ข้ามไปเนื้อหา

เป็ดแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เป็ดแดง
ในจังหวัดเชียงใหม่
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Anseriformes
วงศ์: Anatidae
วงศ์ย่อย: Dendrocygninae
สกุล: Dendrocygna
สปีชีส์: D.  javanica
ชื่อทวินาม
Dendrocygna javanica
(Horsfield, 1821)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

เป็ดแดง Lesser Whistling Duck (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocygna javanica) เป็นเป็ดขนาดเล็ก มีแหล่งขยายพันธุ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[2]

การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย

[แก้]
ขณะพักผ่อนในโกลกาตา, รัฐเบงกอลตะวันตก, อินเดีย

เป็ดแดงมีการกระจายพันธุ์กว้างจากประเทศปากีสถานในหุบแม่น้ำทางตะวันออกลงไปยังประเทศอินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, บังคลาเทศ, พม่า, ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ภาคใต้ของจีน และเวียดนาม ส่วนใหญ่เป็นนกประจำถิ่น มีการอพยพในพื้นที่บ้างตามภัยแล้งหรือน้ำท่วม แต่ในประเทศจีนนกจะอพยพหนีหนาวลงใต้

อาศัยในทะเลสาบน้ำจืดที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์พืชพรรณ รวมทั้งทุ่งนาน้ำท่วมขัง หนองน้ำกลางป่า และบางครั้งอาจเข้าไปอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำกร่อย อ่าวริมทะเล ป่าชายเลน รวมทั้งนากุ้งใกล้ ๆ ชายฝั่งทะเล[3][4]

ลักษณะ

[แก้]

เป็ดแดงมีปากยาวสีเทา คอยาว และขายาว หน้าผากและกลางกระหม่อมสีน้ำตาลปนเทาคล้ำ หัว ลำคอ และอกสีเนื้อแกมเทาหม่น ใต้คอสีจางจนขาว และด้านข้างและหลังคอตอนบนมีสีเข้มกว่า สีข้างและท้องสีแดงอมน้ำตาลปนเหลือง มีลายขีดสีครีมตามแนวสีข้างตอนบน ขนคลุมใต้โคนหางและบริเวณก้นสีค่อนข้างขาว หลัง ไหล่ ขนคลุมหัวปีกใหญ่และขนคลุมหัวปีกกลางสีน้ำตาลคล้ำ มีลายเกล็ดสีแดงแกมน้ำตาล ขนคลุมหัวปีกน้อยสีน้ำตาลแกมแดง ขนคลุมใต้หัวปีกสีออกดำ ขนกลางปีกและขนปลายปีกสีน้ำตาลไหม้ ตะโพกสีค่อนข้างดำ ขนคลุมบนโคนหางสีน้ำตาลแกมแดงสด ขนหางสีน้ำตาลไหม้ ขาและนิ้วเท้าสีเทาปนฟ้าคล้ำ[4]

ในขณะบิน จะส่งเสียงร้องค่อนข้างแหลมเป็นจังหวะยาว ๆ สั้น ๆ คล้ายเสียงผิวปาก ดัง "ซี-ซิก"[3][4]

สถานะในประเทศไทย

[แก้]

เป็ดแดง ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ตามมาตรา 19 และมาตรา 20 หากผู้ใดล่าหรือมีครอบครองซึ่งซากและตัวที่ยังมีชีวิตโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท จำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ้างอิง

[แก้]
  1. BirdLife International (2004). Dendrocygna javanica. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. justification for least concern: global population of between two and twenty million individuals (Wetlands International 2002).
  2. Grewal, Bikram (2002). Photographic guide to birds of India. Periplus editions / Princeton University Press. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |address= ถูกละเว้น แนะนำ (|location=) (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help) p. 58
  3. 3.0 3.1 Ali, Salim (1986/2001). Handbook of the Birds of India and Pakistan, 2nd ed.,10 vols (2nd ed.). Oxford University Press. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |address= ถูกละเว้น แนะนำ (|location=) (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)Bird Number 138, vol. 1, p. 138-140.
  4. 4.0 4.1 4.2 เป็ดแดง[ลิงก์เสีย] birdsofthailand.net

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Dendrocygna javanica ที่วิกิสปีชีส์