เอฟเอยูธคัพ
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1952 |
---|---|
ภูมิภาค | |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (11 สมัย) |
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุด | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (11 สมัย) |
เอฟเอยูธคัพ (อังกฤษ: FA Youth Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลที่ดำเนินการโดยสมาคมฟุตบอล หรือ เอฟเอสำหรับทีมอายุต่ำกว่า 18 ปี เฉพาะผู้เล่นที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 18 ปีในวันที่ 31 สิงหาคมของฤดูกาลปัจจุบันเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าร่วม ส่วนใหญ่เป็นทีมเยาวชนจากสโมสรฟุตบอลอาชีพในพรีเมียร์ลีก ดึงดูดผู้เข้าร่วมกว่า 400 คนจากทั่วประเทศ
เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เอฟเอได้จัด Youth Championship for County Association โดยพิจารณาว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการกระตุ้นการแข่งขันในหมู่เยาวชนที่ยังไม่โตพอที่จะเล่นทีมชุดใหญ่ การแข่งขันไม่ได้ดึงดูดผู้ชมจำนวนมาก แต่ผู้เล่นที่โดดเด่นถูกเรียกติดทีมชาติชุดเยาวชน และนักฟุตบอลเยาวชนหลายพันคนได้รับโอกาสลงเล่นในระดับชาติเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1951 มีการตระหนักว่าการแข่งขันระดับสโมสรน่าจะดึงดูดใจได้มากกว่า FA Youth Challenge Cup (ฤดูกาล 1952–53) สงวนไว้เฉพาะทีมเยาวชนของสโมสร ทั้งระดับอาชีพและระดับสมัครเล่นที่เป็นสมาชิกของเอฟเอ[1]
เซอร์ โจ ริชาร์ดส์ อดีตประธานฟุตบอลลีกผู้ล่วงลับเป็นผู้คิดแนวคิดเรื่องยูธคัพ ในตอนแรกเขาเสนอแนวคิดนี้กับสโมสรในลีก แต่พวกเขาไม่สนใจ ริชาร์ดส์จึงนำแนวคิดนี้เสนอต่อสมาคมฟุตบอล ซึ่งพวกเขาชอบแนวคิดนี้และได้จัดการแข่งขันในปีเดียวกัน[2] ถ้วยรางวัลยูธคัพถูกซื้อโดยฟุตบอลลีกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 Fred Howarth เลขานุการของฟุตบอลลีก พบถ้วยรางวัลในตู้ที่สำนักงานและส่งมอบให้กับสมาคมฟุตบอล
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการแข่งขัน โดยคว้าแชมป์ได้ถึง 11 สมัย พวกเขายังเป็นแชมป์ในฤดูกาลปัจจุบันหลังจากเอาชนะนอตทิงแฮมฟอเรสต์ 3-1 ในรอบชิงชนะเลิศปี ค.ศ. 2022
การแข่งขันรายการนี้ทำหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นในการแข่งขันระดับมืออาชีพสำหรับผู้เล่นชั้นนำของอังกฤษหลายคน อย่างจอร์จ เบสต์, จอห์น บานส์, ไรอัน กิกส์, เดวิด เบ็คแคม, แกรี เนวิล, ฟิล เนวิล, นิคกี บัตต์, พอล สโกลส์, แฟรงค์ แลมพาร์ด, ไมเคิล โอเว่น, สตีเวน เจอร์ราร์ด, เจมี คาร์ราเกอร์, โจ โคล, เวย์น รูนีย์, ธีโอ วัลค็อตต์, แดเนียล สเตอร์ริดจ์ แจ็ค วิลเชียร์ และแกเร็ธ เบล ต่างเคยคว้าแชมป์รายการนี้หรือได้เล่นในนัดชิงชนะเลิศ เอฟเอยูธคัพ ฤดูกาล 1991–92 มีชื่อเสียงโด่งดังจากการผงาดขึ้นของกลุ่มลูกนกหัดบินของเฟอร์กี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ FA Youth Cup history: TheFA.com website.
- ↑ Inglis, Simon (1988). Football League and the men who made it. Harper Collins. p. 205. ISBN 978-0002182423.