างเรือเริ่มต้นใน ค.ศ. 1854 แต่ในระหว่างการต่อเรือก็พบอุปสรรคมากมาย ชนิดที่เรียกได้ว่า เลือดตาแทบกระเด็น แต่ในที่สุดก็สร้างเรือได้เสร็จ แต่ความน่าเชื่อถือของเกรตอีสเทิร์นลดลงไปอย่างมาก เพราะข่าวความผิดพลาดในการก่อสร้างต่าง ๆ นานา ทำให้ประชาชนอดคิดไม่ได้ว่าเรือลำนี้จะปลอดภัยจริงหรือ
ในพิธีปล่อยเรือลงน้ำ มีประชาชนนับพันคนมาเป็นสักขีพยาน แต่เกิดอุบัติเหตุจนมีคนงานเสียชีวิต บรูเนลสั่งยกเลิกงานทันทีโดยไม่สนใจเสียงก่นด่าของประชาชน
30 สิงหาคม ค.ศ. 1859 เกรตอีสเทิร์นออกเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์ โดยไม่มีบรูเนล เพราะบรูเนลเกิดปัญหา ในขณะเดินทาง เครื่องยนต์ไม่สามารถรับแรงดันสูงที่เกิดจากการสร้างแรงขับเคลื่อนผลักเรือที่ใหญ่มหาศาลได้ เครื่องยนต์เครื่องหนึ่งได้ระเบิดขึ้น มีคนงานเสียชีวิต เกิดรอยรั่วขนาดใหญ่มากใกล้เคียงกับขนาดรอยรั่วของเรือไททานิก เมื่อชนภูเขาน้ำแข็ง(ในหลังจากนั้น 53 ปี) แต่ทั้ง ๆ ที่ไททานิกใหญ่กว่าเกรตอีสเทิร์นถึง 2.4 เท่า และรอยรั่วขนาดดังกล่าวล่มไททานิกได้ แต่ไม่สามารถล่มเกรตอีสเทิร์นได้
กล่าวได้ว่า เกรตอีสเทิร์น เป็นเรือลำแรกที่ออกมหาสมุทรได้โดยไม่โคลงเคลง เป็นพระราชวังลอยน้ำ มันถูกออกแบบให้มีความปลอดภัยเป็นเลิศ และจุผู้โดยสารได้ 4,000 คน แต่มันไม่เคยได้จุผู้โดยสารมากมายเช่นนั้น เพราะจนกว่าจะสร้างเรือเสร็จ รวมถึงการเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์ ประชาชนไม่เหลือความมั่นใจในเกรตอีสเทิร์น การเดินทางแต่ละเที่ยวของมันมีผู้โดยสารโหรงเหรง บริษัทเจ้าของเรือขาดทุนยับ จนปลดระวางเรือใน ค.ศ. 1867
หลังจากกิจการขนส่งผู้โดยสารไม่ประสบความสำเร็จ เรือเอสเอสเกรตอิสเทิร์น ถูกขายต่อ และใช้งานเป็นเรือวางสายเคเบิลในมหาสมุทรแอดแลนติก และท้ายที่สุดในปี ค.ศ. 1888 เรือลำนี้ได้ถูกขายอีกทอดเพื่อแยกชิ้นส่วน
ในช่วงเที่ยวปฐมฤกษ์ มันใหญ่กว่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในช่วงนั้น 4.5 เท่า และหลังจากเรือปลดระวาง เรือที่ก้าวเข้ามาใหญ่ที่สุดในโลกนั้นมีขนาดเพียง 23% ของเกรตอีสเทิร์น (ถ้าหากมันไม่เป็นเรือที่โชคร้ายขนาดนี้ และถูกใช้งานไปเรื่อย ๆ มันจะเป็นเรือสำราญที่ใหญ่ที่สุดในโลกนาน 43 ปี)
กล่าวกันว่า...
[แก้]ในขณะที่แยกชิ้นส่วนเรือ พบว่ามีร่างผู้เสียชีวิตอยู่ระหว่างท้องเรือสองชั้น คาดว่าเป็นชายคนงานที่เคยลงไปตอกหมุดยึดตัวเรือ แล้วไม่ทันออกก่อนท้องเรือสองชั้นจะปิดตาย จึงเป็นที่สงสัยกันว่าที่มาของหายนะทั้งหมดน่าจะเป็นคำสาปของชายที่ถูกลืมคนนี้
ข้อมูลทั่วไปของเรือ
[แก้]ความยาวเรือ 211 เมตร
ความกว้างเรือ 36 เมตร
กินน้ำลืก 9.2 เมตร
ขนาด 18,915 ตันกรอส
ขับเคลื่อนโดย แรงลมรับด้วยใบขนาด 6,500 ตารางหลา ใบจักรสกรูท้ายเรือ ใบจักรคู่ข้างเรือแบบ paddle wheel
ความเร็วเรือบริการ 14 น็อต
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dawson, Philip S. (2005). The Liner. Chrysalis Books. p. 37. ISBN 978-0-85177-938-6.
- ↑ Image:Oscillating engine, and boilers, of Great Eastern - gteast.gif224kB.png
- ↑ "Ocean Record Breaking". New York Times. 7 July 1895.