เฟนิโทอิน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
การอ่านออกเสียง | /fəˈnɪtoʊɪn/; /ˈfɛnɪtɔɪn/ |
ชื่อทางการค้า | Originally Dilantin, many names worldwide[1] |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a682022 |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | ทางปาก, ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 70–100% oral, 24.4% for rectal administration |
การจับกับโปรตีน | 95%[2] |
การเปลี่ยนแปลงยา | ตับ |
ระยะเริ่มออกฤทธิ์ | 10 to 30 min (IV)[3] |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 10–22 ชั่วโมง[2] |
ระยะเวลาออกฤทธิ์ | 24 ชั่วโมง |
การขับออก | ผ่านท่อน้ำดี, กระเพาะปัสสาวะ |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.000.298 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C15H12N2O2 |
มวลต่อโมล | 252.268 g/mol g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
7 (what is this?) (verify) | |
เฟนิโทอิน (Phenytoin) หรือชื่อทางการค้าคือ ไดแลนติน (Dilantin)[1] เป็นยากันชัก ใช้สำหรับป้องกันอาการโคลนัสและการเป็นลมชักอย่างปัจจุบันทันด่วน มีแบบรับประทานสำหรับผู้ป่วยทั่วไป[2] แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะชักต่อเนื่อง แพทย์อาจจ่ายยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนเพื่อบรรเทาอาการชัก หากยังไม่ดีขึ้นจึงจะใช้ยาเฟนิโทอินโดยการฉีด ซึ่งจะออกฤทธิภายใน 30 นาทีและจะคงฤทธิได้นานถึง 24 ชั่วโมง[3] นอกจากนี้ เฟนิโทอินยังถูกใช้เพื่อรักษาอารหัวใจเต้นผิดจังหวะและความเจ็บปวดทางประสาทอีกด้วย ทั้งนี้ แพทย์อาจวัดความดันเพื่อกำหนดปริมาณยาที่เหมาะสม[2]
ผลข้างเคียงของการใช้เฟนิโทอิน ได้แก่ อาการคลื่นไส้, ปวดท้อง, ไม่อยากอาหาร, มองไม่ชัด, ขนขึ้นเร็ว และเหงือกบวม ผลข้างเคียงแบบรุนแรงได้แก่ ง่วงนอน, ทำร้ายตนเอง, โรคตับ, ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดได้น้อย, ความดันโลหิตต่ำ และผิวลอก ยาประเภทนี้ห้ามใช้ระหว่างตั้งครรภ์เนื่องจากอาจทำให้เกิดความผิดปกติในทารก แต่ปลอดภัยหากจะใช้ระหว่างภาวะให้นมบุตร
เฟนิโทอินถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1908 โดยแพทย์ชาวเยอรมัน ไฮน์ริช บลิทซ์ แต่มาค้นพบว่าสามารถใช้รักษาลมชักได้ในปี ค.ศ. 1936[4][5] ยานี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาหลักขององค์การอนามัยโลก เป็นยาสำคัญที่ใช้ในงานสาธารณสุขทั่วไป[6] เป็นยาที่มีราคาค่อนข้างถูก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Drugs.com International trade names for phenytoin Page accessed Feb 27, 2016
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Phenytoin". The American Society of Health-System Pharmacists. สืบค้นเมื่อ Aug 22, 2015.
- ↑ 3.0 3.1 Marx, John A. (2010). Rosen's emergency medicine : concepts and clinical practice (7 ed.). Philadelphia: Mosby/Elsevier. p. 1352. ISBN 9780323054720.
- ↑ Aicardi, Jean (2008). Epilepsy : a comprehensive textbook (2nd ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. p. 1431. ISBN 9780781757775.
- ↑ Wolfson, Allan B. (2010). Harwood-Nuss' clinical practice of emergency medicine (5th ed.). Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins. p. 1415. ISBN 9780781789431. สืบค้นเมื่อ 9 June 2016.
- ↑ "WHO Model List of Essential Medicines" (PDF). World Health Organization. October 2013. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.